สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--9 ก.พ.--รอยเตอร์
รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตร
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 ฝ้าย : เกษตรกรขึ้นทะเบียนผู้ปลูกฝ้ายในปี 2542/43 เพียงร้อยละ 24
ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ในวันที่ 17 กันยายน 2542 ได้ให้ความเห็นชอบในแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายจากการที่รัฐบาลได้ยกเว้นอากรขาเข้าฝ้าย ซึ่งได้กำหนดให้โรงหีบฝ้ายจะต้องซื้อฝ้ายดอกชนิดใยยาวคุณภาพชั้น 1 และ ชั้น 2 ณ หน้าโรงงานไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 16.23 และ 15.53 บาท ตามลำดับ ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายขายฝ้ายได้ในราคาดังกล่าวและเป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานในปีต่อไป ทั้งในเรื่องราคาและการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ จึงได้กำหนดให้ปลูกฝ้ายขึ้นทะเบียน พ.ศ. 2542 ในท้องที่ 33 จังหวัด โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 30 ธันวาคม 2542
ผลการดำเนินงาน มีเกษตรกรจดทะเบียนจำนวน 5,770 ราย พื้นที่ 40,418 ไร่ และผลผลิต 7,405 ตัน ฝ้ายดอก หรือเพียงร้อยละ 24 ของพื้นที่ปลูก
ปัญหา
1) การดำเนินการขึ้นทะเบียนช้าเกินไป โดยเริ่มดำเนินการในต้นเดือนธันวาคม เนื่องจากมีปัญหาในการเรื่องการทำสัญญาซื้อขายฝ้าย ขณะที่ผลผลิตได้เริ่มทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ทำให้เกษตรกรบางรายได้ขายฝ้ายไปแล้ว จึงทำให้เกษตรกรมารับการขึ้นทะเบียนน้อย
2) การประกันราคารับซื้อฝ้าย เน้นเฉพาะฝ้ายใยยาว จึงทำให้เกษตรกรบางพื้นที่ เช่น จังหวัดเลย ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกฝ้ายใยสั้น จึงมาขึ้นทะเบียนน้อย
2.2 ประมง : ผลกระทบของการขึ้นราคาน้ำมันต่อกิจการประมงทะเล
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติอนุมัติให้ขยายเวลาการช่วยเหลือลดราคาน้ำมันให้ชาวประมงไปอีก 1 ปี จากเดิมสิ้นสุด 15 สิงหาคม 2542 เป็นสิ้นสุด 31 สิงหาคม 2543 และให้ชดเชยการขาดทุนราคาน้ำมันตามโครงการช่วยเหลือลดราคาน้ำมันให้ชาวประมงเฉพาะเรือประมงขนาดเล็กที่มีความยาวต่ำกว่า 18 เมตร โดยอัตราค่าชดเชยไม่เกินลิตรละ 0.97 บาท แต่จากข้อเท็จจริงที่ขณะนี้ราคาน้ำมันได้ขยับตัวสูงขึ้นหลายระลอก ส่งผลให้กิจการประมงทะเลซึ่งเป็นสาขาการผลิตที่มีมาใข้น้ำมันดีเซลเป็นองค์ประกอบในต้นทุนการจับสัตว์น้ำในสัดส่วนร้อยละ 10-51 ของต้นทุนรวมทั้งหมด เมื่อระดับราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 9.19 บาท ก่อนการปรับราคาน้ำมัน ซึ่งต้นทุนจะเป็นไปตามประเภทและขนาดของเรือประมง แต่เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นไปร้อยละ 20 หรือลิตรละ 11 บาท น้ำมันจะมีสัดส่วนในต้นทุนร้อยละ 11-56 ของต้นทุนทั้งหมด หรือคิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2-10 เรืออวนลากขนาดเล็กต่ำว่า 18 เมตร และเรืออวนรุนจะมีสัดส่วนต้นทุนน้ำมันมากที่สุด ทั้งนี้ประมาณว่าในแต่ละเดือนกิจการประมงทะเลจะใช้น้ำมันทั้งหมด 147.74 ล้านลิตร การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเป็นลิตรละ 11 บาท จะส่งผลให้กิจการประมงะทเลมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 264.4 ล้านบาท หรือปีละประมาณ 3,200 ล้านบาท
ข้อคิดเห็น
จากการขึ้นราคาน้ำมันครั้งนี้อาจจะเป็นปัญหาให้ชาวประมงขนาดเล็กต้องเดือดร้อนอย่างมาก ดังนั้น จึงเห็นควรมีมาตรการบรรเทาให้กับชาวประมงเพิ่มเติมจากที่ คชก.ได้ช่วยเหลือ โดยอุดหนุนราคาน้ำมันไปอีกระยะหนึ่ง และมุ่งการพัฒนาประมงขนาดเล็กให้เป็นขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิตหรือสนับสนุนให้เข้าร่วมในการทำประมงน้ำลึก
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 31 ม.ค. - 6 ก.พ. 2543--
รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตร
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 ฝ้าย : เกษตรกรขึ้นทะเบียนผู้ปลูกฝ้ายในปี 2542/43 เพียงร้อยละ 24
ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ในวันที่ 17 กันยายน 2542 ได้ให้ความเห็นชอบในแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายจากการที่รัฐบาลได้ยกเว้นอากรขาเข้าฝ้าย ซึ่งได้กำหนดให้โรงหีบฝ้ายจะต้องซื้อฝ้ายดอกชนิดใยยาวคุณภาพชั้น 1 และ ชั้น 2 ณ หน้าโรงงานไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 16.23 และ 15.53 บาท ตามลำดับ ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายขายฝ้ายได้ในราคาดังกล่าวและเป็นข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานในปีต่อไป ทั้งในเรื่องราคาและการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต คณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ จึงได้กำหนดให้ปลูกฝ้ายขึ้นทะเบียน พ.ศ. 2542 ในท้องที่ 33 จังหวัด โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน - 30 ธันวาคม 2542
ผลการดำเนินงาน มีเกษตรกรจดทะเบียนจำนวน 5,770 ราย พื้นที่ 40,418 ไร่ และผลผลิต 7,405 ตัน ฝ้ายดอก หรือเพียงร้อยละ 24 ของพื้นที่ปลูก
ปัญหา
1) การดำเนินการขึ้นทะเบียนช้าเกินไป โดยเริ่มดำเนินการในต้นเดือนธันวาคม เนื่องจากมีปัญหาในการเรื่องการทำสัญญาซื้อขายฝ้าย ขณะที่ผลผลิตได้เริ่มทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ทำให้เกษตรกรบางรายได้ขายฝ้ายไปแล้ว จึงทำให้เกษตรกรมารับการขึ้นทะเบียนน้อย
2) การประกันราคารับซื้อฝ้าย เน้นเฉพาะฝ้ายใยยาว จึงทำให้เกษตรกรบางพื้นที่ เช่น จังหวัดเลย ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกฝ้ายใยสั้น จึงมาขึ้นทะเบียนน้อย
2.2 ประมง : ผลกระทบของการขึ้นราคาน้ำมันต่อกิจการประมงทะเล
คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ได้มีมติอนุมัติให้ขยายเวลาการช่วยเหลือลดราคาน้ำมันให้ชาวประมงไปอีก 1 ปี จากเดิมสิ้นสุด 15 สิงหาคม 2542 เป็นสิ้นสุด 31 สิงหาคม 2543 และให้ชดเชยการขาดทุนราคาน้ำมันตามโครงการช่วยเหลือลดราคาน้ำมันให้ชาวประมงเฉพาะเรือประมงขนาดเล็กที่มีความยาวต่ำกว่า 18 เมตร โดยอัตราค่าชดเชยไม่เกินลิตรละ 0.97 บาท แต่จากข้อเท็จจริงที่ขณะนี้ราคาน้ำมันได้ขยับตัวสูงขึ้นหลายระลอก ส่งผลให้กิจการประมงทะเลซึ่งเป็นสาขาการผลิตที่มีมาใข้น้ำมันดีเซลเป็นองค์ประกอบในต้นทุนการจับสัตว์น้ำในสัดส่วนร้อยละ 10-51 ของต้นทุนรวมทั้งหมด เมื่อระดับราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 9.19 บาท ก่อนการปรับราคาน้ำมัน ซึ่งต้นทุนจะเป็นไปตามประเภทและขนาดของเรือประมง แต่เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นไปร้อยละ 20 หรือลิตรละ 11 บาท น้ำมันจะมีสัดส่วนในต้นทุนร้อยละ 11-56 ของต้นทุนทั้งหมด หรือคิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2-10 เรืออวนลากขนาดเล็กต่ำว่า 18 เมตร และเรืออวนรุนจะมีสัดส่วนต้นทุนน้ำมันมากที่สุด ทั้งนี้ประมาณว่าในแต่ละเดือนกิจการประมงทะเลจะใช้น้ำมันทั้งหมด 147.74 ล้านลิตร การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเป็นลิตรละ 11 บาท จะส่งผลให้กิจการประมงะทเลมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 264.4 ล้านบาท หรือปีละประมาณ 3,200 ล้านบาท
ข้อคิดเห็น
จากการขึ้นราคาน้ำมันครั้งนี้อาจจะเป็นปัญหาให้ชาวประมงขนาดเล็กต้องเดือดร้อนอย่างมาก ดังนั้น จึงเห็นควรมีมาตรการบรรเทาให้กับชาวประมงเพิ่มเติมจากที่ คชก.ได้ช่วยเหลือ โดยอุดหนุนราคาน้ำมันไปอีกระยะหนึ่ง และมุ่งการพัฒนาประมงขนาดเล็กให้เป็นขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อลดต้นทุนการผลิตหรือสนับสนุนให้เข้าร่วมในการทำประมงน้ำลึก
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 31 ม.ค. - 6 ก.พ. 2543--