เศรษฐกิจของจังหวัดปัตตานีขึ้นอยู่กับภาคเกษตรเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการทำประมงและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง
ซึ่งในปีนี้ปริมาณสัตว์น้ำทั้งจากการเพาะเลี้ยงและการทำประมงมีปริมาณเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาจำหน่ายอยู่ในเกณฑ์ดีตามภาวะในตลาดโลกซึ่ง
ราคาปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะกุ้งกุลาดำ เนื่องจากปริมาณผลผลิตจากประเทศผู้ผลิตสำคัญลดลง ส่วนในภาคการเงินปริมาณเงินฝากและ
สินเชื่อไม่ขยายตัว เนื่องจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้น ทำให้ธนาาคารพาณิชย์ยังคงมีความเข้มงวดเงื่อนไข
ในการพิจารณาการให้สินเชื่อแก่ลูกค้า ขณะเดียวกันสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ยังมีมาก ทำให้สาขาธนาคารพาณิชย์ไม่เน้นการระดม
เงินฝากในปีนี้
ภาคการเกษตร
ประมง การทำประมงในจังหวัดปัตตานีซึ่งมีทั้งการทำประมงนอกน่านน้ำและการทำประมงชายฝั่ง ต่างประสบกับปัญหาและ
ข้อจำกัด ได้แก่ ภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจนมีผลกระทบต่อต้นทุนในการจับสัตว์น้ำ ปัญหาการทำประมงในน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน
ตลอดจนปัญหาทรัพยากรร่อยหรอ อย่างไรก็ตามปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลาในจังหวัดปัตตานียังคงเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องจากปีก่อน โดยในปีนี้มีจำนวน 200,059 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.4 โดยมีมูลค่าสัตว์น้ำรวม 4,596.0 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 ในจำนวนนี้เป็นปลาเป็ด 41,192 เมตริกตัน มูลค่า 123.7 ล้านบาท
ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ผลผลิตกุ้งกุลาดำค่อนข้างดี เนื่องจากสภาพอากาศ เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของกุ้ง ประกอบ
ผู้ผลิตสำคัญอื่นลดลง อาทิ เอควาดอร์ เป็นต้น
นอกภาคการเกษตร
การค้า ในปีนี้ทางการได้ดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงซบเซา
รวมทั้งสร้างกำลังซื้อของประชาชนทำให้ภาคการค้าและการลงทุนคึกคักขึ้น เช่นเดียวกับภาวะการค้ายานพาหนะภายในจังหวัด ปีนี้มีการจด
ทะเบียนรถใหม่เพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีการจดทะเบียน 297 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 94.1 ส่วน
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์มีการจดทะเบียน 694 คันและ 5,192 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 และ 41.7 ตามลำดับ
การลงทุน ในด้านการลงทุนในจังหวัดปัตตานี แม้ว่าในปีนี้จะไม่มีกิจการที่ขอรับการ ส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุนก็ตาม แต่จำนวนธุรกิจที่ขอจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลรายใหม่ในปีนี้มีจำนวนถึง 55 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 120.2 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับปีก่อนที่มีจำนวน 43 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 61.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 และ 94.8 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามการลงทุนในธุรกิจก่อสร้างภายในจังหวัดไม่ขยายตัว เนื่องจากยังขาดกำลังซื้อของประชาชน จากรายงานของเทศบาล
ในจังหวัดปัตตานีปีนี้มีการขออนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลทั้งสิ้น 21,017 ตารางเมตร ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 19.8 จำแนกได้เป็นการขออนุญาต
ก่อสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย 17,925 ตารางเมตร เพื่อการพาณิชย์ 1,331 ตารางเมตร เพื่อการบริการ 127 ตารางเมตร และอื่น ๆ 1,634
ตารางเมตร
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดปัตตานีในปีนี้มีตำแหน่งงานว่างในธุรกิจประมงเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการทดแทน
แรงงานต่างชาติ โดยมีการประกาศตำแหน่งงานว่างทั้งสิ้น 25,077 อัตรา เทียบกับปีก่อนที่มีตำแหน่งงานว่างเพียง 1,133 อัตรา อย่างไรก็ตาม
แรงงาน คนไทยยังไม่ให้ความสนใจกับงานในธุรกิจประมงมากนัก ทำให้มีผู้มาสมัครงานเพียง 547 คน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 40.5 และมีผู้ได้รับ
การบรรจุงาน 276 คน ลดลงร้อยละ 45.6 ซึ่งสะท้อนภาพบางส่วนได้ว่าในธุรกิจประมงยังมีการขาดแคลนแรงานในระดับหนึ่ง
การคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดปัตตานีชะลอลงเล็กน้อยโดยมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
4,888.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.3 จากปีก่อน ส่วนการจัดเก็บภาษีอากรซึ่งเป็นรายได้ของภาครัฐสามารถจัดเก็บได้ 279.9 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 19.1 จากปีก่อน เป็นผลจากจัดเก็บภาษีสรรพากรได้ลดลง โดยจัดเก็บได้ 277.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.4 ส่วนภาษีสรรพสามิตจัด
เก็บได้ 1.2 ล้านบาท และภาษีศุลกากร 0.8 ล้านบาท
การเงินการธนาคาร ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของจังหวัดปัตตานีเพิ่มมากขึ้นตามภาวะการค้าและการประมง โดยปีนี้
ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยจังหวัดปัตตานีมีการรับเงินสดเข้าทั้งสิ้น 6,220.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.1 จากปีก่อน ส่วนเงินจ่ายออกรวม
ทั้งสิ้น 6,458.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ส่งผลให้มีเงินสดจ่ายออกสุทธิ 237.7 ล้านบาท ขณะเดียวกันการโอนเงินระหว่างธนาคารแห่ง
ประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กับผู้แทนฯ ในปีนี้มีการโอนเงินเข้า 13,815.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นปีก่อนร้อยละ 13.7 และมีการโอนเงินออก
8,791.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.1
ปริมาณเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ารวมในจังหวัดปัตตานีในปีนี้เท่ากับร้อยละ 1.8 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 1.2
จากจำนวนเช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชี 211,658 ฉบับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ในขณะที่มูลค่าของเช็คผ่านสำนักหักบัญชี
14,132.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.5
ปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดปัตตานีจำนวน 16 สำนักงาน ณ สิ้นเดือนธันวาคมนี้มียอดคงค้าง 8,681.2 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับสิ้นปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ทั้งนี้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสภาพคล่อง
ทางการเงินที่มีมากทำให้สาขาธนาคารพาณิชย์ไม่เน้นการระดมเงินฝาก โดยสามารถจำแนกประเภทของเงินฝากได้เป็นเงินฝากประจำ 5,759.2
ล้านบาท เงินฝากออมทรัพย์ 2,678.6 ล้านบาท และเงินฝากกระแสรายวัน 243.3 ล้านบาท
ด้านการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ลดลงจากในระยะที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการพิจารณาการให้สินเชื่อและการประเมิน
หลักทรัพย์ค้ำประกันด้วยความระมัดระวังมากขึ้น ทำให้ยอดคงค้างของเงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 4,699.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.9
จากปีก่อน และมีสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากเพียงร้อยละ 54.1 เงินให้สินเชื่อดังกล่าวเป็นเงินให้กู้ 2,531.4 ล้านบาท เงินเบิกเกินบัญชี
1,915.3 ล้านบาท และเงินให้สินเชื่อจากตั๋วเงินและ อื่น ๆ 253.1 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาเงินให้สินเชื่อจำแนกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
พบว่าสินเชื่อที่ปล่อยกู้ในจังหวัดปัตตานีส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อค้าปลีกค้าส่ง สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล และสินเชื่อเพื่อการเกษตร ยอดคงค้าง
