1. การแทรกแซงตลาดข้าวสาร ฤดูการผลิตปี 2542/43 ตามมติ กนข. ของ อคส. และ อตก.
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2543 เห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ แนวทางและวิธีการดำเนินการโครงการแทรกแซงตลาดข้าวสารปี 2542/43 ของ อคส. และ อตก.
2. โครงการนิคมอุตสาหกรรมเกษตร ครบวงจร คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผล การดำเนินงานเพื่อสนับสนุนโครงการนิคม อุตสาหกรรมเกษตรครบวงจร ตามที่กระทรวง สาธารณสุขเสนอ ดังนี้
1) การพัฒนาระบบประกันความปลอดภัยอาหารให้เข้าสู่ระบบสากล
1.1 กำหนดการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรในโรงงาน เพื่อสามารถสร้างระบบประกันความปลอดภัยคือ GMP/HACCP (Good Manufacturing Practice/Hazard Analysis Critical Control Point) ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยโครงการ มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex) และเป็นที่เชื่อถือของ WTO
1.2 สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) ได้ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม จัดทำโครงการตรวจประเมินโรงงาน เพื่อออกใบรับรองระบบ HACCP
1.3 กระทรวงสาธารณสุขไทยและญี่ปุ่นได้ร่วมกันจัดให้มีการประเมินระบบประกันความ ปลอดภัยของโรงงานที่จะส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร ไปญี่ปุ่นเพื่อเข้าสู่ระบบ Precertification System เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งออกไปญี่ปุ่น
2) การเจรจากับประเทศคู่ค้า ได้มีการประสานงานกับประเทศคู่ค้าให้ยอมรับผลการ รับรองคุณภาพสินค้าของ อย. ซึ่งได้ดำเนินการ
สำเร็จแล้วกับนิวซีแลนด์ในการนำเข้านมข้นหวานจากไทย และขณะนี้กำลังประสานงานกับสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ (USFDA) ในการนำเข้าอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำ
3. อนุมัติแลกปุ๋ยเคมีกับยางพาราของโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2543 เห็นชอบการแลกปุ๋ยเคมี (จากสาธารณรัฐประชาชนจีน) กับยางพาราของโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
4. เงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิต ปี 2542/43
สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 ได้มีการพิจารณาแนวทางในการ แก้ไขปัญหาเงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2542/43 แล้วมีมติให้กระทรวงการคลังประสานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรพิจารณาจัดสรรวงเงิน 5,320 ล้านบาท เพื่อนำไปจ่ายเพิ่มเป็นค่าอ้อยขั้นต้นให้ชาวไร่อ้อยตันละ 100 บาท ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 ตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเสนอ ดังนี้
1) เห็นชอบให้ดำเนินการแยกภาษี มูลค่าเพิ่มออกจากราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศ และรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้นำเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
2) เห็นชอบมาตรการในการปรับปรุง อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายดังนี้
2.1 การปรับปรุงในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับอ้อย
(1) กำหนดพื้นที่เหมาะสมสำหรับเพาะปลูกอ้อยและกำหนดปริมาณอ้อยเป้าหมายให้ ชาวไร่ผลิต
(2) จัดระเบียบการส่งอ้อยของชาวไร่ โดยให้อ้อยที่เพาะปลูกในพื้นที่ใกล้โรงงานใดเป็น คู่สัญญากับโรงงานนั้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต
(3) กำหนดปริมาณอ้อยเป้าหมาย ในแต่ละปีการผลิตให้สอดคล้องกับภาวะตลาด ทั้งภายในและต่างประเทศ และกำหนดระเบียบ การจัดการอ้อยส่วนเกิน
2.2 การปรับปรุงด้านโรงงานน้ำตาล
(1) จัดระเบียบการรับอ้อยของโรงงาน
(2) กำหนดปริมาณการผลิต น้ำตาลทรายเป้าหมายในแต่ละปีการผลิตเพื่อไม่ให้ มีปริมาณน้ำตาลทรายผลิตเกินความต้องการของตลาด
(3) กำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพ การผลิตน้ำตาลทรายของโรงงาน
(4) กำหนดระเบียบจัดการ น้ำตาลทรายส่วนที่ผลิตเกินปริมาณที่กำหนด
5. โครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปี 2543
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการฯ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอและมีมติเมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน 2543 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในโครงการฯ ดังกล่าว โดยให้องค์กรเกษตรกร เป็นผู้จัดหาวงเงินจัดซื้อจำนวน 2,885.4 ล้านบาท ระยะเวลาชำระเงินคืน 1 ปี ดังนี้
1) อนุมัติเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจาก กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรสำหรับค่าปุ๋ย วงเงิน 1,300 ล้านบาท เพื่อให้องค์กรเกษตรกร ยืมไปซื้อปุ๋ย และเงินจ่ายขาดในการดำเนินงาน ของส่วนราชการตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินฯ จำนวน 33.6 ล้านบาท
2) วงเงิน 1,585.4 ล้านบาท ให้ใช้เงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร หากมีไม่เพียงพอจะขอใช้จากกองทุนอื่นๆ
6. ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกร แห่งชาติ พ.ศ……..
