1. ข้อเท็จจริง
1.1 การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของเวียดนาม
จากการศึกษาของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเมื่อปี 2539 สรุปได้ว่า เวียดนามประสบความสำเร็จในการรวมประเทศในปี
2518 และการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ Doi Moi ในปี 2529 ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น สามารถปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว ประสบ
ความสำเร็จในการผสมผสานนโยบายการปฏิรูปทางการเงินและการรักษาเสถียรภาพทางการเงินเข้าด้วยกัน รวมทั้งมีปัจจัยเสริมอื่นๆ อาทิ
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การปฏิรูปภาคเกษตร การยกเลิกการควบคุมราคาสินค้า การเปิดเสรีทางการค้า การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
เป็นต้น
1.2 นโยบายทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนของเวียดนามในช่วงปี2539-2543
(1) เป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจพัฒนาประเทศให้ทันสมัยและเป็นประเทศอุตสาหกรรมลดสัดส่วน GDP ภาคเกษตร
ส่งเสริมการส่งออก
ส่งเสริมการใช้เงินออมภายในประเทศรวมทั้งการลงทุนจากต่างประเทศ
(2) นโยบายการค้า
อัตราภาษีโดยเฉลี่ยร้อยละ 16 หมวดที่มีอัตราภาษีสูง ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องดื่ม ปิโตรเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้า
พลาสติก เป็นต้น
ไม่มีการใช้มาตรการโควตาภาษี แต่จำกัดการนำเข้าสินค้าบางชนิด เช่น ปุ๋ย น้ำตาล เหล็ก และเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษสินค้า
นำเข้าและส่งออกบางชนิดเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาภายในประเทศ
ไม่มีกฎหมายการต่อต้านการทุ่มตลาด การตอบโต้การอุดหนุน และการ ปกป้อง
ต้องขออนุญาตส่งออกและเก็บภาษีส่งออกสินค้าบางชนิด เช่น ข้าวและ สินค้าทรัพยากรธรรมชาติ
(3) นโยบายการลงทุน
นโยบายการลงทุนที่สำคัญ คือการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศโดยการออกกฎหมายการลงทุนระหว่างประเทศตั้งแต่ปี 2530
และมีการปรับปรุงมาเป็นระยะๆ มีการประกันการลงทุนจากต่างประเทศว่าไม่มีการยึดทรัพย์ของชาวต่างชาติ การให้มาตรการจูงใจทางด้าน
การลงทุน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จาก 12, 295 แห่งให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่ง
1.3 การค้าระหว่างประเทศของเวียดนาม
การส่งออกของเวียดนามขยายตัวอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2533 ในช่วงปี 2537-2539 มีอัตราการขยายตัวเกินกว่าร้อยละ 30
อย่างไรก็ตามการนำเข้าก็มีการขยายตัวในอัตราสูง บางปีอัตราการขยายตัวเกือบร้อยละ 50 ทำให้เวียดนามขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง
สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ อาหารและสัตว์มีชีวิต น้ำมันดิบ รองเท้า วัตถุดิบจากธรรมชาติ
สินค้าเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
ประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลี ฝรั่งเศส เยอรมนี โดยค้าขายกับประเทศในเอเซียประมาณร้อยละ 60
และค้าขายกับยุโรปรองลงมาเป็นลำดับ 2
1.4 การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับเวียดนาม
(1) การค้าระหว่างไทยกับเวียดนาม ตั้งแต่ปี 2538-2541 การค้าระหว่างไทยกับเวียดนามขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่อัตราการขยายตัว
มีแนวโน้มลดลง โดยการขยายตัวทางด้านการส่งออกน้อยกว่าการขยายตัวทางด้านการนำเข้าในครึ่งปี 2542 การค้ามีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก
การส่งออกของไทยไปเวียดนามลดลง โดยเฉพาะสินค้ายานพาหนะ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป และอาหารสัตว์
การส่งออกของไทยไปเวียดนาม คิดเป็นร้อยละ 1 ของการส่งออกรวม เป็นตลาดส่งออกสำคัญลำดับที่ 19 ร้อยละ 80 เป็นการ
ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าออกสำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ เป็นต้น
การนำเข้าของไทยจากเวียดนามคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของการนำเข้ารวมของไทย เวียดนามเป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 31 สินค้านำเข้า
สำคัญร้อยละ 80 เป็นสินค้าประเภททุน ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ผลิตโดย
บริษัทร่วมทุนระหว่างเวียดนามกับประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น เช่น แผง สวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าตัวเหนี่ยวนำ มอเตอร์
สตาร์ตเตอร์มอเตอร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบตเตอรี่ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมี สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทพัดลม ซึ่งผลิตโดยบริษัทที่เป็น
รัฐวิสาหกิจของเวียดนาม และสินค้าประเภทส่วนประกอบของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์โทรคมนาคม ซึ่งผลิตโดยบริษัทร่วมทุนระหว่าง
ทบวงไปรษณีย์-โทรคมนาคมแห่ง เวียดนามกับบริษัทของประเทศออสเตรเลีย ส่วนที่เหลือเป็นวัตถุดิบ เช่น หนังดิบ โลหะ เป็นต้น
ในปี 2541 ส่วนแบ่งตลาดของไทยในเวียดนามร้อยละ 5.9 มีความสำคัญเป็นลำดับ 5 รองจากสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน
และมีความสำคัญเป็นลำดับ 2 เมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนด้วยกัน
(2) การลงทุนของไทยในเวียดนาม จากสถิติในปี 2541 การลงทุนของไทยในเวียดนามมีมูลค่ารวม 1,151 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
จัดอยู่ในลำดับที่ 12 ของการลงทุนจากต่างประเทศในเวียดนาม กิจการที่ไทยเข้าไปลงทุนได้แก่ การค้า การส่งออก การเจียระไนพลอย
การผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภค การประมง สายการบิน ธนาคาร และกิจการน้ำมัน เป็นต้น
1.5 พันธกรณีของเวียดนามภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ เดือนกรกฎาคม 2538 และได้เข้าร่วมในความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เทียมกัน
สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT) เมื่อธันวาคม 2538 ทั้งนี้เวียดนามได้มีการปรับปรุงรายการสินค้าของเวียดนามที่อยู่ภายใต้ CEPT ซึ่ง
ในปัจจุบันสถานะข้อผูกพันของเวียดนามมีดังนี้
รายการสินค้าสินค้าภายใต้ CEPT ของเวียดนาม
รายการสินค้า จำนวนรายกการ สัดส่วน(ร้อยละ)
ปี 2539 ปี2543 ปี2539 ปี2543
สินค้าลดภาษี (IL) 857 3,573 38.6 74
สินค้ายกเว้นการลดภาษีชั่วคราว (TEL) 1,189 984 53.6 20.4
สินค้าอ่อนไหว (SL) 26 51 1.2 1.1
สินค้าที่ขอยกเว้นเป็นการทั่วไปไม่ลดภาษี (GEL) 146 219 6.6 4.5
รวม 2,218 4,827 100 100
1.6 การเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของเวียดนาม
เวียดนามแจ้งความจำนงเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อมกราคม 2538 ที่ประชุมคณะมนตรีใหญ่ได้มีมติตั้งคณะทำงานขึ้นพิจารณา
ระบบการค้าของเวียดนาม ประเด็นที่สมาชิก WTO ยังติดใจสงสัยว่าระบบการค้าของเวียดนามยังไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์การค้าของ WTO
เช่น การกำหนดราคาสินค้า นโยบายภาษี มาตรการจำกัดการนำเข้า การควบคุมการ ส่งออก การค้าโดยรัฐ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
2. ข้อวิเคราะห์
2.1 เวียดนามประสบผลสำเร็จในการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการลงทุนจากต่างประเทศ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ
ดังกล่าว เช่น การปฏิรูปภาคเกษตร โดยอนุญาตให้มีการถือครองที่ดินเพิ่มขึ้น มีการใช้ปัจจัยการผลิตเช่นปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ทำให้เวียดนาม
ซึ่งเคยเป็นประเทศนำเข้าอาหารกลับกลายเป็นประเทศส่งออกอาหาร สินค้าที่เวียดนามมีศักยภาพในการส่งออกและแข่งขันกับไทย เช่น ข้าว
กาแฟ ยางพารา อาหารทะเล นอกจากนี้ เวียดนามยังมีความชัดเจนว่าจะส่งเสริมการผลิตเพื่อส่งออกและการผลิตสินค้าที่มีการตัดแต่ง พันธุ์กรรม
(GMO) โดยกำหนดไว้ในแผนพัฒนาการเกษตร ซึ่งอาจทำให้เวียดนามผลิตสินค้าอาหารมาแข่งขันกับประเทศไทยได้มากขึ้นในอนาคต นอกจากนั้น
