ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ยกเลิกเพดานการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อของบริษัทเงินทุน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ในฐานะโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้พิจารณายกเลิกการกำหนดเพดานการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ (ลิสซิ่ง) ให้กับผู้ประกอบการเช่าซื้อของบริษัทเงินทุน (บง.) จากเดิมที่มีการกำหนดเพดานให้ บง.ปล่อยกู้ให้ธุรกิจลิสซิ่งได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินให้กู้ยืม เนื่องจากขณะนี้ช่องทางการหารายได้ของ บง.ส่วนใหญ่มาจากการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ และธุรกิจมีอัตราการขยายตัวสูง หากกำหนดเพดานไว้ในระดับต่ำจะเป็นการจำกัดการเพิ่มรายได้ของ บง. ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ก.คลัง (แนวหน้า, เดลินิวส์ 21)
2. ธปท.หาเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อดูแลและป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท รายงานข่าวจากฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ว่า ธปท.กำลังติดตามการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ในตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น เนื่องจากพบว่ามีการซื้อขายเงินบาทในลักษณะการเก็งกำไรในหลายช่องทาง โดยช่องทางหนึ่งที่ตรวจสอบได้แน่ชัดคือ ผ่านบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ(นอน-เรสซิเดนท์) ซึ่งได้ออกหนังสือแก้ไข ธ.ต.40 มาป้องกันแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ผลทันทีในขณะนี้ เนื่องจากจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 ก.ค.44 ดังนั้น ฝ่ายตลาดการเงินจะเร่งหาเกณฑ์ใหม่หรือแก้ไขเกณฑ์เดิมเพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท ทั้งนี้ ช่องทางที่เอื้อให้เกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาทมากที่สุดขณะนี้ คือการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินของผู้นำเข้า-ส่งออกที่มีช่วงเวลาให้เก็บเงินดอลลาร์หรือถ่ายเทเงินดอลลาร์เพื่อเก็งกำไรค่าเงิน รวมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินบาทของบริษัทขนาดใหญ่ที่กู้เงินได้โดยตรงจากต่างประเทศ (แนวหน้า, ไทยรัฐ 21)
3. ธปท. ไม่อนุมัติเพิ่มวงเงินให้ บลจ. นำไปลงทุนตราสารในต่างประเทศเกิน 50 ล.ดอลลาร์ สรอ. ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) เปิดเผยถึงผลสรุปในการหารือร่วมระหว่าง ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับการเพิ่มวงเงินให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ไปลงทุนตราสารทางการเงินที่ได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกับการลงทุนในต่างประเทศ หรือกองทุนเอ็กซ์เชนจ์ เทรดฟันด์ (ETF) เกินกว่า 50 ล.ดอลลาร์ต่อ 1 ไตรมาสว่า ธปท. ไม่อนุมัติในหลักการดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ยังไม่ควรนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศมากเกินไป รวมทั้งเกรงว่าเมื่อตีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนแล้วจะมีมูลค่าสูงเกินกว่าที่ ธปท. กำหนด(โลกวันนี้, ข่าวสด, 21)
4. จำนวนบริษัทขอจดทะเบียนเลิกกิจการเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.58 ในเดือน เม.ย. 44 อธิบดีกรมทะเบียนการค้า เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 44 มีนิติบุคคลทั่วราชอาณาจักรขอจดทะเบียนเลิกกิจการจำนวน 395 ราย เพิ่มขึ้น 116 ราย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 43 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.58 แบ่งเป็นส่วนกลาง 250 ราย และส่วนภูมิภาค 145 ราย หมวดธุรกิจที่ขอจดทะเบียนเลิกกิจการมากที่สุดคือ หมวดธุรกิจขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคารและโรงแรม(ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด 21)
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นมียอดเกินดุลการค้าเดือน เม.ย.44 ลดลงมากที่สุดในรอบ 18 เดือน รายงานจากโตเกียวเมื่อ 21 พ.ค.44 ก.คลังเปิดเผยว่า เดือน เม.ย.44 ยอดเกินดุลการค้าลดลงอย่างมาก โดยมูลค่าการส่งออกหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือน เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การส่งออกลดลงร้อยละ 1.1 เหลือจำนวน 4.33 ล้านล้านเยน ซึ่งเกิดจากการส่งมอบรถยนต์และผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์ลดลง ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 13.2 และมีจำนวน 3.67 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ เดือน เม.ย. ยอดเกินดุลการค้ามีจำนวน 665.9 พัน ล.เยน (5.39 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 41.6 จากระยะเดียวกันปี 43 ซึ่งมีจำนวน 1,140.8 พัน ล.เยน โดยเกินดุลฯ กับ สรอ.ลดลงร้อยละ 7.4 เหลือจำนวน 669.8 พัน ล.เยน เกินดุลกับสหภาพยุโรป (อียู) ลดลงร้อยละ 18.9 เหลือจำนวน 281.8 พัน ล.เยน และเกินดุลฯ กับประเทศในแถบเอเชีย 167.8 พัน ล.เยน ลดลงถึงร้อยละ 62.1 จากเดือน เม.ย.43 อนึ่ง เมื่อวันที่ 18 มี.ค.44 ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมรายงานว่า เดือน มี.ค.44 ผลผลิตอุตสาหกรรมหลังปรับฤดูกาลลดลงร้อยละ 2.1 จากเดือน ก.พ.44 ไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ได้รายงานก่อนหน้านี้ เทียบกับเดือน ก.พ.44 ที่ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0(รอยเตอร์ 18,21)