1,524.9 ล้านบาท 1,136.4 ล้านบาท และ 766.2 ล้านบาท ตามลำดับ
การปล่อยสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งมีจำนวน 5 สำนักงานในจังหวัดปัตตานีรวมทั้งสิ้น 705.5
ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อน ขณะที่บรรษัทเงินทุน อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าเพียง 5 ราย เงินสินเชื่อรวม 33.0
ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีการปล่อยสินเชื่อรวม 9 ราย เป็นเงิน 116.0 ล้านบาท
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดปัตตานีในปี 2544
เศรษฐกิจโดยทั่วไปของจังหวัดปัตตานีในปี 2544 ยังคงขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรเป็นสำคัญ ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเนื่องจากภาวะ
การค้าและการผลิตสินค้าสัตว์น้ำทั้งจากการทำประมงและการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำยังอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นผลจากราคาที่ยังอยู่ในระดับสูงเพราะผลผลิต
จากประเทศคู่แข่งยังไม่ฟื้นตัวจูงใจให้เกษตรกรทำการเพาะเลี้ยงมากขึ้น ประกอบกับการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำของทางการเพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น แต่มีปัจจัยที่ควรจับตามองคือราคาน้ำมันในตลาดโลกและการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐซึ่ง
อาจทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น และผลผลิตกุ้งของประเทศเวียดนามมีแนวโน้มออกสู่ตลาดมากขึ้นจะมีผลกระทบต่อการผลิตและการค้าสัตว์น้ำ
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ จังหวัดปัตตานี
เครื่องชี้ 2541 2542 2543 43/42
1. การเกษตร
1.1 ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 22.93 18.02 21.6 19.9
1.2 ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 179,774 184,562 200,059 8.4
มูลค่า (ล้านบาท) 4,015.40 3,967.30 4,596.00 15.8
ปลาเป็ด ปริมาณ (เมตริกตัน) 37,454 53,699 41,192 -23.3
มูลค่า (ล้านบาท) 112.5 161.8 123.7 -23.5
กุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กก. (บาท/กก.) - -
2. การค้า
2.1 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 136 153 297 94.1
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 412 570 694 21.8
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 4,044 3,664 5,192 41.7
2.2 การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 114.3 170.8 135.9 -20.4
มูลค่าการนำเข้า 1.2 0.8 0.8 0
3. การลงทุน
3.1 กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 1 1 0 -100
เงินลงทุน (ล้านบาท) 40 70 0 -100
การจ้างงาน (คน) 184 293 0 -100
3.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 36 43 55 27.9
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 49.1 61.7 120.2 94.8
3.3 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร) 18,631 26,192 21,017 -19.8
ที่อยู่อาศัย 13,726 17,884 17,925 0.2
การพาณิชย์ 2,201 4,009 1,331 -66.8
การบริการ - - 127
อื่น ๆ 2,704 4,299 1,634 -62
4. ค่าจ้างและการจัดหางาน
4.1 ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) 130 130 130 0
4.2 การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 7,570 1,133 25,077 2,113.30
ผู้สมัครงาน (คน) 1,271 919 547 -40.5
การบรรจุงาน (คน) 322 507 276 -45.6
5. การคลัง (ล้านบาท)
5.1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 4,865.20 5,161.10 4,888.70 -5.3
5.2 การจัดเก็บภาษีอากร 420 346 279.9 -19.1
สรรพากร 419.5 345 277.9 -19.4
สรรพสามิต 0.5 0.9 1.2 33.3
ศุลกากร 0 0.1 0.8 700
6. การเงิน
6.1 การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.
