เมื่อวันที่ 14 — 15 กุมภาพันธ์ 2544 สหภาพพม่าได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 2 และ การประชุมรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 3 ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ บังกลาเทศ-อินเดีย—พม่า—ศรีลังกา-ไทย (Bangladesh —India —Myanmar —SriLanka-Thailand Economic Cooperation : BIMST-EC)ขึ้น ณ กรุงย่างกุ้ง สหภาพพม่า ในการนี้ ปลัดกระทรวงพาณิชย์(นายเกริกไกร จีระแพทย์) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี และอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์(นางบุญทิพา สิมะสกุล) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส
ผลการประชุมดังกล่าวได้เน้นถึงการดำเนินการความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ที่สำคัญ 5 เรื่อง คือ
1. ให้ประเทศสมาชิกขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น โดยให้ความสำคัญที่จะให้มีการเปิดเสรีทางการค้าที่มีผลชัดเจนขึ้น รวมทั้งมีมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าเป็นส่วนสนับสนุน (อนึ่ง การค้าระหว่างกันของประเทศสมาชิก BIMST-EC ในปัจจุบัน ยังมีมูลค่าค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับการค้าของประเทศสมาชิกกับการค้าโลก กล่าวคือ ในปี 2542 ประเทศสมาชิก BIMST-EC ทำการค้าระหว่างกันคิดเป็นมูลค่า 6,272 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่มีมูลค่าการค้ากับโลกถึง 217,553 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 2.88 ของการค้าโลกเท่านั้น
อย่างไรก็ดี ในส่วนของการค้าระหว่างไทยกับประเทศในกลุ่ม BIMST-EC กล่าวได้ว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา(2541 — 2543) การค้าของไทยกับประเทศในกลุ่มนี้ คิดเป็นร้อยละ 1.7 ของการค้าทั้งหมด หรือเฉลี่ยปีละ 1,880 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15 ต่อปี โดยฝ่ายไทยได้เปรียบดุลการค้าประเทศสมาชิก BIMST-EC ยกเว้นประเทศอินเดียสินค้าออกสำคัญของไทยได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก ยานพาหนะ เป็นต้น สำหรับสินค้าเข้า ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ ไม้ซุง ไม้แปรรูป และไม้อื่น ๆ เป็นต้น)
2. ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี ได้เห็นชอบเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการ เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรี BIMST-EC โดยในเบื้องต้นให้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Group of Expert: GOE)ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐ นักวิชาการ และเอกชน โดยให้ภาครัฐมีบทบาทนำและอินเดียเป็นประเทศประธาน และให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว ศึกษาในรายละเอียดของข้อดีและข้อเสียของแนวทางสำคัญที่จะดำเนินการ กล่าวคือ positive list approach (แนวทางการจัดทำรายการสินค้าเพื่อที่จะนำมาพิจารณาลดภาษีระหว่างกัน) และ negative list approach (แนวทางการจัดทำรายการสินค้าที่จะยกเว้นไม่นำมาลดภาษีหรือยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีระหว่างกัน) ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หรือไม่เกิน 1 ปี
3. สำหรับในเรื่องมาตรการการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation Measures) ซึ่งจะมีส่วน ช่วยส่งเสริมให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิกขยายตัวมากขึ้นนั้น ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานด้านศุลกากรขึ้น เพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในการปรับประสานพิธีการด้านศุลกากร เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งนี้ได้มอบให้บังกลาเทศเป็นประเทศประธานในเรื่องนี้ นอกจากนั้น ได้มีการเสนอให้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการธนาคารของประเทศสมาชิก โดยให้สหภาพพม่าเป็นประเทศนำ และให้มีการดำเนินความร่วมมือในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา โดยอินเดียเป็นประเทศนำ และการทดสอบด้านมาตรฐาน ซึ่งไทยรับเป็นประเทศนำ สำหรับเรื่องการเดินทางของนักธุรกิจ ศรีลังการับที่จะจัดทำข้อเสนอ (concept paper) สำหรับความร่วมมือ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมครั้งต่อไป
4. ที่ประชุมสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง e-BIMST-EC ขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในการเร่งรัดและขยายความร่วมมือในภูมิภาค และเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงาน โดยมีอินเดียเป็นประเทศนำ ทั้งนี้ เพื่อสร้างเครือข่ายข้อมูลของ BIMST-EC โดยให้มีการจัดทำฐานข้อมูลด้านการค้าและการลงทุนของประเทศสมาชิกด้วย
5. และเพื่อให้มีการติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMST-EC อย่างใกล้ชิด ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้มีการจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสทางเศรษฐกิจ/การค้า เพิ่มขึ้นเป็นปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งต่อไปจะจัดขึ้นประมาณเดือน สิงหาคม/กันยายน 2544 ณ ประเทศบังกลาเทศ สำหรับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสและรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 4 จะมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2545 ณ ประเทศศรีลังกา
