กรุงเทพฯ--22 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคม 2543 รัฐบาลไทยร่วมกับสำนักงานควบคุมยาเสพย์ติดและการป้องกันทางอาญาของสหประชาชาติได้ร่วมกันจัดการสัมมนาระดับรัฐมนตรีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการต่อต้านอาชญากรรรมก่อตั้งข้ามชาติ ณ โรงแรม รอยัล ออร์คิด เชอราตัน กรุงเทพฯ การสัมมนาครั้งนี้ เป็นการสัมมนาครั้งแรกในระดับรัฐมนตรีของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในเรื่องการต่อต้านปัญหาองค์กรอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติ โดยมีประเทศต่างๆ ใน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เข้าร่วม 20 ประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ กัมพูชา แคนาดา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย สหรัฐฯ และเวียดนาม ทั้งนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ กระทรวงการต่าง-ประเทศ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพย์ติด เป็นต้น
ที่ประชุมได้เห็นชอบเอกสาร Bangkok Statement ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตนารมย์ทางการเมืองของประเทศในภูมิภาคที่จะร่วมมือกันจัดการ แก้ไข และต่อต้านองค์กรอาชญากรรม ก่อตั้งข้ามชาติ โดยประเทศไทยจะเป็นผู้นำเอกสารนี้เสนอต่อที่ประชุมสหประชาชาติ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการยกร่างอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติ และพิธีสารที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ คือ พิธีสารเรื่องการลักลอบค้าผู้หญิงและเด็ก พิธีสารเรื่องการลักลอบค้าอาวุธ และพิธีสารเรื่องการลักลอบของผู้ย้ายถิ่น ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีเป้าหมายที่จะให้มีการรับรองภายในสิ้นปีนี้
ประเทศผู้เข้าร่วมเห็นพ้องกันว่า ปัญหาองค์กรอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติเป็นปัญหาที่นับวันแต่จะทวีความรุนแรงขึ้น และไม่มีประเทศใดในโลกที่จะรอดพ้นจากปัญหาเหล่านี้ อาทิ ปัญหายาเสพย์ติด ปัญหาการฟอกเงิน ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาการลักลอบนำเข้าแรงงาน ต่างชาติผิดกฎหมาย ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง การค้าอาวุธ การก่อการร้าย และการฟอกเงิน เป็นต้น ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ได้ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อประชาชน และได้ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของนานาประเทศ
ประเทศผู้เข้าร่วมได้ย้ำความสำคัญของความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคี ระดับ ภูมิภาค และระดับนานาชาติ รวมทั้งการประสานงานระหว่างภาครัฐและองค์กรเอกชนในการต่อสู้กับปัญหาองค์กรอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติ อีกทั้ง ยังได้ย้ำถึงความจำเป็นในการแลกเปลี่ยน ความรู้และการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ การแนะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความร่วมมือในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน และความร่วมมืออื่น ๆ ทางด้านกฎหมาย
นอกจากนั้น ประเทศผู้เข้าร่วมได้แสดงความสนับสนุนให้การยกร่างอนุสัญญาต่อต้านอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติและพิธีสาร 3 ฉบับ สำเร็จโดยรวดเร็ว และได้ประกาศเจตนารมย์ที่จะพิจารณาเข้าเป็นภาคีในโอกาสแรก ในโอกาสนี้ ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศได้เรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ความช่วยเหลือทางการเงินและความช่วยเหลือทางวิชาการ เพื่อให้การนำอนุสัญญาฯ ดังกล่าวและพิธีสารที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 ฉบับ ไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ภายหลังจากที่อนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับแล้ว
ทั้งนี้ ประเทศผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงเจตน์จำนงอย่างมุ่งมั่นที่จะร่วมกันทำให้ประเด็นต่างๆ ที่ได้มีการหารือกันในการสัมมนาครั้งนี้ก่อให้เกิดแนวทางความร่วมมือและผลที่เป็นรูปธรรมในการต่อต้าน และจัดการกับปัญหาองค์กรอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติต่อไป
ในส่วนของประเทศอาเซียนที่ได้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ ได้มีการหารือร่วมกันที่จะส่งเสริมความร่วมมือในการต่อต้านและจัดการกับปัญหาองค์กรอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติอย่าง จริงจัง โดยทุกฝ่ายเห็นความจำเป็นที่จะต้องประกาศสงครามกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และโดยที่ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ อาเซียนจึงเห็นพ้องที่จะจัดให้มีการประชุมหารือกันในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเรื่องร่างอนุสัญญาต่อต้านอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติในเดือนพฤษภาคม 2543
สำหรับประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการประชุมหารือกับหน่วย ราชการที่เกี่ยวข้องในวันที่ 31 มีนาคม 2543 เพื่อประเมินและวิเคราะห์ผลการประชุมในครั้งนี้ เพื่อติดตามประเด็นต่างๆ ที่ได้มีการหารือกันในครั้งนี้ และเพื่อกำหนดท่าทีร่วมกันของหน่วยราชการต่างๆ ของไทยต่อการประชุม Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders ระหว่างวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย การประชุมอาเซียนในเดือนพฤษภาคม 2543 และในกระบวนการยกร่างอนุสัญญาต่อต้านอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติและพิธีสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีการประชุมครั้งต่อไปในเดือนมิถุนายน 2543 ณ กรุงเวียนนา--จบ--
ระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคม 2543 รัฐบาลไทยร่วมกับสำนักงานควบคุมยาเสพย์ติดและการป้องกันทางอาญาของสหประชาชาติได้ร่วมกันจัดการสัมมนาระดับรัฐมนตรีภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการต่อต้านอาชญากรรรมก่อตั้งข้ามชาติ ณ โรงแรม รอยัล ออร์คิด เชอราตัน กรุงเทพฯ การสัมมนาครั้งนี้ เป็นการสัมมนาครั้งแรกในระดับรัฐมนตรีของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในเรื่องการต่อต้านปัญหาองค์กรอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติ โดยมีประเทศต่างๆ ใน ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เข้าร่วม 20 ประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ กัมพูชา แคนาดา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย สหรัฐฯ และเวียดนาม ทั้งนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ กระทรวงการต่าง-ประเทศ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพย์ติด เป็นต้น
ที่ประชุมได้เห็นชอบเอกสาร Bangkok Statement ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตนารมย์ทางการเมืองของประเทศในภูมิภาคที่จะร่วมมือกันจัดการ แก้ไข และต่อต้านองค์กรอาชญากรรม ก่อตั้งข้ามชาติ โดยประเทศไทยจะเป็นผู้นำเอกสารนี้เสนอต่อที่ประชุมสหประชาชาติ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการยกร่างอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติ และพิธีสารที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ คือ พิธีสารเรื่องการลักลอบค้าผู้หญิงและเด็ก พิธีสารเรื่องการลักลอบค้าอาวุธ และพิธีสารเรื่องการลักลอบของผู้ย้ายถิ่น ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีเป้าหมายที่จะให้มีการรับรองภายในสิ้นปีนี้
ประเทศผู้เข้าร่วมเห็นพ้องกันว่า ปัญหาองค์กรอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติเป็นปัญหาที่นับวันแต่จะทวีความรุนแรงขึ้น และไม่มีประเทศใดในโลกที่จะรอดพ้นจากปัญหาเหล่านี้ อาทิ ปัญหายาเสพย์ติด ปัญหาการฟอกเงิน ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาการลักลอบนำเข้าแรงงาน ต่างชาติผิดกฎหมาย ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง การค้าอาวุธ การก่อการร้าย และการฟอกเงิน เป็นต้น ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ได้ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อประชาชน และได้ส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของนานาประเทศ
ประเทศผู้เข้าร่วมได้ย้ำความสำคัญของความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคี ระดับ ภูมิภาค และระดับนานาชาติ รวมทั้งการประสานงานระหว่างภาครัฐและองค์กรเอกชนในการต่อสู้กับปัญหาองค์กรอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติ อีกทั้ง ยังได้ย้ำถึงความจำเป็นในการแลกเปลี่ยน ความรู้และการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ การแนะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความร่วมมือในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน และความร่วมมืออื่น ๆ ทางด้านกฎหมาย
นอกจากนั้น ประเทศผู้เข้าร่วมได้แสดงความสนับสนุนให้การยกร่างอนุสัญญาต่อต้านอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติและพิธีสาร 3 ฉบับ สำเร็จโดยรวดเร็ว และได้ประกาศเจตนารมย์ที่จะพิจารณาเข้าเป็นภาคีในโอกาสแรก ในโอกาสนี้ ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศได้เรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ความช่วยเหลือทางการเงินและความช่วยเหลือทางวิชาการ เพื่อให้การนำอนุสัญญาฯ ดังกล่าวและพิธีสารที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 ฉบับ ไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ ภายหลังจากที่อนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับแล้ว
ทั้งนี้ ประเทศผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงเจตน์จำนงอย่างมุ่งมั่นที่จะร่วมกันทำให้ประเด็นต่างๆ ที่ได้มีการหารือกันในการสัมมนาครั้งนี้ก่อให้เกิดแนวทางความร่วมมือและผลที่เป็นรูปธรรมในการต่อต้าน และจัดการกับปัญหาองค์กรอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติต่อไป
ในส่วนของประเทศอาเซียนที่ได้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ ได้มีการหารือร่วมกันที่จะส่งเสริมความร่วมมือในการต่อต้านและจัดการกับปัญหาองค์กรอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติอย่าง จริงจัง โดยทุกฝ่ายเห็นความจำเป็นที่จะต้องประกาศสงครามกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ และโดยที่ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ อาเซียนจึงเห็นพ้องที่จะจัดให้มีการประชุมหารือกันในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเรื่องร่างอนุสัญญาต่อต้านอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติในเดือนพฤษภาคม 2543
สำหรับประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการประชุมหารือกับหน่วย ราชการที่เกี่ยวข้องในวันที่ 31 มีนาคม 2543 เพื่อประเมินและวิเคราะห์ผลการประชุมในครั้งนี้ เพื่อติดตามประเด็นต่างๆ ที่ได้มีการหารือกันในครั้งนี้ และเพื่อกำหนดท่าทีร่วมกันของหน่วยราชการต่างๆ ของไทยต่อการประชุม Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders ระหว่างวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย การประชุมอาเซียนในเดือนพฤษภาคม 2543 และในกระบวนการยกร่างอนุสัญญาต่อต้านอาชญากรรมก่อตั้งข้ามชาติและพิธีสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีการประชุมครั้งต่อไปในเดือนมิถุนายน 2543 ณ กรุงเวียนนา--จบ--