สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--2 ก.พ.--รอยเตอร์
รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตร
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ลูกเดือย : ราคาลูกเดือย ปี 2542/43 ตกต่ำ
สถานการณ์การผลิตลูกเดือยปี 2542/43 คาดว่าจะมีผลผลิตลูกเดือยประมาณ 16,674 ตัน ลดลงจาก 16,737 ตัน ในปีก่อนร้อยละ 0.38 จังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกที่สำคัญ คือ จังหวัดเลย ผลิตได้ 15,614 ตัน คิดเป็นร้อยละ 93.64 ของผลผลิตทั้งหมด รองลงมาได้แก่ อุดรธานี หนองคาย และเพชรบูรณ์ ผลิตได้ 800, 230 และ 30 ตัน ตามลำดับ ผลผลิตลูกเดือยจะออกสู่ตลาดประมาณช่วงปลายเดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งออกต่างประเทศประมาณร้อยละ 70-80 ปัจจบัน ราคาลูกเดือยทั้งประเทศเดือนมกราคม 2543 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.00 บาท ลดลงจาก 7.50 บาท ของเดือนมกราคม ปีก่อนร้อยละ 33.33 คาดว่าราคาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2543 จะโน้มต่ำลงอีก เนื่องจากในช่วงนี้ไม่มีคำสั่งซื้อจากประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น และไต้หวันเหมือนปีที่ผ่านมา สำหรับต้นทุนการผลิตลูกเดือยเฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 4.69 บาท ดังนั้นหากราคาลูกเดือยลดลงจนทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน คาดว่าเกษตรกรจะร้องเรียนให้รัฐบาลช่วยเหลือ
ข้อคิดเห็น
จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงควรเตรียมการเพื่อแก้ไขปัญหาราคาลูกเดือยตกต่ำ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ควรเตรียมมาตรการแทรกแซงราคาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ทำหนังสือแจ้งกระทรวงพาณิชย์เพื่อดำเนินการต่อไป
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 มันสำปะหลัง : คชก.ได้อนุมัติให้ระบายมันสำปะหลังและแป้งมันสำปะหลังที่รับจำนำไว้
จากการที่ราคาหัวมันสำปะหลังมีแนวโน้มตกต่ำส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลจึงได้จัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อยกระดับราคาหัวมันสำปะหลังให้สูงขึ้น ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการโครงการจูงใจให้เกษตรกรชะลอการขุดหัวมันสำปะหลังประจำปี 2542/43 และโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังอัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลังปี 2542/43 ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2543 ได้มีมติเพิ่มเติมในโครงการดังต่อไปนี้
1. โครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังอัดเม็ดและแป้งมันสำปะหลัง ในปี 2542/43 ได้มีการปรับมาตรการใหม่เป็นมาตรการรับจำนำ โดยให้ ธ.ก.ส. และ อ.ค.ส. ดำเนินการรับจำนำมันอัดเม็ดปริมาณ 1.10 ล้านตัน และแป้งมันสำปะหลังปริมาณ 0.2 ล้านตัน จากเกษตรกร ราคารับจำนำเมื่อคำนวณเป็นราคาหัวมันสำปะหลังสด (ที่เชื้อแป้ง 25%) ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 0.85 บาท
ในคราวประชุมครั้งนี้ได้พิจารณาในเรื่องการระบายมันอัดเม็ดและแป้งมันสำปะหลังที่รับจำนำตามโครงการฯ นี้ โดยได้อนุมัติในหลักการให้ อคส. เป็นผู้จัดจำหน่ายมันสำปะหลังที่รับจำนำไว้ตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังฯ ปี 2542/43 และเกษตรกรไม่มาไถ่ถอนคืนเมื่อพ้นระยะเวลาไถ่ถอน สำหรับการเสนอขอโอนภาระหนี้คงค้างที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากเกษตรกรไม่มาไถ่ถอนมันฯ ที่รับจำนำไว้ในกองทุนฯ นั้น เห็นควรให้มีการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อโครงการสิ้นสุดและมีปัญหาหนี้คงค้างเกิดขึ้นจริง
