แท็ก
gmo
บทความน่าสนใจ
การขาดแคลนอาหารเป็นปัญหาที่คาดว่าจะทวีความรุนแรง ยิ่งขึ้นในอนาคต เนื่องจากประชากรโลกเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่พื้นที่เพาะปลูกมีอยู่อย่างจำกัดและเป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงพลเมืองโลกกลับอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมลงมาก ทำให้มีความจำเป็น ต้องเร่งคิดค้นวิธีการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้มีอาหารเลี้ยง ชาวโลกได้อย่างเพียงพอ และเป็นที่มาของการคิดค้นอาหาร GMOs (Genetically Modified Organisms) ซึ่งเป็นอาหารที่ได้จากพืชหรือสัตว์ที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรมด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ในขณะนี้ประเด็นที่กำลังเป็นที่กล่าวขานกันมากคือความปลอดภัยในการ บริโภคอาหาร GMOs
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำในการผลิตอาหาร GMOs ตลอด จนทำการวิจัยและพัฒนาอาหาร GMOs อย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นการผลิตอาหาร GMOs จึงแพร่หลายไปในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก เนื่องจากเทคโนโลยี GMOs ช่วยให้ผลผลิตอาหารเพิ่มสูงขึ้นด้วยต้นทุนการผลิตที่ ถูกลง
ขณะที่ความนิยมในการผลิตอาหาร GMOs แพร่หลายไปยังกลุ่มประเทศผู้ผลิตอาหารที่สำคัญของโลกหลายประเทศ ก็ได้เกิดกระแสการต่อต้านการบริโภคอาหาร GMOs จากประเทศผู้นำเข้าอาหารรายใหญ่ของโลกและขยายวงกว้างออกไปในหลายประเทศด้วยเช่นกัน ประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการบริโภคอาหาร GMOs คือ
สหภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นกลุ่มประเทศแรกที่ให้ความระมัดระวังอย่างมากต่อการบริโภคอาหาร GMOs เนื่องจาก มีประสบการณ์ไม่สู้ดีเกี่ยวกับการบริโภคอาหารทั้งที่ผลิตเองในกลุ่ม EU หรือที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ การระบาดของเชื้อวัวบ้าในประเทศอังกฤษ จนทำให้ผู้บริโภคเนื้อวัวล้มป่วยเป็นจำนวนมาก การปนเปื้อนของสารไดอ็อกซินในอาหารที่ผลิตในเบลเยียม เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลการทดลองหลายชิ้นเกี่ยวกับอาหาร GMOs ที่ระบุว่าอาหาร GMOs อาจส่งผลร้ายต่อสิ่งมีชีวิตที่บริโภคอาหาร GMOs เข้าไป ทำให้กระแสการต่อต้านอาหาร GMOs ใน EU ยิ่งรุนแรงขึ้น ล่าสุด EU ได้ออกร่างสมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าอาหาร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมและดูแลความปลอดภัยของสินค้าอาหารที่จำหน่ายใน EU ซึ่งครอบคลุมถึงอาหาร GMOs ที่ต้องปิดฉลากระบุถึงส่วนประกอบที่เป็น GMOs อย่างชัดเจน รวมทั้งมีข้อกำหนดในการวางจำหน่ายสินค้าอาหาร GMOs อย่างเข้มงวด เพื่อ สร้างความชัดเจนและมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคใน EU
ญี่ปุ่น แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นได้ให้การรับรองความปลอดภัยแก่สินค้า GMOs กว่า 40 รายการไปแล้ว แต่ชาวญี่ปุ่นบางส่วนยังคงมีความวิตกกังวลและต้องการให้มีการปิดฉลากระบุส่วนประกอบที่เป็น GMOs บนสินค้าอาหารอย่างชัดเจน รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ออกระเบียบการปิดฉลากสินค้าอาหารที่มีส่วนประกอบ GMOs ขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2543 โดยให้เวลาแก่ผู้ผลิตปรับตัว 1 ปี และจะมีผลบังคับใช้จริงในวันที่ 1 เมษายน 2544
