ข่าวในประเทศ
1. นักวิชาการและบุคคลที่เกี่ยวข้องเห็นตรงกันว่านโยบายดอกเบี้ยต่ำของ ธปท.เหมาะสม ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความเห็นของนักวิชาการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำของ ธปท.ว่า ทุกฝ่ายเห็นว่าเป็นนโยบายที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจปัจจุบัน แม้จะยังไม่มีความเห็นที่ชัดเจนว่าควรจะปรับขึ้นหรือลดดอกเบี้ยจากระดับปัจจุบันหรือไม่ ทั้งนี้ นักวิชาการเห็นว่า ปัญหาหลักของการดำเนินนโยบายการเงินขณะนี้ ไม่ใช่ระดับอัตราดอกเบี้ย แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากกลไกที่จะทำให้เกิดการปล่อยสินเชื่อเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยอาจต้องปรับปรุงระบบการพิจารณาสินเชื่อของ ธพ. เพื่อให้ผู้ให้กู้มีความต้องการที่จะให้กู้เพิ่มขึ้น และหาวิธีลดความเสี่ยงของการกู้ลง (ไทยรัฐ 16)
2. ครม.มีมติอนุมัติเพิ่มการขาดดุล งปม.ปี 45 อีก 50,000 ล.บาท รมว.คลัง กล่าวว่า ครม.มีมติอนุมัติให้เพิ่มการขาดดุล งปม.ปี 45 อีก 50,000 ล.บาท จากเดิมที่ขาดดุล 150,000 ล.บาท หรือร้อยละ 2.7 ต่อจีดีพี เพิ่มขึ้นเป็น 200,000 ล.บาท โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้ให้ถือเป็นงบสำรองที่กันไว้เป็นเงินฉุกเฉิน สำหรับการใช้จ่ายงบฉุกเฉิน ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ครม. และใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจเท่านั้น ทั้งนี้ หากรวมการขาดดุลภาครัฐวิสาหกิจอีกร้อยละ 0.8 จะทำให้ภาครัฐขาดดุล งปม.ปี 45 ร้อยละ 4.3 แต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถทำได้ตามมาตรฐานสากลที่สามารถขาดดุลได้ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อจีดีพี(ไทยรัฐ 16)
3. ธปท. กำลังศึกษาข้อมูลการจัดตั้งกองทุนร่วมทุน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การที่รัฐบาลจะจัดตั้งกองทุนร่วมทุน (Maching Fund) เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวเป็นการระดมทุนร่วมระหว่างไทยกับต่างประเทศ ซึ่งหากมาตรการดังกล่าวได้รับการอนุมัติก็จะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบประมาณ 1 แสนล้านบาท และจะทำให้เกิดสภาพคล่องในระบบสูงขึ้นแต่ก็มีความเสี่ยงในการลงทุนมากขึ้นด้วย ซึ่ง ธปท. กำลังศึกษาหาข้อมูลเพื่อประเมินวิธีการลงทุนและผู้ที่จะเข้ามาลงทุน เพื่อให้การจัดตั้งกองทุนเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด(ข่าวสด 16)
4. ธุรกรรมผ่านระบบบาทเน็ตลดลงในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ธุรกรรมการโอนเงินผ่านระบบบาทเน็ตในเดือน เม.ย. 44 มีจำนวนทั้งสิ้น 62,670 รายการ มีมูลค่ารวม 5.8 ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือน มี.ค. 44 ร้อยละ 6.4 และ 13.07 ตามลำดับ เนื่องจากในเดือน เม.ย. 44 มีวันหยุดทำการต่อเนื่องหลายวัน แต่หากพิจารณาธุรกรรมการโอนเฉลี่ยต่อวันทำการในเดือน เม.ย. 44 มีจำนวนเฉลี่ย 3,482 รายการต่อวัน มูลค่าเฉลี่ย 3.2 แสนล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค. 44 ร้อยละ 14.40 และ 6.25 ตามลำดับ (กรุงเทพธุรกิจ 16)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 16 พ.ค. 44 ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธ.กลาง สรอ. ในวันที่ 15 พ.ค. 44 ธ. กลางได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 0.5 นับเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 5 ในรอบปี 44 และส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยอีกเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา โดยลด (Federal funds rate ) ที่ใช้เป็นดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้น จากร้อยละ 4.5 เหลือร้อยละ 4 ส่งผลให้ Fed funds rate มีอัตราต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี นอกจากนี้ ยังลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ( Discount rate ) ซึ่งเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ที่ ธ. กลางคิดกับธ.พ. จากร้อยละ 4 เหลือร้อยละ 3.5 ทั้งนี้ ธ. กลางได้กล่าวในแถลงการณ์ว่า ระบบเศรษฐกิจ สรอ. ยังคงมีความอ่อนแออย่างมาก โดยเห็นได้จากการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนที่กำลังหดตัวลงและผลกำไรของบริษัทที่ลดลง ในวันเดียวกันภายหลังการประกาศดังกล่าว ธพ. ชั้นนำหลายแห่งของ สรอ. เช่น Bank of America และ Bank One Corp. ก็ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แก่ลูกค้าชั้นดี ลงเหลือร้อยละ 7 จากร้อยละ 7.5 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค. 44 (รอยเตอร์15)