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการพระราชบัญญัติฯ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ เป็นการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อวางแผนพัฒนาการเกษตรและเสริมสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพให้แก่เกษตรกร โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1) กำหนดให้มีสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนจากสภาเกษตรกรจังหวัดๆ ละ 3 คน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งแก่องค์กรเกษตรกร จัดทำและเสนอแผนแม่บทและนโยบายการเกษตร ประสานการดำเนินการระหว่างองค์กรเกษตรกับรัฐ เสนอข้อแนะนำการแก้ไขปัญหา การเกษตรแก่รัฐ
2) กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารสภาฯ ประกอบด้วยประธานคนหนึ่งและกรรมการไม่เกิน 20 คน โดยมีเลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่กำกับและตรวจสอบการดำเนินงานของเลขาธิการ
3) กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาฯ โดยมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานด้านธุรการของสภาฯ โดยมีเลขาธิการเป็นหัวหน้าสำนักงาน
4) กำหนดให้สำนักงานฯ มีรายได้จาก ค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงจากสมาชิก งบประมาณแผ่นดินและเงินช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ
5) กำหนดให้แผนแม่บทเพื่อพัฒนา การเกษตรที่สภาฯ จัดทำขึ้นและคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้รายงานต่อรัฐสภา เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลผูกพัน หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามแผนแม่บทนั้น
6) กำหนดให้มีสภาเกษตรกรจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนจากองค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ต่อสภาเกษตรกรจังหวัด องค์กรละ 1 คน ทำหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งแก่องค์กรเกษตรกรในระดับจังหวัด ประสานนโยบายและการดำเนินงานระหว่างองค์กรเกษตรกรกับรัฐในระดับจังหวัด
7) กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาเกษตรกรจังหวัดโดยมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานด้านธุรการของสภาเกษตรกรจังหวัด
7. มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยมีสาระสำคัญคือ จะให้การช่วยเหลือเกษตรกรทุกสาขาการผลิต (ยกเว้นประมงทะเลที่ได้ดำเนินการช่วยเหลือไปแล้ว) จำนวน 5.6 ล้านครัวเรือน ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น เนื่องจากน้ำมันดีเซลเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการผลิตภาค การเกษตร โดยให้ได้รับการชดเชยราคาน้ำมัน เป็นรายครัวเรือนๆ ละ 45 ลิตร อัตราชดเชยลิตรละ 3 บาท หรือเป็นเงิน 135 บาท ต่อครัวเรือน รวมทั้งช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการชดเชยและบริหาร โครงการของ ธ.ก.ส. โดยให้ใช้เงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรหรือแหล่งเงินอื่น ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะได้เสนอคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อขอนุมัติวงเงินต่อไป
8. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ …) พ.ศ. ……
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฯ ซึ่งได้ตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี ตามที่สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1) ให้มีการจัดตั้งสำนักจัดการหนี้และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรเพื่อ ดำเนินการแก้ไขหนี้ของเกษตรกรทั้งหนี้ในระบบ (หนี้จากโครงการส่งเสริมของรัฐ หนี้จากสถาบันเกษตรกรและหนี้จากสถาบันการเงิน) และหนี้ นอกระบบ
2) เกษตรกรที่จะขอรับการสนับสนุน จากกองทุนฯ ต้องขึ้นทะเบียนต่อสำนักจัดการหนี้เกษตรกร (หนี้ในระบบ) ตามหลักเกณฑ์ที่จะประกาศกำหนด และต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ที่คณะกรรมการกำหนด (หนี้นอกระบบ) โดยให้เกษตรกรขึ้นทะเบียนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
9. โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2543 อนุมัติโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนระยะที่ 2 (พ.ศ. 2541 - 2544) ตามที่คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยมีสาระสำคัญ เพื่อกระจายโอกาสให้คนยากจนระดับครัวเรือน ในหมู่บ้านมีเงินทุนในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น จำนวน 10,000 หมู่บ้าน โดยใช้เงินกู้จาก ต่างประเทศ จำนวน 2,924.80 ล้านบาท โดยแบ่งการเบิกจ่ายเป็นเวลา 2 ปี ปีละเท่าๆ กัน โดย วงเงิน 2,800 ล้านบาท จะใช้เป็นเงินทุนสำหรับ หมู่บ้านส่วนที่เหลือใช้ในการฝึกอบรมและเป็น ค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการ
10. นโยบายและมาตรการนำเข้า วัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2544
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2544 เมื่อ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอโดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2544 ดังนี้
1) การนำเข้ากากถั่วเหลืองจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
(1) ในโควตา ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 5 โดยให้ผู้มีสิทธิ์นำเข้าต้องรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศทั้งหมดในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9.50 บาท ณ โรงงานสกัดน้ำมันพืช กทม.
