ภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้ในปี 2542 โดยทั่วไปยังคงทรงตัวจากปีก่อน โดยมีปัจจัยบวกจากการออกมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม ในขณะที่ภาคการเกษตรซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ยังคงชะลอตัว จากภาวะราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ
โดยเฉพาะราคายางพาราในเดือนสิงหาคม ปี 2542 ที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 66 เดือน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจในช่วง
ไตรมาสสุดท้ายของปี พบว่าภาวะเศรษฐกิจเริ่มกระเตื้องขึ้น การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจคึกคักขึ้น ทั้งในภาคการค้า การลงทุน และปริมาณเงิน
ที่หมุนเวียนในระบบเป็นไปอย่างสะพัด เนื่องจากรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางเพิ่มขึ้นจากภาวะราคาที่ปรับสูงขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้าย
มาตรการต่าง ๆ ของทางการที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งมาตรการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 2 โดยเฉพาะการเพิ่มการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณตามโครงการมิยาซาวา และหลังสุดได้ออกมาตรการเพื่อ
สนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน ตลอดจนการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศและเสริมสภาพคล่องให้กับระบบ
การเงิน นั้น ส่งผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้ทั้งนี้ผลดีจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ทำให้การส่งออกของภาคใต้
กระเตื้องขึ้น สำหรับการท่องเที่ยวได้รับผลดีจากค่าเงินบาทเช่นเดียวกัน ประกอบกับมีการ ประชาสัมพันธ์ปีท่องเที่ยวไทย เหตุการณ์ความไม่สงบ
ภายในประเทศอินโดนีเซีย และภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นตลาดท่องเที่ยวสำคัญเริ่มฟื้นตัว ด้านภาวะการลงทุน ภาคเอกชนมีการจดทะเบียน
ธุรกิจนิติบุคคลมากขึ้น ส่วนกิจการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน นักลงทุนชาวไทยลดลง ขณะที่นักลงทุนชาวต่างชาติยังคงเข้ามาลงทุนในภาคใต้
อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ส่งผลในทางลบต่อเศรษฐกิจภาคใต้ เนื่องจากกำลังซื้อของประชาชนมีน้อย ซึ่งเป็นผลจากภาวะการชะลอตัว
ของราคาสินค้าเกษตร ทำให้ภาวะการค้าและการ จ้างงานขยายตัวได้ไม่มากนัก ประกอบกับปัจจัยภายนอกประเทศ ทั้งภาวะการแข่งขันด้านราคา
สินค้า การกีดกันทางการค้า ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของตลาดคู่ค้าสำคัญ และค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี รวมทั้งปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ในช่วงครึ่งหลังของปีนั้น ยังทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง อย่างไรก็ตาม ด้านการเงิน สินเชื่อ
ธนาคารพาณิชย์ยังไม่มีการขยายตัว เนื่องจากกลัวปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ทำให้เกิดสภาพคล่องล้นระบบ จึงลดอัตราดอกเบี้ยเงิน
ฝากลงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ในปีนี้ อยู่ที่ระดับ 130.5 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.2 โดยระดับราคาสินค้าหมวดอาหารและ
เครื่องดื่มปรับตัวลดลง ส่วนสินค้าหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน อัตราเงินเฟ้อได้ลดลง
มาก สาเหตุหลักได้แก่การปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2542
สภาพภูมิอากาศในปีที่ผ่านมาและตลอดทั้งปีนี้ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การให้ ผลผลิตทางการเกษตรทั้งในกลุ่มพืช สัตว์น้ำ และปศุสัตว์
เปลี่ยนแปลงไปจากฤดูกาลปกติ และปัจจัยทางด้านอุปทานก็ไม่ส่งผลให้ราคาอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ
ยางพารา ปีนี้ ภาคใต้มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ช่วงการผลัดใบของต้นยางพาราจึงไม่ ยาวนานเหมือนปีที่ผ่านมา ผลผลิตยางพาราจึงเข้า
สู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สถานการณ์ด้านราคา ในเดือนสิงหาคม ยางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรขายได้ ณ ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ ลดลง
หลือเพียงกิโลกรัมละ 16.81 บาท นับเป็นราคาต่ำสุดในรอบ 66 เดือน อย่างไรก็ตามในช่วงไตรมาส สุดท้ายของปีราคามีแนวโน้มดีขึ้น
ปาล์มน้ำมัน สถานการณ์การผลิตในปีนี้ ภาวะฝนทิ้งช่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 ถึงราวกลางปีที่ผ่านมา ทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน
ในช่วงไตรมาสแรกมีน้อย อย่างไรก็ตามช่วงการเก็บผลผลิตตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากกลายเป็นปัจจัย
สำคัญที่กดดันให้ราคาลดลงมากและรวดเร็ว จากราคาสูงสุด (ปาล์มทะลาย) กิโลกรัมละ 4.96 บาท ในเดือนมกราคม เหลือเพียงกิโลกรัมละ
1.62 บาท ในเดือนกรกฎาคม
ข้าว ผลผลิตข้าวนาปี ฤดูการผลิตปี 2541/2542 ซึ่งปกติออกสู่ตลาดในช่วงต้นปีนั้น ปรากฏว่า ปีนี้ภาคใต้มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และเกิด
อุทกภัยในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงการเก็บผลผลิตข้าวนาปีในแหล่งผลิตสำคัญ อาทิ จังหวัดพัทลุง และนครศรีธรรมราช เสียหายเป็นจำนวนมาก
เกษตรกรจำหน่ายข้าวได้ในราคาค่อนข้างต่ำเนื่องจากมีความชื้นสูง
กาแฟ ช่วงของการแทงช่อดอก และติดดอกของต้นกาแฟในฤดูการผลิตปี 2541/2542 ภาคใต้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงนานกว่าปีปกติ
ปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตลดลงค่อนข้างมาก และเมื่อพิจารณาในส่วนของราคา ปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.25 บาท เทียบกับปีก่อนลดลงร้อยละ
29.3 ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทในไตรมาสแรกปีก่อนอ่อนตัวมากกว่าประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง เป็นผลจากการที่มีการคาดการณ์ว่า ผลผลิต
จากประเทศบราซิลมีจำนวนมากและบราซิลประกาศลดค่าเงินรีล
ไม้ผล ต้นไม้ผลได้รับผลกระทบจากภาวะความแห้งแล้งในปีก่อน ยืนตายเป็นจำนวนมาก ขณะที่ในปีนี้มีฝนตกต่อเนื่องทำให้แตกใบอ่อนแทน
การติดดอก และช่วงปลายปีมีฝนตกหนักไม้ผลที่อยู่ในช่วงการเก็บผลผลิตได้รับความเสียหาย ผลผลิตในปีนี้จึงลดลงมาก
ประมงทะเล ภาวะมรสุมทั้งฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และอันดามัน ปัญหาต้นทุนการทำประมงโดยเฉพาะในส่วนของราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น
ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบและปัญหาการเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซียกำหนดให้เรือประมงที่ทำการ