เวียดนามยังมีการปฏิรูป อุตสาหกรรม โดยให้กลไกตลาดมีบทบาทมากขึ้น และปรับปรุงกฎหมายด้านการลงทุนหลายครั้ง รวมทั้งมีการแปรรูป
รัฐวิสาหกิจหลายร้อยกิจการเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ สินค้า อุตสาหกรรมที่เวียดนามมีศักยภาพในการส่งออกและแข่งขันกับไทย
เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้า รองเท้า ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
2.2 การลงทุนของไทยในเวียดนามยังน้อยกว่าประเทศอาเซียนอื่นๆ โดยเฉพาะสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่เข้าไปลงทุนในเวียดนาม
มากที่สุด ตั้งแต่ปี 2531-2542 (กรกฎาคม) มูลค่าการลงทุนของไทยประมาณร้อยละ 3 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนามทั้งหมด
ขณะที่สิงคโปร์ประมาณร้อยละ 18 โดยการลงทุนของไทยส่วนใหญ่เป็น การบริการ เช่น ธนาคาร การบิน การค้า ยังมีอุตสาหกรรมที่ไทยควรให้
ความสนใจและมีโอกาสเข้าไปลงทุนในเวียดนาม เช่น เครื่องอุปโภค-บริโภคในครัวเรือน การประมงและการแปรรูป สินค้าประมง การแปรรูป
สินค้าเกษตร การก่อสร้าง การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โรงแรม ศูนย์การค้า เป็นต้น
2.3 การส่งออกของไทยไปเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ส่วนแบ่งตลาดของไทยยังน้อยมากเพียงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับสิงคโปร์
ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 20 แม้ทั้งสองประเทศได้รับสิทธิเท่าเทียมกันในฐานะสมาชิกของอาเซียน เนื่องจากเวียดนามและสิงคโปร์เป็นคู่ค้าสินค้า
น้ำมันมานาน โดยเวียดนามส่งออกน้ำมันดิบไปสิงคโปร์และนำเข้าผลิตภัฑ์ปิโตรเลียมทุกชนิดจากสิงคโปร์
2.4 สถานะของเวียดนามหลังจากเข้าเป็นสมาชิก ASEAN
(1) อัตราภาษีของเวียดนามค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และพลาสติก มีอัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ยร้อยละ
30-60 การที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิก อาเซียนจึงเป็นประโยชน์ต่อไทยในอนาคต เนื่องจากเวียดนามจะต้องลดภาษีให้กับประเทศสมาชิกอาเซียน
(2) ปัจจุบันสินค้าส่งออกสำคัญของไทยส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีภายใต้ CEPT จากการศึกษาข้อมูลการส่งออกของ
ไทยไปเวียดนาม 25 รายการแรก ในปี 2541 สินค้าออกของไทยหลายรายการ เช่น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รถจักรยานยนต์ ฯลฯ เป็นสินค้าที่
เวียดนามขอยกเว้นเป็นการทั่วไปไม่นำมาลดภาษีภายใต้ CEPT นอกจากนี้ ยังมีบางรายการ เช่น ยากำจัดวัชพืชและยาฆ่าแมลง ปุ๋ย ถังบรรจุก๊าซ
และผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้าอื่นๆ ซึ่งยังอยู่ในรายการที่เวียดนามขอไม่นำมาลดภาษีเป็นการชั่วคราว ส่วนสินค้าบางรายการที่เวียดนาม
นำมาลดภาษีภายใต้ CEPT เป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบและส่วนประกอบ ซึ่งเวียดนามไม่เก็บภาษีนำเข้าอยู่แล้ว เช่น เม็ดพลาสติก ส่วนประกอบ
รถจักรยานและจักรยานยนต์ และยังมีสินค้าหลายรายการที่เก็บภาษีเท่ากับอัตราทั่วไป (MFN) หรือบางรายการลดภาษีต่ำกว่าอัตราทั่วไปเพียงเล็กน้อย
2.5 การปรับตัวของเวียดนามเพื่อเข้าเป็นสมาชิก WTO
(1) เวียดนามกำลังปรับปรุงนโยบายและมาตรการภายในประเทศ เพื่อเตรียมการในการเข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งส่วนใหญ่เป็น
นโยบายทางการค้าสินค้าเกษตรที่ไทยจะได้รับประโยชน์ด้วย เช่น
ยกเลิกการจำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตรบางชนิด อาทิ น้ำตาล
ยกเลิกการใช้ราคาอ้างอิงในการเก็บภาษี เช่น แป้ง น้ำตาล น้ำมันพืช
ยกเลิกการควบคุมการส่งออกข้าว
ใช้หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาตร์ในการห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรบางชนิด เช่น เนื้อ ไข่
การออกใบอนุญาตนำเข้าต้องโปร่งใสมากขึ้นและต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการออกใบอนุญาตนำเข้า
การค้าโดยรัฐต้องมีความโปร่งใสและสอดคล้องกับกฎแกตต์ว่าด้วยการค้าโดยรัฐ
ไม่สามารถให้การอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรได้เนื่องจากแจ้งว่าในปัจจุบันไม่มีการอุดหนุนส่งออกสินค้าเกษตร
