บทสรุปนักลงทุน
ธุรกิจการประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีลู่ทางการลงทุนที่น่าสนใจจากปัจจัยหลัก 2 ประการคือ 1. ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศมีแนวโน้มที่จะขยายตัวตามกระแสการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวของอินเตอร์เน็ต ซึ่งยังมี โอกาสสำหรับผู้ประกอบคอมพิวเตอร์รายใหม่ที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ได้อีกมาก 2. การประกอบ
คอมพิวเตอร์ไม่ต้องมีการใช้เครื่องจักร จึงไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากสำหรับการก่อสร้างโรง งานขนาดใหญ่และซื้อเครื่องจักร เครื่องมือในการประกอบก็จะเป็นพวกน็อตและไขควง สถาน ประกอบการอาจมีขนาดตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป โดยจัดหน้าร้านให้เป็นที่แสดงสินค้าและแบ่งใช้ พื้นที่ส่วนหลังร้านสำหรับการประกอบคอมพิวเตอร์
ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศปี 2542 ประมาณว่ามีมูลค่าเท่ากับ 7,739 ล้านบาท ขยายตัวขึ้นจากปี 2541 ร้อยละ 2.9 โดยพบว่าภาคธุรกิจเอกชนมีสัดส่วนร้อยละ 67 ของมูลค่าตลาด รวม ตลาดราชการมีสัดส่วนร้อยละ 21 และตลาดผู้ซื้อตามบ้านมีสัดส่วนร้อยละ 12
ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศในปี 2542 ร้อยละ 58 เป็นคอมพิวเตอร์แบรนด์เนม (ต่างชาติ) โดยยี่ห้อที่มีส่วนแบ่งมากที่สุดคือ ไอบีเอ็ม เอเซอร์ คอมแพค เอชพี เลเซอร์ ตามลำดับ ที่ เหลืออีกร้อยละ 42 เป็นตลาดคอมพิวเตอร์โลคัลแบรนด์ (ของผู้ประกอบการคนไทย) โดยมี เบลต้า เอเทค ครองตลาดเป็นส่วนใหญ่
ตลาดคอมพิวเตอร์ของผู้ประกอบการไทยมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ผู้ซื้อสามารถเลือกใช้ชิ้นส่วนต่างๆได้ตามต้องการประกอบกับการที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้มีโครงการรับรองคุณภาพคอมพิวเตอร์ หรือโครงการสเปกกลาง เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่ประกอบในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบ
คอมพิวเตอร์โลคัลแบรนด์สามารถแข่งขันในการประมูลโครงการของส่วนราชการต่างๆได้ เพราะที่ผ่านมาโอกาสที่คอมพิวเตอร์ที่ประกอบในประเทศจะได้รับการคัดเลือกมีน้อย เนื่องจากไม่มีการรับรองคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ผู้ซื้อตามบ้านที่เลือกใช้คอมพิวเตอร์ประกอบในประเทศก็จะมีความมั่นใจในมาตรฐานของคอมพิวเตอร์ที่ประกอบในประเทศที่ผ่านการรับรองมาตร
ฐานจากเนคเทคแล้วเช่นกัน สำหรับการลงทุนในการประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นค่าวัตถุดิบซึ่งส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนถึงร้อยละ 95 รองลงมาได้แก่ ค่าแรง และค่าโสหุ้ยการผลิต ตามลำดับ
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต มูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)ในประเทศปี 2541 เท่ากับ 7,522 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 46.2 หรือคิดเป็นปริมาณ 156,000 เครื่อง ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 46.0 เนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจในประเทศที่หดตัวตั้งแต่ปี 2540 ส่งผลให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหน่วยงานรัฐบาล เอกชน ตลอดจนผู้ใช้ตามบ้านได้ชะลอการซื้อออกไป
ในปี 2542 คาดว่ามูลค่าความต้องการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศขยายตัวจากปี 2541 ร้อยละ 2.88 คิดเป็นมูลค่า 7,739 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณ 175,000 เครื่อง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.2 เนื่องจากในปีนี้ผู้ใช้จำเป็นต้องซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่เพื่อป้องกันปัญหาY2K