ประมงในเขตน้ำลึก ต้องนำปลาที่จับได้ขึ้นฝั่งในประเทศ ตลอดจนสถานการณ์ไม่ปกติตามแนวชายแดนไทย-พม่า และพม่าประกาศปิดน่านน้ำในช่วงปลายปี
ทำให้จำนวนสัตว์น้ำที่จับได้และนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลาลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน ปีก่อน
กุ้งกุลาดำ สภาพอากาศโดยทั่วไปที่เอื้ออำนวยในปีนี้ (ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์และธันวาคม) ทำให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงกุ้งได้อย่างต่อเนื่อง
แต่ผลผลิตที่จับจำหน่ายส่วนใหญ่ยังเป็นกุ้งขนาดกลางถึงเล็ก และราคาเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
ของค่าเงินบาท และผลจากภาวะการแข่งขันในตลาดโลก กดดันให้ผู้ประกอบการต้องซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาที่ต่ำลง
ปศุสัตว์ สถานการณ์ด้านการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์จากภาคปศุสัตว์ ข่าวการแพร่ระบาดของไวรัสสมองอักเสบในสุกรในประเทศมาเลเซีย
นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้าสุกร ซบเซา โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ภาวะการค้าไก่พันธุ์เนื้อ ขยายตัวในเกณฑ์ดี
แต่เนื่องจากสภาพอากาศโดยรวมในปีนี้ไม่ร้อนจัด ทำให้ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องกดดันให้ราคาที่เกษตรกรจำหน่ายได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ภาคอุตสาหกรรม
ในปี 2542 นั้น การผลิตของภาคอุตสาหกรรมในภาคใต้ส่วนใหญ่ขยายตัวขึ้น อาทิ น้ำมันปาล์ม ยางพารา และ แร่ดีบุก
อุตสาหกรรมเหมืองแร่ การผลิตสินแร่ดีบุกในภาคใต้ปี 2542 ยังคงขยายตัวอย่าง ต่อเนื่องจากปีก่อน ในปีนี้สถิติสินแร่ที่ผลิตได้มีทั้งสิ้น
3,349.7 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.7 ส่วนผลผลิตแร่ยิปซัม เคลื่อนไหวค่อนข้างน้อย เนื่องจากความต้องการของตลาด โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น
ชะลอการสั่งซื้อลงและหันไปซื้อแร่ยิปซัมจากออสเตรเลียมาใช้ทดแทน เพื่อลดต้นทุนในการผลิต เพราะขณะนี้ตลาดคำนึงถึงราคาสินค้ามากกว่าคุณภาพ
อุตสาหกรรมยาง ปริมาณผลผลิตโดยรวมยังคงขยายตัวประมาณร้อยละ 5 - 7 โดยประเภทของผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอยู่ในรูปของยางแท่ง
ส่วนตลาดส่งออกที่สำคัญยังประกอบด้วยตลาดญี่ปุ่น ร้อยละ 50 ตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรปร้อยละ 30 ตลาดจีนร้อยละ 15 และอื่น ๆ ประมาณ
ร้อยละ 5 ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวของตลาดญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวและมีคำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้น ขณะที่ตลาดจีนอ่อนลงไปมาก เพราะทางการจีนมีข้อจำกัดใน
การจัดสรรโควตาให้ผู้นำเข้าเฉพาะราย เพื่อ ป้องกันเงินตราไหลออกนอกประเทศ ส่วนตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรปยังมีความต้องการอย่าง
ต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม การผลิตเพิ่มขึ้นมาก โดยในปีนี้สามารถผลิตน้ำมันปาล์มได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 95.6 เพราะตั้งแต่ช่วงเดือน
มีนาคมเป็นต้นมา ต้นปาล์มให้ผลผลิตมากเนื่องจากเป็นฤดูให้ผลผลิต ภาวะดังกล่าวทำให้ในบางเวลาปริมาณวัตถุดิบผลปาล์มสดซึ่งเกษตรกรนำมา
จำหน่ายมีมากเกินกว่ากำลังการผลิตของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มที่สามารถรองรับได้ และกดดันให้ราคาลดลง โดยราคาน้ำมันปาล์มดิบเฉลี่ยกิโลกรัมละ
20.26 บาท ลดลงจากปีก่อนมากถึงร้อยละ 20.8
อุตสาหกรรมอาหารทะเล การผลิตยังไม่คล่องตัวนัก โดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋อง เพราะประสบปัญหาขาดวัตถุดิบในการผลิตและต้นทุน
การผลิตขยับเพิ่มขึ้น ทั้งวัตถุดิบประเภทกุ้ง ปลาหมึกและปลาทะเล โดยเฉพาะหลังจากที่ทางการพม่าได้ตอบโต้ไม่อนุญาตให้เรือประมงเข้าจับปลาหลัง
จากมีเหตุการณ์นักศึกษาพม่าเข้ายึดสถานทูตพม่าในไทย ส่วนความต้องการของตลาดยังมีอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าตลาดมีความเข้มงวดในคุณภาพมากขึ้น
โดยเฉพาะประเด็นความสะอาดและ สุขอนามัยก็ตาม ซึ่งผู้ประกอบการได้ปรับปรุงคุณภาพตามเงื่อนไขแล้ว ดังนั้นมูลค่าอาหารทะเล แช่แข็งส่งออก
ในปีนี้จึงมีเพียง 19,180.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.1 และมูลค่าอาหารทะเลกระป๋อง ส่งออกมีเพียง 10,131.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.3
อุตสาหกรรมปลาป่น การผลิตของอุตสาหกรรมปลาป่นตลอดปีนี้ ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ
และราคาวัตถุดิบคงอยู่ในเกณฑ์สูง ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีก่อน ขณะที่ราคาปลาป่นกลับอ่อนตัวลงโดยตลอด นั้นเพราะตลาดอาหารสัตว์ได้ลดการสั่งซื้อปลาป่นลง
และหันไปใช้กากถั่วเหลืองทดแทน เพื่อลดต้นทุนการผลิต ให้สามารถ แข่งขันกันจำหน่ายได้ในตลาด ทำให้ราคาปลาป่นตกต่ำ และฉุดดึงให้ผู้ประกอบการ
ต่างชะลอการผลิตลง สำหรับตลอดปี 2542 นั้น ราคาวัตถุดิบปลาเป็ดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.45 บาท เพิ่มขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 3.41 บาท ร้อยละ
30.5 เมื่อปีก่อน ขณะที่ราคาปลาป่นโปรตีน 60% กิโลกรัมละ 17.84 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 20.56 บาท เมื่อปีก่อนร้อยละ 13.2
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผลดีจากค่าเงิน การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและปัญหาความไม่สงบในประเทศอินโดนีเซีย ประกอบกับ
เศรษฐกิจของหลายประเทศในเอเชียเริ่ม ฟื้นตัว ส่งผลให้ภาวะการท่องเที่ยวคึกคัก มีนักท่องเที่ยวทั้งจากภูมิภาคยุโรปและเอเชียตะวันออกเดินทาง
เข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยในปีนี้ มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาผ่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้จำนวน 1,972,987 คน
เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.1
ภาคการค้าและการลงทุน
ภาวะการค้าของปีนี้เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการค้ารถยนต์ เนื่องจากภาครัฐได้เร่งออก
มาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ส่งผลให้ประชาชนนำเงินออกใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
ส่วนการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่มีจำนวนลดลง เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการได้หันมาจำหน่ายรถจักรยานยนต์มือสองเป็นจำนวนมาก ผู้บริโภค
จึงหันมาซื้อรถมือสองซึ่งมีสภาพดีใกล้เคียงกับ รถใหม่แต่ราคาถูกกว่ามากขึ้น
