ส่วนที่ 1 สรุปภาวะเศรษฐกิจ
ข้อมูลเบื้องต้นเดือนสิงหาคม เศรษฐกิจโดยรวมทรงตัว ทั้งภาคการผลิต การใช้จ่าย ในประเทศ การลงทุนภาคเอกชน การส่งออก และการนำเข้า ขณะที่ดุลการชำระเงินเกินดุล เพิ่มขึ้น ดุลเงินสดรัฐบาลขาดดุลเพิ่มขึ้นแม้จะ มีการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี ธนาคารพาณิชย์ ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงทั้งเงินกู้และเงินฝาก ค่าเงินบาทอ่อนตัวต่อเนื่อง ส่วน เงินเฟ้อสูงขึ้นตามต้นทุนราคาน้ำมัน ทั้งนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 2.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน (หากไม่รวมผลผลิตสุราเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2) สินค้าที่ยังขยายตัว ในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดที่ผลิตเพื่อส่งออกเป็นสำคัญ อาทิ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวสูงตาม การส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและการจำหน่ายเครื่องรับ โทรทัศน์รุ่นใหม่ หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ ขยายตัวตามการส่งออกได้ดีในตลาดหลักคือ สหรัฐอเมริกา เยอรมันนี และสหราชอาณาจักร ขณะที่หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันชะลอการผลิตลงเพื่อระบายสต๊อก หมวดการผลิตที่ลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม ซึ่ง ลดลงตามผลผลิตของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทาน แต่ยังไม่เริ่มทำการผลิต หมวดวัสดุก่อสร้างลดลงตาม การส่งออกและความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่ยังคงซบเซาต่อเนื่องในฤดูฝน หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ลดลงตามการใช้น้ำมันและปัญหาวัตถุดิบป้อนโรงกลั่นบางจาก สำหรับ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 8 เดือนแรก ปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน (หากไม่รวมผลผลิตสุรา เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6)
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยังคง เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยพิจารณาจากเครื่องชี้สำคัญ ได้แก่ ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (ร้อยละ 23.9) ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (ร้อยละ 12.9) และยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง (ร้อยละ 1.2) การลงทุนภาคเอกชน ด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ ค่อนข้างทรงตัว ตามการใช้จ่ายในประเทศ ขณะที่ การก่อสร้างยังหดตัว
3. ดุลเงินสดรัฐบาล ขาดดุล 10 พันล้านบาท เป็นการขาดดุลในงบประมาณ 1.6 พันล้านบาท และ ขาดดุลนอกงบประมาณ 8.4 พันล้านบาท รายได้ จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับงวด ครึ่งปีประจำปี 2543 ขณะที่ปีที่ผ่านมา มีการผ่อนผันให้เลื่อนการชำระออกไปได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ กอปรกับภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีจากการนำเข้าขยายตัวต่อเนื่อง ร้อยละ 7.5 และ 5.8 ตามลำดับ ด้านรายจ่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ มีรายจ่ายจากเงินนอกงบประมาณที่สำคัญคือ รายจ่าย ส่วนแบ่งภาษีให้แก่กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 พันล้านบาท รายจ่ายตามโครงการมิยาซาวาจำนวน 0.8 พันล้านบาท ทั้งปีงบประมาณคาดว่ารายได้จะจัดเก็บได้ 750 พันล้านบาทตามเป้าหมาย ขณะที่คาดว่ารายจ่ายอาจ ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 10 พันล้านบาท ส่งผลให้ การขาดดุลเงินสดต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 10 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.2 ของ GDP
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.6 ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.3
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากระยะ เดียวกันปีก่อน สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกของปีดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่น ๆที่มิใช่อาหารร้อยละ 3.1 เนื่องจากต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.5 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและ การนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.9 และ 41.2 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 262 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาค ทำให้ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงเป็น 556 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุล 350 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เพิ่มขึ้นจาก 8 ล้านดอลลาร์ สรอ ในเดือนก่อน) และ เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคมอยู่ที่ระดับ 32.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องระบบการเงินปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน ลดลงเล็กน้อย อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตรา
ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้ กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งณ สิ้นเดือนสิงหาคม อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 และ 8.125 ต่อปีตามลำดับ ต่อมา ในเดือนกันยายน 2543 ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปีตามลำดับ สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ (Non-BIBF)ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เล็กน้อย สำหรับ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ปรับตัว เพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่มี ตั๋วเงินครบกำหนด นำเงินที่ได้รับส่วนหนึ่งมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์ ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากระบบธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
7. อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทเฉลี่ยอ่อนลง อย่างต่อเนื่องมาอยู่ ณ ระดับ 40.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ตามการอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาค และ การชำระหนี้ ต่างประเทศของภาคเอกชน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ข้อมูลเบื้องต้นเดือนสิงหาคม เศรษฐกิจโดยรวมทรงตัว ทั้งภาคการผลิต การใช้จ่าย ในประเทศ การลงทุนภาคเอกชน การส่งออก และการนำเข้า ขณะที่ดุลการชำระเงินเกินดุล เพิ่มขึ้น ดุลเงินสดรัฐบาลขาดดุลเพิ่มขึ้นแม้จะ มีการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี ธนาคารพาณิชย์ ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงทั้งเงินกู้และเงินฝาก ค่าเงินบาทอ่อนตัวต่อเนื่อง ส่วน เงินเฟ้อสูงขึ้นตามต้นทุนราคาน้ำมัน ทั้งนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 2.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน (หากไม่รวมผลผลิตสุราเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2) สินค้าที่ยังขยายตัว ในเกณฑ์ดี ได้แก่ หมวดที่ผลิตเพื่อส่งออกเป็นสำคัญ อาทิ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวสูงตาม การส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและการจำหน่ายเครื่องรับ โทรทัศน์รุ่นใหม่ หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ ขยายตัวตามการส่งออกได้ดีในตลาดหลักคือ สหรัฐอเมริกา เยอรมันนี และสหราชอาณาจักร ขณะที่หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันชะลอการผลิตลงเพื่อระบายสต๊อก หมวดการผลิตที่ลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม ซึ่ง ลดลงตามผลผลิตของโรงงานสุราที่ได้รับสัมปทาน แต่ยังไม่เริ่มทำการผลิต หมวดวัสดุก่อสร้างลดลงตาม การส่งออกและความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่ยังคงซบเซาต่อเนื่องในฤดูฝน หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ลดลงตามการใช้น้ำมันและปัญหาวัตถุดิบป้อนโรงกลั่นบางจาก สำหรับ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 8 เดือนแรก ปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน (หากไม่รวมผลผลิตสุรา เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6)
2. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยังคง เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยพิจารณาจากเครื่องชี้สำคัญ ได้แก่ ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ (ร้อยละ 23.9) ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (ร้อยละ 12.9) และยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง (ร้อยละ 1.2) การลงทุนภาคเอกชน ด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ ค่อนข้างทรงตัว ตามการใช้จ่ายในประเทศ ขณะที่ การก่อสร้างยังหดตัว
3. ดุลเงินสดรัฐบาล ขาดดุล 10 พันล้านบาท เป็นการขาดดุลในงบประมาณ 1.6 พันล้านบาท และ ขาดดุลนอกงบประมาณ 8.4 พันล้านบาท รายได้ จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับงวด ครึ่งปีประจำปี 2543 ขณะที่ปีที่ผ่านมา มีการผ่อนผันให้เลื่อนการชำระออกไปได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ กอปรกับภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีจากการนำเข้าขยายตัวต่อเนื่อง ร้อยละ 7.5 และ 5.8 ตามลำดับ ด้านรายจ่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ มีรายจ่ายจากเงินนอกงบประมาณที่สำคัญคือ รายจ่าย ส่วนแบ่งภาษีให้แก่กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 พันล้านบาท รายจ่ายตามโครงการมิยาซาวาจำนวน 0.8 พันล้านบาท ทั้งปีงบประมาณคาดว่ารายได้จะจัดเก็บได้ 750 พันล้านบาทตามเป้าหมาย ขณะที่คาดว่ารายจ่ายอาจ ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 10 พันล้านบาท ส่งผลให้ การขาดดุลเงินสดต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 10 พันล้านบาท หรือร้อยละ 0.2 ของ GDP
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 3.6 ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.3
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ดัชนีราคาผู้บริโภคที่ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากระยะ เดียวกันปีก่อน สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกของปีดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอื่น ๆที่มิใช่อาหารร้อยละ 3.1 เนื่องจากต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.5 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน
5. ภาคต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกและ การนำเข้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.9 และ 41.2 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 262 ล้านดอลลาร์ สรอ. เมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาค ทำให้ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงเป็น 556 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนดุลการชำระเงินเกินดุล 350 ล้านดอลลาร์ สรอ. (เพิ่มขึ้นจาก 8 ล้านดอลลาร์ สรอ ในเดือนก่อน) และ เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคมอยู่ที่ระดับ 32.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน สภาพคล่องระบบการเงินปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน ลดลงเล็กน้อย อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตรา
ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้ กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งณ สิ้นเดือนสิงหาคม อยู่ที่ระดับร้อยละ 3.25 และ 8.125 ต่อปีตามลำดับ ต่อมา ในเดือนกันยายน 2543 ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปีตามลำดับ สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ (Non-BIBF)ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เล็กน้อย สำหรับ เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ปรับตัว เพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่มี ตั๋วเงินครบกำหนด นำเงินที่ได้รับส่วนหนึ่งมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์ ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากระบบธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
7. อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทเฉลี่ยอ่อนลง อย่างต่อเนื่องมาอยู่ ณ ระดับ 40.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ตามการอ่อนตัวของค่าเงินในภูมิภาค และ การชำระหนี้ ต่างประเทศของภาคเอกชน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-