2. มาตรการเสริม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดสระแก้วและจันทบุรี คณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือด้านราคาและการตลาดสินค้าเกษตร ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2542 ได้อนุมัติให้ใช้เงินจากโครงการช่วยเหลือสินค้าเกษตรกรที่มีปัญหาเร่งด่วน ปี 2543 จำนวน 100 ล้านบาท ให้โรงงานแป้งจังหวัดระยองรับซื้อหัวมันในพื้นที่อำเภอสอยดาว โป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และอำเภอวังน้ำเย็น วังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 0.85 บาท (ที่เชื้อแป้ง 25%) และเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งหัวมันไปโรงงานจังหวัดระยอง
ซึ่งในคราวประชุมครั้งนี้ได้อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย 100 ล้านบาท ให้ อคส. ดำเนินการรับจำนำแป้งดิบสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากโรงงานแป้งมันจังหวัดระยอง เพื่อรับซื้อหัวมันสดในจังหวัดดังกล่าว ระยะเวลารับจำนำ วันที่ 22 ธันวาคม 2542 - 21 มีนาคม 2543 กำหนดระยะเวลาไถ่ถอน 6 เดือนนับจากวันรับจำนำ
2.2 ไก่เนื้อ : การส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทย
จากสถิติกรมศุลกากรในปี 2542 (มค.-พย.) ไทยสามารถส่งออกไก่สดแช่แข็งปริมาณ 199,090 ตัน มูลค่า 14,071.87 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2541 ปริมาณ 192,548 ตัน มูลค่า 15,257.42 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.40 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 7.77 เนื่องจากการแข่งขันในการส่งออกค่อนข้างสูง โดยเฉพาะบราซิลลดค่าเงินลงร้อยละ 60-70 ทำให้ราคาเนื้อไก่ที่เสนอขายในตลาดมีราคาลดลง คาดว่าการส่งออกไก่สดแช่แข็งทั้งปีมีปริมาณ 219,000 ตัน สูงกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าไว้ 200,000 ตัน ส่วนเนื้อไก่แปรรูปในปี 2542 (มค.-พย.) ส่งออกปริมาณ 43,923 ตัน มูลค่า 5,453.57 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2541 ปริมาณ 56,682 ตัน มูลค่า 7,985.68 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 22.51 และ 31.71 ตามลำดับ การส่งออกเนื้อไก่แปรรูปมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากในปีนี้กรมศุลกากรได้มีการเปลี่ยนแปลงพิกัดใหม่และแยกพิกัดสัตว์ปีกอื่นๆ ออกไป ทำให้การส่งออกเนื้อไก่แปรรูปลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คาดว่าการส่งออกรวมทั้งปีมีปริมาณ 50,000 ตัน เทียบกับเป้าหมายการส่งออก 70,000 ตัน จึงส่งได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสิงคโปร์ ฯลฯ
ในปี 2543 การค้าไก่สดแช่แข็งและผลิตภัณฑ์ในตลาดโลก คาดว่าจะมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ประเทศผู้ผลิตและส่งออกที่สำคัญยังคงเป็นสหรัฐอเมริกา จีน บราซิล ทั้ง 3 ประเทศยังคงขยายการผลิตเพิ่มขึ้น โดยสหรัฐอเมริกาผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 บราซิลลดค่าเงินลงมาก ทำให้มีการเพิ่มผลผลิตร้อยละ 5 ส่วนจีนรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมส่งออกไก่อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบถูกลงเป็นเหตุจูงใจให้ผู้ประกอบการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้การส่งออกของไทยต้องแข่งขันมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ดังนั้นไทยจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ ตลอดจนปรับปรุงคุณภาพให้เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ การส่งออกของไทยในปี 2543 จะใกล้เคียงกับปี 2542 แต่มีปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้การส่งออกของไทยกระเตื้องขึ้น จากการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เชิญฝ่ายตรวจสอบคุณภาพของสหภาพยุโรป มาตรวจโรงงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อการส่งออกได้ผลเป็นที่น่าพอใจของคณะเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปอย่างมาก ส่งผลให้สหภาพยุโรปมีความมั่นใจไก่ไทยมากขึ้น คาดว่าไทยจะส่งออกไก่สดแช่แข็งได้ประมาณ 200,000 ตัน และเนื้อไก่แปรรูปปริมาณ 60,000 ตัน
2.3 ไข่ไก่ : ราคามีแนวโน้มลดลง
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้
ปี มค. กพ. มีค. เมย. พค. มิย. กค. สค. กย. ตค. พย. ธค. เฉลี่ย