(2) นอกโควตา ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 119
2) การนำเข้ากากถั่วเหลืองจากประเทศนอกสมาชิก WTO
ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 6 และค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 2,519 บาท
3) การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ในโควตา กำหนดปริมาณนำเข้า 53,832 ตัน อากรนำเข้าร้อยละ 20 โดย ให้นำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม - 30 มิถุนายน 2544
นอกโควตา จากประเทศสมาชิก WTO ให้นำเข้าโดยเสรี ทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 75.4 และค่าธรรมเนียมพิเศษ ตันละ 180 บาท
นอกโควตา จากประเทศนอกสมาชิก WTO ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าตันละ 2,750 บาท และอากรพิเศษร้อยละ 13.97 (รวมอากรทั้งหมดใกล้เคียงร้อยละ 75.4) และ ค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท
4) การนำเข้าปลาป่นโปรตีนร้อยละ 60 ขึ้นไป
ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 15 สำหรับประเทศนอกภาคีอาเซียน และร้อยละ 5 สำหรับการนำเข้าปลาป่นที่มีใบรับรอง จากประเทศภาคีอาเซียนซึ่งเป็นไปตามข้อผูกพัน ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
11. ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและผู้ยากจน
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2543 ของคณะกรรมการ ช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ในการ แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและผู้ยากจน เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2543 ตามที่สำนักนายก รัฐมนตรีรายงาน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) เงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ. 2528
ปีงบประมาณ 2544 ได้รับงบประมาณเพิ่มเติม 65 ล้านบาท และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 มีเงินทุนหมุนเวียน 69.9 ล้านบาท ในช่วง วันที่ 31 กรกฎาคม 2539 - 30 กันยายน 2543 ได้อนุมัติให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมทั้งสิ้น 28.4 ล้านบาท และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 มีหนี้เงินกู้สะสม 20.6 ล้านบาท
2) กองทุนหมุนเวียนเพื่อปลดเปลื้อง หนี้สินเดิมของเกษตรกรที่ยากจน พ.ศ. 2543
ปีงบประมาณ 2543 อนุมัติเงินกู้ 408,000 บาท แก่เกษตรกรเพื่อไถ่ถอนและซื้อคืน ที่ดิน ในช่วงวันที่ 5 ธันวาคม 2533 - 30 กันยายน 2543 อนุมัติให้เกษตรกู้ยืม 85.2 ล้านบาท เพื่อช่วยไถ่ถอนและซื้อคืนที่ดิน ประมาณ 12,978 ไร่ และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 มีเงินกองทุนฯ คงเหลือ 49.5 ล้านบาท และมีหนี้เงินกู้สะสม 46.8 ล้านบาท
3) กองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน ด้านหนี้สินและที่ดิน พ.ศ. 2536
ปีงบประมาณ 2543 อนุมัติเงินกู้ยืม 414.5 ล้านบาท เพื่อช่วยไถ่ถอนและ ซื้อคืนที่ดิน และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 - 30 กันยายน 2543 อนุมัติให้เกษตรกรกู้ยืม 1,681.2 ล้านบาท เพื่อช่วยไถ่ถอนและซื้อคืนที่ดินประมาณ 139,709 ไร่ และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 มีเงินกองทุนฯ คงเหลือ 159.7 ล้านบาท และมีหนี้เงินกู้สะสม 1,241.6 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2543 เห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ แนวทางและวิธีการดำเนินการโครงการแทรกแซงตลาดข้าวสารปี 2542/43 ของ อคส. และ อตก.