ส่วนในปี 2543 คาดว่ามูลค่าความต้องการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศจะขยายตัวขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 19.7 เป็น 9,265 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณ 188,000 เครื่อง เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 7.4 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปี 2543 คาดว่าจะกระเตื้องขึ้นจากปี 2542 ทำให้ความต้องการคอมพิวเตอร์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้นจากการใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ดัชนีชี้นำความต้องการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศอีกตัวหนึ่งก็คือ การนำเข้าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งมีแนวโน้มที่จะขยายตัวหรือหดตัวตามความต้องการในประเทศ ดังจะเห็นได้จากปี 2541 ซึ่งสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว และยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศลดลง เช่นเดียวกับมูลค่าการนำเข้าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็ลดลงจากปี2540 ร้อยละ 73.90
และ ในปี 2542 สภาพเศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัว ความต้องการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการเตรียมรับมือกับปัญหา Y2K ทำให้มูลค่านำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 338.46 และคาดว่าแนวโน้มในปี 2543 จะชะลอตัวลง
ทางด้านการส่งออกคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปก็มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการที่ผู้ประกอบการในประเทศพยายามขยายตลาดออกไป และอัตราการขยายตัวได้เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 จากการที่ผู้ผลิตได้พยายามขยายตลาดส่งออกเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่ซบเซา และจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในปี 2543
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่งขัน)
ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่จำหน่ายในประเทศสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆคือ
1.! คอมพิวเตอร์แบรนด์เนมของต่างประเทศ เช่น เอเซอร์ คอมแพค ไอบีเอ็ม โดยผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศ
2.! คอมพิวเตอร์ยี่ห้อในประเทศ เช่น บริษัท เบลต้า คอมพิวเตอร์ จำกัด ผลิตคอมพิวเตอร์ ยี่ห้อเบลต้า บริษัทโพเวลล์ คอมพิวเตอร์ ผลิตคอมพิวเตอร์ยี่ห้อโพเวลล์ และบริษัท เอเทค คอมพิวเตอร์จำกัดผลิตคอมพิวเตอร์ ยี่ห้อเอเทค บริษัท เมโทร โปรเฟสชั่นแนล โปรดัคส์ จำกัด บริษัท ไทยเวิลด์ คอมพิวเตอร์ จำกัด เป็นต้น
ผู้ผลิตรายใหญ่มีข้อได้เปรียบในด้านต้นทุนที่ต่ำกว่าจากการผลิตจำนวนมาก มีเงินลงทุนสูงกว่า มีเทคโนโลยีที่สูงกว่า รวมทั้งมีการโฆษณาที่มากกว่า อย่างไรก็ตามผู้ประกอบคอมพิวเตอร์รายเล็กก็สามารถแข่งขันได้ถ้าสามารถสร้างความเชื่อถือในด้านคุณภาพและระดับราคาที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท เวิลด์ อิเล็คทริค จำกัด 501,000,000
บริษัท โปรแม็กซ์ ซิสเท็ม จำกัด 40,000,000
บริษัท เวิร์นเทคโนโลยี จำกัด 20,000,000
บริษัท ไพรเออร์ อิเล็คทรอนิกส์ จำกัด 10,000,000
บริษัท แอสทรอนิกส์ จำกัด 10,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท เค เอส บราเทอร์ บอกซ์ จำกัด 5,000,000
บริษัท เอสเอ็มซี แลบบอราทอรี่ส์ จำกัด 5,000,000
บริษัท ทอร์นาโด ไทยแลนด์ จำกัด 3,000,000
บริษัท ไทยคอมพิวเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 3,000,000
บริษัท ดี จี ที จำกัด 2,000,000
ที่มา: รวบรวมโดยบริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ช่องทางการจำหน่าย ช่องทางการจำหน่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศนั้นผู้ประกอบการสามารถจัดจำหน่ายโดยการจำหน่ายโดยตรงและผ่านตัวแทนจำหน่าย
1.! การจำหน่ายโดยตรง เช่นถ้าเป็นการจำหน่ายให้แก่ผู้ใช้ตามบ้าน (Home Users) ก็ควรจะมีร้านอยู่ในทำเลที่เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าด้านไอที แหล่งจำหน่ายสินค้าด้านคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบันอยู่ที่ห้างพันธ์ทิพย์พลาซ่า รองลงมาคือที่เสรีเซ็นเตอร์ และ ไอทีมอลล์ การมุ่งเจาะตลาดผู้ใช้ตามบ้านนี้ทำเลในการตั้งร้านค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถมาเดิน
เลือกซื้อสินค้าได้โดยสะดวก ส่วนถ้ามุ่งการขายตรงให้กับหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนต่างๆ ทำเลในการตั้งร้านค้าอาจจะไม่จำเป็นมากนัก แต่ต้องใช้การประมูลเพื่อแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะมุ่งเจาะทั้งตลาดผู้บริโภคตามบ้านและหน่วยงานราชการและเอกชน เนื่องจากจะได้เป็นการขยายตลาดและกระจายความ