จำกัดการอุดหนุนภายใน
สำหรับนโยบายและมาตรการอื่นๆ ซึ่งเวียดนามจะต้องปรับให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ WTO เช่น การจำกัดการนำเข้าเพื่อ
คุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ การจำกัดการส่งออกและการเก็บภาษีส่งออก การทำการค้าโดยรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
(2) ประโยชน์ที่เวียดนามได้รับจากการเข้าเป็นสมาชิก WTO
ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกับประเทศสมาชิก WTO โดยไม่จำเป็นต้องเจรจาทวิภาคีเป็นรายประเทศ เป็นการสร้างความแน่นอน
ให้กับการ ส่งออกของเวียดนาม
ได้ประโยชน์จากการใช้กฎเกณฑ์ภายใต้ WTO มาตอบโต้การใช้มาตรการฝ่ายเดียวของประเทศต่างๆได้ เช่น การใช้มาตรต่อต้าน
การทุ่มตลาด การใช้มาตรการปกป้อง การใช้มาตรการจำกัดการนำเข้าโดยอ้างเหตุผลทางด้านสุขอนามัย
สร้างเสถียรภาพให้กับราคาสินค้าเกษตรบางชนิดภายในประเทศเนื่องจากมีการนำเข้าและส่งออกได้เสรีมากขึ้น ทำให้ราคาภาย
ในประเทศปรับตัวไปตามราคาตลาดโลกได้มากขึ้น เช่น น้ำตาล ซึ่งปัจจุบันควบคุมการนำเข้า ข้าว ซึ่งปัจจุบันควบคุมการส่งออก
3. ความเห็น
3.1 ไทยควรผลักดันให้เวียดนามปรับปรุงการลดภาษีภายใต้ CEPT ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของอาเซียนให้เร็วที่สุด เนื่องจากอัตรา
ภาษีที่เวียดนามยื่นภายใต้ CEPT เมื่อปี 2542 มีอีกจำนวนมากที่เวียดนามแจ้งว่าจะลดภาษีภายใต้ CEPT แต่อัตราภาษีดังกล่าวก็ยังเป็นอัตราทั่วไป
(MFN) ซึ่งทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร
3.2 ไทยควรให้ความสำคัญกับเวียดนามในฐานะเป็นตลาดของสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะได้สิทธิพิเศษทางภาษี อย่างไรก็ตาม เวียดนาม
ยังขอยกเว้นไม่ลดภาษีเป็นการทั่วไปถึง 219 รายการ ในขณะที่ไทยไม่มีรายการขอยกเว้นภาษี และรายการที่ขอยกเว้นมีหลายรายการที่เป็นสินค้า
ส่งออกสำคัญที่ไทยมีโอกาสขยายการส่งออกไปเวียดนาม ไทยจึงควรพิจารณาให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการขอยกเว้นไม่ลดภาษีเป็นการทั่วไปภาย
ใต้อาเซียน เพื่อให้มีข้อยกเว้นน้อยที่สุดและเป็นประโยชน์ในการขยายการค้าภายใต้อาเซียนตามวัตถุประสงค์ของอาฟตา
3.3 ไทยควรติดตามการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนามอย่างใกล้ชิด ถึงแม้จะไม่เจรจาขอลดภาษีจากเวียดนามภายใต้กรอบ
WTO เนื่องจากได้ประโยชน์ภายใต้อาเซียนอยู่แล้ว แต่สำหรับการใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการค้าอื่นๆ ของเวียดนามที่ยังไม่สอดคล้องกับกฎ WTO
ไทยควรสนับสนุนประเทศสมาชิก WTO อื่นๆ ผลักดันให้เวียดนามปรับปรุงแก้ไขมาตรการดังกล่าวให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ
และมีความ โปร่งใส เช่น
ไม่ยินยอมให้เวียดนามให้การอุดหนุนส่งออกสินค้าเกษตรซึ่งเวียดนาม แจ้งว่าขอสงวนสิทธิที่จะใช้การอุดหนุนนี้ในอนาคต
ผลักดันให้เวียดนามเปิดตลาดสินค้าเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของไทยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ WTO ให้มากที่สุด เช่นน้ำตาล
ผลักดันให้เวียดนามยกเลิกการนำเข้าโดยการใช้รัฐวิสาหกิจให้มากที่สุด และหากยังมีการนำเข้าโดยรัฐวิสาหกิจก็ต้องมีการปฏิบัติ
อย่างโปร่งใส
3.4 ไทยควรให้ความสนใจในการเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ในกิจการที่ไทย มีประสบการณ์มากกว่าเวียดนาม โดยเฉพาะทางด้าน
บริการต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว ธนาคาร การประมง การแปรรูปอาหารเป็นต้น
สำหรับการแข่งขันในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศระหว่างไทยกับเวียดนามนั้น ไทยไม่น่าจะเป็นกังวลมากนัก เนื่องจากปัจจัย
ต่างๆที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศประกอบด้วยหลายปัจจัย ซึ่งเวียดนามมีความได้เปรียบประเทศไทยเพียงบางปัจจัย เช่น ค่าแรงงาน
และวัตถุดิบยังอยู่ในราคาต่ำ รวมทั้งมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างกว้างขวาง แต่ไทยก็มีความได้เปรียบเวียดนามหลายปัจจัย เช่น ความพร้อม