2. สรอ. ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 18 พ.ค. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า สรอ. ขาดดุลการค้าในเดือน มี.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เป็นมูลค่า 31.2 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 26.9 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน ก.พ. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 9 ปี เนื่องจากความต้องการนำเข้าสินค้าผู้บริโภคเพิ่มขึ้น โดยการนำเข้า เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 120.64 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 117.2 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน ก.พ. 44 ขณะเดียวกัน การส่งออก ลดลงเหลือมูลค่า 89.46 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 90.39 พัน ล. ดอลลาร์ การขาดดุลการค้าในเดือน มี.ค.44 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า จะมีมูลค่า 29.22 พัน ล. ดอลลาร์ นับว่าสอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจอื่นที่ชะลอตัวลงที่ได้ประกาศก่อนหน้านี้ ยิ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้รัฐบาลจะปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 44 (รอยเตอร์18)
3. จีดีพีของ สิงคโปร์เติบโตร้อยละ 4.5 ในไตรมาสแรกปี 44 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 18 พ.ค. 44 ไตรมาสแรกปี 44 รัฐบาล สิงคโปร์ เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกปี 44 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ขยายตัวร้อยละ 4.5 ลดลงจากประมาณการก่อนหน้านี้ ที่คาดไว้ว่าจะเติบโตร้อยละ 4.6 เทียบปีต่อปี และลดลงร้อยละ 11 จากไตรมาสที่ 4 ปี 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ด้วยว่า จีดีพีของสิงคโปร์จะชะลอตัวลงอีกในไตรมาสที่ 2 ปี 44 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. และความต้องการสินค้าเทคโนโลยีของโลกลดลง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดทั้งปี 44 ไว้ที่อัตราร้อยละ 3.5-5.5 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 ในปี 43 (รอยเตอร์18)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 18 พ.ค. 44 45.407(45.273)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 18 พ.ค. 44ซื้อ 45.1331 (45.0590) ขาย 45.4302 (45.3614)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 6,050 (5,750) ขาย 6,200 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 26.44 (25.52)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.09 (17.29) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ยกเลิกเพดานการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อของบริษัทเงินทุน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ในฐานะโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้พิจารณายกเลิกการกำหนดเพดานการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ (ลิสซิ่ง) ให้กับผู้ประกอบการเช่าซื้อของบริษัทเงินทุน (บง.) จากเดิมที่มีการกำหนดเพดานให้ บง.ปล่อยกู้ให้ธุรกิจลิสซิ่งได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของเงินให้กู้ยืม เนื่องจากขณะนี้ช่องทางการหารายได้ของ บง.ส่วนใหญ่มาจากการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อ และธุรกิจมีอัตราการขยายตัวสูง หากกำหนดเพดานไว้ในระดับต่ำจะเป็นการจำกัดการเพิ่มรายได้ของ บง. ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ก.คลัง (แนวหน้า, เดลินิวส์ 21)
2. ธปท.หาเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อดูแลและป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท รายงานข่าวจากฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ว่า ธปท.กำลังติดตามการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ในตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น เนื่องจากพบว่ามีการซื้อขายเงินบาทในลักษณะการเก็งกำไรในหลายช่องทาง โดยช่องทางหนึ่งที่ตรวจสอบได้แน่ชัดคือ ผ่านบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ(นอน-เรสซิเดนท์) ซึ่งได้ออกหนังสือแก้ไข ธ.ต.40 มาป้องกันแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ผลทันทีในขณะนี้ เนื่องจากจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 ก.ค.44 ดังนั้น ฝ่ายตลาดการเงินจะเร่งหาเกณฑ์ใหม่หรือแก้ไขเกณฑ์เดิมเพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงินบาท ทั้งนี้ ช่องทางที่เอื้อให้เกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาทมากที่สุดขณะนี้ คือการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินของผู้นำเข้า-ส่งออกที่มีช่วงเวลาให้เก็บเงินดอลลาร์หรือถ่ายเทเงินดอลลาร์เพื่อเก็งกำไรค่าเงิน รวมถึงการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินบาทของบริษัทขนาดใหญ่ที่กู้เงินได้โดยตรงจากต่างประเทศ (แนวหน้า, ไทยรัฐ 21)
