สรุปข่าวในประเทศ
1. กรมการค้าภายในเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อ อธิบดีกรมการค้าภายในเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อ) ของประเทศในเดือน ก.ย.43 เท่ากับ 131.2 สูงขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.42 และสูงขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.43 โดยเฉลี่ยเดือน ม.ค.-ก.ย.43 ดัชนีฯ สูงขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน การที่ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.ย.สูงขึ้น เป็นผลจากเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มในอัตราร้อยละ 0.3 เท่ากับสินค้าในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่คำนวณจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหักรายการสินค้าในกลุ่มอาหารสดและกลุ่มพลังงานออกไปร้อยละ 20 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด พบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในเดือน ก.ย.43 เท่ากับ 127.4 ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.42 สูงขึ้นร้อยละ 0.8 และเมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.43 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ขณะที่ดัชนีฯ เฉลี่ยเดือน ม.ค.-ก.ย.43 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.7 หากพิจารณาจากตัวเลขเฉลี่ยของเงินเฟ้อช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 ทำให้มั่นใจได้ว่า เงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ในระดับเป้าหมายร้อยละ 2.0-2.5 ขณะที่ ธปท.กำหนดเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 1.5. (กรุงเทพธุรกิจ 3)
2. ธปท.แถลงความคืบหน้าการปรับโครงสร้างหนี้ ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท.เปิดเผยความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ของระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน ส.ค.43 ว่า สามารถจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เป็นผลสำเร็จ 294,516 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 1,707,645 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 13,294 ราย หรือร้อยละ 4.73 คิดเป็นมูลหนี้ 50,577 ล.บาท ส่วนลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างเจรจาปรับปรุงโครงสร้างเพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค.43 จำนวน 7,576 ราย แต่ยอดหนี้ลดลง 10,245 ล.บาท เป็นมูลหนี้รวมทั้งสิ้น 762,705 ล.บาท ทำให้มูลหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เฉลี่ยต่อรายลดลง เนื่องจากสถาบันการเงินนำลูกหนี้รายกลางและรายย่อยเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มากขึ้น ขณะที่ลูกหนี้รายใหญ่เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ไปเกือบหมดแล้ว ทั้งนี้ ณ วันที่ 28 ก.ย.43 มีลูกหนี้ที่อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวน 9,602 ราย มูลหนี้ 2,584,903 ล.บาท เป็นลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่ 2,773 ราย มูลหนี้ 2,298,336 ล.บาท ลูกหนี้รายกลางและรายย่อย 6,829 ราย มูลหนี้ 286,567 ล.บาท สำหรับลูกหนี้เป้าหมายที่มีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วมีจำนวน 8,903 ราย มูลหนี้ 2,460,348 ล.บาท หรือร้อยละ 93 ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น (มติชน 3)
3. ธปท.เปิดเผยยอดเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงิน ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ยอดคงค้างสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบสถาบันการเงินในเดือน ส.ค.43 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,593.4 พัน ล. บาท คิดเป็นร้อยละ 31.24 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากเดือน ก.ค.43 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 31.28 โดยเป็นเอ็นพีแอลใหม่เพิ่มขึ้น 17 พัน ล.บาท และเอ็นพีแอลที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีก 25.3 พัน ล.บาท ธุรกิจที่มีเอ็นพีแอลคงค้างสูงสุดได้แก่ ธุรกิจอุตสาหกรรม 393.2 พัน ล.บาท ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 290.6 พัน ล.บาท ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก 258.7 พัน ล.บาท (วัฏจักร 3)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ49.9ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 2 ต. ค. 43 National Association of Purchasing Management (NAPM) รายงานว่า เดือน ก.ย. 43 ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 49.9 จากระดับ 49.5 ในเดือน ส.ค. 43 ซึ่งต่ำกว่าความคาดหมายของตลาดการเงินที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 50. และยังต่ำกว่าระดับ 50 ที่บ่งชี้ว่า ภาวะอุตสาหกรรมฯหดตัว นับเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้น (รอยเตอร์ 2)