เสี่ยงในการพึ่งพาตลาดใดตลาดหนึ่งเพียงอย่างเดียว
2.!ส่วนการขายโดยผ่านตัวแทนจำหน่ายนั้น จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถขยายตลาดและการบริการให้แก่ลูกค้าได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องลงทุนจัดตั้งร้านค้าเอง
นอกจากการจำหน่ายเฉพาะภายในประเทศแล้ว ผู้ประกอบคอมพิวเตอร์อาจจะขยายตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวและยอดจำหน่ายลดลง และการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศนั้นส่วนใหญ่เป็นการขายผ่านตัวแทนจำหน่าย ส่วนการจำหน่ายให้แก่ผู้ใช้โดยตรงนั้นมีเพียงส่วนน้อย
การผลิต
โครงสร้างต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับวัตถุดิบ เนื่องจากธุรกิจนี้เป็นการซื้อชิ้นส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์มาประกอบเข้าด้วยกัน ค่าใช้จ่ายทางด้านวัตถุดิบจึงสูงถึงร้อยละ 95 ของต้นทุนในการผลิตทั้งหมด ส่วนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานมีเพียงร้อยละ 3 และค่าโสหุ้ยการผลิตร้อยละ 2
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 95
2. แรงงาน 3
3. โสหุ้ยการผลิต 2
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
วัตถุดิบ วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้แก่ หน่วยเก็บข้อมูลแข็ง (Hard Disk Drive) หน่วยเก็บข้อมูลอ่อน (Floppy Disk Drive) จอภาพ (Monitor) แป้นพิมพ์ (Keyboard ) ส่วนจ่ายไฟ (Power Supply) Mainboard CPU และ เม้าส์ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก แต่ผู้ประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนิยมที่จะนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมากกว่า เนื่องจากมีราคาถูกกว่าและคุณภาพดีกว่า
โดยวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศมีสัดส่วนร้อยละ 63 ของการใช้วัตถุดิบทั้งหมด ในขณะที่วัตถุดิบที่ใช้ภายในประเทศมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 37 บางแห่งอาจใช้วัตถุดิบนำเข้าถึงร้อยละ 90 ของวัตถุดิบทั้งหมด
วัตถุดิบที่นำเข้าได้แก่ หน่วยเก็บข้อมูลแข็ง (Hard Disk Drive) หน่วยเก็บข้อมูลอ่อน (Floppy Disk Drive) VGA Modem โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญคือ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน จีน เกาหลี และ สหรัฐอเมริกา ส่วนวัตถุดิบที่ซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ จอภาพ คีย์บอร์ด Case Power Supply CD-ROM Mainboard UPS CPU แผ่นวงจรพิมพ์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น
การควบคุมต้นทุนด้านวัตถุดิบเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบมีสัดส่วนสูงมากกว่าร้อยละ 90 ของต้นทุนการผลิตรวม วัตถุดิบแต่ละชิ้นมีการเปลี่ยนรุ่นและเปลี่ยนแปลงราคาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการควบคุมต้นทุนในการผลิตโดยการจัดระบบสินค้าคงคลังให้มีความพอดีจึงมีความสำคัญมาก
กรรมวิธีการผลิต
จัดเตรียมวัตถุดิบ
(ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบต่างๆ)
ประกอบ
full function test line
burn-in test
บรรจุหีบห่อ
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมประกอบคอมพิวเตอร์เพื่อจำหน่ายในประเทศควรตั้งอยู่ในย่านที่เป็นแหล่งจำหน่ายไอที เช่น พันธ์ทิพย์พลาซ่า เสรีเซ็นเตอร์ ไอทีมอลล์ เป็นต้น
เงินลงทุน ในการลงทุนทำธุรกิจการประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใช้เงินจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้นตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป เนื่องจากธุรกิจประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนทางด้านการก่อสร้างโรงงานและซื้อเครื่องจักรในการผลิต แต่นักลงทุนจำเป็นต้องมีเงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอสำหรับการซื้อวัตถุดิบประมาณ 3-5 ล้านบาทต่อเดือนในกรณีที่มีการผลิต 70-100 เครื่องต่อเดือน ดังรายละเอียดการลงทุนดังต่อไปนี้
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 5.5 ล้านบาท
2. ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าเช่าโดยมีค่าเช่า 41,800 บาทต่อเดือน
3. ยานพาหนะขนส่งสินค้า (มือสอง) ราคา 300,000 บาท
4. เงินทุนหมุนเวียน 3-5 ล้านบาท ต่อเดือน