สำหรับภาวะการลงทุนโดยภาคเอกชนได้มีการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนถึงร้อยละ 30.2 ในขณะ
ที่กิจการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีจำนวนลดลงร้อยละ 9.0 ตามการลดลงของนักลงทุนชาวไทย สำหรับนักลงทุนชาวต่างชาติยังคงเข้า
มาลงทุนในภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ส่วนพื้นที่ก่อสร้างในเขตเทศบาลทั่วภาคใต้มีจำนวนลดลงร้อยละ 2.1 ตามการลดลงของพื้นที่ก่อสร้างทุกประเภท
ยกเว้นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการบริการได้ ขยายตัว เพิ่มขึ้น เนื่องจากยังคงมีการก่อสร้างโรงแรมและสถานที่พักผ่อนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวอย่าง ต่อเนื่อง
ภาคการค้าระหว่างประเทศ
มูลค่าการส่งออกลดลง เนื่องจากตลาดต่างประเทศชะลอการนำเข้าสินค้า ซึ่งเป็นผลจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ การกีดกันทางการค้า
ประกอบกับการแข่งขันทางด้านราคาสินค้าเกษตรมีสูงมาก รวมทั้งส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงต้นปีด้วย อย่างไรก็ตามจากการ
ที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงไตรมาสที่ 4 ทำให้มูลค่าการส่งออกซึ่งลดลงมากในช่วงครึ่งปีแรก ปรับตัวดีขึ้น โดยในปีนี้ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น
113,745.6 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 6.8 โดยลดลงเกือบทุกประเภทสินค้า ยกเว้นไม้ยางพาราที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว และเป็นที่น่าสังเกตว่าปีนี้ผู้ประกอบการเริ่มมีการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว เพื่อเป็นปัจจัยทุนในการผลิตเพื่อส่งออก
ภาคการเงินการคลัง
ถึงแม้ทางการจะมีมาตรการออกมากระตุ้นและสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง แต่สถาบันการเงินโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์
ยังคงชะลอการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากกลัวปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ทำให้เกิดสภาพคล่องล้นระบบ ธนาคารจึงลดอัตราดอกเบี้ยเงิน
ฝากลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงาน สำหรับยอดเงินฝากคงค้างของธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2542 มีจำนวน
238,655.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.2 ส่วนทางด้านสินเชื่ออยู่ในภาวะชะลอตัว โดยมียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนเดียวกันนี้
จำนวน 198,986.8 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.9
สำหรับธุรกิจหลักทรัพย์ มีภาวะการซื้อขายเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินลดลง ไม่จูงใจให้มีการฝากเงิน ประกอบกับ
ราคาหลักทรัพย์อยู่ในระดับต่ำ ทำให้มี นักลงทุนเข้ามาทำการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อเก็งกำไรมากขึ้น โดยมีมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์ของปีนี้ จำนวน
146,123.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนมากกว่า 1 เท่าตัว
สำหรับภาคการคลัง ทางการได้มีมาตรการทางการคลังออกมาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน เพื่อสร้างเสถียรภาพและชะลอการหดตัว
ฃองเศรษฐกิจ และบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติทางเศรษฐกิจต่อประชาชน เช่น การจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล การเลื่อนการนำส่งภาษีเงินได้
นิติบุคคล การเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐตามแผนมิยาซาวา การลดภาษี เป็นต้น สำหรับในส่วนของ ภาคใต้ก็ได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณส่วนราชการเพิ่มขึ้น ตามนโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล โดยมีการเบิกในปีนี้ จำนวน 82,717.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 6.6 ส่วนทางด้านภาษี จัดเก็บได้ลดลง ตามการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตราร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 เป็นสำคัญ โดยสามารถจัดเก็บได้ จำนวน 13,941.3 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.8 แยกเป็นภาษีสรรพากร จำนวน 10,933.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.4 และภาษีสรรพสามิต จำนวน 2,074.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.3 ขณะที่ภาษีศุลกากรจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น โดยจัดเก็บได้จำนวน 933.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ปี 2543
ความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) รวมทั้ง มาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการที่ดำเนินไป
อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนการ ลงทุนภาคเอกชนในช่วงไตรมาสที่ 3 ทั้งการปรับปรุงพิกัดภาษีศุลกากร การสนับสนุนด้านเงินทุน
การฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การปรับโครงสร้างการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจ ตลอดจนการเร่งรัด
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ ภายในประเทศและเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงิน ซึ่งเริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรมในช่วงสิ้นปี 2542
นั้น คงทำให้ภาวะการค้า การลงทุนและการจ้างงานขยายตัว นอกจากนี้ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลดีจากค่าเงินตั้งแต่ปี 2540 และการ
ประชาสัมพันธ์ในตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแนวโน้มขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะตลาดคู่ค้าสำคัญ คาดว่าจะทำให้ราคา
สินค้าเกษตรและมูลค่าการส่งออกของไทยเพิ่มขึ้น คงช่วยกระตุ้นให้ภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้ ขยายตัวได้ต่อเนื่องจากปี 2542 อย่างไรก็ตาม
ยังมีปัจจัยที่น่าจับตามองที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคใต้ นั่นก็คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ข้อตกลงของเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
เริ่มมีผลบังคับใช้ โดยมีการลดภาษีเหลืออัตราร้อยละ 0 — 5 ในสินค้า 15 กลุ่มหลัก เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำมันปาล์ม เป็นต้น ซึ่งจะช่วยขยาย
ตลาดส่งออกของไทย และลดต้นทุนในการผลิตสินค้า ตลอดจนสามารถแข่งขันในอาเซียนและนอกอาเซียนได้
ภาคการเกษตร
ปี 2543 คาดว่าภาคการเกษตรจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยยางพารา จะมีปริมาณผลผลิต ต่อเนื่องตลอดทั้งปี ส่วนราคาน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