2. โครงการนิคมอุตสาหกรรมเกษตร ครบวงจร คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผล การดำเนินงานเพื่อสนับสนุนโครงการนิคม อุตสาหกรรมเกษตรครบวงจร ตามที่กระทรวง สาธารณสุขเสนอ ดังนี้
1) การพัฒนาระบบประกันความปลอดภัยอาหารให้เข้าสู่ระบบสากล
1.1 กำหนดการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรในโรงงาน เพื่อสามารถสร้างระบบประกันความปลอดภัยคือ GMP/HACCP (Good Manufacturing Practice/Hazard Analysis Critical Control Point) ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยโครงการ มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex) และเป็นที่เชื่อถือของ WTO
1.2 สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) ได้ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม จัดทำโครงการตรวจประเมินโรงงาน เพื่อออกใบรับรองระบบ HACCP
1.3 กระทรวงสาธารณสุขไทยและญี่ปุ่นได้ร่วมกันจัดให้มีการประเมินระบบประกันความ ปลอดภัยของโรงงานที่จะส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร ไปญี่ปุ่นเพื่อเข้าสู่ระบบ Precertification System เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งออกไปญี่ปุ่น
2) การเจรจากับประเทศคู่ค้า ได้มีการประสานงานกับประเทศคู่ค้าให้ยอมรับผลการ รับรองคุณภาพสินค้าของ อย. ซึ่งได้ดำเนินการ
สำเร็จแล้วกับนิวซีแลนด์ในการนำเข้านมข้นหวานจากไทย และขณะนี้กำลังประสานงานกับสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐฯ (USFDA) ในการนำเข้าอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำ
3. อนุมัติแลกปุ๋ยเคมีกับยางพาราของโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2543 เห็นชอบการแลกปุ๋ยเคมี (จากสาธารณรัฐประชาชนจีน) กับยางพาราของโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
4. เงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิต ปี 2542/43
สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 ได้มีการพิจารณาแนวทางในการ แก้ไขปัญหาเงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2542/43 แล้วมีมติให้กระทรวงการคลังประสานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรพิจารณาจัดสรรวงเงิน 5,320 ล้านบาท เพื่อนำไปจ่ายเพิ่มเป็นค่าอ้อยขั้นต้นให้ชาวไร่อ้อยตันละ 100 บาท ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 ตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเสนอ ดังนี้
1) เห็นชอบให้ดำเนินการแยกภาษี มูลค่าเพิ่มออกจากราคาจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศ และรายได้ที่เพิ่มขึ้นให้นำเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
2) เห็นชอบมาตรการในการปรับปรุง อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายดังนี้
2.1 การปรับปรุงในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับอ้อย
(1) กำหนดพื้นที่เหมาะสมสำหรับเพาะปลูกอ้อยและกำหนดปริมาณอ้อยเป้าหมายให้ ชาวไร่ผลิต
(2) จัดระเบียบการส่งอ้อยของชาวไร่ โดยให้อ้อยที่เพาะปลูกในพื้นที่ใกล้โรงงานใดเป็น คู่สัญญากับโรงงานนั้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต
(3) กำหนดปริมาณอ้อยเป้าหมาย ในแต่ละปีการผลิตให้สอดคล้องกับภาวะตลาด ทั้งภายในและต่างประเทศ และกำหนดระเบียบ การจัดการอ้อยส่วนเกิน
2.2 การปรับปรุงด้านโรงงานน้ำตาล
(1) จัดระเบียบการรับอ้อยของโรงงาน
(2) กำหนดปริมาณการผลิต น้ำตาลทรายเป้าหมายในแต่ละปีการผลิตเพื่อไม่ให้ มีปริมาณน้ำตาลทรายผลิตเกินความต้องการของตลาด
(3) กำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพ การผลิตน้ำตาลทรายของโรงงาน
(4) กำหนดระเบียบจัดการ น้ำตาลทรายส่วนที่ผลิตเกินปริมาณที่กำหนด
5. โครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรปี 2543
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการฯ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอและมีมติเมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน 2543 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในโครงการฯ ดังกล่าว โดยให้องค์กรเกษตรกร เป็นผู้จัดหาวงเงินจัดซื้อจำนวน 2,885.4 ล้านบาท ระยะเวลาชำระเงินคืน 1 ปี ดังนี้
1) อนุมัติเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจาก กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรสำหรับค่าปุ๋ย วงเงิน 1,300 ล้านบาท เพื่อให้องค์กรเกษตรกร ยืมไปซื้อปุ๋ย และเงินจ่ายขาดในการดำเนินงาน ของส่วนราชการตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินฯ จำนวน 33.6 ล้านบาท
2) วงเงิน 1,585.4 ล้านบาท ให้ใช้เงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร หากมีไม่เพียงพอจะขอใช้จากกองทุนอื่นๆ
6. ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกร แห่งชาติ พ.ศ……..