(ล้านบาท)
เงินสดรับ 4,928.00 4,505.00 6,220.80 38.1
เงินสดจ่าย 5,140.40 5,704.30 6,458.50 13.2
6.2 การโอนเงินระหว่าง ธปท. กับผู้แทน
(ล้านบาท)
เงินโอนออก 7,542.00 8,365.60 8,791.50 5.1
เงินโอนเข้า 12,102.80 12,148.50 13,815.90 13.7
6.3 การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 213,516 206,419 221,658 7.4
มูลค่า (ล้านบาท) 16,543.50 14,957.20 14,132.70 -5.5
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 1.6 1.2 1.8
6.4 ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 16 16 16 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 8,135.20 8,108.80 8,681.20 7.1
กระแสรายวัน 253 206.5 243.3 17.8
ออมทรัพย์ 1,759.20 2,085.80 2,678.60 28.4
ประจำ 6,123.00 5,816.10 5,759.20 -1
อื่น ๆ 0 0.4 0.1 -75
สินเชื่อ (ล้านบาท) 5,907.80 5,274.80 4,699.80 -10.9
เงินเบิกเกินบัญชี 2,577.70 2,299.90 1,915.30 -16.7
เงินให้กู้ 2,584.60 2,683.00 2,531.40 -5.7
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 745.5 291.9 253.1 -13.3
สินเชื่อแยกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
การเกษตร 757.6 748.4 766.2 2.4
เหมืองแร่ 25.3 27.9 9 -67.7
การอุตสาหกรรม 357 379.5 404.5 6.6
การรับเหมาก่อสร้าง 422.8 405.2 309.4 -23.6
การค้าส่งออก 8.8 15.3 9.3 -39.2
การค้าปลีกค้าส่ง 2,007.30 1,679.50 1,524.90 -9.2
ธุรกิจการเงิน 185.5 2.1 4.1 95.2
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 188.3 131.3 235.7 79.5
สาธารณูปโภค 46.6 45.7 28.9 -36.8
การบริการ 352.4 373.2 342.5 -8.2
การบริโภคส่วนบุคคล 1,556.20 1,466.70 1,136.40 -22.5
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 72.6 65.1 54.1
6.5 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สินเชื่อ (ล้านบาท) 673 708.6 705.5 -0.4
6.6 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) 3 9 5 -44.4
สินเชื่อ (ล้านบาท) 9.5 116 33 -71.6
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ซึ่งในปีนี้ปริมาณสัตว์น้ำทั้งจากการเพาะเลี้ยงและการทำประมงมีปริมาณเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาจำหน่ายอยู่ในเกณฑ์ดีตามภาวะในตลาดโลกซึ่ง
ราคาปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะกุ้งกุลาดำ เนื่องจากปริมาณผลผลิตจากประเทศผู้ผลิตสำคัญลดลง ส่วนในภาคการเงินปริมาณเงินฝากและ
สินเชื่อไม่ขยายตัว เนื่องจากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินที่เกิดขึ้น ทำให้ธนาาคารพาณิชย์ยังคงมีความเข้มงวดเงื่อนไข
ในการพิจารณาการให้สินเชื่อแก่ลูกค้า ขณะเดียวกันสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ยังมีมาก ทำให้สาขาธนาคารพาณิชย์ไม่เน้นการระดม
เงินฝากในปีนี้
ภาคการเกษตร
ประมง การทำประมงในจังหวัดปัตตานีซึ่งมีทั้งการทำประมงนอกน่านน้ำและการทำประมงชายฝั่ง ต่างประสบกับปัญหาและ
ข้อจำกัด ได้แก่ ภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจนมีผลกระทบต่อต้นทุนในการจับสัตว์น้ำ ปัญหาการทำประมงในน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน
ตลอดจนปัญหาทรัพยากรร่อยหรอ อย่างไรก็ตามปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลาในจังหวัดปัตตานียังคงเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องจากปีก่อน โดยในปีนี้มีจำนวน 200,059 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.4 โดยมีมูลค่าสัตว์น้ำรวม 4,596.0 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 ในจำนวนนี้เป็นปลาเป็ด 41,192 เมตริกตัน มูลค่า 123.7 ล้านบาท
ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ผลผลิตกุ้งกุลาดำค่อนข้างดี เนื่องจากสภาพอากาศ เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของกุ้ง ประกอบ
ผู้ผลิตสำคัญอื่นลดลง อาทิ เอควาดอร์ เป็นต้น
นอกภาคการเกษตร