2. Business Diffusion Index ของอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +10 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 3 ต.ค.43 รายงานการสำรวจรายไตรมาสของ ธ.กลางญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า Tankan ระบุว่า เดือน ก.ย.43 Business Diffusion Index (DI) ของอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ +10 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากที่อยู่ที่ระดับ +3 ในเดือน มิ.ย.43 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ DI เป็นบวกในรอบเกือบ 3 ปี ทั้งนี้ DI เป็นเครื่องชี้ถึงความเชื่อมั่นของบริษัท อย่างไรก็ตาม DI ของบริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิตยังคงแสดงผลเป็นลบ โดยอยู่ที่ระดับ -9 ซึ่งยังนับว่าสถานการณ์ดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่อยู่ที่ระดับ -12 ในเดือน มิ.ย.43 ขณะเดียวกัน Tankan ยังรายงานด้วยว่า ในปีการเงิน 43/44 บริษัทขนาดใหญ่ได้วางแผนจะใช้จ่ายลงทุนในด้านโรงงานและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนที่พบว่าจะใช้จ่ายฯ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.6 (รอยเตอร์ 3)
3. ดัชนี PMI ของเยอรมนีลดลงอยู่ที่ระดับ 56.5 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 2 ต.ค.43 บริษัทวิจัย NTC รายงานผลการสำรวจ Purchasing Managers' Index (PMI) ซึ่งใช้วัดภาวะอุตสาหกรรมการผลิต ว่า เดือน ก.ย.43 ดัชนี PMI ปรับฤดูกาล ลดลงอยู่ที่ระดับ 56.5 จากระดับ 58.2 ในเดือน ส.ค.43 อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ที่อยู่เหนือระดับ 50 ชี้ว่า อุตสาหกรรมการผลิตอยู่ในภาวะขยายตัว และได้ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 แต่เริ่มขยายตัวอย่างชะลอลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยส่วนประกอบที่สำคัญของดัชนีฯ มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ดัชนีผลผลิตในเดือน ก.ย. 43 อยู่ที่ระดับ 57.9 จากระดับ 58.1 ในเดือน ส.ค.43 ซึ่งยังถือว่าอยู่ในภาวะขยายตัวที่แข็งแกร่ง เนื่องจากบริษัทเพิ่มกำลังการผลิตตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น โดยดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ อยู่ที่ระดับ 55.0 จากระดับ 59.7 ส่วนคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกอยู่ที่ระดับ 56.7 จากระดับ 57.2 ซึ่งยอดรวมของคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 ส่วน ดัชนีราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 73.2 จากระดับ 67.9 ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงสุดเป็นครั้งที่ 2 นับแต่เริ่มมีการสำรวจดัชนีฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ เนื่องมาจากการอ่อนค่าของเงินยูโรและราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์ 2)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 2 ต.ค. 43 42.059 (42.256)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 2 ต.ค. 43
ซื้อ 41.8433 (42.0630) ขาย 42.1607 (42.3655)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.94 (28.25)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. กรมการค้าภายในเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อ อธิบดีกรมการค้าภายในเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อ) ของประเทศในเดือน ก.ย.43 เท่ากับ 131.2 สูงขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.42 และสูงขึ้นร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.43 โดยเฉลี่ยเดือน ม.ค.-ก.ย.43 ดัชนีฯ สูงขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน การที่ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.ย.สูงขึ้น เป็นผลจากเพิ่มขึ้นของสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มในอัตราร้อยละ 0.3 เท่ากับสินค้าในหมวดที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานที่คำนวณจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปหักรายการสินค้าในกลุ่มอาหารสดและกลุ่มพลังงานออกไปร้อยละ 20 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด พบว่าดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานในเดือน ก.ย.43 เท่ากับ 127.4 ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.42 สูงขึ้นร้อยละ 0.8 และเมื่อเทียบกับเดือน ส.ค.43 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 ขณะที่ดัชนีฯ เฉลี่ยเดือน ม.ค.-ก.ย.43 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.7 หากพิจารณาจากตัวเลขเฉลี่ยของเงินเฟ้อช่วง 9 เดือนแรกของปี 43 ทำให้มั่นใจได้ว่า เงินเฟ้อทั้งปีจะอยู่ในระดับเป้าหมายร้อยละ 2.0-2.5 ขณะที่ ธปท.กำหนดเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 1.5. (กรุงเทพธุรกิจ 3)
2. ธปท.แถลงความคืบหน้าการปรับโครงสร้างหนี้ ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท.เปิดเผยความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างหนี้ของระบบสถาบันการเงิน ณ สิ้นเดือน ส.ค.43 ว่า สามารถจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เป็นผลสำเร็จ 294,516 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 1,707,645 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 13,294 ราย หรือร้อยละ 4.73 คิดเป็นมูลหนี้ 50,577 ล.บาท ส่วนลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างเจรจาปรับปรุงโครงสร้างเพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค.43 จำนวน 7,576 ราย แต่ยอดหนี้ลดลง 10,245 ล.บาท เป็นมูลหนี้รวมทั้งสิ้น 762,705 ล.บาท ทำให้มูลหนี้ที่อยู่ระหว่างการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้เฉลี่ยต่อรายลดลง เนื่องจากสถาบันการเงินนำลูกหนี้รายกลางและรายย่อยเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้มากขึ้น ขณะที่ลูกหนี้รายใหญ่เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ไปเกือบหมดแล้ว ทั้งนี้ ณ วันที่ 28 ก.ย.43 มีลูกหนี้ที่อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวน 9,602 ราย มูลหนี้ 2,584,903 ล.บาท เป็นลูกหนี้เป้าหมายรายใหญ่ 2,773 ราย มูลหนี้ 2,298,336 ล.บาท ลูกหนี้รายกลางและรายย่อย 6,829 ราย มูลหนี้ 286,567 ล.บาท สำหรับลูกหนี้เป้าหมายที่มีข้อสรุปในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วมีจำนวน 8,903 ราย มูลหนี้ 2,460,348 ล.บาท หรือร้อยละ 93 ของลูกหนี้กลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น (มติชน 3)