ทางด้านสาธารณูปโภค และความโปร่งใสในระบบการบริหาร เป็นต้น
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
1.1 การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของเวียดนาม
จากการศึกษาของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเมื่อปี 2539 สรุปได้ว่า เวียดนามประสบความสำเร็จในการรวมประเทศในปี
2518 และการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ Doi Moi ในปี 2529 ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น สามารถปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว ประสบ
ความสำเร็จในการผสมผสานนโยบายการปฏิรูปทางการเงินและการรักษาเสถียรภาพทางการเงินเข้าด้วยกัน รวมทั้งมีปัจจัยเสริมอื่นๆ อาทิ
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การปฏิรูปภาคเกษตร การยกเลิกการควบคุมราคาสินค้า การเปิดเสรีทางการค้า การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
เป็นต้น
1.2 นโยบายทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนของเวียดนามในช่วงปี2539-2543
(1) เป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจพัฒนาประเทศให้ทันสมัยและเป็นประเทศอุตสาหกรรมลดสัดส่วน GDP ภาคเกษตร
ส่งเสริมการส่งออก
ส่งเสริมการใช้เงินออมภายในประเทศรวมทั้งการลงทุนจากต่างประเทศ
(2) นโยบายการค้า
อัตราภาษีโดยเฉลี่ยร้อยละ 16 หมวดที่มีอัตราภาษีสูง ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องดื่ม ปิโตรเลียม เครื่องใช้ไฟฟ้า
พลาสติก เป็นต้น
ไม่มีการใช้มาตรการโควตาภาษี แต่จำกัดการนำเข้าสินค้าบางชนิด เช่น ปุ๋ย น้ำตาล เหล็ก และเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษสินค้า
นำเข้าและส่งออกบางชนิดเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาภายในประเทศ
ไม่มีกฎหมายการต่อต้านการทุ่มตลาด การตอบโต้การอุดหนุน และการ ปกป้อง
ต้องขออนุญาตส่งออกและเก็บภาษีส่งออกสินค้าบางชนิด เช่น ข้าวและ สินค้าทรัพยากรธรรมชาติ
(3) นโยบายการลงทุน
นโยบายการลงทุนที่สำคัญ คือการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศโดยการออกกฎหมายการลงทุนระหว่างประเทศตั้งแต่ปี 2530
และมีการปรับปรุงมาเป็นระยะๆ มีการประกันการลงทุนจากต่างประเทศว่าไม่มีการยึดทรัพย์ของชาวต่างชาติ การให้มาตรการจูงใจทางด้าน
การลงทุน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จาก 12, 295 แห่งให้เหลือเพียงครึ่งหนึ่ง
1.3 การค้าระหว่างประเทศของเวียดนาม
การส่งออกของเวียดนามขยายตัวอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2533 ในช่วงปี 2537-2539 มีอัตราการขยายตัวเกินกว่าร้อยละ 30
อย่างไรก็ตามการนำเข้าก็มีการขยายตัวในอัตราสูง บางปีอัตราการขยายตัวเกือบร้อยละ 50 ทำให้เวียดนามขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง
สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ อาหารและสัตว์มีชีวิต น้ำมันดิบ รองเท้า วัตถุดิบจากธรรมชาติ
สินค้าเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
ประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลี ฝรั่งเศส เยอรมนี โดยค้าขายกับประเทศในเอเซียประมาณร้อยละ 60
และค้าขายกับยุโรปรองลงมาเป็นลำดับ 2
1.4 การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับเวียดนาม
(1) การค้าระหว่างไทยกับเวียดนาม ตั้งแต่ปี 2538-2541 การค้าระหว่างไทยกับเวียดนามขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่อัตราการขยายตัว
มีแนวโน้มลดลง โดยการขยายตัวทางด้านการส่งออกน้อยกว่าการขยายตัวทางด้านการนำเข้าในครึ่งปี 2542 การค้ามีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก
การส่งออกของไทยไปเวียดนามลดลง โดยเฉพาะสินค้ายานพาหนะ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป และอาหารสัตว์
การส่งออกของไทยไปเวียดนาม คิดเป็นร้อยละ 1 ของการส่งออกรวม เป็นตลาดส่งออกสำคัญลำดับที่ 19 ร้อยละ 80 เป็นการ
ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าออกสำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ เป็นต้น
การนำเข้าของไทยจากเวียดนามคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของการนำเข้ารวมของไทย เวียดนามเป็นแหล่งนำเข้าลำดับที่ 31 สินค้านำเข้า
สำคัญร้อยละ 80 เป็นสินค้าประเภททุน ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ผลิตโดย
บริษัทร่วมทุนระหว่างเวียดนามกับประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น เช่น แผง สวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าตัวเหนี่ยวนำ มอเตอร์
สตาร์ตเตอร์มอเตอร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบตเตอรี่ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมี สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทพัดลม ซึ่งผลิตโดยบริษัทที่เป็น
รัฐวิสาหกิจของเวียดนาม และสินค้าประเภทส่วนประกอบของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์โทรคมนาคม ซึ่งผลิตโดยบริษัทร่วมทุนระหว่าง
ทบวงไปรษณีย์-โทรคมนาคมแห่ง เวียดนามกับบริษัทของประเทศออสเตรเลีย ส่วนที่เหลือเป็นวัตถุดิบ เช่น หนังดิบ โลหะ เป็นต้น
ในปี 2541 ส่วนแบ่งตลาดของไทยในเวียดนามร้อยละ 5.9 มีความสำคัญเป็นลำดับ 5 รองจากสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน
และมีความสำคัญเป็นลำดับ 2 เมื่อเทียบกับประเทศอาเซียนด้วยกัน
(2) การลงทุนของไทยในเวียดนาม จากสถิติในปี 2541 การลงทุนของไทยในเวียดนามมีมูลค่ารวม 1,151 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
จัดอยู่ในลำดับที่ 12 ของการลงทุนจากต่างประเทศในเวียดนาม กิจการที่ไทยเข้าไปลงทุนได้แก่ การค้า การส่งออก การเจียระไนพลอย
การผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภค การประมง สายการบิน ธนาคาร และกิจการน้ำมัน เป็นต้น
1.5 พันธกรณีของเวียดนามภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ เดือนกรกฎาคม 2538 และได้เข้าร่วมในความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เทียมกัน
สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT) เมื่อธันวาคม 2538 ทั้งนี้เวียดนามได้มีการปรับปรุงรายการสินค้าของเวียดนามที่อยู่ภายใต้ CEPT ซึ่ง
ในปัจจุบันสถานะข้อผูกพันของเวียดนามมีดังนี้
รายการสินค้าสินค้าภายใต้ CEPT ของเวียดนาม
รายการสินค้า จำนวนรายกการ สัดส่วน(ร้อยละ)
ปี 2539 ปี2543 ปี2539 ปี2543
สินค้าลดภาษี (IL) 857 3,573 38.6 74
สินค้ายกเว้นการลดภาษีชั่วคราว (TEL) 1,189 984 53.6 20.4
สินค้าอ่อนไหว (SL) 26 51 1.2 1.1
สินค้าที่ขอยกเว้นเป็นการทั่วไปไม่ลดภาษี (GEL) 146 219 6.6 4.5
รวม 2,218 4,827 100 100
1.6 การเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของเวียดนาม
เวียดนามแจ้งความจำนงเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อมกราคม 2538 ที่ประชุมคณะมนตรีใหญ่ได้มีมติตั้งคณะทำงานขึ้นพิจารณา
ระบบการค้าของเวียดนาม ประเด็นที่สมาชิก WTO ยังติดใจสงสัยว่าระบบการค้าของเวียดนามยังไม่สอดคล้องกับกฎเกณฑ์การค้าของ WTO
เช่น การกำหนดราคาสินค้า นโยบายภาษี มาตรการจำกัดการนำเข้า การควบคุมการ ส่งออก การค้าโดยรัฐ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
2. ข้อวิเคราะห์
2.1 เวียดนามประสบผลสำเร็จในการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการลงทุนจากต่างประเทศ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ
ดังกล่าว เช่น การปฏิรูปภาคเกษตร โดยอนุญาตให้มีการถือครองที่ดินเพิ่มขึ้น มีการใช้ปัจจัยการผลิตเช่นปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ทำให้เวียดนาม
ซึ่งเคยเป็นประเทศนำเข้าอาหารกลับกลายเป็นประเทศส่งออกอาหาร สินค้าที่เวียดนามมีศักยภาพในการส่งออกและแข่งขันกับไทย เช่น ข้าว
กาแฟ ยางพารา อาหารทะเล นอกจากนี้ เวียดนามยังมีความชัดเจนว่าจะส่งเสริมการผลิตเพื่อส่งออกและการผลิตสินค้าที่มีการตัดแต่ง พันธุ์กรรม
(GMO) โดยกำหนดไว้ในแผนพัฒนาการเกษตร ซึ่งอาจทำให้เวียดนามผลิตสินค้าอาหารมาแข่งขันกับประเทศไทยได้มากขึ้นในอนาคต นอกจากนั้น
เวียดนามยังมีการปฏิรูป อุตสาหกรรม โดยให้กลไกตลาดมีบทบาทมากขึ้น และปรับปรุงกฎหมายด้านการลงทุนหลายครั้ง รวมทั้งมีการแปรรูป