2541 1.55 1.72 1.74 1.66 1.83 2.05 1.99 1.93 1.91 1.88 1.79 1.84 1.83
2542 1.87 1.82 1.83 1.80 1.86 1.89 1.86 1.83 1.74 1.66 1.62 1.67 1.79
2543 1.59*
หมายเหตุ : * ราคาเฉลี่ย 4 สัปดาห์
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนตุลาคม 2542 และลดลงมากในเดือนมกราคม โดยมีสาเหตุสำคัญมาจาก
1) ผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณมาก เนื่องจากราคาไข่ไก่ตั้งแต่กลางปี 2541 ถึงกลางปี 2542 อยู่ในระดับสูง จึงจูงใจให้มีการขยายการเลี้ยง
2) ความต้องการบริโภคลดลง เนื่องจากเดือนตุลาคมเป็นช่วงเทศกาลกินเจ และปิดภาคเรียน
นอกจากนี้ ทางด้านการเลี้ยงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2542 เป็นต้นมา สภาพอากาศหนาวเย็น ทำให้ไก่โตเร็ว การสูญเสียต่ำและอัตราการให้ไข่ดี ยิ่งทำให้ผลผลิตมีปริมาณมากจนเริ่มประสบกับปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ โดยในสัปดาห์นี้มีราคาเฉลี่ยฟองละ 1.50 บาท ส่งผลให้ผู้เลี้ยงเริ่มประสบกับความเดือดร้อน
ข้อคิดเห็น
จากสาเหตุข้างต้น คาดว่าราคาไข่ไก่มีโอกาสปรับลดลงอีก เพราะเมื่อพิจารณาจากแนวโน้มของราคาในอดีตพบว่าในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ราคาไข่ไก่จะอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากผลผลิตมีมากกว่าความต้องการบริโภค เพราะอยู่ในช่วงโรงเรียนปิดเทอมในขณะที่การทำอาหารหรือขนมหวานที่มีไข่ไก่เป็นส่วนประกอบจะลดลงเพราะเป็นช่วงที่มีผลไม้ตามฤดูกาลออกมามาก ดังนั้นถ้าหากว่าราคาไข่ไก่ลดต่ำลงเรื่อยๆ จนเกษตรกรขาดทุนแล้ว ภาครัฐฯ ก็สามารถเข้าแทรกแซงตลาดได้ เนื่องจากเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2542 คชก. ได้อนุมัติเงินจำนวน 30 ล้านบาท เพื่อแทรกแซงตลาด โดยการรวบรวมไข่ไก่เก็บเข้าห้องเย็น รวมทั้งให้มีการรับซื้อไข่ไก่จากเกษตรกรแล้วจำหน่ายให้ผู้บริโภคโดยตรง โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำฟองละ 1.50 บาท
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 24 - 30 ม.ค. 2543--
รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตร
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ลูกเดือย : ราคาลูกเดือย ปี 2542/43 ตกต่ำ
สถานการณ์การผลิตลูกเดือยปี 2542/43 คาดว่าจะมีผลผลิตลูกเดือยประมาณ 16,674 ตัน ลดลงจาก 16,737 ตัน ในปีก่อนร้อยละ 0.38 จังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกที่สำคัญ คือ จังหวัดเลย ผลิตได้ 15,614 ตัน คิดเป็นร้อยละ 93.64 ของผลผลิตทั้งหมด รองลงมาได้แก่ อุดรธานี หนองคาย และเพชรบูรณ์ ผลิตได้ 800, 230 และ 30 ตัน ตามลำดับ ผลผลิตลูกเดือยจะออกสู่ตลาดประมาณช่วงปลายเดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่จะส่งออกต่างประเทศประมาณร้อยละ 70-80 ปัจจบัน ราคาลูกเดือยทั้งประเทศเดือนมกราคม 2543 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.00 บาท ลดลงจาก 7.50 บาท ของเดือนมกราคม ปีก่อนร้อยละ 33.33 คาดว่าราคาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2543 จะโน้มต่ำลงอีก เนื่องจากในช่วงนี้ไม่มีคำสั่งซื้อจากประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น และไต้หวันเหมือนปีที่ผ่านมา สำหรับต้นทุนการผลิตลูกเดือยเฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 4.69 บาท ดังนั้นหากราคาลูกเดือยลดลงจนทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน คาดว่าเกษตรกรจะร้องเรียนให้รัฐบาลช่วยเหลือ
ข้อคิดเห็น
จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงควรเตรียมการเพื่อแก้ไขปัญหาราคาลูกเดือยตกต่ำ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ควรเตรียมมาตรการแทรกแซงราคาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ทำหนังสือแจ้งกระทรวงพาณิชย์เพื่อดำเนินการต่อไป
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 มันสำปะหลัง : คชก.ได้อนุมัติให้ระบายมันสำปะหลังและแป้งมันสำปะหลังที่รับจำนำไว้
