นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้เปิดเผยว่าเริ่มจากมกราคม 2543 โปแลนด์ได้ลดภาษีขาเข้าภายใต้กรอบ
WTO สำหรับประเทศสมาชิก WTO ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย ส่วนประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก WTO แต่มีข้อตกลงสองฝ่ายกับโปแลนด์ โปแลนด์ก็จะต้อง
เก็บภาษีอัตราต่ำสุดตามความผูกพันของความตกลง นอกจากนี้โปแลนด์ยังได้ลดภาษีลงเหลือศูนย์ สำหรับสินค้าจากประเทศที่มีความตกลงทางการค้า
เสรีกับโปแลนด์ รวมทั้งได้ลงอัตราภาษี GSP ในอัตราร้อยละ 20 สำหรับสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา 47 ประเทศซึ่งรวมทั้งประเทศไทย ที่มีราย
ได้ประชาชาติต่อหัวต่ำกว่าร้อยละ 80 ของ โปแลนด์ (รายได้ประชาชาติต่อหัวของโปแลนด์ ปี 2540 ตามสถิติของ Wold Bank = 3,900
เหรียญสหรัฐฯ)และลดเหลือศูนย์สำหรับสินค้าจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุด 48 ประเทศ
การลดภาษีภายใต้ WTO เมื่อเดือนมกราคม 2543 มีสินค้าไทยที่ได้รับประโยชน์เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่
อัตราภาษีปกติ (%)
==============================================================
สินค้า ลดจาก เหลือ
(ปี 2542) (ปี 2543)
==============================================================
กระเป๋าหนัง 21.4,25 14.3
ผ้าฝ้าย 21.4 21.4
เสื้อผ้าถัก 25 3-5
เสื้อผ้าไม่ได้ถัก 2.4-4.8 2.4,7.2
เครื่องประดับอัญมณี 3-8 3-12
เครื่องคำนวณ 0-4.8 19.7,23
เครื่องประมวลผลข้อมูล 13.1 19.7
ส่วนประกอบเครื่องใช้สำนักงาน 19.7 23
อุปกรณ์โทรศัพท์ 0 0,4
ชิ้นส่วนวิทยุโทรทัศน์ 0 0-8
แผนวงจร 0-9 0
===============================================================
ส่วนสินค้าเกษตร ไม่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีในครั้งนี้ จึงยังคงต้องเสียภาษีขาเข้าในอัตราสูง ที่สำคัญ ได้แก่ ผักและผลไม้กระป๋อง
(ภาษีร้อยละ 35) กุ้งแช่แข็ง (ภาษีร้อยละ 21) สินค้าอื่น ๆ เช่น ข้าว กาแฟดิบ ยางพารา ปลาทูน่ากระป๋องได้รับการลดหย่อนภาษีขาเข้าภายใต้
ระบบ GSP อยู่แล้ว
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การลดภาษีขาเข้าของโปแลนด์ เป็นการลดจากอัตราเดิมไม่มากนัก สินค้าสำคัญที่ไทย
ส่งออกโปแลนด์ เช่น สินค้าประเภทเสื้อผ้า และอัญมณี ยังมีภาษีขาเข้าค่อนข้างสูง จึงไม่น่าจะช่วยให้สามารถแข่งขันกับสินค้าของโปแลนด์ได้เพิ่มขึ้น
ส่วนสินค้าเกษตรยังไม่ประสพปัญหาการแข่งขันโดยตรงกับสินค้าของโปแลนด์ เนื่องจากสินค้าไทยมีคุณลักษณะที่แตกต่างออกไป ส่วนการแข่งขันกับสินค้า
จากประเทศอื่นในตลาดโปแลนด์ ปรากฏว่าในปี 2543 โปแลนด์ได้ยกเว้น ภาษีสินค้าอุตสาหกรรมแทบทั้งหมด ให้แก่ประเทศที่มีความตกลงทางการค้า
เสรี กับโปแลนด์ เช่น สหภาพยุโรป ลิธัวเนีย ตุรกี และกลุ่ม CEFTA ได้แก่ เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี สโลวาเนีย โรมาเนีย บัลกาเรีย เป็นต้น
คาดว่าจะมีสินค้าไทยได้รับผลกระทบจากความตกลงการค้าเสรี เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า รองเท้า ถุงมือยาง ยางรถยนต์ กระเป๋าเดินทาง
เครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่า เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