2. ราคาขายส่งของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 15 พ.ค.44 สำนักสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า ราคาขายส่งในเดือน เม.ย.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มี.ค.44 และเมื่อเทียบต่อปี ราคาขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 สูงกว่าเดือน มี.ค.44 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของราคาขายส่งในเดือน เม.ย.ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และ 4.2 ต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของราคาเป็ดไก่ กาแฟ เนื้อวัว และเชื้อเพลิงสำหรับใช้ทำความร้อน ทั้งนี้ หากไม่รวมราคาน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ราคาขายส่งเดือน เม.ย.44 ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบต่อเดือน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เทียบต่อปี ทั้งนี้ ราคาอาหารที่สูงขึ้นในเดือน เม.ย.ยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาขายส่งและเงินเฟ้อที่วัดจากระดับราคาผู้บริโภคสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี 44 ท่ามกลางความกังวลในเรื่องโรควัวบ้าและปากเท้าเปื่อยทำให้เนื้อวัวมีราคาต่ำลงในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้ทดแทนมีราคาสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในเดือน เม.ย.บ่งชี้ว่าราคาเนื้อวัวกลับสูงขึ้นร้อยละ 3.6 เทียบต่อเดือน ขณะที่ราคาสุกรมีชีวิตลดลงเหลือร้อยละ 8.4 หลังจากที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลักในเดือนก่อน………………………………….(รอยเตอร์ 15)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือน เม.ย.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ต่อปี รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 15 พ.ค.44 สำนักสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า เดือน เม.ย.44 ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ต่อปี ขณะที่มูลค่าเพิ่มของผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ต่อปี นับเป็นครั้งแรกในช่วง 4 เดือนแรกของปี 44 (รอยเตอร์ 15)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 15 พ.ค. 44 45.526 (45.497)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 15พ.ค. 44ซื้อ 45.3386(45.3309) ขาย 45.6477 (45.6461)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน - (25.19)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.29 (17.29) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. นักวิชาการและบุคคลที่เกี่ยวข้องเห็นตรงกันว่านโยบายดอกเบี้ยต่ำของ ธปท.เหมาะสม ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงความเห็นของนักวิชาการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำของ ธปท.ว่า ทุกฝ่ายเห็นว่าเป็นนโยบายที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจปัจจุบัน แม้จะยังไม่มีความเห็นที่ชัดเจนว่าควรจะปรับขึ้นหรือลดดอกเบี้ยจากระดับปัจจุบันหรือไม่ ทั้งนี้ นักวิชาการเห็นว่า ปัญหาหลักของการดำเนินนโยบายการเงินขณะนี้ ไม่ใช่ระดับอัตราดอกเบี้ย แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากกลไกที่จะทำให้เกิดการปล่อยสินเชื่อเข้าไปกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยอาจต้องปรับปรุงระบบการพิจารณาสินเชื่อของ ธพ. เพื่อให้ผู้ให้กู้มีความต้องการที่จะให้กู้เพิ่มขึ้น และหาวิธีลดความเสี่ยงของการกู้ลง (ไทยรัฐ 16)
2. ครม.มีมติอนุมัติเพิ่มการขาดดุล งปม.ปี 45 อีก 50,000 ล.บาท รมว.คลัง กล่าวว่า ครม.มีมติอนุมัติให้เพิ่มการขาดดุล งปม.ปี 45 อีก 50,000 ล.บาท จากเดิมที่ขาดดุล 150,000 ล.บาท หรือร้อยละ 2.7 ต่อจีดีพี เพิ่มขึ้นเป็น 200,000 ล.บาท โดยส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้ให้ถือเป็นงบสำรองที่กันไว้เป็นเงินฉุกเฉิน สำหรับการใช้จ่ายงบฉุกเฉิน ต้องได้รับความเห็นชอบจาก ครม. และใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจเท่านั้น ทั้งนี้ หากรวมการขาดดุลภาครัฐวิสาหกิจอีกร้อยละ 0.8 จะทำให้ภาครัฐขาดดุล งปม.ปี 45 ร้อยละ 4.3 แต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถทำได้ตามมาตรฐานสากลที่สามารถขาดดุลได้ไม่เกินร้อยละ 5 ต่อจีดีพี(ไทยรัฐ 16)
3. ธปท. กำลังศึกษาข้อมูลการจัดตั้งกองทุนร่วมทุน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การที่รัฐบาลจะจัดตั้งกองทุนร่วมทุน (Maching Fund) เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวเป็นการระดมทุนร่วมระหว่างไทยกับต่างประเทศ ซึ่งหากมาตรการดังกล่าวได้รับการอนุมัติก็จะมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบประมาณ 1 แสนล้านบาท และจะทำให้เกิดสภาพคล่องในระบบสูงขึ้นแต่ก็มีความเสี่ยงในการลงทุนมากขึ้นด้วย ซึ่ง ธปท. กำลังศึกษาหาข้อมูลเพื่อประเมินวิธีการลงทุนและผู้ที่จะเข้ามาลงทุน เพื่อให้การจัดตั้งกองทุนเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุด(ข่าวสด 16)