นอกจากนี้ ในหลายประเทศ เช่น นอร์เวย์ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ ก็ได้ออกมาตรการเกี่ยวกับการนำเข้าอาหาร GMOs อย่างเข้มงวดแล้วเช่นกัน
ความเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าอาหาร GMOs ของประเทศ ผู้นำเข้าหลายประเทศ เริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในฐานะผู้ผลิต อาหารรายใหญ่อันดับ 6 ของโลก โดยเฉพาะสินค้าอาหารที่มีส่วนประกอบ ของวัตถุดิบที่อาจเป็นพืช GMOs อาทิ ปลาทูน่ากระป๋องในน้ำมันพืชถูกซาอุดีอาระเบียส่งคืน เนื่องจากผู้นำเข้าอ้างว่าน้ำมันถั่วเหลืองที่ใช้เป็นพืช GMOs ผลิตภัณฑ์แป้งถั่วเหลืองถูกเยอรมนีห้ามนำเข้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเต้าเจี้ยวถูกญี่ปุ่นส่งคืน เพราะไม่มีใบรับรองว่าปลอดจาก GMOs และสงสัยว่าใช้วัตถุดิบที่เป็น GMOs ขนมปังกรอบถูกส่งกลับจากฝรั่งเศส เพราะใช้ซีอิ๊วที่ทำจากถั่วเหลือง เป็นต้น
แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ปลูกพืช GMOs โดยตรง แต่ผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิดยังต้องอาศัยวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้มีโอกาสที่อาจมีวัตถุดิบ GMOs ปะปนเข้าไปในการผลิตอาหาร การจัดตั้งหน่วยงาน ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการออกใบรับรองสินค้าอาหารที่ปลอด GMOs นับเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในขณะนี้ เนื่องจากปัญหาการส่งออกสินค้าอาหารที่ผ่านมาของไทยส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ประเทศไทยยังไม่มี หน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้การรับรองสินค้าอาหารที่ปลอดจาก GMOs
ข้อมูลจาก : ฝ่ายวิชาการและแผนงาน
-Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนเมษายน 2544--
-อน-
การขาดแคลนอาหารเป็นปัญหาที่คาดว่าจะทวีความรุนแรง ยิ่งขึ้นในอนาคต เนื่องจากประชากรโลกเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่พื้นที่เพาะปลูกมีอยู่อย่างจำกัดและเป็นแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงพลเมืองโลกกลับอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมลงมาก ทำให้มีความจำเป็น ต้องเร่งคิดค้นวิธีการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้มีอาหารเลี้ยง ชาวโลกได้อย่างเพียงพอ และเป็นที่มาของการคิดค้นอาหาร GMOs (Genetically Modified Organisms) ซึ่งเป็นอาหารที่ได้จากพืชหรือสัตว์ที่ผ่านการดัดแปลงทางพันธุกรรมด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ในขณะนี้ประเด็นที่กำลังเป็นที่กล่าวขานกันมากคือความปลอดภัยในการ บริโภคอาหาร GMOs
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำในการผลิตอาหาร GMOs ตลอด จนทำการวิจัยและพัฒนาอาหาร GMOs อย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นการผลิตอาหาร GMOs จึงแพร่หลายไปในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญของโลก เนื่องจากเทคโนโลยี GMOs ช่วยให้ผลผลิตอาหารเพิ่มสูงขึ้นด้วยต้นทุนการผลิตที่ ถูกลง
ขณะที่ความนิยมในการผลิตอาหาร GMOs แพร่หลายไปยังกลุ่มประเทศผู้ผลิตอาหารที่สำคัญของโลกหลายประเทศ ก็ได้เกิดกระแสการต่อต้านการบริโภคอาหาร GMOs จากประเทศผู้นำเข้าอาหารรายใหญ่ของโลกและขยายวงกว้างออกไปในหลายประเทศด้วยเช่นกัน ประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการบริโภคอาหาร GMOs คือ
สหภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นกลุ่มประเทศแรกที่ให้ความระมัดระวังอย่างมากต่อการบริโภคอาหาร GMOs เนื่องจาก มีประสบการณ์ไม่สู้ดีเกี่ยวกับการบริโภคอาหารทั้งที่ผลิตเองในกลุ่ม EU หรือที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ การระบาดของเชื้อวัวบ้าในประเทศอังกฤษ จนทำให้ผู้บริโภคเนื้อวัวล้มป่วยเป็นจำนวนมาก การปนเปื้อนของสารไดอ็อกซินในอาหารที่ผลิตในเบลเยียม เป็นต้น
นอกจากนี้ ผลการทดลองหลายชิ้นเกี่ยวกับอาหาร GMOs ที่ระบุว่าอาหาร GMOs อาจส่งผลร้ายต่อสิ่งมีชีวิตที่บริโภคอาหาร GMOs เข้าไป ทำให้กระแสการต่อต้านอาหาร GMOs ใน EU ยิ่งรุนแรงขึ้น ล่าสุด EU ได้ออกร่างสมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าอาหาร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมและดูแลความปลอดภัยของสินค้าอาหารที่จำหน่ายใน EU ซึ่งครอบคลุมถึงอาหาร GMOs ที่ต้องปิดฉลากระบุถึงส่วนประกอบที่เป็น GMOs อย่างชัดเจน รวมทั้งมีข้อกำหนดในการวางจำหน่ายสินค้าอาหาร GMOs อย่างเข้มงวด เพื่อ สร้างความชัดเจนและมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคใน EU
ญี่ปุ่น แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นได้ให้การรับรองความปลอดภัยแก่สินค้า GMOs กว่า 40 รายการไปแล้ว แต่ชาวญี่ปุ่นบางส่วนยังคงมีความวิตกกังวลและต้องการให้มีการปิดฉลากระบุส่วนประกอบที่เป็น GMOs บนสินค้าอาหารอย่างชัดเจน รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ออกระเบียบการปิดฉลากสินค้าอาหารที่มีส่วนประกอบ GMOs ขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2543 โดยให้เวลาแก่ผู้ผลิตปรับตัว 1 ปี และจะมีผลบังคับใช้จริงในวันที่ 1 เมษายน 2544
นอกจากนี้ ในหลายประเทศ เช่น นอร์เวย์ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ ก็ได้ออกมาตรการเกี่ยวกับการนำเข้าอาหาร GMOs อย่างเข้มงวดแล้วเช่นกัน
ความเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าอาหาร GMOs ของประเทศ ผู้นำเข้าหลายประเทศ เริ่มส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในฐานะผู้ผลิต อาหารรายใหญ่อันดับ 6 ของโลก โดยเฉพาะสินค้าอาหารที่มีส่วนประกอบ ของวัตถุดิบที่อาจเป็นพืช GMOs อาทิ ปลาทูน่ากระป๋องในน้ำมันพืชถูกซาอุดีอาระเบียส่งคืน เนื่องจากผู้นำเข้าอ้างว่าน้ำมันถั่วเหลืองที่ใช้เป็นพืช GMOs ผลิตภัณฑ์แป้งถั่วเหลืองถูกเยอรมนีห้ามนำเข้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเต้าเจี้ยวถูกญี่ปุ่นส่งคืน เพราะไม่มีใบรับรองว่าปลอดจาก GMOs และสงสัยว่าใช้วัตถุดิบที่เป็น GMOs ขนมปังกรอบถูกส่งกลับจากฝรั่งเศส เพราะใช้ซีอิ๊วที่ทำจากถั่วเหลือง เป็นต้น
แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ปลูกพืช GMOs โดยตรง แต่ผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิดยังต้องอาศัยวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้มีโอกาสที่อาจมีวัตถุดิบ GMOs ปะปนเข้าไปในการผลิตอาหาร การจัดตั้งหน่วยงาน ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการออกใบรับรองสินค้าอาหารที่ปลอด GMOs นับเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในขณะนี้ เนื่องจากปัญหาการส่งออกสินค้าอาหารที่ผ่านมาของไทยส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการที่ประเทศไทยยังไม่มี หน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้การรับรองสินค้าอาหารที่ปลอดจาก GMOs
ข้อมูลจาก : ฝ่ายวิชาการและแผนงาน
-Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนเมษายน 2544--
-อน-