--กรมส่งเสริมการส่งออก มีนาคม 2543--
-อน-
WTO สำหรับประเทศสมาชิก WTO ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย ส่วนประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก WTO แต่มีข้อตกลงสองฝ่ายกับโปแลนด์ โปแลนด์ก็จะต้อง
เก็บภาษีอัตราต่ำสุดตามความผูกพันของความตกลง นอกจากนี้โปแลนด์ยังได้ลดภาษีลงเหลือศูนย์ สำหรับสินค้าจากประเทศที่มีความตกลงทางการค้า
เสรีกับโปแลนด์ รวมทั้งได้ลงอัตราภาษี GSP ในอัตราร้อยละ 20 สำหรับสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา 47 ประเทศซึ่งรวมทั้งประเทศไทย ที่มีราย
ได้ประชาชาติต่อหัวต่ำกว่าร้อยละ 80 ของ โปแลนด์ (รายได้ประชาชาติต่อหัวของโปแลนด์ ปี 2540 ตามสถิติของ Wold Bank = 3,900
เหรียญสหรัฐฯ)และลดเหลือศูนย์สำหรับสินค้าจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุด 48 ประเทศ
การลดภาษีภายใต้ WTO เมื่อเดือนมกราคม 2543 มีสินค้าไทยที่ได้รับประโยชน์เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่
อัตราภาษีปกติ (%)
==============================================================
สินค้า ลดจาก เหลือ
(ปี 2542) (ปี 2543)
==============================================================
กระเป๋าหนัง 21.4,25 14.3
ผ้าฝ้าย 21.4 21.4
เสื้อผ้าถัก 25 3-5
เสื้อผ้าไม่ได้ถัก 2.4-4.8 2.4,7.2
เครื่องประดับอัญมณี 3-8 3-12
เครื่องคำนวณ 0-4.8 19.7,23
เครื่องประมวลผลข้อมูล 13.1 19.7
ส่วนประกอบเครื่องใช้สำนักงาน 19.7 23
อุปกรณ์โทรศัพท์ 0 0,4
ชิ้นส่วนวิทยุโทรทัศน์ 0 0-8
แผนวงจร 0-9 0
===============================================================
ส่วนสินค้าเกษตร ไม่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีในครั้งนี้ จึงยังคงต้องเสียภาษีขาเข้าในอัตราสูง ที่สำคัญ ได้แก่ ผักและผลไม้กระป๋อง
(ภาษีร้อยละ 35) กุ้งแช่แข็ง (ภาษีร้อยละ 21) สินค้าอื่น ๆ เช่น ข้าว กาแฟดิบ ยางพารา ปลาทูน่ากระป๋องได้รับการลดหย่อนภาษีขาเข้าภายใต้
ระบบ GSP อยู่แล้ว
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การลดภาษีขาเข้าของโปแลนด์ เป็นการลดจากอัตราเดิมไม่มากนัก สินค้าสำคัญที่ไทย
ส่งออกโปแลนด์ เช่น สินค้าประเภทเสื้อผ้า และอัญมณี ยังมีภาษีขาเข้าค่อนข้างสูง จึงไม่น่าจะช่วยให้สามารถแข่งขันกับสินค้าของโปแลนด์ได้เพิ่มขึ้น
ส่วนสินค้าเกษตรยังไม่ประสพปัญหาการแข่งขันโดยตรงกับสินค้าของโปแลนด์ เนื่องจากสินค้าไทยมีคุณลักษณะที่แตกต่างออกไป ส่วนการแข่งขันกับสินค้า
จากประเทศอื่นในตลาดโปแลนด์ ปรากฏว่าในปี 2543 โปแลนด์ได้ยกเว้น ภาษีสินค้าอุตสาหกรรมแทบทั้งหมด ให้แก่ประเทศที่มีความตกลงทางการค้า
เสรี กับโปแลนด์ เช่น สหภาพยุโรป ลิธัวเนีย ตุรกี และกลุ่ม CEFTA ได้แก่ เชคโกสโลวาเกีย ฮังการี สโลวาเนีย โรมาเนีย บัลกาเรีย เป็นต้น
คาดว่าจะมีสินค้าไทยได้รับผลกระทบจากความตกลงการค้าเสรี เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า รองเท้า ถุงมือยาง ยางรถยนต์ กระเป๋าเดินทาง
เครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่า เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
--กรมส่งเสริมการส่งออก มีนาคม 2543--
-อน-