ไทยได้ร่วมกับประเทศสมาชิก WTO อีก 8 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล ชิลี สหภาพยุโรป อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลี หารือกับสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 เรื่องที่สหรัฐฯ ออกกฎหมาย Byrd Amendment ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกผลักดันโดยวุฒิสมาชิกเบิดร์ จากพรรคเดโมเครต ในสมัยรัฐบาลคลินตัน ให้นำภาษีที่เก็บได้จากการตอบโต้การทุ่มตลาด และต่อต้านการอุดหนุนไปจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อให้อุตสาหกรรมภายในที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวนำไปใช้ประโยชน์ โดยเห็นว่ามาตรการดังกล่าวนี้ของสหรัฐฯ ขัดต่อความตกลงว่าด้วยการทุ่มตลาด และการอุดหนุนของ WTO
อย่างไรก็ดี การหารือไม่สามารถหาข้อยุติได้ โดยสหรัฐฯ ยังยืนยันว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ขัดต่อความตกลง WTO และขณะนี้ผู้บริหารชุดใหม่ไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะยกเลิกกฎหมายนี้ โดยสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะปกป้องกฎหมายนี้ต่อไป และจะเริ่มคืนอากรตอบโต้การทุ่มตลาด และต่อต้านการอุดหนุนงวดแรกที่เก็บได้ให้แก่อุตสาหกรรมภายในที่ได้รับความเสียหาย ประมาณเดือนตุลาคม ศกนี้
ความล้มเหลวของการหารือที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศที่ร่วมกันฟ้องร้อง จะต้องดำเนินการขอตั้งคณะผู้พิจารณาขึ้นมาไต่สวนมาตรการของสหรัฐฯ ต่อไป โดยสามารถดำเนินการได้ทันที หรืออาจรอให้สหรัฐฯ ออกกฎระเบียบต่างๆ ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ให้เสร็จสิ้นก่อน เพื่อให้มีข้อต่อสู้และหลักฐานที่แน่นหนาขึ้นก็ได้
กระบวนการยุติข้อพิพาทภายใต้ WTO กำหนดให้ประเทศผู้ฟ้องร้องสามารถขอตั้งคณะผู้พิจารณาคดีได้ หากการหารือไม่สามารถหาข้อยุติได้ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ขอหารือ (21 ธันวาคม 2543) ดังนั้น ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ก็จะครบกำหนด 60 วัน
ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ปฏิเสธการขอเข้าร่วมหารือครั้งนี้ ของอาร์เจนตินา แคนาดา และเม็กซิโก โดยอ้างว่า ประเทศทั้งสามจะไม่ได้รับประโยชน์ทางการค้าจากการขอหารือครั้งนี้ เนื่องจากประเทศที่เป็นสมาชิกเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือจะได้รับการยกเว้นจากกฎหมายฉบับดังกล่าว
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
อย่างไรก็ดี การหารือไม่สามารถหาข้อยุติได้ โดยสหรัฐฯ ยังยืนยันว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ขัดต่อความตกลง WTO และขณะนี้ผู้บริหารชุดใหม่ไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะยกเลิกกฎหมายนี้ โดยสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะปกป้องกฎหมายนี้ต่อไป และจะเริ่มคืนอากรตอบโต้การทุ่มตลาด และต่อต้านการอุดหนุนงวดแรกที่เก็บได้ให้แก่อุตสาหกรรมภายในที่ได้รับความเสียหาย ประมาณเดือนตุลาคม ศกนี้
ความล้มเหลวของการหารือที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศที่ร่วมกันฟ้องร้อง จะต้องดำเนินการขอตั้งคณะผู้พิจารณาขึ้นมาไต่สวนมาตรการของสหรัฐฯ ต่อไป โดยสามารถดำเนินการได้ทันที หรืออาจรอให้สหรัฐฯ ออกกฎระเบียบต่างๆ ภายใต้กฎหมายฉบับนี้ให้เสร็จสิ้นก่อน เพื่อให้มีข้อต่อสู้และหลักฐานที่แน่นหนาขึ้นก็ได้
กระบวนการยุติข้อพิพาทภายใต้ WTO กำหนดให้ประเทศผู้ฟ้องร้องสามารถขอตั้งคณะผู้พิจารณาคดีได้ หากการหารือไม่สามารถหาข้อยุติได้ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ขอหารือ (21 ธันวาคม 2543) ดังนั้น ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ศกนี้ ก็จะครบกำหนด 60 วัน
ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ปฏิเสธการขอเข้าร่วมหารือครั้งนี้ ของอาร์เจนตินา แคนาดา และเม็กซิโก โดยอ้างว่า ประเทศทั้งสามจะไม่ได้รับประโยชน์ทางการค้าจากการขอหารือครั้งนี้ เนื่องจากประเทศที่เป็นสมาชิกเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือจะได้รับการยกเว้นจากกฎหมายฉบับดังกล่าว
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-