บุคลากร ธุรกิจการประกอบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กใช้บุคลากรขั้นต่ำประมาณ 8 คนประกอบด้วย
1.! พนักงานประกอบที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์หรือ อิเล็กทรอนิกส์ 3 คน
2.! พนักงานขาย 2 คน
3.! พนักงานบัญชี 1 คน
4.!Customer Support 2 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 30,047,000 - 41,540,000 บาทต่อปี
-! CPU 8,000,000 - 9,600,000 บาทต่อปี
-! Mainboard 2,400,000 - 3,600,000 บาทต่อปี
-! VGA Card 720,000 - 1,080,000 บาทต่อปี
-! Memory 1,200,000 - 1,800,000 บาทต่อปี
-! Hard Disk Drive 2,400,000 - 3,600,000 บาทต่อปี
-! Floppy Disk Drive 2,880,000 - 4,320,000 บาทต่อปี
-! จอคอมพิวเตอร์ 2,400,000 - 3,600,000 บาทต่อปี
-! แป้นพิมพ์ 192,000 - 288,000 บาทต่อปี
-! เม้าส์ 192,000 - 288,000 บาทต่อปี
-! Case 48,000 - 72,000 บาทต่อปี
-! ฯลฯ
2. ต้นทุนแรงงาน 900,000 - 1,500,000 บาทต่อปี
3. ค่าโสหุ้ยการผลิต 600,000 - 900,000 บาทต่อปี
4. สาธารณูปโภค
- ค่าไฟ 36,000 - 60,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 120,000 - 180,000 บาทต่อปี
5. ค่าขนส่ง
- น้ำมัน 60,000 บาทต่อปี
-!ฯลฯ
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 5-10 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 1,200 เครื่อง ราคาเฉลี่ย 40,000 บาทต่อเครื่อง คิดเป็นรายได้ 48.00 ล้านบาท
ราคาซื้อขาย
ราคาจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เป็นของผู้ประกอบคนไทยจะมีราคาต่ำกว่าราคาที่เป็นยี่ห้อของต่างประเทศ ราคาที่นำเสนอนี้เป็นราคาขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่จำหน่ายในประเทศ (ไม่รวมมัลติมีเดีย)
ราคาจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสำเร็จรูป
ขนาด ราคา (บาท)
ผู้ประกอบการไทย Pentium 25,000 ขึ้นไป
ผู้ประกอบการไทย Pentium II 30,000 ขึ้นไป
แบรนด์เนม Pentium 30,000 ขึ้นไป
แบรนด์เนม Pentium II 35,000 ขึ้นไป
ที่มา: จากการสอบถามผู้ประกอบการ
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบ และการขออนุญาตต่างๆ
1. ด้านภาษี ต้องเสียภาษีนำเข้าวัตถุดิบสำหรับประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณร้อยละ 5
2. การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ผู้ประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อจำหน่ายในประเทศควรขอใบรับรองจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเพื่อรับรองประสิทธิภาพในการใช้งานและมาตรฐานผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของตน คอมพิวเตอร์ที่จะได้ใบรับรองจะต้องผ่านการตรวจสอบด้านคุณภาพการทำงานของเครื่อง และด้านเอกสารการผลิตและการควบ
คุมโรงงานตามมาตรฐานISO การได้ใบรับรองและเครื่องหมายสำหรับติดบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ใบรับรองดังกล่าวจะมีผลต่อการทำตลาดของผู้ประกอบการ เพราะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ทั้งพนักงานขายตัวแทนจำหน่าย และลูกค้า และสามารถทำให้ผู้ประกอบการที่มีใบรับรองสามารถเข้าสู่ตลาดราชการได้อย่างไรก็ตาม การขอใบรับรองเป็นความสมัครใจของผู้ประกอบการ มิใช่กฎหมายที่บังคับใช้กับผู้ประกอบการทุกราย
แหล่งข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง การขอคำปรึกษาแนะนำสำหรับการจัดตั้งโรงงานที่เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ สามารถติดต่อได้ที่สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ การขอคำแนะนำเกี่ยวกับการขอใบรับรองสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อได้ที่ สถาบันไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หรือ ฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดังที่อยู่ข้างล่างนี้
1. สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ สำนักงาน 57 อาคารโรงงาน ชั้น 6 ถนน
พระสุเมรุ บางลำพู พระนคร กรุงเทพ 10200 โทร (662) 280-7272 โทรสาร (662) 280-7277 หรือ ที่ศูนย์ทดสอบที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู ซอย 8 สุขุมวิท กม.34 อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการโทร (662) 324-0710-9 โทรสาร (662) 323-9598
2. ฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โทร (662) 644-8150-99 โทรสาร (662) 644-8137--จบ--
-ชต-
ธุรกิจการประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีลู่ทางการลงทุนที่น่าสนใจจากปัจจัยหลัก 2 ประการคือ 1. ความต้องการใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศมีแนวโน้มที่จะขยายตัวตามกระแสการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายตัวของอินเตอร์เน็ต ซึ่งยังมี โอกาสสำหรับผู้ประกอบคอมพิวเตอร์รายใหม่ที่จะเข้ามาในธุรกิจนี้ได้อีกมาก 2. การประกอบ
คอมพิวเตอร์ไม่ต้องมีการใช้เครื่องจักร จึงไม่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากสำหรับการก่อสร้างโรง งานขนาดใหญ่และซื้อเครื่องจักร เครื่องมือในการประกอบก็จะเป็นพวกน็อตและไขควง สถาน ประกอบการอาจมีขนาดตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป โดยจัดหน้าร้านให้เป็นที่แสดงสินค้าและแบ่งใช้ พื้นที่ส่วนหลังร้านสำหรับการประกอบคอมพิวเตอร์
ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศปี 2542 ประมาณว่ามีมูลค่าเท่ากับ 7,739 ล้านบาท ขยายตัวขึ้นจากปี 2541 ร้อยละ 2.9 โดยพบว่าภาคธุรกิจเอกชนมีสัดส่วนร้อยละ 67 ของมูลค่าตลาด รวม ตลาดราชการมีสัดส่วนร้อยละ 21 และตลาดผู้ซื้อตามบ้านมีสัดส่วนร้อยละ 12
ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศในปี 2542 ร้อยละ 58 เป็นคอมพิวเตอร์แบรนด์เนม (ต่างชาติ) โดยยี่ห้อที่มีส่วนแบ่งมากที่สุดคือ ไอบีเอ็ม เอเซอร์ คอมแพค เอชพี เลเซอร์ ตามลำดับ ที่ เหลืออีกร้อยละ 42 เป็นตลาดคอมพิวเตอร์โลคัลแบรนด์ (ของผู้ประกอบการคนไทย) โดยมี เบลต้า เอเทค ครองตลาดเป็นส่วนใหญ่
ตลาดคอมพิวเตอร์ของผู้ประกอบการไทยมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ผู้ซื้อสามารถเลือกใช้ชิ้นส่วนต่างๆได้ตามต้องการประกอบกับการที่ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้มีโครงการรับรองคุณภาพคอมพิวเตอร์ หรือโครงการสเปกกลาง เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่ประกอบในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบ
คอมพิวเตอร์โลคัลแบรนด์สามารถแข่งขันในการประมูลโครงการของส่วนราชการต่างๆได้ เพราะที่ผ่านมาโอกาสที่คอมพิวเตอร์ที่ประกอบในประเทศจะได้รับการคัดเลือกมีน้อย เนื่องจากไม่มีการรับรองคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ผู้ซื้อตามบ้านที่เลือกใช้คอมพิวเตอร์ประกอบในประเทศก็จะมีความมั่นใจในมาตรฐานของคอมพิวเตอร์ที่ประกอบในประเทศที่ผ่านการรับรองมาตร
ฐานจากเนคเทคแล้วเช่นกัน สำหรับการลงทุนในการประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นค่าวัตถุดิบซึ่งส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนถึงร้อยละ 95 รองลงมาได้แก่ ค่าแรง และค่าโสหุ้ยการผลิต ตามลำดับ
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต มูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)ในประเทศปี 2541 เท่ากับ 7,522 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 46.2 หรือคิดเป็นปริมาณ 156,000 เครื่อง ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 46.0 เนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจในประเทศที่หดตัวตั้งแต่ปี 2540 ส่งผลให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั้งหน่วยงานรัฐบาล เอกชน ตลอดจนผู้ใช้ตามบ้านได้ชะลอการซื้อออกไป
ในปี 2542 คาดว่ามูลค่าความต้องการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศขยายตัวจากปี 2541 ร้อยละ 2.88 คิดเป็นมูลค่า 7,739 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณ 175,000 เครื่อง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.2 เนื่องจากในปีนี้ผู้ใช้จำเป็นต้องซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่เพื่อป้องกันปัญหาY2K