เนื่องจากความต้องการใช้ยางในตลาดโลก เพิ่มขึ้น และภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าฟื้นตัว ส่วนปาล์มน้ำมันปริมาณผลผลิตน่าจะลดลง
เนื่องจากต้นปาล์มได้ให้ผลผลิตสูงมากในปีนี้ ทางด้านราคาน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับภาวะการประมง คาดว่าน่าจะลดลง เนื่องจากปัญหาการทำประมงนอก น่านน้ำ ในประเทศอินโดนีเซีย พม่า และมาเลเซีย
ภาคอุตสาหกรรม
ในปี 2543 ภาคอุตสาหกรรมยังคงประสบปัญหาทั้งต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง การ กีดกันทางการค้า และปัญหาการแข่งขันด้านราคาในตลาดต่างประเทศ โดยอุตสาหกรรมยาง มีคู่แข่งสำคัญ
คือ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งค่าเงินต่ำกว่าไทย อุตสาหกรรมอาหารทะเล มีคู่แข่งสำคัญจากอินเดีย และเวียตนาม ส่วนอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูป
ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแปรรูปเป็นชิ้นส่วนสำหรับใช้ประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์ เพื่อส่งออก
ภาคการเงินและการคลัง
ภาวะการเงินการคลังในปี 2543 รัฐบาลยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และจะนำนโยบายการเงินแบบใหม่ที่ใช้การควบคุม
อัตราเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมาย (Inflation Targeting) ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดก็อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้การปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น และลดต้นทุนของผู้ประกอบการที่กู้เงินไปลงทุน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 ได้
อย่างไรก็ตามปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินว่าจะบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด ก็คือ ความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ซึ่งขณะนี้หนี้ NPL ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับภาวะการคลัง การดำเนินนโยบายด้านการคลัง รัฐบาลได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยเริ่มตั้งแต่การจัดทำหนังสือ
แสดงเจตจำนง ฉบับที่ 6 (LOI 6) เป็นต้นมา ซึ่งมีการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล ตลอดจนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาผลกระทบ
ทางสังคม โดยมีมาตรการที่สำคัญ เช่น ลด VAT ชั่วคราว, โครงการ Miyazawa และมาตรการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน
สรุป ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงปี 2543 คือ การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
และใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary Fiscal Policy) คือ จัดทำงบประมาณแบบขาดดุล ซึ่งก็คือการเน้นการใช้จ่ายภาครัฐ
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นั่นเอง
เครื่องชี้ 2541 2542 เปลี่ยนแปลง
ร้อยละ
1. ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ
ยางแผ่นดิบชั้น 3 (บาท/กก.) 25.68 19.76 -23.1
ปาล์มน้ำมันทั้งทะลาย (บาท/กก.) 3.66 2.47 -32.5
ข้าวเปลือกเจ้า 25% (บาท/เมตริกตัน) 7,208.17 4,463.60 -38.1
กาแฟ (บาท/กก.) 62.6 44.25 -29.3
กุ้งกุลาดำ (บาท/กก.) 425.65 393.87 -7.5
2. ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม
ปาล์มน้ำมัน (เมตริกตัน) 2,095,643 4,028,433 92.2
สัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมง
ปริมาณ (เมตริกตัน) 604,674 566,302 -6.3
มูลค่า (ล้านบาท) 14,023.90 11,903.10 -15.1
3. ผลผลิตแร่ (เมตริกตัน)
ดีบุก 2,151.00 3,349.70 55.7
ยิปซั่ม 3090000.5 3418365 10.6
4. ผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (เมตริกตัน)
น้ำมันปาล์มดิบ 342104.2 655996.8 91.8
ยางแท่ง 423747 570561.2 34.6
5. การจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 4,062 4,954 22
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 11,815 13,828 17
รถจักรยานยนต์ 100,964 89,718 -11.1
6. จำนวนชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่าน 1,728,713 1,972,987 14.1
ตรวจคนเข้าเมือง (คน)
มาเลเซีย 817,231 921,623 12.8
สิงคโปร์ 181,702 203,905 12.2
อื่น ๆ 729,780 847,459 16.1
7. การลงทุนของภาคเอกชน
การอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน (ราย) 66 66 0
เงินลงทุน (ล้านบาท) 8,712.90 7,926.30 -9
การจ้างงาน (คน) 15,912 14,357 -9.8
การจดทะเบียนธุรกิจ
จำนวน (ราย) 1,689 2,249 33.2
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 6,676.90 4,659.40 -30.2
พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง (ตารางเมตร) 786471 769900 -2.1
ที่อยู่อาศัย 493393 432464 -12.3
พาณิชยกรรม 143813 109777 -23.7
อื่น ๆ 149265 227659 52.5
8. การค้าระหว่างประเทศ
การส่งออก (ล้านบาท) 122022.6 113745.7 -6.8
ยาง 39,659.20 32,218.90 -18.8
ถุงมือยาง 6,481.70 4,442.90 -31.5
ไม้ยางพารา 1,135.50 2,304.00 102.9
สัตว์น้ำแช่แข็ง 19,791.30 19,180.50 -3.1
อาหารบรรจุกระป๋อง 12,716.60 10,131.30 -20.3
ก๊าซธรรมชาติเหลว 4,053.00 2,987.50 -26.3
แร่ต่าง ๆ (ดีบุก + แร่อื่น ๆ) 5,247.70 4,767.90 -9.1
อื่น ๆ 32,937.60 37,712.70 14.5
การนำเข้า (ล้านบาท) 45,285.10 57,877.10 27.8
เครื่องจักรอุปกรณ์ 10,730.00 25,127.50 134.2
น้ำมันเชื้อเพลิง 660.2 401.3 -39.2
อุปกรณ์ก่อสร้าง 973 1,141.80 17.3
สัตว์น้ำ 7,617.50 6,397.50 -16
อื่น ๆ 25,304.40 24,809.00 -2
9. ภาครัฐบาล
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ (ล้านบาท) 77,618.60 82,717.40 6.6
การจัดเก็บภาษีอากร (ล้านบาท) 16,367.30 13,941.30 -14.8
- สรรพากร 13,393.10 10,933.30 -18.4
- สรรพสามิต 2,123.00 2,074.70 -2.3
- ศุลกากร 851.2 933.3 9.6
10. ดัชนีราคาผู้บริโภค (เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน) 8.6 -0.2
11. การเงิน (ล้านบาท)
การรับจ่ายเงินสด
เงินสดรับ 129486.4 124868 -3.6
เงินสดจ่าย 136910.3 152589.6 11.5
การโอนเงินระหว่างสำนักงานภาคใต้กับ ผู้แทนฯ 96,585.90 96,465.80 -0.1
โอนเข้า 37,840.30 46,009.10 21.6
โอนออก 58,745.60 50,456.70 -14.1
เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณเช็ค (ฉบับ) 4,811,668 4,566,531 -5.1
มูลค่าเช็ค (ล้านบาท) 432181.9 379317.9 -12.2
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็ครับเข้า (ร้อยละ) 2.3 1.6
ธนาคารพาณิชย์
เงินฝาก 230525 232643.6 0.9
เงินให้สินเชื่อ 209263 198661.6 -5.1
สำนักงานอำนวยสินเชื่อ
เงินให้สินเชื่อ 4,634.70 1,406.70 -69.6
ธ.ออมสิน
เงินฝาก 23,479.00 25,942.70 10.5
ธ.ก.ส.
