Organic Food หรือ อาหารเกษตรอินทรีย์ เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบจากพืชหรือสัตว์ที่ได้จากการทำเกษตรกรรมตามหลักธรรมชาติที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมและมีความปลอดภัยต่อการบริโภค ปัจจุบันความต้องการบริโภคอาหาร organic แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเป็นผลจากกระแสตื่นตัวของผู้บริโภคที่ห่วงใยในสุขภาพมากขึ้น ทำให้ตลาดอาหาร organic ทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2543 โดยมีสหภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นตลาดใหญ่ที่สุด รองลงมาคือสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
สหภาพยุโรป เป็นตลาดอาหาร organic ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าตลาดสูงถึง 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของตลาดอาหาร organic ทั่วโลกในปี 2543 นอกจากนี้ อาหาร organic มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดอาหารทั้งหมดของ EU โดยขยายตัวอย่างต่อเนื่องประมาณร้อยละ 20-30 ต่อปี ทำให้ผลผลิตอาหาร organic ในกลุ่ม EU ไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ การนำเข้าอาหาร organic จากต่างประเทศจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 50-60 ของมูลค่าตลาดอาหาร organic ทั้งหมดใน EU จึงเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ส่งออกไทยที่ต้องการเข้าไปเจาะหรือขยายตลาดอาหาร organic ใน EU
ข้อมูลที่น่าสนใจของตลาดอาหาร organic ใน EU มีดังนี้
ตลาดสำคัญ
เยอรมนีเป็นตลาดอาหาร organic ที่ใหญ่ที่สุดใน EU (มูลค่าตลาดประมาณ 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐฯ ตามด้วยฝรั่งเศส (1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สหราชอาณาจักร (900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และเนเธอร์แลนด์ (600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
ประเภทของอาหาร organic ที่นิยมบริโภคใน EU
ผู้บริโภคใน EU นิยมบริโภคอาหาร organic หลากหลายชนิดและแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ที่สำคัญได้แก่ ผักและผลไม้สด (แครอท หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง ผักกาด กล้วยหอม และแอปเปิ้ล) น้ำผลไม้ นมและผลิตภัณฑ์จากนม (เช่น เนย และเนยแข็ง) กาแฟ ไวน์ ธัญพืช ผลไม้และถั่วอบแห้ง เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารสำหรับเด็ก และอาหารแปรรูปพร้อมรับประทานประเภทต่างๆ เป็นที่น่าสังเกตว่าอาหาร organic ที่จำหน่ายใน EU มักมีราคาสูงกว่าอาหารประเภทเดียวกันโดยทั่วไป ราวร้อยละ 25-40 ยกเว้นนมและผลิตภัณฑ์นม ซึ่งโดยทั่วไปมีราคาใกล้เคียงกันมากระหว่างผลิตภัณฑ์ organic และผลิตภัณฑ์ทั่วไป โดยเฉพาะในเดนมาร์กและเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นม organic รายใหญ่ของ EU
ช่องทางการจัดจำหน่าย
การจำหน่ายอาหาร organic ใน EU ส่วนใหญ่นิยมจำหน่ายผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในสวีเดน สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ที่กว่าร้อยละ 60 ของอาหาร organic จำหน่ายผ่านช่องทางดังกล่าว สำหรับในเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์นิยมจำหน่ายอาหาร organic ผ่านร้านอาหารเพื่อสุขภาพ และร้านขายของชำเป็นสำคัญ รองลงมาคือการจำหน่ายผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตและการขายตรงจากแหล่งผลิต ลูกค้าสำคัญของอาหาร organic นอกจากจะเป็นผู้บริโภคทั่วไปแล้ว ยังได้แก่ โรงแรม ภัตตาคาร สายการบินชั้นนำของ EU รวมไปถึงอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปต่างๆ ที่ใช้อาหาร organic เป็นวัตถุดิบ
กฎระเบียบและมาตรฐานสินค้า
อาหาร organic ที่จำหน่ายใน EU ต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าจากหน่วยงานหรือองค์กรระหว่างประเทศที่ประเทศสมาชิก EU ให้การยอมรับ เช่น องค์กรในเครือข่ายของ IFOAM (International Federation of Organic Agricultural Movements) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่ดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ อาหาร organic ที่ผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองมาตรฐานแล้วจึงจะได้รับอนุญาตให้ติดฉลาก organic ตามที่ EU กำหนด
สำหรับประเทศนอกกลุ่ม EU ที่ต้องการส่งสินค้าอาหาร organic ไปจำหน่ายใน EU ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของคณะมนตรียุโรปที่กำหนดให้วัตถุดิบที่ใช้ผลิตอาหาร organic ต้องผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ และติดฉลากสินค้าตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ EU เช่นเดียวกับประเทศสมาชิก EU และต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากหน่วยงาน FVO (Food and Veterinary Office) ซึ่งเป็นตัวแทนในการตรวจสอบและรับรองสินค้า organic ก่อนที่จะส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในตลาด EU