ส่วนในปี 2543 คาดว่ามูลค่าความต้องการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศจะขยายตัวขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 19.7 เป็น 9,265 ล้านบาท หรือคิดเป็นปริมาณ 188,000 เครื่อง เพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 7.4 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปี 2543 คาดว่าจะกระเตื้องขึ้นจากปี 2542 ทำให้ความต้องการคอมพิวเตอร์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้นจากการใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ดัชนีชี้นำความต้องการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศอีกตัวหนึ่งก็คือ การนำเข้าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งมีแนวโน้มที่จะขยายตัวหรือหดตัวตามความต้องการในประเทศ ดังจะเห็นได้จากปี 2541 ซึ่งสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว และยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศลดลง เช่นเดียวกับมูลค่าการนำเข้าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็ลดลงจากปี2540 ร้อยละ 73.90
และ ในปี 2542 สภาพเศรษฐกิจในประเทศเริ่มฟื้นตัว ความต้องการคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการเตรียมรับมือกับปัญหา Y2K ทำให้มูลค่านำเข้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 338.46 และคาดว่าแนวโน้มในปี 2543 จะชะลอตัวลง
ทางด้านการส่งออกคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปก็มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากการที่ผู้ประกอบการในประเทศพยายามขยายตลาดออกไป และอัตราการขยายตัวได้เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 จากการที่ผู้ผลิตได้พยายามขยายตลาดส่งออกเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่ซบเซา และจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในปี 2543
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่งขัน)
ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ที่จำหน่ายในประเทศสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆคือ
1.! คอมพิวเตอร์แบรนด์เนมของต่างประเทศ เช่น เอเซอร์ คอมแพค ไอบีเอ็ม โดยผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศ
2.! คอมพิวเตอร์ยี่ห้อในประเทศ เช่น บริษัท เบลต้า คอมพิวเตอร์ จำกัด ผลิตคอมพิวเตอร์ ยี่ห้อเบลต้า บริษัทโพเวลล์ คอมพิวเตอร์ ผลิตคอมพิวเตอร์ยี่ห้อโพเวลล์ และบริษัท เอเทค คอมพิวเตอร์จำกัดผลิตคอมพิวเตอร์ ยี่ห้อเอเทค บริษัท เมโทร โปรเฟสชั่นแนล โปรดัคส์ จำกัด บริษัท ไทยเวิลด์ คอมพิวเตอร์ จำกัด เป็นต้น
ผู้ผลิตรายใหญ่มีข้อได้เปรียบในด้านต้นทุนที่ต่ำกว่าจากการผลิตจำนวนมาก มีเงินลงทุนสูงกว่า มีเทคโนโลยีที่สูงกว่า รวมทั้งมีการโฆษณาที่มากกว่า อย่างไรก็ตามผู้ประกอบคอมพิวเตอร์รายเล็กก็สามารถแข่งขันได้ถ้าสามารถสร้างความเชื่อถือในด้านคุณภาพและระดับราคาที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท เวิลด์ อิเล็คทริค จำกัด 501,000,000
บริษัท โปรแม็กซ์ ซิสเท็ม จำกัด 40,000,000
บริษัท เวิร์นเทคโนโลยี จำกัด 20,000,000
บริษัท ไพรเออร์ อิเล็คทรอนิกส์ จำกัด 10,000,000
บริษัท แอสทรอนิกส์ จำกัด 10,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท เค เอส บราเทอร์ บอกซ์ จำกัด 5,000,000
บริษัท เอสเอ็มซี แลบบอราทอรี่ส์ จำกัด 5,000,000
บริษัท ทอร์นาโด ไทยแลนด์ จำกัด 3,000,000
บริษัท ไทยคอมพิวเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด 3,000,000
บริษัท ดี จี ที จำกัด 2,000,000
ที่มา: รวบรวมโดยบริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ช่องทางการจำหน่าย ช่องทางการจำหน่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศนั้นผู้ประกอบการสามารถจัดจำหน่ายโดยการจำหน่ายโดยตรงและผ่านตัวแทนจำหน่าย
1.! การจำหน่ายโดยตรง เช่นถ้าเป็นการจำหน่ายให้แก่ผู้ใช้ตามบ้าน (Home Users) ก็ควรจะมีร้านอยู่ในทำเลที่เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าด้านไอที แหล่งจำหน่ายสินค้าด้านคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบันอยู่ที่ห้างพันธ์ทิพย์พลาซ่า รองลงมาคือที่เสรีเซ็นเตอร์ และ ไอทีมอลล์ การมุ่งเจาะตลาดผู้ใช้ตามบ้านนี้ทำเลในการตั้งร้านค้าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถมาเดิน
เลือกซื้อสินค้าได้โดยสะดวก ส่วนถ้ามุ่งการขายตรงให้กับหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนต่างๆ ทำเลในการตั้งร้านค้าอาจจะไม่จำเป็นมากนัก แต่ต้องใช้การประมูลเพื่อแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่จะมุ่งเจาะทั้งตลาดผู้บริโภคตามบ้านและหน่วยงานราชการและเอกชน เนื่องจากจะได้เป็นการขยายตลาดและกระจายความ