เงินให้สินเชื่อ 16,428.50 17,149.00 4.4
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) 122 155 27
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 1,359.70 2,383.80 75.3
ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
สินเชื่อเพื่อการส่งออก 18,688.00 16,383.60 -12.3
สินเชื่อระยะสั้นอื่น ๆ 5,017.70 3,499.70 -30.3
การซื้อขายหลักทรัพย์ 63,252.20 146123.7 131
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวม ในขณะที่ภาคการเกษตรซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของภาคใต้ยังคงชะลอตัว จากภาวะราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ
โดยเฉพาะราคายางพาราในเดือนสิงหาคม ปี 2542 ที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 66 เดือน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจในช่วง
ไตรมาสสุดท้ายของปี พบว่าภาวะเศรษฐกิจเริ่มกระเตื้องขึ้น การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจคึกคักขึ้น ทั้งในภาคการค้า การลงทุน และปริมาณเงิน
ที่หมุนเวียนในระบบเป็นไปอย่างสะพัด เนื่องจากรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางเพิ่มขึ้นจากภาวะราคาที่ปรับสูงขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้าย
มาตรการต่าง ๆ ของทางการที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่าง ต่อเนื่อง ทั้งมาตรการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 2 โดยเฉพาะการเพิ่มการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณตามโครงการมิยาซาวา และหลังสุดได้ออกมาตรการเพื่อ
สนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน ตลอดจนการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศและเสริมสภาพคล่องให้กับระบบ
การเงิน นั้น ส่งผลดีต่อภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้ทั้งนี้ผลดีจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ทำให้การส่งออกของภาคใต้
กระเตื้องขึ้น สำหรับการท่องเที่ยวได้รับผลดีจากค่าเงินบาทเช่นเดียวกัน ประกอบกับมีการ ประชาสัมพันธ์ปีท่องเที่ยวไทย เหตุการณ์ความไม่สงบ
ภายในประเทศอินโดนีเซีย และภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นตลาดท่องเที่ยวสำคัญเริ่มฟื้นตัว ด้านภาวะการลงทุน ภาคเอกชนมีการจดทะเบียน
ธุรกิจนิติบุคคลมากขึ้น ส่วนกิจการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุน นักลงทุนชาวไทยลดลง ขณะที่นักลงทุนชาวต่างชาติยังคงเข้ามาลงทุนในภาคใต้
อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ส่งผลในทางลบต่อเศรษฐกิจภาคใต้ เนื่องจากกำลังซื้อของประชาชนมีน้อย ซึ่งเป็นผลจากภาวะการชะลอตัว
ของราคาสินค้าเกษตร ทำให้ภาวะการค้าและการ จ้างงานขยายตัวได้ไม่มากนัก ประกอบกับปัจจัยภายนอกประเทศ ทั้งภาวะการแข่งขันด้านราคา
สินค้า การกีดกันทางการค้า ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของตลาดคู่ค้าสำคัญ และค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี รวมทั้งปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ในช่วงครึ่งหลังของปีนั้น ยังทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง อย่างไรก็ตาม ด้านการเงิน สินเชื่อ
ธนาคารพาณิชย์ยังไม่มีการขยายตัว เนื่องจากกลัวปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ทำให้เกิดสภาพคล่องล้นระบบ จึงลดอัตราดอกเบี้ยเงิน
ฝากลงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ในปีนี้ อยู่ที่ระดับ 130.5 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.2 โดยระดับราคาสินค้าหมวดอาหารและ
เครื่องดื่มปรับตัวลดลง ส่วนสินค้าหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน อัตราเงินเฟ้อได้ลดลง
มาก สาเหตุหลักได้แก่การปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2542
สภาพภูมิอากาศในปีที่ผ่านมาและตลอดทั้งปีนี้ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การให้ ผลผลิตทางการเกษตรทั้งในกลุ่มพืช สัตว์น้ำ และปศุสัตว์
เปลี่ยนแปลงไปจากฤดูกาลปกติ และปัจจัยทางด้านอุปทานก็ไม่ส่งผลให้ราคาอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ
ยางพารา ปีนี้ ภาคใต้มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ช่วงการผลัดใบของต้นยางพาราจึงไม่ ยาวนานเหมือนปีที่ผ่านมา ผลผลิตยางพาราจึงเข้า
สู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สถานการณ์ด้านราคา ในเดือนสิงหาคม ยางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรขายได้ ณ ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ ลดลง
หลือเพียงกิโลกรัมละ 16.81 บาท นับเป็นราคาต่ำสุดในรอบ 66 เดือน อย่างไรก็ตามในช่วงไตรมาส สุดท้ายของปีราคามีแนวโน้มดีขึ้น
ปาล์มน้ำมัน สถานการณ์การผลิตในปีนี้ ภาวะฝนทิ้งช่วงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2540 ถึงราวกลางปีที่ผ่านมา ทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน
ในช่วงไตรมาสแรกมีน้อย อย่างไรก็ตามช่วงการเก็บผลผลิตตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากกลายเป็นปัจจัย
สำคัญที่กดดันให้ราคาลดลงมากและรวดเร็ว จากราคาสูงสุด (ปาล์มทะลาย) กิโลกรัมละ 4.96 บาท ในเดือนมกราคม เหลือเพียงกิโลกรัมละ
1.62 บาท ในเดือนกรกฎาคม
ข้าว ผลผลิตข้าวนาปี ฤดูการผลิตปี 2541/2542 ซึ่งปกติออกสู่ตลาดในช่วงต้นปีนั้น ปรากฏว่า ปีนี้ภาคใต้มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และเกิด
อุทกภัยในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงการเก็บผลผลิตข้าวนาปีในแหล่งผลิตสำคัญ อาทิ จังหวัดพัทลุง และนครศรีธรรมราช เสียหายเป็นจำนวนมาก
เกษตรกรจำหน่ายข้าวได้ในราคาค่อนข้างต่ำเนื่องจากมีความชื้นสูง
กาแฟ ช่วงของการแทงช่อดอก และติดดอกของต้นกาแฟในฤดูการผลิตปี 2541/2542 ภาคใต้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงนานกว่าปีปกติ
ปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตลดลงค่อนข้างมาก และเมื่อพิจารณาในส่วนของราคา ปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.25 บาท เทียบกับปีก่อนลดลงร้อยละ
29.3 ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทในไตรมาสแรกปีก่อนอ่อนตัวมากกว่าประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง เป็นผลจากการที่มีการคาดการณ์ว่า ผลผลิต
จากประเทศบราซิลมีจำนวนมากและบราซิลประกาศลดค่าเงินรีล
ไม้ผล ต้นไม้ผลได้รับผลกระทบจากภาวะความแห้งแล้งในปีก่อน ยืนตายเป็นจำนวนมาก ขณะที่ในปีนี้มีฝนตกต่อเนื่องทำให้แตกใบอ่อนแทน
การติดดอก และช่วงปลายปีมีฝนตกหนักไม้ผลที่อยู่ในช่วงการเก็บผลผลิตได้รับความเสียหาย ผลผลิตในปีนี้จึงลดลงมาก
ประมงทะเล ภาวะมรสุมทั้งฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และอันดามัน ปัญหาต้นทุนการทำประมงโดยเฉพาะในส่วนของราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น