การค้า ในปีนี้ทางการได้ดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงซบเซา
รวมทั้งสร้างกำลังซื้อของประชาชนทำให้ภาคการค้าและการลงทุนคึกคักขึ้น เช่นเดียวกับภาวะการค้ายานพาหนะภายในจังหวัด ปีนี้มีการจด
ทะเบียนรถใหม่เพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน มีการจดทะเบียน 297 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 94.1 ส่วน
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์มีการจดทะเบียน 694 คันและ 5,192 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 และ 41.7 ตามลำดับ
การลงทุน ในด้านการลงทุนในจังหวัดปัตตานี แม้ว่าในปีนี้จะไม่มีกิจการที่ขอรับการ ส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการ
ส่งเสริมการลงทุนก็ตาม แต่จำนวนธุรกิจที่ขอจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลรายใหม่ในปีนี้มีจำนวนถึง 55 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 120.2 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับปีก่อนที่มีจำนวน 43 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 61.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 และ 94.8 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามการลงทุนในธุรกิจก่อสร้างภายในจังหวัดไม่ขยายตัว เนื่องจากยังขาดกำลังซื้อของประชาชน จากรายงานของเทศบาล
ในจังหวัดปัตตานีปีนี้มีการขออนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลทั้งสิ้น 21,017 ตารางเมตร ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 19.8 จำแนกได้เป็นการขออนุญาต
ก่อสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย 17,925 ตารางเมตร เพื่อการพาณิชย์ 1,331 ตารางเมตร เพื่อการบริการ 127 ตารางเมตร และอื่น ๆ 1,634
ตารางเมตร
การจ้างงาน จากรายงานของสำนักงานจัดหางานจังหวัดปัตตานีในปีนี้มีตำแหน่งงานว่างในธุรกิจประมงเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นการทดแทน
แรงงานต่างชาติ โดยมีการประกาศตำแหน่งงานว่างทั้งสิ้น 25,077 อัตรา เทียบกับปีก่อนที่มีตำแหน่งงานว่างเพียง 1,133 อัตรา อย่างไรก็ตาม
แรงงาน คนไทยยังไม่ให้ความสนใจกับงานในธุรกิจประมงมากนัก ทำให้มีผู้มาสมัครงานเพียง 547 คน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 40.5 และมีผู้ได้รับ
การบรรจุงาน 276 คน ลดลงร้อยละ 45.6 ซึ่งสะท้อนภาพบางส่วนได้ว่าในธุรกิจประมงยังมีการขาดแคลนแรงานในระดับหนึ่ง
การคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดปัตตานีชะลอลงเล็กน้อยโดยมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
4,888.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.3 จากปีก่อน ส่วนการจัดเก็บภาษีอากรซึ่งเป็นรายได้ของภาครัฐสามารถจัดเก็บได้ 279.9 ล้านบาท ลดลง
ร้อยละ 19.1 จากปีก่อน เป็นผลจากจัดเก็บภาษีสรรพากรได้ลดลง โดยจัดเก็บได้ 277.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 19.4 ส่วนภาษีสรรพสามิตจัด
เก็บได้ 1.2 ล้านบาท และภาษีศุลกากร 0.8 ล้านบาท
การเงินการธนาคาร ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของจังหวัดปัตตานีเพิ่มมากขึ้นตามภาวะการค้าและการประมง โดยปีนี้
ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยจังหวัดปัตตานีมีการรับเงินสดเข้าทั้งสิ้น 6,220.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.1 จากปีก่อน ส่วนเงินจ่ายออกรวม
ทั้งสิ้น 6,458.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ส่งผลให้มีเงินสดจ่ายออกสุทธิ 237.7 ล้านบาท ขณะเดียวกันการโอนเงินระหว่างธนาคารแห่ง
ประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ กับผู้แทนฯ ในปีนี้มีการโอนเงินเข้า 13,815.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นปีก่อนร้อยละ 13.7 และมีการโอนเงินออก
8,791.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.1
ปริมาณเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ารวมในจังหวัดปัตตานีในปีนี้เท่ากับร้อยละ 1.8 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 1.2