เสี่ยงในการพึ่งพาตลาดใดตลาดหนึ่งเพียงอย่างเดียว
2.!ส่วนการขายโดยผ่านตัวแทนจำหน่ายนั้น จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถขยายตลาดและการบริการให้แก่ลูกค้าได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องลงทุนจัดตั้งร้านค้าเอง
นอกจากการจำหน่ายเฉพาะภายในประเทศแล้ว ผู้ประกอบคอมพิวเตอร์อาจจะขยายตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวและยอดจำหน่ายลดลง และการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศนั้นส่วนใหญ่เป็นการขายผ่านตัวแทนจำหน่าย ส่วนการจำหน่ายให้แก่ผู้ใช้โดยตรงนั้นมีเพียงส่วนน้อย
การผลิต
โครงสร้างต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับวัตถุดิบ เนื่องจากธุรกิจนี้เป็นการซื้อชิ้นส่วนต่างๆของคอมพิวเตอร์มาประกอบเข้าด้วยกัน ค่าใช้จ่ายทางด้านวัตถุดิบจึงสูงถึงร้อยละ 95 ของต้นทุนในการผลิตทั้งหมด ส่วนค่าใช้จ่ายด้านแรงงานมีเพียงร้อยละ 3 และค่าโสหุ้ยการผลิตร้อยละ 2
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 95
2. แรงงาน 3
3. โสหุ้ยการผลิต 2
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
วัตถุดิบ วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้แก่ หน่วยเก็บข้อมูลแข็ง (Hard Disk Drive) หน่วยเก็บข้อมูลอ่อน (Floppy Disk Drive) จอภาพ (Monitor) แป้นพิมพ์ (Keyboard ) ส่วนจ่ายไฟ (Power Supply) Mainboard CPU และ เม้าส์ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก แต่ผู้ประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนิยมที่จะนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมากกว่า เนื่องจากมีราคาถูกกว่าและคุณภาพดีกว่า
โดยวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศมีสัดส่วนร้อยละ 63 ของการใช้วัตถุดิบทั้งหมด ในขณะที่วัตถุดิบที่ใช้ภายในประเทศมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 37 บางแห่งอาจใช้วัตถุดิบนำเข้าถึงร้อยละ 90 ของวัตถุดิบทั้งหมด
วัตถุดิบที่นำเข้าได้แก่ หน่วยเก็บข้อมูลแข็ง (Hard Disk Drive) หน่วยเก็บข้อมูลอ่อน (Floppy Disk Drive) VGA Modem โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญคือ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน จีน เกาหลี และ สหรัฐอเมริกา ส่วนวัตถุดิบที่ซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ จอภาพ คีย์บอร์ด Case Power Supply CD-ROM Mainboard UPS CPU แผ่นวงจรพิมพ์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น
การควบคุมต้นทุนด้านวัตถุดิบเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบมีสัดส่วนสูงมากกว่าร้อยละ 90 ของต้นทุนการผลิตรวม วัตถุดิบแต่ละชิ้นมีการเปลี่ยนรุ่นและเปลี่ยนแปลงราคาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการควบคุมต้นทุนในการผลิตโดยการจัดระบบสินค้าคงคลังให้มีความพอดีจึงมีความสำคัญมาก
กรรมวิธีการผลิต
จัดเตรียมวัตถุดิบ
(ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบต่างๆ)
ประกอบ
full function test line
burn-in test
บรรจุหีบห่อ
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมประกอบคอมพิวเตอร์เพื่อจำหน่ายในประเทศควรตั้งอยู่ในย่านที่เป็นแหล่งจำหน่ายไอที เช่น พันธ์ทิพย์พลาซ่า เสรีเซ็นเตอร์ ไอทีมอลล์ เป็นต้น
เงินลงทุน ในการลงทุนทำธุรกิจการประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใช้เงินจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้นตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป เนื่องจากธุรกิจประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนทางด้านการก่อสร้างโรงงานและซื้อเครื่องจักรในการผลิต แต่นักลงทุนจำเป็นต้องมีเงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอสำหรับการซื้อวัตถุดิบประมาณ 3-5 ล้านบาทต่อเดือนในกรณีที่มีการผลิต 70-100 เครื่องต่อเดือน ดังรายละเอียดการลงทุนดังต่อไปนี้
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 5.5 ล้านบาท
2. ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าเช่าโดยมีค่าเช่า 41,800 บาทต่อเดือน
3. ยานพาหนะขนส่งสินค้า (มือสอง) ราคา 300,000 บาท
4. เงินทุนหมุนเวียน 3-5 ล้านบาท ต่อเดือน
บุคลากร ธุรกิจการประกอบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กใช้บุคลากรขั้นต่ำประมาณ 8 คนประกอบด้วย