ประกอบกับสถานการณ์ความไม่สงบและปัญหาการเข้าไปทำการประมงในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซียกำหนดให้เรือประมงที่ทำการ
ประมงในเขตน้ำลึก ต้องนำปลาที่จับได้ขึ้นฝั่งในประเทศ ตลอดจนสถานการณ์ไม่ปกติตามแนวชายแดนไทย-พม่า และพม่าประกาศปิดน่านน้ำในช่วงปลายปี
ทำให้จำนวนสัตว์น้ำที่จับได้และนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลาลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกัน ปีก่อน
กุ้งกุลาดำ สภาพอากาศโดยทั่วไปที่เอื้ออำนวยในปีนี้ (ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์และธันวาคม) ทำให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงกุ้งได้อย่างต่อเนื่อง
แต่ผลผลิตที่จับจำหน่ายส่วนใหญ่ยังเป็นกุ้งขนาดกลางถึงเล็ก และราคาเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
ของค่าเงินบาท และผลจากภาวะการแข่งขันในตลาดโลก กดดันให้ผู้ประกอบการต้องซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาที่ต่ำลง
ปศุสัตว์ สถานการณ์ด้านการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์จากภาคปศุสัตว์ ข่าวการแพร่ระบาดของไวรัสสมองอักเสบในสุกรในประเทศมาเลเซีย
นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การค้าสุกร ซบเซา โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ภาวะการค้าไก่พันธุ์เนื้อ ขยายตัวในเกณฑ์ดี
แต่เนื่องจากสภาพอากาศโดยรวมในปีนี้ไม่ร้อนจัด ทำให้ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องกดดันให้ราคาที่เกษตรกรจำหน่ายได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ภาคอุตสาหกรรม
ในปี 2542 นั้น การผลิตของภาคอุตสาหกรรมในภาคใต้ส่วนใหญ่ขยายตัวขึ้น อาทิ น้ำมันปาล์ม ยางพารา และ แร่ดีบุก
อุตสาหกรรมเหมืองแร่ การผลิตสินแร่ดีบุกในภาคใต้ปี 2542 ยังคงขยายตัวอย่าง ต่อเนื่องจากปีก่อน ในปีนี้สถิติสินแร่ที่ผลิตได้มีทั้งสิ้น
3,349.7 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.7 ส่วนผลผลิตแร่ยิปซัม เคลื่อนไหวค่อนข้างน้อย เนื่องจากความต้องการของตลาด โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่น
ชะลอการสั่งซื้อลงและหันไปซื้อแร่ยิปซัมจากออสเตรเลียมาใช้ทดแทน เพื่อลดต้นทุนในการผลิต เพราะขณะนี้ตลาดคำนึงถึงราคาสินค้ามากกว่าคุณภาพ
อุตสาหกรรมยาง ปริมาณผลผลิตโดยรวมยังคงขยายตัวประมาณร้อยละ 5 - 7 โดยประเภทของผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอยู่ในรูปของยางแท่ง
ส่วนตลาดส่งออกที่สำคัญยังประกอบด้วยตลาดญี่ปุ่น ร้อยละ 50 ตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรปร้อยละ 30 ตลาดจีนร้อยละ 15 และอื่น ๆ ประมาณ
ร้อยละ 5 ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวของตลาดญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวและมีคำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้น ขณะที่ตลาดจีนอ่อนลงไปมาก เพราะทางการจีนมีข้อจำกัดใน
การจัดสรรโควตาให้ผู้นำเข้าเฉพาะราย เพื่อ ป้องกันเงินตราไหลออกนอกประเทศ ส่วนตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรปยังมีความต้องการอย่าง
ต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม การผลิตเพิ่มขึ้นมาก โดยในปีนี้สามารถผลิตน้ำมันปาล์มได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 95.6 เพราะตั้งแต่ช่วงเดือน
มีนาคมเป็นต้นมา ต้นปาล์มให้ผลผลิตมากเนื่องจากเป็นฤดูให้ผลผลิต ภาวะดังกล่าวทำให้ในบางเวลาปริมาณวัตถุดิบผลปาล์มสดซึ่งเกษตรกรนำมา
จำหน่ายมีมากเกินกว่ากำลังการผลิตของโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มที่สามารถรองรับได้ และกดดันให้ราคาลดลง โดยราคาน้ำมันปาล์มดิบเฉลี่ยกิโลกรัมละ
20.26 บาท ลดลงจากปีก่อนมากถึงร้อยละ 20.8
อุตสาหกรรมอาหารทะเล การผลิตยังไม่คล่องตัวนัก โดยเฉพาะอาหารทะเลกระป๋อง เพราะประสบปัญหาขาดวัตถุดิบในการผลิตและต้นทุน
การผลิตขยับเพิ่มขึ้น ทั้งวัตถุดิบประเภทกุ้ง ปลาหมึกและปลาทะเล โดยเฉพาะหลังจากที่ทางการพม่าได้ตอบโต้ไม่อนุญาตให้เรือประมงเข้าจับปลาหลัง
จากมีเหตุการณ์นักศึกษาพม่าเข้ายึดสถานทูตพม่าในไทย ส่วนความต้องการของตลาดยังมีอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าตลาดมีความเข้มงวดในคุณภาพมากขึ้น
โดยเฉพาะประเด็นความสะอาดและ สุขอนามัยก็ตาม ซึ่งผู้ประกอบการได้ปรับปรุงคุณภาพตามเงื่อนไขแล้ว ดังนั้นมูลค่าอาหารทะเล แช่แข็งส่งออก
ในปีนี้จึงมีเพียง 19,180.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.1 และมูลค่าอาหารทะเลกระป๋อง ส่งออกมีเพียง 10,131.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 20.3
อุตสาหกรรมปลาป่น การผลิตของอุตสาหกรรมปลาป่นตลอดปีนี้ ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ
และราคาวัตถุดิบคงอยู่ในเกณฑ์สูง ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีก่อน ขณะที่ราคาปลาป่นกลับอ่อนตัวลงโดยตลอด นั้นเพราะตลาดอาหารสัตว์ได้ลดการสั่งซื้อปลาป่นลง
และหันไปใช้กากถั่วเหลืองทดแทน เพื่อลดต้นทุนการผลิต ให้สามารถ แข่งขันกันจำหน่ายได้ในตลาด ทำให้ราคาปลาป่นตกต่ำ และฉุดดึงให้ผู้ประกอบการ
ต่างชะลอการผลิตลง สำหรับตลอดปี 2542 นั้น ราคาวัตถุดิบปลาเป็ดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.45 บาท เพิ่มขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 3.41 บาท ร้อยละ
30.5 เมื่อปีก่อน ขณะที่ราคาปลาป่นโปรตีน 60% กิโลกรัมละ 17.84 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 20.56 บาท เมื่อปีก่อนร้อยละ 13.2
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผลดีจากค่าเงิน การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและปัญหาความไม่สงบในประเทศอินโดนีเซีย ประกอบกับ
เศรษฐกิจของหลายประเทศในเอเชียเริ่ม ฟื้นตัว ส่งผลให้ภาวะการท่องเที่ยวคึกคัก มีนักท่องเที่ยวทั้งจากภูมิภาคยุโรปและเอเชียตะวันออกเดินทาง
เข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยในปีนี้ มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาผ่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้จำนวน 1,972,987 คน
เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.1
ภาคการค้าและการลงทุน
ภาวะการค้าของปีนี้เมื่อเปรียบเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการค้ารถยนต์ เนื่องจากภาครัฐได้เร่งออก
มาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการลดอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ส่งผลให้ประชาชนนำเงินออกใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
ส่วนการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่มีจำนวนลดลง เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการได้หันมาจำหน่ายรถจักรยานยนต์มือสองเป็นจำนวนมาก ผู้บริโภค
จึงหันมาซื้อรถมือสองซึ่งมีสภาพดีใกล้เคียงกับ รถใหม่แต่ราคาถูกกว่ามากขึ้น