3. ธปท.เปิดเผยยอดเอ็นพีแอลของระบบสถาบันการเงิน ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ยอดคงค้างสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของระบบสถาบันการเงินในเดือน ส.ค.43 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,593.4 พัน ล. บาท คิดเป็นร้อยละ 31.24 ของสินเชื่อรวม ลดลงจากเดือน ก.ค.43 ที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 31.28 โดยเป็นเอ็นพีแอลใหม่เพิ่มขึ้น 17 พัน ล.บาท และเอ็นพีแอลที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอลอีก 25.3 พัน ล.บาท ธุรกิจที่มีเอ็นพีแอลคงค้างสูงสุดได้แก่ ธุรกิจอุตสาหกรรม 393.2 พัน ล.บาท ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 290.6 พัน ล.บาท ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก 258.7 พัน ล.บาท (วัฏจักร 3)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ49.9ในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 2 ต. ค. 43 National Association of Purchasing Management (NAPM) รายงานว่า เดือน ก.ย. 43 ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 49.9 จากระดับ 49.5 ในเดือน ส.ค. 43 ซึ่งต่ำกว่าความคาดหมายของตลาดการเงินที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 50. และยังต่ำกว่าระดับ 50 ที่บ่งชี้ว่า ภาวะอุตสาหกรรมฯหดตัว นับเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้น (รอยเตอร์ 2)
2. Business Diffusion Index ของอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ +10 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 3 ต.ค.43 รายงานการสำรวจรายไตรมาสของ ธ.กลางญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า Tankan ระบุว่า เดือน ก.ย.43 Business Diffusion Index (DI) ของอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นอยู่ที่ระดับ +10 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากที่อยู่ที่ระดับ +3 ในเดือน มิ.ย.43 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ DI เป็นบวกในรอบเกือบ 3 ปี ทั้งนี้ DI เป็นเครื่องชี้ถึงความเชื่อมั่นของบริษัท อย่างไรก็ตาม DI ของบริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิตยังคงแสดงผลเป็นลบ โดยอยู่ที่ระดับ -9 ซึ่งยังนับว่าสถานการณ์ดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่อยู่ที่ระดับ -12 ในเดือน มิ.ย.43 ขณะเดียวกัน Tankan ยังรายงานด้วยว่า ในปีการเงิน 43/44 บริษัทขนาดใหญ่ได้วางแผนจะใช้จ่ายลงทุนในด้านโรงงานและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนที่พบว่าจะใช้จ่ายฯ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 4.6 (รอยเตอร์ 3)
3. ดัชนี PMI ของเยอรมนีลดลงอยู่ที่ระดับ 56.5 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 2 ต.ค.43 บริษัทวิจัย NTC รายงานผลการสำรวจ Purchasing Managers' Index (PMI) ซึ่งใช้วัดภาวะอุตสาหกรรมการผลิต ว่า เดือน ก.ย.43 ดัชนี PMI ปรับฤดูกาล ลดลงอยู่ที่ระดับ 56.5 จากระดับ 58.2 ในเดือน ส.ค.43 อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ที่อยู่เหนือระดับ 50 ชี้ว่า อุตสาหกรรมการผลิตอยู่ในภาวะขยายตัว และได้ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 แต่เริ่มขยายตัวอย่างชะลอลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยส่วนประกอบที่สำคัญของดัชนีฯ มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ดัชนีผลผลิตในเดือน ก.ย. 43 อยู่ที่ระดับ 57.9 จากระดับ 58.1 ในเดือน ส.ค.43 ซึ่งยังถือว่าอยู่ในภาวะขยายตัวที่แข็งแกร่ง เนื่องจากบริษัทเพิ่มกำลังการผลิตตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น โดยดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ อยู่ที่ระดับ 55.0 จากระดับ 59.7 ส่วนคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกอยู่ที่ระดับ 56.7 จากระดับ 57.2 ซึ่งยอดรวมของคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 ส่วน ดัชนีราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 73.2 จากระดับ 67.9 ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงสุดเป็นครั้งที่ 2 นับแต่เริ่มมีการสำรวจดัชนีฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ เนื่องมาจากการอ่อนค่าของเงินยูโรและราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น (รอยเตอร์ 2)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 2 ต.ค. 43 42.059 (42.256)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 2 ต.ค. 43
ซื้อ 41.8433 (42.0630) ขาย 42.1607 (42.3655)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.94 (28.25)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.19 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.44 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-