รัฐวิสาหกิจหลายร้อยกิจการเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ สินค้า อุตสาหกรรมที่เวียดนามมีศักยภาพในการส่งออกและแข่งขันกับไทย
เช่น สิ่งทอและเสื้อผ้า รองเท้า ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
2.2 การลงทุนของไทยในเวียดนามยังน้อยกว่าประเทศอาเซียนอื่นๆ โดยเฉพาะสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่เข้าไปลงทุนในเวียดนาม
มากที่สุด ตั้งแต่ปี 2531-2542 (กรกฎาคม) มูลค่าการลงทุนของไทยประมาณร้อยละ 3 ของมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของเวียดนามทั้งหมด
ขณะที่สิงคโปร์ประมาณร้อยละ 18 โดยการลงทุนของไทยส่วนใหญ่เป็น การบริการ เช่น ธนาคาร การบิน การค้า ยังมีอุตสาหกรรมที่ไทยควรให้
ความสนใจและมีโอกาสเข้าไปลงทุนในเวียดนาม เช่น เครื่องอุปโภค-บริโภคในครัวเรือน การประมงและการแปรรูป สินค้าประมง การแปรรูป
สินค้าเกษตร การก่อสร้าง การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โรงแรม ศูนย์การค้า เป็นต้น
2.3 การส่งออกของไทยไปเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ส่วนแบ่งตลาดของไทยยังน้อยมากเพียงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับสิงคโปร์
ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 20 แม้ทั้งสองประเทศได้รับสิทธิเท่าเทียมกันในฐานะสมาชิกของอาเซียน เนื่องจากเวียดนามและสิงคโปร์เป็นคู่ค้าสินค้า
น้ำมันมานาน โดยเวียดนามส่งออกน้ำมันดิบไปสิงคโปร์และนำเข้าผลิตภัฑ์ปิโตรเลียมทุกชนิดจากสิงคโปร์
2.4 สถานะของเวียดนามหลังจากเข้าเป็นสมาชิก ASEAN
(1) อัตราภาษีของเวียดนามค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และพลาสติก มีอัตราภาษีนำเข้าเฉลี่ยร้อยละ
30-60 การที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิก อาเซียนจึงเป็นประโยชน์ต่อไทยในอนาคต เนื่องจากเวียดนามจะต้องลดภาษีให้กับประเทศสมาชิกอาเซียน
(2) ปัจจุบันสินค้าส่งออกสำคัญของไทยส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีภายใต้ CEPT จากการศึกษาข้อมูลการส่งออกของ
ไทยไปเวียดนาม 25 รายการแรก ในปี 2541 สินค้าออกของไทยหลายรายการ เช่น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม รถจักรยานยนต์ ฯลฯ เป็นสินค้าที่
เวียดนามขอยกเว้นเป็นการทั่วไปไม่นำมาลดภาษีภายใต้ CEPT นอกจากนี้ ยังมีบางรายการ เช่น ยากำจัดวัชพืชและยาฆ่าแมลง ปุ๋ย ถังบรรจุก๊าซ
และผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้าอื่นๆ ซึ่งยังอยู่ในรายการที่เวียดนามขอไม่นำมาลดภาษีเป็นการชั่วคราว ส่วนสินค้าบางรายการที่เวียดนาม
นำมาลดภาษีภายใต้ CEPT เป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบและส่วนประกอบ ซึ่งเวียดนามไม่เก็บภาษีนำเข้าอยู่แล้ว เช่น เม็ดพลาสติก ส่วนประกอบ
รถจักรยานและจักรยานยนต์ และยังมีสินค้าหลายรายการที่เก็บภาษีเท่ากับอัตราทั่วไป (MFN) หรือบางรายการลดภาษีต่ำกว่าอัตราทั่วไปเพียงเล็กน้อย
2.5 การปรับตัวของเวียดนามเพื่อเข้าเป็นสมาชิก WTO
(1) เวียดนามกำลังปรับปรุงนโยบายและมาตรการภายในประเทศ เพื่อเตรียมการในการเข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งส่วนใหญ่เป็น
นโยบายทางการค้าสินค้าเกษตรที่ไทยจะได้รับประโยชน์ด้วย เช่น
ยกเลิกการจำกัดการนำเข้าสินค้าเกษตรบางชนิด อาทิ น้ำตาล
ยกเลิกการใช้ราคาอ้างอิงในการเก็บภาษี เช่น แป้ง น้ำตาล น้ำมันพืช
ยกเลิกการควบคุมการส่งออกข้าว
ใช้หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาตร์ในการห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรบางชนิด เช่น เนื้อ ไข่
การออกใบอนุญาตนำเข้าต้องโปร่งใสมากขึ้นและต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการออกใบอนุญาตนำเข้า
การค้าโดยรัฐต้องมีความโปร่งใสและสอดคล้องกับกฎแกตต์ว่าด้วยการค้าโดยรัฐ
ไม่สามารถให้การอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรได้เนื่องจากแจ้งว่าในปัจจุบันไม่มีการอุดหนุนส่งออกสินค้าเกษตร
จำกัดการอุดหนุนภายใน