จากจำนวนเช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชี 211,658 ฉบับ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ในขณะที่มูลค่าของเช็คผ่านสำนักหักบัญชี
14,132.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.5
ปริมาณเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดปัตตานีจำนวน 16 สำนักงาน ณ สิ้นเดือนธันวาคมนี้มียอดคงค้าง 8,681.2 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับสิ้นปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 ทั้งนี้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสภาพคล่อง
ทางการเงินที่มีมากทำให้สาขาธนาคารพาณิชย์ไม่เน้นการระดมเงินฝาก โดยสามารถจำแนกประเภทของเงินฝากได้เป็นเงินฝากประจำ 5,759.2
ล้านบาท เงินฝากออมทรัพย์ 2,678.6 ล้านบาท และเงินฝากกระแสรายวัน 243.3 ล้านบาท
ด้านการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ลดลงจากในระยะที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการพิจารณาการให้สินเชื่อและการประเมิน
หลักทรัพย์ค้ำประกันด้วยความระมัดระวังมากขึ้น ทำให้ยอดคงค้างของเงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 4,699.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.9
จากปีก่อน และมีสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากเพียงร้อยละ 54.1 เงินให้สินเชื่อดังกล่าวเป็นเงินให้กู้ 2,531.4 ล้านบาท เงินเบิกเกินบัญชี
1,915.3 ล้านบาท และเงินให้สินเชื่อจากตั๋วเงินและ อื่น ๆ 253.1 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาเงินให้สินเชื่อจำแนกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
พบว่าสินเชื่อที่ปล่อยกู้ในจังหวัดปัตตานีส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อค้าปลีกค้าส่ง สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล และสินเชื่อเพื่อการเกษตร ยอดคงค้าง
1,524.9 ล้านบาท 1,136.4 ล้านบาท และ 766.2 ล้านบาท ตามลำดับ
การปล่อยสินเชื่อของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งมีจำนวน 5 สำนักงานในจังหวัดปัตตานีรวมทั้งสิ้น 705.5
ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อน ขณะที่บรรษัทเงินทุน อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าเพียง 5 ราย เงินสินเชื่อรวม 33.0
ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีการปล่อยสินเชื่อรวม 9 ราย เป็นเงิน 116.0 ล้านบาท
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดปัตตานีในปี 2544
เศรษฐกิจโดยทั่วไปของจังหวัดปัตตานีในปี 2544 ยังคงขึ้นอยู่กับภาคการเกษตรเป็นสำคัญ ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเนื่องจากภาวะ
การค้าและการผลิตสินค้าสัตว์น้ำทั้งจากการทำประมงและการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำยังอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นผลจากราคาที่ยังอยู่ในระดับสูงเพราะผลผลิต
จากประเทศคู่แข่งยังไม่ฟื้นตัวจูงใจให้เกษตรกรทำการเพาะเลี้ยงมากขึ้น ประกอบกับการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำของทางการเพื่อกระตุ้น
เศรษฐกิจส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น แต่มีปัจจัยที่ควรจับตามองคือราคาน้ำมันในตลาดโลกและการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐซึ่ง
อาจทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น และผลผลิตกุ้งของประเทศเวียดนามมีแนวโน้มออกสู่ตลาดมากขึ้นจะมีผลกระทบต่อการผลิตและการค้าสัตว์น้ำ
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ จังหวัดปัตตานี
เครื่องชี้ 2541 2542 2543 43/42
1. การเกษตร
1.1 ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 22.93 18.02 21.6 19.9
1.2 ประมง
สัตว์น้ำ ปริมาณ (เมตริกตัน) 179,774 184,562 200,059 8.4
มูลค่า (ล้านบาท) 4,015.40 3,967.30 4,596.00 15.8
