กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (17 ตุลาคม 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และดร.อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้สัมภาษณ์ สื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 13 โดยสรุปประเด็นสำคัญที่ ดร.สรุเกียรติ์ฯ ให้สัมภาษณ์ได้ดังนี้
1. ที่ประชุมได้พิจารณาถึงความเชื่อมโยงระหว่างเอเปคและองค์การการค้าโลก (World Trade Organization — WTO) และความเชื่อมโยงด้านความสามารถในการเสริมสร้างสมรรถนะ (capacity building) ขององค์การการค้าโลก
2. ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ฝ่ายไทยเห็นว่าประเทศสมาชิกเอเปคควรมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาคมโลก โดยร่วมมือกันป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้ ฝ่ายไทยเห็นว่าสมาชิกเอเปคควรสนับสนุนให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบที่จะมีการเจรจาการค้ารอบใหม่ ซึ่งหัวข้อการประชุมนั้นจะต้องครอบคลุมความต้องการของทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา
3. ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าเรื่องการเสริมสร้างสมรรถนะ (capacity building) ควรเป็นหัวข้อสำคัญในการเจรจาใน WTO ครั้งนี้ และสมาชิกเอเปคได้เสนอให้มีหน่วยปฏิบัติการเกี่ยวกับการเสริมสร้างสมรรถนะ (operational unit) อยู่ใน WTO เพื่อเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยประเทศต่างๆ สามารถส่งบุคลากรไปฝึกด้านการเจรจาการค้าในหน่วยปฏิบัติการดังกล่าว
4. ฝ่ายไทยได้แจ้งที่ประชุมว่าหลังจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development - UNCTAD) ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2543 ไทยได้จัดตั้งสถาบันการค้าระหว่างประเทศและการพัฒนา (International Trade and Development Institute) ซึ่งสถาบันนี้พร้อมจะให้การฝึกอบรมบุคลากรแก่ประเทศกำลังพัฒนา เพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพและความสามารถในการเจรจา และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมต่อกระแสโลกาภิวัตน์และการเปิดการค้าเสรี ไทยได้เชิญชวนสมาชิกเอเปคที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาให้เข้ามาร่วมใช้ประโยชน์จากสถาบันดังกล่าว
สรุปสาระสำคัญคำสัมภาษณ์ ดร.อดิศัยฯ ได้ดังนี้
1. กรณีการก่อการร้ายในนครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 มีส่วนทำให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคสนับสนุนการเจรจาการค้ารอบใหม่ โดยให้วาระการประชุมครอบคลุมความสนใจของประเทศสมาชิกและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
2. ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับสินค้าเกษตร เนื่องจากปัญหา สินค้าเกษตรเกิดขึ้นกับทุกประเทศ โดยประเทศกำลังพัฒนาต้องการส่งสินค้าเกษตรเป็นสินค้าออก สำหรับประเทศพัฒนาแล้วต้องการป้องกันสินค้าเหล่านี้ไม่ให้เข้าประเทศเพราะจะมีผลกระทบต่อสินค้าเกษตรภายในประเทศของตน ซึ่งที่ประชุมวันนี้ได้หารือเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยพยายามที่จะให้ความสำคัญกับทั้งสองประเด็นดังกล่าวเทียบเท่ากัน ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอดเพราะกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรไทยต้องพึ่งพาสินค้าเกษตร
3. ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยได้พิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (17 ตุลาคม 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และดร.อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ให้สัมภาษณ์ สื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 13 โดยสรุปประเด็นสำคัญที่ ดร.สรุเกียรติ์ฯ ให้สัมภาษณ์ได้ดังนี้
1. ที่ประชุมได้พิจารณาถึงความเชื่อมโยงระหว่างเอเปคและองค์การการค้าโลก (World Trade Organization — WTO) และความเชื่อมโยงด้านความสามารถในการเสริมสร้างสมรรถนะ (capacity building) ขององค์การการค้าโลก
2. ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ฝ่ายไทยเห็นว่าประเทศสมาชิกเอเปคควรมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้มากขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาคมโลก โดยร่วมมือกันป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้ ฝ่ายไทยเห็นว่าสมาชิกเอเปคควรสนับสนุนให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบที่จะมีการเจรจาการค้ารอบใหม่ ซึ่งหัวข้อการประชุมนั้นจะต้องครอบคลุมความต้องการของทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา
3. ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่าเรื่องการเสริมสร้างสมรรถนะ (capacity building) ควรเป็นหัวข้อสำคัญในการเจรจาใน WTO ครั้งนี้ และสมาชิกเอเปคได้เสนอให้มีหน่วยปฏิบัติการเกี่ยวกับการเสริมสร้างสมรรถนะ (operational unit) อยู่ใน WTO เพื่อเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยประเทศต่างๆ สามารถส่งบุคลากรไปฝึกด้านการเจรจาการค้าในหน่วยปฏิบัติการดังกล่าว
4. ฝ่ายไทยได้แจ้งที่ประชุมว่าหลังจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development - UNCTAD) ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2543 ไทยได้จัดตั้งสถาบันการค้าระหว่างประเทศและการพัฒนา (International Trade and Development Institute) ซึ่งสถาบันนี้พร้อมจะให้การฝึกอบรมบุคลากรแก่ประเทศกำลังพัฒนา เพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพและความสามารถในการเจรจา และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมต่อกระแสโลกาภิวัตน์และการเปิดการค้าเสรี ไทยได้เชิญชวนสมาชิกเอเปคที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาให้เข้ามาร่วมใช้ประโยชน์จากสถาบันดังกล่าว
สรุปสาระสำคัญคำสัมภาษณ์ ดร.อดิศัยฯ ได้ดังนี้
1. กรณีการก่อการร้ายในนครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 มีส่วนทำให้ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคสนับสนุนการเจรจาการค้ารอบใหม่ โดยให้วาระการประชุมครอบคลุมความสนใจของประเทศสมาชิกและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
2. ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับสินค้าเกษตร เนื่องจากปัญหา สินค้าเกษตรเกิดขึ้นกับทุกประเทศ โดยประเทศกำลังพัฒนาต้องการส่งสินค้าเกษตรเป็นสินค้าออก สำหรับประเทศพัฒนาแล้วต้องการป้องกันสินค้าเหล่านี้ไม่ให้เข้าประเทศเพราะจะมีผลกระทบต่อสินค้าเกษตรภายในประเทศของตน ซึ่งที่ประชุมวันนี้ได้หารือเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยพยายามที่จะให้ความสำคัญกับทั้งสองประเด็นดังกล่าวเทียบเท่ากัน ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาโดยตลอดเพราะกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรไทยต้องพึ่งพาสินค้าเกษตร
3. ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยได้พิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-