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มีนาคม 2544--
-ปส-
ผลการประชุมดังกล่าวได้เน้นถึงการดำเนินการความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ที่สำคัญ 5 เรื่อง คือ
1. ให้ประเทศสมาชิกขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น โดยให้ความสำคัญที่จะให้มีการเปิดเสรีทางการค้าที่มีผลชัดเจนขึ้น รวมทั้งมีมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าเป็นส่วนสนับสนุน (อนึ่ง การค้าระหว่างกันของประเทศสมาชิก BIMST-EC ในปัจจุบัน ยังมีมูลค่าค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับการค้าของประเทศสมาชิกกับการค้าโลก กล่าวคือ ในปี 2542 ประเทศสมาชิก BIMST-EC ทำการค้าระหว่างกันคิดเป็นมูลค่า 6,272 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่มีมูลค่าการค้ากับโลกถึง 217,553 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 2.88 ของการค้าโลกเท่านั้น
อย่างไรก็ดี ในส่วนของการค้าระหว่างไทยกับประเทศในกลุ่ม BIMST-EC กล่าวได้ว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา(2541 — 2543) การค้าของไทยกับประเทศในกลุ่มนี้ คิดเป็นร้อยละ 1.7 ของการค้าทั้งหมด หรือเฉลี่ยปีละ 1,880 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15 ต่อปี โดยฝ่ายไทยได้เปรียบดุลการค้าประเทศสมาชิก BIMST-EC ยกเว้นประเทศอินเดียสินค้าออกสำคัญของไทยได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก ยานพาหนะ เป็นต้น สำหรับสินค้าเข้า ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ ไม้ซุง ไม้แปรรูป และไม้อื่น ๆ เป็นต้น)
2. ที่ประชุมระดับรัฐมนตรี ได้เห็นชอบเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการ เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรี BIMST-EC โดยในเบื้องต้นให้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Group of Expert: GOE)ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐ นักวิชาการ และเอกชน โดยให้ภาครัฐมีบทบาทนำและอินเดียเป็นประเทศประธาน และให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว ศึกษาในรายละเอียดของข้อดีและข้อเสียของแนวทางสำคัญที่จะดำเนินการ กล่าวคือ positive list approach (แนวทางการจัดทำรายการสินค้าเพื่อที่จะนำมาพิจารณาลดภาษีระหว่างกัน) และ negative list approach (แนวทางการจัดทำรายการสินค้าที่จะยกเว้นไม่นำมาลดภาษีหรือยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีระหว่างกัน) ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หรือไม่เกิน 1 ปี
3. สำหรับในเรื่องมาตรการการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade Facilitation Measures) ซึ่งจะมีส่วน ช่วยส่งเสริมให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิกขยายตัวมากขึ้นนั้น ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานด้านศุลกากรขึ้น เพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในการปรับประสานพิธีการด้านศุลกากร เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งนี้ได้มอบให้บังกลาเทศเป็นประเทศประธานในเรื่องนี้ นอกจากนั้น ได้มีการเสนอให้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการธนาคารของประเทศสมาชิก โดยให้สหภาพพม่าเป็นประเทศนำ และให้มีการดำเนินความร่วมมือในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา โดยอินเดียเป็นประเทศนำ และการทดสอบด้านมาตรฐาน ซึ่งไทยรับเป็นประเทศนำ สำหรับเรื่องการเดินทางของนักธุรกิจ ศรีลังการับที่จะจัดทำข้อเสนอ (concept paper) สำหรับความร่วมมือ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมครั้งต่อไป
4. ที่ประชุมสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง e-BIMST-EC ขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ในการเร่งรัดและขยายความร่วมมือในภูมิภาค และเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงาน โดยมีอินเดียเป็นประเทศนำ ทั้งนี้ เพื่อสร้างเครือข่ายข้อมูลของ BIMST-EC โดยให้มีการจัดทำฐานข้อมูลด้านการค้าและการลงทุนของประเทศสมาชิกด้วย
5. และเพื่อให้มีการติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานความร่วมมือภายใต้กรอบ BIMST-EC อย่างใกล้ชิด ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้มีการจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสทางเศรษฐกิจ/การค้า เพิ่มขึ้นเป็นปีละ 2 ครั้ง โดยครั้งต่อไปจะจัดขึ้นประมาณเดือน สิงหาคม/กันยายน 2544 ณ ประเทศบังกลาเทศ สำหรับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสและรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 4 จะมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2545 ณ ประเทศศรีลังกา
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มีนาคม 2544--
-ปส-