ปลาเป็ด ปริมาณ (เมตริกตัน) 37,454 53,699 41,192 -23.3
มูลค่า (ล้านบาท) 112.5 161.8 123.7 -23.5
กุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กก. (บาท/กก.) - -
2. การค้า
2.1 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 136 153 297 94.1
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 412 570 694 21.8
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 4,044 3,664 5,192 41.7
2.2 การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 114.3 170.8 135.9 -20.4
มูลค่าการนำเข้า 1.2 0.8 0.8 0
3. การลงทุน
3.1 กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 1 1 0 -100
เงินลงทุน (ล้านบาท) 40 70 0 -100
การจ้างงาน (คน) 184 293 0 -100
3.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 36 43 55 27.9
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 49.1 61.7 120.2 94.8
3.3 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร) 18,631 26,192 21,017 -19.8
ที่อยู่อาศัย 13,726 17,884 17,925 0.2
การพาณิชย์ 2,201 4,009 1,331 -66.8
การบริการ - - 127
อื่น ๆ 2,704 4,299 1,634 -62
4. ค่าจ้างและการจัดหางาน
4.1 ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) 130 130 130 0
4.2 การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 7,570 1,133 25,077 2,113.30
ผู้สมัครงาน (คน) 1,271 919 547 -40.5
การบรรจุงาน (คน) 322 507 276 -45.6
5. การคลัง (ล้านบาท)
5.1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 4,865.20 5,161.10 4,888.70 -5.3
5.2 การจัดเก็บภาษีอากร 420 346 279.9 -19.1
สรรพากร 419.5 345 277.9 -19.4
สรรพสามิต 0.5 0.9 1.2 33.3
ศุลกากร 0 0.1 0.8 700
6. การเงิน
6.1 การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.
(ล้านบาท)
เงินสดรับ 4,928.00 4,505.00 6,220.80 38.1
เงินสดจ่าย 5,140.40 5,704.30 6,458.50 13.2
6.2 การโอนเงินระหว่าง ธปท. กับผู้แทน
(ล้านบาท)
เงินโอนออก 7,542.00 8,365.60 8,791.50 5.1
เงินโอนเข้า 12,102.80 12,148.50 13,815.90 13.7
6.3 การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 213,516 206,419 221,658 7.4
มูลค่า (ล้านบาท) 16,543.50 14,957.20 14,132.70 -5.5
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 1.6 1.2 1.8
6.4 ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 16 16 16 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 8,135.20 8,108.80 8,681.20 7.1
กระแสรายวัน 253 206.5 243.3 17.8
ออมทรัพย์ 1,759.20 2,085.80 2,678.60 28.4
ประจำ 6,123.00 5,816.10 5,759.20 -1
อื่น ๆ 0 0.4 0.1 -75
สินเชื่อ (ล้านบาท) 5,907.80 5,274.80 4,699.80 -10.9
เงินเบิกเกินบัญชี 2,577.70 2,299.90 1,915.30 -16.7
เงินให้กู้ 2,584.60 2,683.00 2,531.40 -5.7
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 745.5 291.9 253.1 -13.3
สินเชื่อแยกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
การเกษตร 757.6 748.4 766.2 2.4
เหมืองแร่ 25.3 27.9 9 -67.7
การอุตสาหกรรม 357 379.5 404.5 6.6
การรับเหมาก่อสร้าง 422.8 405.2 309.4 -23.6
การค้าส่งออก 8.8 15.3 9.3 -39.2
การค้าปลีกค้าส่ง 2,007.30 1,679.50 1,524.90 -9.2
ธุรกิจการเงิน 185.5 2.1 4.1 95.2
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 188.3 131.3 235.7 79.5
สาธารณูปโภค 46.6 45.7 28.9 -36.8
การบริการ 352.4 373.2 342.5 -8.2
การบริโภคส่วนบุคคล 1,556.20 1,466.70 1,136.40 -22.5
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 72.6 65.1 54.1
6.5 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สินเชื่อ (ล้านบาท) 673 708.6 705.5 -0.4
6.6 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) 3 9 5 -44.4
สินเชื่อ (ล้านบาท) 9.5 116 33 -71.6
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-