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการพระราชบัญญัติฯ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ เป็นการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อวางแผนพัฒนาการเกษตรและเสริมสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพให้แก่เกษตรกร โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1) กำหนดให้มีสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนจากสภาเกษตรกรจังหวัดๆ ละ 3 คน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งแก่องค์กรเกษตรกร จัดทำและเสนอแผนแม่บทและนโยบายการเกษตร ประสานการดำเนินการระหว่างองค์กรเกษตรกับรัฐ เสนอข้อแนะนำการแก้ไขปัญหา การเกษตรแก่รัฐ
2) กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารสภาฯ ประกอบด้วยประธานคนหนึ่งและกรรมการไม่เกิน 20 คน โดยมีเลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่กำกับและตรวจสอบการดำเนินงานของเลขาธิการ
3) กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาฯ โดยมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานด้านธุรการของสภาฯ โดยมีเลขาธิการเป็นหัวหน้าสำนักงาน
4) กำหนดให้สำนักงานฯ มีรายได้จาก ค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงจากสมาชิก งบประมาณแผ่นดินและเงินช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ
5) กำหนดให้แผนแม่บทเพื่อพัฒนา การเกษตรที่สภาฯ จัดทำขึ้นและคณะรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้รายงานต่อรัฐสภา เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลผูกพัน หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามแผนแม่บทนั้น
6) กำหนดให้มีสภาเกษตรกรจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนจากองค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ต่อสภาเกษตรกรจังหวัด องค์กรละ 1 คน ทำหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งแก่องค์กรเกษตรกรในระดับจังหวัด ประสานนโยบายและการดำเนินงานระหว่างองค์กรเกษตรกรกับรัฐในระดับจังหวัด
7) กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาเกษตรกรจังหวัดโดยมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานด้านธุรการของสภาเกษตรกรจังหวัด
7. มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยมีสาระสำคัญคือ จะให้การช่วยเหลือเกษตรกรทุกสาขาการผลิต (ยกเว้นประมงทะเลที่ได้ดำเนินการช่วยเหลือไปแล้ว) จำนวน 5.6 ล้านครัวเรือน ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้น เนื่องจากน้ำมันดีเซลเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการผลิตภาค การเกษตร โดยให้ได้รับการชดเชยราคาน้ำมัน เป็นรายครัวเรือนๆ ละ 45 ลิตร อัตราชดเชยลิตรละ 3 บาท หรือเป็นเงิน 135 บาท ต่อครัวเรือน รวมทั้งช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการชดเชยและบริหาร โครงการของ ธ.ก.ส. โดยให้ใช้เงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรหรือแหล่งเงินอื่น ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะได้เสนอคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อขอนุมัติวงเงินต่อไป
8. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ …) พ.ศ. ……
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฯ ซึ่งได้ตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี ตามที่สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1) ให้มีการจัดตั้งสำนักจัดการหนี้และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรเพื่อ ดำเนินการแก้ไขหนี้ของเกษตรกรทั้งหนี้ในระบบ (หนี้จากโครงการส่งเสริมของรัฐ หนี้จากสถาบันเกษตรกรและหนี้จากสถาบันการเงิน) และหนี้ นอกระบบ
2) เกษตรกรที่จะขอรับการสนับสนุน จากกองทุนฯ ต้องขึ้นทะเบียนต่อสำนักจัดการหนี้เกษตรกร (หนี้ในระบบ) ตามหลักเกณฑ์ที่จะประกาศกำหนด และต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ที่คณะกรรมการกำหนด (หนี้นอกระบบ) โดยให้เกษตรกรขึ้นทะเบียนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
9. โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2543 อนุมัติโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนระยะที่ 2 (พ.ศ. 2541 - 2544) ตามที่คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยมีสาระสำคัญ เพื่อกระจายโอกาสให้คนยากจนระดับครัวเรือน ในหมู่บ้านมีเงินทุนในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น จำนวน 10,000 หมู่บ้าน โดยใช้เงินกู้จาก ต่างประเทศ จำนวน 2,924.80 ล้านบาท โดยแบ่งการเบิกจ่ายเป็นเวลา 2 ปี ปีละเท่าๆ กัน โดย วงเงิน 2,800 ล้านบาท จะใช้เป็นเงินทุนสำหรับ หมู่บ้านส่วนที่เหลือใช้ในการฝึกอบรมและเป็น ค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการ
10. นโยบายและมาตรการนำเข้า วัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2544
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบนโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2544 เมื่อ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอโดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2544 ดังนี้
1) การนำเข้ากากถั่วเหลืองจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
(1) ในโควตา ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 5 โดยให้ผู้มีสิทธิ์นำเข้าต้องรับซื้อกากถั่วเหลืองที่ผลิตจากเมล็ดถั่วเหลืองในประเทศทั้งหมดในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 9.50 บาท ณ โรงงานสกัดน้ำมันพืช กทม.