4. ธุรกรรมผ่านระบบบาทเน็ตลดลงในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ธุรกรรมการโอนเงินผ่านระบบบาทเน็ตในเดือน เม.ย. 44 มีจำนวนทั้งสิ้น 62,670 รายการ มีมูลค่ารวม 5.8 ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือน มี.ค. 44 ร้อยละ 6.4 และ 13.07 ตามลำดับ เนื่องจากในเดือน เม.ย. 44 มีวันหยุดทำการต่อเนื่องหลายวัน แต่หากพิจารณาธุรกรรมการโอนเฉลี่ยต่อวันทำการในเดือน เม.ย. 44 มีจำนวนเฉลี่ย 3,482 รายการต่อวัน มูลค่าเฉลี่ย 3.2 แสนล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค. 44 ร้อยละ 14.40 และ 6.25 ตามลำดับ (กรุงเทพธุรกิจ 16)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 16 พ.ค. 44 ในการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธ.กลาง สรอ. ในวันที่ 15 พ.ค. 44 ธ. กลางได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงร้อยละ 0.5 นับเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 5 ในรอบปี 44 และส่งสัญญาณว่าพร้อมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยอีกเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา โดยลด (Federal funds rate ) ที่ใช้เป็นดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้น จากร้อยละ 4.5 เหลือร้อยละ 4 ส่งผลให้ Fed funds rate มีอัตราต่ำที่สุดในรอบ 7 ปี นอกจากนี้ ยังลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน ( Discount rate ) ซึ่งเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ที่ ธ. กลางคิดกับธ.พ. จากร้อยละ 4 เหลือร้อยละ 3.5 ทั้งนี้ ธ. กลางได้กล่าวในแถลงการณ์ว่า ระบบเศรษฐกิจ สรอ. ยังคงมีความอ่อนแออย่างมาก โดยเห็นได้จากการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนที่กำลังหดตัวลงและผลกำไรของบริษัทที่ลดลง ในวันเดียวกันภายหลังการประกาศดังกล่าว ธพ. ชั้นนำหลายแห่งของ สรอ. เช่น Bank of America และ Bank One Corp. ก็ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แก่ลูกค้าชั้นดี ลงเหลือร้อยละ 7 จากร้อยละ 7.5 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค. 44 (รอยเตอร์15)
2. ราคาขายส่งของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 15 พ.ค.44 สำนักสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า ราคาขายส่งในเดือน เม.ย.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มี.ค.44 และเมื่อเทียบต่อปี ราคาขายส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 สูงกว่าเดือน มี.ค.44 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ซึ่งการเพิ่มขึ้นของราคาขายส่งในเดือน เม.ย.ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และ 4.2 ต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ โดยมีสาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของราคาเป็ดไก่ กาแฟ เนื้อวัว และเชื้อเพลิงสำหรับใช้ทำความร้อน ทั้งนี้ หากไม่รวมราคาน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ราคาขายส่งเดือน เม.ย.44 ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบต่อเดือน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เทียบต่อปี ทั้งนี้ ราคาอาหารที่สูงขึ้นในเดือน เม.ย.ยังคงเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาขายส่งและเงินเฟ้อที่วัดจากระดับราคาผู้บริโภคสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี 44 ท่ามกลางความกังวลในเรื่องโรควัวบ้าและปากเท้าเปื่อยทำให้เนื้อวัวมีราคาต่ำลงในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้ทดแทนมีราคาสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในเดือน เม.ย.บ่งชี้ว่าราคาเนื้อวัวกลับสูงขึ้นร้อยละ 3.6 เทียบต่อเดือน ขณะที่ราคาสุกรมีชีวิตลดลงเหลือร้อยละ 8.4 หลังจากที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลักในเดือนก่อน………………………………….(รอยเตอร์ 15)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือน เม.ย.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ต่อปี รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 15 พ.ค.44 สำนักสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า เดือน เม.ย.44 ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ต่อปี ขณะที่มูลค่าเพิ่มของผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ต่อปี นับเป็นครั้งแรกในช่วง 4 เดือนแรกของปี 44 (รอยเตอร์ 15)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 15 พ.ค. 44 45.526 (45.497)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 15พ.ค. 44ซื้อ 45.3386(45.3309) ขาย 45.6477 (45.6461)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,700) ขาย 5,800 (5,800)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน - (25.19)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.29 (17.29) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-