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2544--
-อน-
สหภาพยุโรป เป็นตลาดอาหาร organic ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าตลาดสูงถึง 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40 ของตลาดอาหาร organic ทั่วโลกในปี 2543 นอกจากนี้ อาหาร organic มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดอาหารทั้งหมดของ EU โดยขยายตัวอย่างต่อเนื่องประมาณร้อยละ 20-30 ต่อปี ทำให้ผลผลิตอาหาร organic ในกลุ่ม EU ไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ การนำเข้าอาหาร organic จากต่างประเทศจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 50-60 ของมูลค่าตลาดอาหาร organic ทั้งหมดใน EU จึงเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ส่งออกไทยที่ต้องการเข้าไปเจาะหรือขยายตลาดอาหาร organic ใน EU
ข้อมูลที่น่าสนใจของตลาดอาหาร organic ใน EU มีดังนี้
ตลาดสำคัญ
เยอรมนีเป็นตลาดอาหาร organic ที่ใหญ่ที่สุดใน EU (มูลค่าตลาดประมาณ 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐฯ ตามด้วยฝรั่งเศส (1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สหราชอาณาจักร (900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และเนเธอร์แลนด์ (600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
ประเภทของอาหาร organic ที่นิยมบริโภคใน EU
ผู้บริโภคใน EU นิยมบริโภคอาหาร organic หลากหลายชนิดและแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ที่สำคัญได้แก่ ผักและผลไม้สด (แครอท หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง ผักกาด กล้วยหอม และแอปเปิ้ล) น้ำผลไม้ นมและผลิตภัณฑ์จากนม (เช่น เนย และเนยแข็ง) กาแฟ ไวน์ ธัญพืช ผลไม้และถั่วอบแห้ง เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารสำหรับเด็ก และอาหารแปรรูปพร้อมรับประทานประเภทต่างๆ เป็นที่น่าสังเกตว่าอาหาร organic ที่จำหน่ายใน EU มักมีราคาสูงกว่าอาหารประเภทเดียวกันโดยทั่วไป ราวร้อยละ 25-40 ยกเว้นนมและผลิตภัณฑ์นม ซึ่งโดยทั่วไปมีราคาใกล้เคียงกันมากระหว่างผลิตภัณฑ์ organic และผลิตภัณฑ์ทั่วไป โดยเฉพาะในเดนมาร์กและเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นม organic รายใหญ่ของ EU
ช่องทางการจัดจำหน่าย
การจำหน่ายอาหาร organic ใน EU ส่วนใหญ่นิยมจำหน่ายผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในสวีเดน สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส ที่กว่าร้อยละ 60 ของอาหาร organic จำหน่ายผ่านช่องทางดังกล่าว สำหรับในเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์นิยมจำหน่ายอาหาร organic ผ่านร้านอาหารเพื่อสุขภาพ และร้านขายของชำเป็นสำคัญ รองลงมาคือการจำหน่ายผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตและการขายตรงจากแหล่งผลิต ลูกค้าสำคัญของอาหาร organic นอกจากจะเป็นผู้บริโภคทั่วไปแล้ว ยังได้แก่ โรงแรม ภัตตาคาร สายการบินชั้นนำของ EU รวมไปถึงอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปต่างๆ ที่ใช้อาหาร organic เป็นวัตถุดิบ
กฎระเบียบและมาตรฐานสินค้า
อาหาร organic ที่จำหน่ายใน EU ต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าจากหน่วยงานหรือองค์กรระหว่างประเทศที่ประเทศสมาชิก EU ให้การยอมรับ เช่น องค์กรในเครือข่ายของ IFOAM (International Federation of Organic Agricultural Movements) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนระหว่างประเทศที่ดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ อาหาร organic ที่ผ่านการตรวจสอบและได้รับการรับรองมาตรฐานแล้วจึงจะได้รับอนุญาตให้ติดฉลาก organic ตามที่ EU กำหนด
สำหรับประเทศนอกกลุ่ม EU ที่ต้องการส่งสินค้าอาหาร organic ไปจำหน่ายใน EU ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของคณะมนตรียุโรปที่กำหนดให้วัตถุดิบที่ใช้ผลิตอาหาร organic ต้องผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ และติดฉลากสินค้าตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ EU เช่นเดียวกับประเทศสมาชิก EU และต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากหน่วยงาน FVO (Food and Veterinary Office) ซึ่งเป็นตัวแทนในการตรวจสอบและรับรองสินค้า organic ก่อนที่จะส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายในตลาด EU
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2544--
-อน-