สำหรับนโยบายและมาตรการอื่นๆ ซึ่งเวียดนามจะต้องปรับให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของ WTO เช่น การจำกัดการนำเข้าเพื่อ
คุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ การจำกัดการส่งออกและการเก็บภาษีส่งออก การทำการค้าโดยรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
(2) ประโยชน์ที่เวียดนามได้รับจากการเข้าเป็นสมาชิก WTO
ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกับประเทศสมาชิก WTO โดยไม่จำเป็นต้องเจรจาทวิภาคีเป็นรายประเทศ เป็นการสร้างความแน่นอน
ให้กับการ ส่งออกของเวียดนาม
ได้ประโยชน์จากการใช้กฎเกณฑ์ภายใต้ WTO มาตอบโต้การใช้มาตรการฝ่ายเดียวของประเทศต่างๆได้ เช่น การใช้มาตรต่อต้าน
การทุ่มตลาด การใช้มาตรการปกป้อง การใช้มาตรการจำกัดการนำเข้าโดยอ้างเหตุผลทางด้านสุขอนามัย
สร้างเสถียรภาพให้กับราคาสินค้าเกษตรบางชนิดภายในประเทศเนื่องจากมีการนำเข้าและส่งออกได้เสรีมากขึ้น ทำให้ราคาภาย
ในประเทศปรับตัวไปตามราคาตลาดโลกได้มากขึ้น เช่น น้ำตาล ซึ่งปัจจุบันควบคุมการนำเข้า ข้าว ซึ่งปัจจุบันควบคุมการส่งออก
3. ความเห็น
3.1 ไทยควรผลักดันให้เวียดนามปรับปรุงการลดภาษีภายใต้ CEPT ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของอาเซียนให้เร็วที่สุด เนื่องจากอัตรา
ภาษีที่เวียดนามยื่นภายใต้ CEPT เมื่อปี 2542 มีอีกจำนวนมากที่เวียดนามแจ้งว่าจะลดภาษีภายใต้ CEPT แต่อัตราภาษีดังกล่าวก็ยังเป็นอัตราทั่วไป
(MFN) ซึ่งทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร
3.2 ไทยควรให้ความสำคัญกับเวียดนามในฐานะเป็นตลาดของสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะได้สิทธิพิเศษทางภาษี อย่างไรก็ตาม เวียดนาม
ยังขอยกเว้นไม่ลดภาษีเป็นการทั่วไปถึง 219 รายการ ในขณะที่ไทยไม่มีรายการขอยกเว้นภาษี และรายการที่ขอยกเว้นมีหลายรายการที่เป็นสินค้า
ส่งออกสำคัญที่ไทยมีโอกาสขยายการส่งออกไปเวียดนาม ไทยจึงควรพิจารณาให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการขอยกเว้นไม่ลดภาษีเป็นการทั่วไปภาย
ใต้อาเซียน เพื่อให้มีข้อยกเว้นน้อยที่สุดและเป็นประโยชน์ในการขยายการค้าภายใต้อาเซียนตามวัตถุประสงค์ของอาฟตา
3.3 ไทยควรติดตามการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนามอย่างใกล้ชิด ถึงแม้จะไม่เจรจาขอลดภาษีจากเวียดนามภายใต้กรอบ
WTO เนื่องจากได้ประโยชน์ภายใต้อาเซียนอยู่แล้ว แต่สำหรับการใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องกับการค้าอื่นๆ ของเวียดนามที่ยังไม่สอดคล้องกับกฎ WTO
ไทยควรสนับสนุนประเทศสมาชิก WTO อื่นๆ ผลักดันให้เวียดนามปรับปรุงแก้ไขมาตรการดังกล่าวให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ
และมีความ โปร่งใส เช่น
ไม่ยินยอมให้เวียดนามให้การอุดหนุนส่งออกสินค้าเกษตรซึ่งเวียดนาม แจ้งว่าขอสงวนสิทธิที่จะใช้การอุดหนุนนี้ในอนาคต
ผลักดันให้เวียดนามเปิดตลาดสินค้าเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของไทยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ WTO ให้มากที่สุด เช่นน้ำตาล
ผลักดันให้เวียดนามยกเลิกการนำเข้าโดยการใช้รัฐวิสาหกิจให้มากที่สุด และหากยังมีการนำเข้าโดยรัฐวิสาหกิจก็ต้องมีการปฏิบัติ
อย่างโปร่งใส
3.4 ไทยควรให้ความสนใจในการเข้าไปลงทุนในเวียดนาม ในกิจการที่ไทย มีประสบการณ์มากกว่าเวียดนาม โดยเฉพาะทางด้าน
บริการต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว ธนาคาร การประมง การแปรรูปอาหารเป็นต้น
สำหรับการแข่งขันในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศระหว่างไทยกับเวียดนามนั้น ไทยไม่น่าจะเป็นกังวลมากนัก เนื่องจากปัจจัย
ต่างๆที่จะดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศประกอบด้วยหลายปัจจัย ซึ่งเวียดนามมีความได้เปรียบประเทศไทยเพียงบางปัจจัย เช่น ค่าแรงงาน
และวัตถุดิบยังอยู่ในราคาต่ำ รวมทั้งมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างกว้างขวาง แต่ไทยก็มีความได้เปรียบเวียดนามหลายปัจจัย เช่น ความพร้อม
ทางด้านสาธารณูปโภค และความโปร่งใสในระบบการบริหาร เป็นต้น
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-