นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2542 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกาประกาศไต่สวนเพื่อเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนสินค้าเหล็กรีดเย็น (Certain Cold-Rooled Steel Products) จาก 12 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย ได้แก่ ไต้หวัน อินโดนีเซีย สโลวาเกีย แอฟริกาใต้ ญี่ปุ่น รัสเซีย บราซิล อาร์เจนตินา ตรุกี เวเนซูเอลา และ จีน ตามคำร้องของอุตสาหกรรมผู้ผลิตสินค้าเหล็กภายในประเทศ
คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Commission :ITC) ได้เปิดไต่สวนและพิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมภายในสหรัฐฯตามขั้นตอนการดำเนินการไต่สวนเพื่อเรียกเก็บอากรตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty :CVD) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 โดยปราฏว่าปริมาณการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากประเทศไทย อินโดนีเซีย และเวเนซูเอลา มีปริมาณนำ-เข้าของแต่ละประเทศน้อยมากไม่ถึงร้อยละ 4 และเมื่อนำมารวมกันทั้ง 3 ประเทศไม่ถึงร้อยละ 9 ของปริมาณการนำเข้ารวมทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งตามกฎหมายของสหรัฐฯ และตามความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุนขององค์การการค้าโลก ถือว่าไม่มีการให้การอุดหนุน และการนำเข้าสินค้าไทยดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในสหรัฐฯกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯจึงได้ประกาศยุติการไต่สวนกรณีรัฐบาลไทยให้ความอุดหนุน
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้กล่าวต่อไปว่า สำหรับในส่วนการดำเนินการไต่สวนเพื่อเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping Duty: AD) เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2543 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ประกาศผลการตัดสินขั้นสุดท้ายของอัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาด ที่เรียกเก็บจากผู้ผลิตเหล็กไทยระหว่างร้อยละ 67.97 - 80.67 ต่อมาคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบความเสียหายได้ประกาศผลการตัดสินขั้นสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 ว่าการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากประเทศไทยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างสำคัญต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศสหรัฐฯ ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯจะต้องยกเลิกการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ไม่เรียกเก็บอากรการทุ่มตลาดสินค้าเหล็กรีดเย็นจากประเทศไทย โดยจะประกาศอย่างเป็นทางการในราวต้นเดือน เมษายน 2543 ต่อไป
การที่สหรัฐฯยุติการใช้มาตรากรตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนสินค้าเหล็กรีดเย็นจากประเทศไทยในครั้งนี้ นับว่าเป็นผลดีคือผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าว ผู้นำเข้าที่เคยชะลอการสั่งซื้ออาจจะหันมานำเข้าตามปกติ หรือสั่งสินค้าเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ผู้ส่งออกไทยต้องระมัดระวังหากมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ อุตสาหกรรมผู้ผลิตสินค้าเหล็กภายในประเทศสหรัฐฯอาจยื่นคำร้องให้เปิดการไต่สวนใหม่ในโอกาสต่อไปได้ สำหรับการส่งออกสินค้าเหล็กดังกล่าวของไทยไปสหรัฐฯมีปริมาณ 468,094 ตัน และ 39,543 ตัน ในปี 2541 และ 2542 ตามลำดับ
--กรมการค้าต่างประเทศ มีนาคม 2543--
-อน-
คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Commission :ITC) ได้เปิดไต่สวนและพิจารณาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมภายในสหรัฐฯตามขั้นตอนการดำเนินการไต่สวนเพื่อเรียกเก็บอากรตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty :CVD) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2542 โดยปราฏว่าปริมาณการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากประเทศไทย อินโดนีเซีย และเวเนซูเอลา มีปริมาณนำ-เข้าของแต่ละประเทศน้อยมากไม่ถึงร้อยละ 4 และเมื่อนำมารวมกันทั้ง 3 ประเทศไม่ถึงร้อยละ 9 ของปริมาณการนำเข้ารวมทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งตามกฎหมายของสหรัฐฯ และตามความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุนขององค์การการค้าโลก ถือว่าไม่มีการให้การอุดหนุน และการนำเข้าสินค้าไทยดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในสหรัฐฯกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯจึงได้ประกาศยุติการไต่สวนกรณีรัฐบาลไทยให้ความอุดหนุน
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้กล่าวต่อไปว่า สำหรับในส่วนการดำเนินการไต่สวนเพื่อเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-dumping Duty: AD) เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2543 กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ประกาศผลการตัดสินขั้นสุดท้ายของอัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาด ที่เรียกเก็บจากผู้ผลิตเหล็กไทยระหว่างร้อยละ 67.97 - 80.67 ต่อมาคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบความเสียหายได้ประกาศผลการตัดสินขั้นสุดท้ายเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543 ว่าการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากประเทศไทยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างสำคัญต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศสหรัฐฯ ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯจะต้องยกเลิกการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ไม่เรียกเก็บอากรการทุ่มตลาดสินค้าเหล็กรีดเย็นจากประเทศไทย โดยจะประกาศอย่างเป็นทางการในราวต้นเดือน เมษายน 2543 ต่อไป
การที่สหรัฐฯยุติการใช้มาตรากรตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนสินค้าเหล็กรีดเย็นจากประเทศไทยในครั้งนี้ นับว่าเป็นผลดีคือผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าว ผู้นำเข้าที่เคยชะลอการสั่งซื้ออาจจะหันมานำเข้าตามปกติ หรือสั่งสินค้าเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ผู้ส่งออกไทยต้องระมัดระวังหากมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ อุตสาหกรรมผู้ผลิตสินค้าเหล็กภายในประเทศสหรัฐฯอาจยื่นคำร้องให้เปิดการไต่สวนใหม่ในโอกาสต่อไปได้ สำหรับการส่งออกสินค้าเหล็กดังกล่าวของไทยไปสหรัฐฯมีปริมาณ 468,094 ตัน และ 39,543 ตัน ในปี 2541 และ 2542 ตามลำดับ
--กรมการค้าต่างประเทศ มีนาคม 2543--
-อน-