(2) นอกโควตา ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 119
2) การนำเข้ากากถั่วเหลืองจากประเทศนอกสมาชิก WTO
ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 6 และค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 2,519 บาท
3) การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ในโควตา กำหนดปริมาณนำเข้า 53,832 ตัน อากรนำเข้าร้อยละ 20 โดย ให้นำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม - 30 มิถุนายน 2544
นอกโควตา จากประเทศสมาชิก WTO ให้นำเข้าโดยเสรี ทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 75.4 และค่าธรรมเนียมพิเศษ ตันละ 180 บาท
นอกโควตา จากประเทศนอกสมาชิก WTO ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าตันละ 2,750 บาท และอากรพิเศษร้อยละ 13.97 (รวมอากรทั้งหมดใกล้เคียงร้อยละ 75.4) และ ค่าธรรมเนียมพิเศษตันละ 180 บาท
4) การนำเข้าปลาป่นโปรตีนร้อยละ 60 ขึ้นไป
ให้นำเข้าโดยเสรีทั้งปริมาณและช่วงเวลานำเข้า อากรนำเข้าร้อยละ 15 สำหรับประเทศนอกภาคีอาเซียน และร้อยละ 5 สำหรับการนำเข้าปลาป่นที่มีใบรับรอง จากประเทศภาคีอาเซียนซึ่งเป็นไปตามข้อผูกพัน ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
11. ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและผู้ยากจน
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2543 ของคณะกรรมการ ช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ในการ แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและผู้ยากจน เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2543 ตามที่สำนักนายก รัฐมนตรีรายงาน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) เงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ. 2528
ปีงบประมาณ 2544 ได้รับงบประมาณเพิ่มเติม 65 ล้านบาท และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 มีเงินทุนหมุนเวียน 69.9 ล้านบาท ในช่วง วันที่ 31 กรกฎาคม 2539 - 30 กันยายน 2543 ได้อนุมัติให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมทั้งสิ้น 28.4 ล้านบาท และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 มีหนี้เงินกู้สะสม 20.6 ล้านบาท
2) กองทุนหมุนเวียนเพื่อปลดเปลื้อง หนี้สินเดิมของเกษตรกรที่ยากจน พ.ศ. 2543
ปีงบประมาณ 2543 อนุมัติเงินกู้ 408,000 บาท แก่เกษตรกรเพื่อไถ่ถอนและซื้อคืน ที่ดิน ในช่วงวันที่ 5 ธันวาคม 2533 - 30 กันยายน 2543 อนุมัติให้เกษตรกู้ยืม 85.2 ล้านบาท เพื่อช่วยไถ่ถอนและซื้อคืนที่ดิน ประมาณ 12,978 ไร่ และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 มีเงินกองทุนฯ คงเหลือ 49.5 ล้านบาท และมีหนี้เงินกู้สะสม 46.8 ล้านบาท
3) กองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน ด้านหนี้สินและที่ดิน พ.ศ. 2536
ปีงบประมาณ 2543 อนุมัติเงินกู้ยืม 414.5 ล้านบาท เพื่อช่วยไถ่ถอนและ ซื้อคืนที่ดิน และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 - 30 กันยายน 2543 อนุมัติให้เกษตรกรกู้ยืม 1,681.2 ล้านบาท เพื่อช่วยไถ่ถอนและซื้อคืนที่ดินประมาณ 139,709 ไร่ และ ณ วันที่ 30 กันยายน 2543 มีเงินกองทุนฯ คงเหลือ 159.7 ล้านบาท และมีหนี้เงินกู้สะสม 1,241.6 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-