การก่อร้ายในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ได้ซ้ำเติมสถานการณ์เศรษฐกิจของโลกที่ยังอยู่ในภาวะที่ไม่แน่นอนให้เลวร้ายเพิ่มมากขึ้น ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่า การก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ จะทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวลดลงโดยอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกปีนี้ จะขยายตัวประมาณร้อยละ 2.6 ลดลงจากร้อยละ 3.2 เปรียบเทียบกับที่พยากรณ์ไว้เมื่อเดือน พ.ค. ดังนั้น การส่งออกของไทยในภาพรวมที่มีสหรัฐฯเป็นตลาดคู่ค้าอันดับหนึ่งก็ย่อมจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ดี หากศึกษาลงในรายละเอียดต่อโครงสร้างตลาดการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ จะพบประเด็นสำคัญหรือข้อสังเกตต่อการส่งออกของไทยและประเทศคู่แข่ง ดังนี้
๑. การนำเข้าของสหรัฐฯ ระหว่างเดือน ม.ค. — มิ.ย. 2544 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (ร้อยละ 6.23) แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ 19.97) ส่วนประกอบรถยนต์ (ร้อยละ 6.78) ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 12.38) เครื่องรับโทรศัพท์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 23.4) รถบรรทุก (ร้อยละ 7.97) และ น้ำมันดิบ ( ร้อยละ 5.46) เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการนำเข้าที่ลดลงนั้นจะอยู่ในหมวดสินค้าอิเลคทรอนิกส์ เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าอิเลคทรอนิกส์ของไทยนั้น อยู่ที่ระดับประมาณ ร้อยละ 20 ของการส่งออกรวม ซึ่งต่างจากประเทศคู่แข่งสำคัญของไทยในเอเซียที่มีสัดส่วนดังกล่าวในระดับสูง ส่งผลให้มูลค่านำเข้าของสหรัฐฯจากไทยลดลงเพียง ร้อยละ 1.63 ในขณะที่นำเข้าจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 7.62 เกาหลีใต้ ร้อยละ 3.14 ไต้หวัน ร้อยละ 9.88 มาเลเซียร้อยละ 4.88 สิงคโปร์ร้อยละ 10.16 และ ฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 10.31
๒. ผลจากการที่โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยมีการกระจายตัวที่เหมาะสม ไม่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดสูงเกินไป ฐานะการแข่งขันของไทยในตลาดสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่งในเอเซียด้วยกันจึงอยู่ในสถานะที่มีเสถียรภาพมากกว่า ซึ่งสนับสนุนโดยตัวเลขส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ (เปรียบเทียบระหว่างเดือน ม.ค.-มิ.ย. 2543 กับ ม.ค.-มิ.ย. 2544) โดยที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดลดลงเพียงเล็กน้อยจากร้อยละ 1.25 สู่ 1.23 ในขณะที่ สิงคโปร์ลดลงจาก ร้อยละ 1.52 สู่ 1.35 มาเลเซียลดลงจากร้อยละ 1.99 สู่ 1.85 ฟิลิปปินส์ ลดลงจากร้อยละ 1.10 สู่ 0.98 เกาหลีใต้ ลดลงจากร้อยละ 3.17 สู่ 3.05 และ ไต้หวันลดลงจากร้อยละ 3.29 สู่ 2.95 (รายละเอียดดังเอกสารแนบ)
๓. หากสหรัฐฯดำเนินการตอบโต้ผู้ก่อการร้ายในอนาคตอันใกล้ อาจส่งผลให้ความต้องการสินค้าอุปโภค/บริโภคเพิ่มขึ้น เป็นผลจากทั้งภาวะความไม่มั่นใจของประชาชน และการจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ ดังนั้น สินค้าส่งออกไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารทะเลสดและอาหารทะเลแปรรูป ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดสูงเป็นอันดับหนึ่งในตลาดสหรัฐฯ (กุ้ง ปูสดแช่เย็น ร้อยละ 20.24 และ อาหารทะเลแปรรูป ร้อยละ 43.83) จึงน่าจะได้รับประโยชน์จากภาวะการณ์ดังกล่าว
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-
อย่างไรก็ดี หากศึกษาลงในรายละเอียดต่อโครงสร้างตลาดการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ จะพบประเด็นสำคัญหรือข้อสังเกตต่อการส่งออกของไทยและประเทศคู่แข่ง ดังนี้
๑. การนำเข้าของสหรัฐฯ ระหว่างเดือน ม.ค. — มิ.ย. 2544 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (ร้อยละ 6.23) แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ 19.97) ส่วนประกอบรถยนต์ (ร้อยละ 6.78) ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 12.38) เครื่องรับโทรศัพท์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 23.4) รถบรรทุก (ร้อยละ 7.97) และ น้ำมันดิบ ( ร้อยละ 5.46) เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการนำเข้าที่ลดลงนั้นจะอยู่ในหมวดสินค้าอิเลคทรอนิกส์ เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่สัดส่วนการส่งออกสินค้าอิเลคทรอนิกส์ของไทยนั้น อยู่ที่ระดับประมาณ ร้อยละ 20 ของการส่งออกรวม ซึ่งต่างจากประเทศคู่แข่งสำคัญของไทยในเอเซียที่มีสัดส่วนดังกล่าวในระดับสูง ส่งผลให้มูลค่านำเข้าของสหรัฐฯจากไทยลดลงเพียง ร้อยละ 1.63 ในขณะที่นำเข้าจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 7.62 เกาหลีใต้ ร้อยละ 3.14 ไต้หวัน ร้อยละ 9.88 มาเลเซียร้อยละ 4.88 สิงคโปร์ร้อยละ 10.16 และ ฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 10.31
๒. ผลจากการที่โครงสร้างสินค้าส่งออกของไทยมีการกระจายตัวที่เหมาะสม ไม่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดสูงเกินไป ฐานะการแข่งขันของไทยในตลาดสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศคู่แข่งในเอเซียด้วยกันจึงอยู่ในสถานะที่มีเสถียรภาพมากกว่า ซึ่งสนับสนุนโดยตัวเลขส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ (เปรียบเทียบระหว่างเดือน ม.ค.-มิ.ย. 2543 กับ ม.ค.-มิ.ย. 2544) โดยที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดลดลงเพียงเล็กน้อยจากร้อยละ 1.25 สู่ 1.23 ในขณะที่ สิงคโปร์ลดลงจาก ร้อยละ 1.52 สู่ 1.35 มาเลเซียลดลงจากร้อยละ 1.99 สู่ 1.85 ฟิลิปปินส์ ลดลงจากร้อยละ 1.10 สู่ 0.98 เกาหลีใต้ ลดลงจากร้อยละ 3.17 สู่ 3.05 และ ไต้หวันลดลงจากร้อยละ 3.29 สู่ 2.95 (รายละเอียดดังเอกสารแนบ)
๓. หากสหรัฐฯดำเนินการตอบโต้ผู้ก่อการร้ายในอนาคตอันใกล้ อาจส่งผลให้ความต้องการสินค้าอุปโภค/บริโภคเพิ่มขึ้น เป็นผลจากทั้งภาวะความไม่มั่นใจของประชาชน และการจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ ดังนั้น สินค้าส่งออกไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารทะเลสดและอาหารทะเลแปรรูป ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดสูงเป็นอันดับหนึ่งในตลาดสหรัฐฯ (กุ้ง ปูสดแช่เย็น ร้อยละ 20.24 และ อาหารทะเลแปรรูป ร้อยละ 43.83) จึงน่าจะได้รับประโยชน์จากภาวะการณ์ดังกล่าว
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-