จากการที่ราคาหัวมันสำปะหลังมีแนวโน้มตกต่ำส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลจึงได้จัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อยกระดับราคาหัวมันสำปะหลังให้สูงขึ้น ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการโครงการจูงใจให้เกษตรกรชะลอการขุดหัวมันสำปะหลังประจำปี 2542/43 และโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังอัดเม็ด และแป้งมันสำปะหลังปี 2542/43 ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2543 ได้มีมติเพิ่มเติมในโครงการดังต่อไปนี้
1. โครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังอัดเม็ดและแป้งมันสำปะหลัง ในปี 2542/43 ได้มีการปรับมาตรการใหม่เป็นมาตรการรับจำนำ โดยให้ ธ.ก.ส. และ อ.ค.ส. ดำเนินการรับจำนำมันอัดเม็ดปริมาณ 1.10 ล้านตัน และแป้งมันสำปะหลังปริมาณ 0.2 ล้านตัน จากเกษตรกร ราคารับจำนำเมื่อคำนวณเป็นราคาหัวมันสำปะหลังสด (ที่เชื้อแป้ง 25%) ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 0.85 บาท
ในคราวประชุมครั้งนี้ได้พิจารณาในเรื่องการระบายมันอัดเม็ดและแป้งมันสำปะหลังที่รับจำนำตามโครงการฯ นี้ โดยได้อนุมัติในหลักการให้ อคส. เป็นผู้จัดจำหน่ายมันสำปะหลังที่รับจำนำไว้ตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังฯ ปี 2542/43 และเกษตรกรไม่มาไถ่ถอนคืนเมื่อพ้นระยะเวลาไถ่ถอน สำหรับการเสนอขอโอนภาระหนี้คงค้างที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากเกษตรกรไม่มาไถ่ถอนมันฯ ที่รับจำนำไว้ในกองทุนฯ นั้น เห็นควรให้มีการพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อโครงการสิ้นสุดและมีปัญหาหนี้คงค้างเกิดขึ้นจริง
2. มาตรการเสริม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดสระแก้วและจันทบุรี คณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือด้านราคาและการตลาดสินค้าเกษตร ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2542 ได้อนุมัติให้ใช้เงินจากโครงการช่วยเหลือสินค้าเกษตรกรที่มีปัญหาเร่งด่วน ปี 2543 จำนวน 100 ล้านบาท ให้โรงงานแป้งจังหวัดระยองรับซื้อหัวมันในพื้นที่อำเภอสอยดาว โป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และอำเภอวังน้ำเย็น วังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 0.85 บาท (ที่เชื้อแป้ง 25%) และเป็นผู้รับภาระค่าขนส่งหัวมันไปโรงงานจังหวัดระยอง
ซึ่งในคราวประชุมครั้งนี้ได้อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย 100 ล้านบาท ให้ อคส. ดำเนินการรับจำนำแป้งดิบสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากโรงงานแป้งมันจังหวัดระยอง เพื่อรับซื้อหัวมันสดในจังหวัดดังกล่าว ระยะเวลารับจำนำ วันที่ 22 ธันวาคม 2542 - 21 มีนาคม 2543 กำหนดระยะเวลาไถ่ถอน 6 เดือนนับจากวันรับจำนำ
2.2 ไก่เนื้อ : การส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ของไทย
จากสถิติกรมศุลกากรในปี 2542 (มค.-พย.) ไทยสามารถส่งออกไก่สดแช่แข็งปริมาณ 199,090 ตัน มูลค่า 14,071.87 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2541 ปริมาณ 192,548 ตัน มูลค่า 15,257.42 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.40 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 7.77 เนื่องจากการแข่งขันในการส่งออกค่อนข้างสูง โดยเฉพาะบราซิลลดค่าเงินลงร้อยละ 60-70 ทำให้ราคาเนื้อไก่ที่เสนอขายในตลาดมีราคาลดลง คาดว่าการส่งออกไก่สดแช่แข็งทั้งปีมีปริมาณ 219,000 ตัน สูงกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าไว้ 200,000 ตัน ส่วนเนื้อไก่แปรรูปในปี 2542 (มค.-พย.) ส่งออกปริมาณ 43,923 ตัน มูลค่า 5,453.57 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2541 ปริมาณ 56,682 ตัน มูลค่า 7,985.68 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 22.51 และ 31.71 ตามลำดับ การส่งออกเนื้อไก่แปรรูปมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากในปีนี้กรมศุลกากรได้มีการเปลี่ยนแปลงพิกัดใหม่และแยกพิกัดสัตว์ปีกอื่นๆ ออกไป ทำให้การส่งออกเนื้อไก่แปรรูปลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คาดว่าการส่งออกรวมทั้งปีมีปริมาณ 50,000 ตัน เทียบกับเป้าหมายการส่งออก 70,000 ตัน จึงส่งได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสิงคโปร์ ฯลฯ