สำหรับภาวะการลงทุนโดยภาคเอกชนได้มีการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนถึงร้อยละ 30.2 ในขณะ
ที่กิจการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีจำนวนลดลงร้อยละ 9.0 ตามการลดลงของนักลงทุนชาวไทย สำหรับนักลงทุนชาวต่างชาติยังคงเข้า
มาลงทุนในภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ส่วนพื้นที่ก่อสร้างในเขตเทศบาลทั่วภาคใต้มีจำนวนลดลงร้อยละ 2.1 ตามการลดลงของพื้นที่ก่อสร้างทุกประเภท
ยกเว้นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อการบริการได้ ขยายตัว เพิ่มขึ้น เนื่องจากยังคงมีการก่อสร้างโรงแรมและสถานที่พักผ่อนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวอย่าง ต่อเนื่อง
ภาคการค้าระหว่างประเทศ
มูลค่าการส่งออกลดลง เนื่องจากตลาดต่างประเทศชะลอการนำเข้าสินค้า ซึ่งเป็นผลจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ การกีดกันทางการค้า
ประกอบกับการแข่งขันทางด้านราคาสินค้าเกษตรมีสูงมาก รวมทั้งส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงต้นปีด้วย อย่างไรก็ตามจากการ
ที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงไตรมาสที่ 4 ทำให้มูลค่าการส่งออกซึ่งลดลงมากในช่วงครึ่งปีแรก ปรับตัวดีขึ้น โดยในปีนี้ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น
113,745.6 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 6.8 โดยลดลงเกือบทุกประเภทสินค้า ยกเว้นไม้ยางพาราที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว และเป็นที่น่าสังเกตว่าปีนี้ผู้ประกอบการเริ่มมีการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว เพื่อเป็นปัจจัยทุนในการผลิตเพื่อส่งออก
ภาคการเงินการคลัง
ถึงแม้ทางการจะมีมาตรการออกมากระตุ้นและสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง แต่สถาบันการเงินโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์
ยังคงชะลอการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากกลัวปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ทำให้เกิดสภาพคล่องล้นระบบ ธนาคารจึงลดอัตราดอกเบี้ยเงิน
ฝากลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนในการดำเนินงาน สำหรับยอดเงินฝากคงค้างของธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2542 มีจำนวน
238,655.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.2 ส่วนทางด้านสินเชื่ออยู่ในภาวะชะลอตัว โดยมียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนเดียวกันนี้
จำนวน 198,986.8 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.9
สำหรับธุรกิจหลักทรัพย์ มีภาวะการซื้อขายเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินลดลง ไม่จูงใจให้มีการฝากเงิน ประกอบกับ
ราคาหลักทรัพย์อยู่ในระดับต่ำ ทำให้มี นักลงทุนเข้ามาทำการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อเก็งกำไรมากขึ้น โดยมีมูลค่าซื้อขายหลักทรัพย์ของปีนี้ จำนวน
146,123.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนมากกว่า 1 เท่าตัว
สำหรับภาคการคลัง ทางการได้มีมาตรการทางการคลังออกมาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน เพื่อสร้างเสถียรภาพและชะลอการหดตัว
ฃองเศรษฐกิจ และบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติทางเศรษฐกิจต่อประชาชน เช่น การจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล การเลื่อนการนำส่งภาษีเงินได้
นิติบุคคล การเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐตามแผนมิยาซาวา การลดภาษี เป็นต้น สำหรับในส่วนของ ภาคใต้ก็ได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณส่วนราชการเพิ่มขึ้น ตามนโยบายเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาล โดยมีการเบิกในปีนี้ จำนวน 82,717.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 6.6 ส่วนทางด้านภาษี จัดเก็บได้ลดลง ตามการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากอัตราร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 7 เป็นสำคัญ โดยสามารถจัดเก็บได้ จำนวน 13,941.3 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.8 แยกเป็นภาษีสรรพากร จำนวน 10,933.3 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.4 และภาษีสรรพสามิต จำนวน 2,074.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.3 ขณะที่ภาษีศุลกากรจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น โดยจัดเก็บได้จำนวน 933.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ปี 2543
ความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) รวมทั้ง มาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการที่ดำเนินไป
อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนการ ลงทุนภาคเอกชนในช่วงไตรมาสที่ 3 ทั้งการปรับปรุงพิกัดภาษีศุลกากร การสนับสนุนด้านเงินทุน
การฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การปรับโครงสร้างการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจ ตลอดจนการเร่งรัด
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ ภายในประเทศและเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงิน ซึ่งเริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรมในช่วงสิ้นปี 2542
นั้น คงทำให้ภาวะการค้า การลงทุนและการจ้างงานขยายตัว นอกจากนี้ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับผลดีจากค่าเงินตั้งแต่ปี 2540 และการ
ประชาสัมพันธ์ในตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับแนวโน้มขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะตลาดคู่ค้าสำคัญ คาดว่าจะทำให้ราคา
สินค้าเกษตรและมูลค่าการส่งออกของไทยเพิ่มขึ้น คงช่วยกระตุ้นให้ภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้ ขยายตัวได้ต่อเนื่องจากปี 2542 อย่างไรก็ตาม
ยังมีปัจจัยที่น่าจับตามองที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาคใต้ นั่นก็คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543 ข้อตกลงของเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
เริ่มมีผลบังคับใช้ โดยมีการลดภาษีเหลืออัตราร้อยละ 0 — 5 ในสินค้า 15 กลุ่มหลัก เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำมันปาล์ม เป็นต้น ซึ่งจะช่วยขยาย
ตลาดส่งออกของไทย และลดต้นทุนในการผลิตสินค้า ตลอดจนสามารถแข่งขันในอาเซียนและนอกอาเซียนได้
ภาคการเกษตร
ปี 2543 คาดว่าภาคการเกษตรจะขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยยางพารา จะมีปริมาณผลผลิต ต่อเนื่องตลอดทั้งปี ส่วนราคาน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
เนื่องจากความต้องการใช้ยางในตลาดโลก เพิ่มขึ้น และภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าฟื้นตัว ส่วนปาล์มน้ำมันปริมาณผลผลิตน่าจะลดลง