3. ธปท. ไม่อนุมัติเพิ่มวงเงินให้ บลจ. นำไปลงทุนตราสารในต่างประเทศเกิน 50 ล.ดอลลาร์ สรอ. ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) เปิดเผยถึงผลสรุปในการหารือร่วมระหว่าง ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับการเพิ่มวงเงินให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ไปลงทุนตราสารทางการเงินที่ได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกับการลงทุนในต่างประเทศ หรือกองทุนเอ็กซ์เชนจ์ เทรดฟันด์ (ETF) เกินกว่า 50 ล.ดอลลาร์ต่อ 1 ไตรมาสว่า ธปท. ไม่อนุมัติในหลักการดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ยังไม่ควรนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศมากเกินไป รวมทั้งเกรงว่าเมื่อตีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนแล้วจะมีมูลค่าสูงเกินกว่าที่ ธปท. กำหนด(โลกวันนี้, ข่าวสด, 21)
4. จำนวนบริษัทขอจดทะเบียนเลิกกิจการเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.58 ในเดือน เม.ย. 44 อธิบดีกรมทะเบียนการค้า เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 44 มีนิติบุคคลทั่วราชอาณาจักรขอจดทะเบียนเลิกกิจการจำนวน 395 ราย เพิ่มขึ้น 116 ราย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 43 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.58 แบ่งเป็นส่วนกลาง 250 ราย และส่วนภูมิภาค 145 ราย หมวดธุรกิจที่ขอจดทะเบียนเลิกกิจการมากที่สุดคือ หมวดธุรกิจขายส่ง ขายปลีก ภัตตาคารและโรงแรม(ผู้จัดการรายวัน, ข่าวสด 21)
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นมียอดเกินดุลการค้าเดือน เม.ย.44 ลดลงมากที่สุดในรอบ 18 เดือน รายงานจากโตเกียวเมื่อ 21 พ.ค.44 ก.คลังเปิดเผยว่า เดือน เม.ย.44 ยอดเกินดุลการค้าลดลงอย่างมาก โดยมูลค่าการส่งออกหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือน เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การส่งออกลดลงร้อยละ 1.1 เหลือจำนวน 4.33 ล้านล้านเยน ซึ่งเกิดจากการส่งมอบรถยนต์และผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์ลดลง ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 13.2 และมีจำนวน 3.67 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ เดือน เม.ย. ยอดเกินดุลการค้ามีจำนวน 665.9 พัน ล.เยน (5.39 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 41.6 จากระยะเดียวกันปี 43 ซึ่งมีจำนวน 1,140.8 พัน ล.เยน โดยเกินดุลฯ กับ สรอ.ลดลงร้อยละ 7.4 เหลือจำนวน 669.8 พัน ล.เยน เกินดุลกับสหภาพยุโรป (อียู) ลดลงร้อยละ 18.9 เหลือจำนวน 281.8 พัน ล.เยน และเกินดุลฯ กับประเทศในแถบเอเชีย 167.8 พัน ล.เยน ลดลงถึงร้อยละ 62.1 จากเดือน เม.ย.43 อนึ่ง เมื่อวันที่ 18 มี.ค.44 ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมรายงานว่า เดือน มี.ค.44 ผลผลิตอุตสาหกรรมหลังปรับฤดูกาลลดลงร้อยละ 2.1 จากเดือน ก.พ.44 ไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขเบื้องต้นที่ได้รายงานก่อนหน้านี้ เทียบกับเดือน ก.พ.44 ที่ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0(รอยเตอร์ 18,21)
2. สรอ. ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 18 พ.ค. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า สรอ. ขาดดุลการค้าในเดือน มี.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 เป็นมูลค่า 31.2 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 26.9 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน ก.พ. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 9 ปี เนื่องจากความต้องการนำเข้าสินค้าผู้บริโภคเพิ่มขึ้น โดยการนำเข้า เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 120.64 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 117.2 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน ก.พ. 44 ขณะเดียวกัน การส่งออก ลดลงเหลือมูลค่า 89.46 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 90.39 พัน ล. ดอลลาร์ การขาดดุลการค้าในเดือน มี.ค.44 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า จะมีมูลค่า 29.22 พัน ล. ดอลลาร์ นับว่าสอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจอื่นที่ชะลอตัวลงที่ได้ประกาศก่อนหน้านี้ ยิ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้รัฐบาลจะปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปี 44 (รอยเตอร์18)
3. จีดีพีของ สิงคโปร์เติบโตร้อยละ 4.5 ในไตรมาสแรกปี 44 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 18 พ.ค. 44 ไตรมาสแรกปี 44 รัฐบาล สิงคโปร์ เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกปี 44 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ขยายตัวร้อยละ 4.5 ลดลงจากประมาณการก่อนหน้านี้ ที่คาดไว้ว่าจะเติบโตร้อยละ 4.6 เทียบปีต่อปี และลดลงร้อยละ 11 จากไตรมาสที่ 4 ปี 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ด้วยว่า จีดีพีของสิงคโปร์จะชะลอตัวลงอีกในไตรมาสที่ 2 ปี 44 เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. และความต้องการสินค้าเทคโนโลยีของโลกลดลง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจตลอดทั้งปี 44 ไว้ที่อัตราร้อยละ 3.5-5.5 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 ในปี 43 (รอยเตอร์18)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 18 พ.ค. 44 45.407(45.273)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 18 พ.ค. 44ซื้อ 45.1331 (45.0590) ขาย 45.4302 (45.3614)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 6,050 (5,750) ขาย 6,200 (5,850)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 26.44 (25.52)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.09 (17.29) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-