ในปี 2543 การค้าไก่สดแช่แข็งและผลิตภัณฑ์ในตลาดโลก คาดว่าจะมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ประเทศผู้ผลิตและส่งออกที่สำคัญยังคงเป็นสหรัฐอเมริกา จีน บราซิล ทั้ง 3 ประเทศยังคงขยายการผลิตเพิ่มขึ้น โดยสหรัฐอเมริกาผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 บราซิลลดค่าเงินลงมาก ทำให้มีการเพิ่มผลผลิตร้อยละ 5 ส่วนจีนรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมส่งออกไก่อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบถูกลงเป็นเหตุจูงใจให้ผู้ประกอบการขยายการผลิตเพิ่มขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้การส่งออกของไทยต้องแข่งขันมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ดังนั้นไทยจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ ตลอดจนปรับปรุงคุณภาพให้เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ การส่งออกของไทยในปี 2543 จะใกล้เคียงกับปี 2542 แต่มีปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้การส่งออกของไทยกระเตื้องขึ้น จากการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เชิญฝ่ายตรวจสอบคุณภาพของสหภาพยุโรป มาตรวจโรงงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อการส่งออกได้ผลเป็นที่น่าพอใจของคณะเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปอย่างมาก ส่งผลให้สหภาพยุโรปมีความมั่นใจไก่ไทยมากขึ้น คาดว่าไทยจะส่งออกไก่สดแช่แข็งได้ประมาณ 200,000 ตัน และเนื้อไก่แปรรูปปริมาณ 60,000 ตัน
2.3 ไข่ไก่ : ราคามีแนวโน้มลดลง
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้
ปี มค. กพ. มีค. เมย. พค. มิย. กค. สค. กย. ตค. พย. ธค. เฉลี่ย
2541 1.55 1.72 1.74 1.66 1.83 2.05 1.99 1.93 1.91 1.88 1.79 1.84 1.83
2542 1.87 1.82 1.83 1.80 1.86 1.89 1.86 1.83 1.74 1.66 1.62 1.67 1.79
2543 1.59*
หมายเหตุ : * ราคาเฉลี่ย 4 สัปดาห์
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนตุลาคม 2542 และลดลงมากในเดือนมกราคม โดยมีสาเหตุสำคัญมาจาก
1) ผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณมาก เนื่องจากราคาไข่ไก่ตั้งแต่กลางปี 2541 ถึงกลางปี 2542 อยู่ในระดับสูง จึงจูงใจให้มีการขยายการเลี้ยง
2) ความต้องการบริโภคลดลง เนื่องจากเดือนตุลาคมเป็นช่วงเทศกาลกินเจ และปิดภาคเรียน
นอกจากนี้ ทางด้านการเลี้ยงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2542 เป็นต้นมา สภาพอากาศหนาวเย็น ทำให้ไก่โตเร็ว การสูญเสียต่ำและอัตราการให้ไข่ดี ยิ่งทำให้ผลผลิตมีปริมาณมากจนเริ่มประสบกับปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาตกต่ำ โดยในสัปดาห์นี้มีราคาเฉลี่ยฟองละ 1.50 บาท ส่งผลให้ผู้เลี้ยงเริ่มประสบกับความเดือดร้อน
ข้อคิดเห็น
จากสาเหตุข้างต้น คาดว่าราคาไข่ไก่มีโอกาสปรับลดลงอีก เพราะเมื่อพิจารณาจากแนวโน้มของราคาในอดีตพบว่าในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ราคาไข่ไก่จะอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากผลผลิตมีมากกว่าความต้องการบริโภค เพราะอยู่ในช่วงโรงเรียนปิดเทอมในขณะที่การทำอาหารหรือขนมหวานที่มีไข่ไก่เป็นส่วนประกอบจะลดลงเพราะเป็นช่วงที่มีผลไม้ตามฤดูกาลออกมามาก ดังนั้นถ้าหากว่าราคาไข่ไก่ลดต่ำลงเรื่อยๆ จนเกษตรกรขาดทุนแล้ว ภาครัฐฯ ก็สามารถเข้าแทรกแซงตลาดได้ เนื่องจากเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2542 คชก. ได้อนุมัติเงินจำนวน 30 ล้านบาท เพื่อแทรกแซงตลาด โดยการรวบรวมไข่ไก่เก็บเข้าห้องเย็น รวมทั้งให้มีการรับซื้อไข่ไก่จากเกษตรกรแล้วจำหน่ายให้ผู้บริโภคโดยตรง โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำฟองละ 1.50 บาท
--รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรประจำวันที่ 24 - 30 ม.ค. 2543--