1.! พนักงานประกอบที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์หรือ อิเล็กทรอนิกส์ 3 คน
2.! พนักงานขาย 2 คน
3.! พนักงานบัญชี 1 คน
4.!Customer Support 2 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 30,047,000 - 41,540,000 บาทต่อปี
-! CPU 8,000,000 - 9,600,000 บาทต่อปี
-! Mainboard 2,400,000 - 3,600,000 บาทต่อปี
-! VGA Card 720,000 - 1,080,000 บาทต่อปี
-! Memory 1,200,000 - 1,800,000 บาทต่อปี
-! Hard Disk Drive 2,400,000 - 3,600,000 บาทต่อปี
-! Floppy Disk Drive 2,880,000 - 4,320,000 บาทต่อปี
-! จอคอมพิวเตอร์ 2,400,000 - 3,600,000 บาทต่อปี
-! แป้นพิมพ์ 192,000 - 288,000 บาทต่อปี
-! เม้าส์ 192,000 - 288,000 บาทต่อปี
-! Case 48,000 - 72,000 บาทต่อปี
-! ฯลฯ
2. ต้นทุนแรงงาน 900,000 - 1,500,000 บาทต่อปี
3. ค่าโสหุ้ยการผลิต 600,000 - 900,000 บาทต่อปี
4. สาธารณูปโภค
- ค่าไฟ 36,000 - 60,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 120,000 - 180,000 บาทต่อปี
5. ค่าขนส่ง
- น้ำมัน 60,000 บาทต่อปี
-!ฯลฯ
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 5-10 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ย 1,200 เครื่อง ราคาเฉลี่ย 40,000 บาทต่อเครื่อง คิดเป็นรายได้ 48.00 ล้านบาท
ราคาซื้อขาย
ราคาจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เป็นของผู้ประกอบคนไทยจะมีราคาต่ำกว่าราคาที่เป็นยี่ห้อของต่างประเทศ ราคาที่นำเสนอนี้เป็นราคาขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่จำหน่ายในประเทศ (ไม่รวมมัลติมีเดีย)
ราคาจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสำเร็จรูป
ขนาด ราคา (บาท)
ผู้ประกอบการไทย Pentium 25,000 ขึ้นไป
ผู้ประกอบการไทย Pentium II 30,000 ขึ้นไป
แบรนด์เนม Pentium 30,000 ขึ้นไป
แบรนด์เนม Pentium II 35,000 ขึ้นไป
ที่มา: จากการสอบถามผู้ประกอบการ
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบ และการขออนุญาตต่างๆ
1. ด้านภาษี ต้องเสียภาษีนำเข้าวัตถุดิบสำหรับประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณร้อยละ 5
2. การขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ผู้ประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อจำหน่ายในประเทศควรขอใบรับรองจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเพื่อรับรองประสิทธิภาพในการใช้งานและมาตรฐานผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของตน คอมพิวเตอร์ที่จะได้ใบรับรองจะต้องผ่านการตรวจสอบด้านคุณภาพการทำงานของเครื่อง และด้านเอกสารการผลิตและการควบ
คุมโรงงานตามมาตรฐานISO การได้ใบรับรองและเครื่องหมายสำหรับติดบนเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ใบรับรองดังกล่าวจะมีผลต่อการทำตลาดของผู้ประกอบการ เพราะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ทั้งพนักงานขายตัวแทนจำหน่าย และลูกค้า และสามารถทำให้ผู้ประกอบการที่มีใบรับรองสามารถเข้าสู่ตลาดราชการได้อย่างไรก็ตาม การขอใบรับรองเป็นความสมัครใจของผู้ประกอบการ มิใช่กฎหมายที่บังคับใช้กับผู้ประกอบการทุกราย
แหล่งข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง การขอคำปรึกษาแนะนำสำหรับการจัดตั้งโรงงานที่เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ สามารถติดต่อได้ที่สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ การขอคำแนะนำเกี่ยวกับการขอใบรับรองสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อได้ที่ สถาบันไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หรือ ฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดังที่อยู่ข้างล่างนี้
1. สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ สำนักงาน 57 อาคารโรงงาน ชั้น 6 ถนน
พระสุเมรุ บางลำพู พระนคร กรุงเทพ 10200 โทร (662) 280-7272 โทรสาร (662) 280-7277 หรือ ที่ศูนย์ทดสอบที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู ซอย 8 สุขุมวิท กม.34 อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการโทร (662) 324-0710-9 โทรสาร (662) 323-9598
2. ฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โทร (662) 644-8150-99 โทรสาร (662) 644-8137--จบ--
-ชต-