เนื่องจากต้นปาล์มได้ให้ผลผลิตสูงมากในปีนี้ ทางด้านราคาน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับภาวะการประมง คาดว่าน่าจะลดลง เนื่องจากปัญหาการทำประมงนอก น่านน้ำ ในประเทศอินโดนีเซีย พม่า และมาเลเซีย
ภาคอุตสาหกรรม
ในปี 2543 ภาคอุตสาหกรรมยังคงประสบปัญหาทั้งต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง การ กีดกันทางการค้า และปัญหาการแข่งขันด้านราคาในตลาดต่างประเทศ โดยอุตสาหกรรมยาง มีคู่แข่งสำคัญ
คือ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งค่าเงินต่ำกว่าไทย อุตสาหกรรมอาหารทะเล มีคู่แข่งสำคัญจากอินเดีย และเวียตนาม ส่วนอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูป
ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแปรรูปเป็นชิ้นส่วนสำหรับใช้ประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์ เพื่อส่งออก
ภาคการเงินและการคลัง
ภาวะการเงินการคลังในปี 2543 รัฐบาลยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และจะนำนโยบายการเงินแบบใหม่ที่ใช้การควบคุม
อัตราเงินเฟ้อให้เป็นไปตามเป้าหมาย (Inflation Targeting) ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดก็อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้การปรับปรุง
โครงสร้างหนี้ดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น และลดต้นทุนของผู้ประกอบการที่กู้เงินไปลงทุน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 ได้
อย่างไรก็ตามปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินว่าจะบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด ก็คือ ความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ซึ่งขณะนี้หนี้ NPL ได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับภาวะการคลัง การดำเนินนโยบายด้านการคลัง รัฐบาลได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยเริ่มตั้งแต่การจัดทำหนังสือ
แสดงเจตจำนง ฉบับที่ 6 (LOI 6) เป็นต้นมา ซึ่งมีการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล ตลอดจนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและบรรเทาผลกระทบ
ทางสังคม โดยมีมาตรการที่สำคัญ เช่น ลด VAT ชั่วคราว, โครงการ Miyazawa และมาตรการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน
สรุป ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงปี 2543 คือ การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
และใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary Fiscal Policy) คือ จัดทำงบประมาณแบบขาดดุล ซึ่งก็คือการเน้นการใช้จ่ายภาครัฐ
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นั่นเอง
เครื่องชี้ 2541 2542 เปลี่ยนแปลง
ร้อยละ
1. ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญ
ยางแผ่นดิบชั้น 3 (บาท/กก.) 25.68 19.76 -23.1
ปาล์มน้ำมันทั้งทะลาย (บาท/กก.) 3.66 2.47 -32.5
ข้าวเปลือกเจ้า 25% (บาท/เมตริกตัน) 7,208.17 4,463.60 -38.1
กาแฟ (บาท/กก.) 62.6 44.25 -29.3
กุ้งกุลาดำ (บาท/กก.) 425.65 393.87 -7.5
2. ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม
ปาล์มน้ำมัน (เมตริกตัน) 2,095,643 4,028,433 92.2
สัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือประมง
ปริมาณ (เมตริกตัน) 604,674 566,302 -6.3
มูลค่า (ล้านบาท) 14,023.90 11,903.10 -15.1
3. ผลผลิตแร่ (เมตริกตัน)
ดีบุก 2,151.00 3,349.70 55.7
ยิปซั่ม 3090000.5 3418365 10.6
4. ผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (เมตริกตัน)
น้ำมันปาล์มดิบ 342104.2 655996.8 91.8
ยางแท่ง 423747 570561.2 34.6
5. การจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 4,062 4,954 22
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 11,815 13,828 17
รถจักรยานยนต์ 100,964 89,718 -11.1
6. จำนวนชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่าน 1,728,713 1,972,987 14.1
ตรวจคนเข้าเมือง (คน)
มาเลเซีย 817,231 921,623 12.8
สิงคโปร์ 181,702 203,905 12.2
อื่น ๆ 729,780 847,459 16.1
7. การลงทุนของภาคเอกชน
การอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน (ราย) 66 66 0
เงินลงทุน (ล้านบาท) 8,712.90 7,926.30 -9
การจ้างงาน (คน) 15,912 14,357 -9.8
การจดทะเบียนธุรกิจ
จำนวน (ราย) 1,689 2,249 33.2
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 6,676.90 4,659.40 -30.2
พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง (ตารางเมตร) 786471 769900 -2.1
ที่อยู่อาศัย 493393 432464 -12.3
พาณิชยกรรม 143813 109777 -23.7
อื่น ๆ 149265 227659 52.5
8. การค้าระหว่างประเทศ
การส่งออก (ล้านบาท) 122022.6 113745.7 -6.8
ยาง 39,659.20 32,218.90 -18.8
ถุงมือยาง 6,481.70 4,442.90 -31.5
ไม้ยางพารา 1,135.50 2,304.00 102.9
สัตว์น้ำแช่แข็ง 19,791.30 19,180.50 -3.1
อาหารบรรจุกระป๋อง 12,716.60 10,131.30 -20.3
ก๊าซธรรมชาติเหลว 4,053.00 2,987.50 -26.3
แร่ต่าง ๆ (ดีบุก + แร่อื่น ๆ) 5,247.70 4,767.90 -9.1
อื่น ๆ 32,937.60 37,712.70 14.5
การนำเข้า (ล้านบาท) 45,285.10 57,877.10 27.8
เครื่องจักรอุปกรณ์ 10,730.00 25,127.50 134.2
น้ำมันเชื้อเพลิง 660.2 401.3 -39.2
อุปกรณ์ก่อสร้าง 973 1,141.80 17.3
สัตว์น้ำ 7,617.50 6,397.50 -16
อื่น ๆ 25,304.40 24,809.00 -2
9. ภาครัฐบาล
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ (ล้านบาท) 77,618.60 82,717.40 6.6
การจัดเก็บภาษีอากร (ล้านบาท) 16,367.30 13,941.30 -14.8
- สรรพากร 13,393.10 10,933.30 -18.4
- สรรพสามิต 2,123.00 2,074.70 -2.3
- ศุลกากร 851.2 933.3 9.6
10. ดัชนีราคาผู้บริโภค (เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน) 8.6 -0.2
11. การเงิน (ล้านบาท)
การรับจ่ายเงินสด
เงินสดรับ 129486.4 124868 -3.6
เงินสดจ่าย 136910.3 152589.6 11.5
การโอนเงินระหว่างสำนักงานภาคใต้กับ ผู้แทนฯ 96,585.90 96,465.80 -0.1
โอนเข้า 37,840.30 46,009.10 21.6
โอนออก 58,745.60 50,456.70 -14.1
เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณเช็ค (ฉบับ) 4,811,668 4,566,531 -5.1
มูลค่าเช็ค (ล้านบาท) 432181.9 379317.9 -12.2
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็ครับเข้า (ร้อยละ) 2.3 1.6
ธนาคารพาณิชย์
เงินฝาก 230525 232643.6 0.9
เงินให้สินเชื่อ 209263 198661.6 -5.1
สำนักงานอำนวยสินเชื่อ
เงินให้สินเชื่อ 4,634.70 1,406.70 -69.6
ธ.ออมสิน
เงินฝาก 23,479.00 25,942.70 10.5
ธ.ก.ส.
เงินให้สินเชื่อ 16,428.50 17,149.00 4.4
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) 122 155 27
เงินให้สินเชื่อ (ล้านบาท) 1,359.70 2,383.80 75.3
ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
สินเชื่อเพื่อการส่งออก 18,688.00 16,383.60 -12.3
สินเชื่อระยะสั้นอื่น ๆ 5,017.70 3,499.70 -30.3
การซื้อขายหลักทรัพย์ 63,252.20 146123.7 131
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-