บรูไนนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกปีหนึ่ง ๆ มูลค่าประมาณ 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าเข้าสำคัญได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องบินและเรือบรรทุกสินค้าขนาดเบา เหล็ก/เหล็กกล้าใช้ในการก่อสร้าง เครื่องมือในการเจาะ แยง ตอก และทำสลักเกลียว ข้าวหอม วัสดุสิ่งทอ รถยนต์ขนาด 1500 - 2000 ซีซี. ผ้าฝ้าย สายไฟฟ้า สายไฟชนิด Optical Fibre โดยมีแหล่งนำเข้าสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย
คู่แข่งจากอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งมีข้อได้เปรียบไทยดังนี้.-
- สิงคโปร์จะได้เปรียบไทยในด้านความสะดวกรวดเร็วในการนำเข้าสินค้า และสามารถจะเสนอขายสินค้าที่มีหลากหลายรายการกว่าในปริมาณการสั่งซื้อสินค้าแต่ละรายการที่น้อยกว่าและในราคาที่สามารถแข่งขันกับไทยได้ รวมทั้งระยะทางขนส่งสินค้าที่ใกล้กว่า การที่เที่ยวบินและเรือบรรทุกสินค้าติดต่อขนส่งสินค้ากับบรูไนโดยมีระวางบรรทุกสินค้าที่มากและถี่กว่า
- มาเลเซียจะได้เปรียบไทยกรณีสินค้าอาหารในด้านความเชื่อถือสินค้าอาหารฮาลาลที่นำเข้าจากมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิม และการที่บรูไนไปร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารในประเทศมาเลเซียไว้มาก นอกจากนี้ ในกรณีของสินค้าอื่น ๆ โดยทั่วไป การที่บรูไนมีพรมแดนติดกับรัฐซาราวัค และซาบาร์ของมาเลเซีย และมีประชากรที่มีเชื้อสายเดียวกัน ใช้ภาษามาเลย์เหมือนกัน ยังทำให้มาเลเซียมีความได้เปรียบในด้านการค้าชายแดน ความสะดวกในการติดต่อธุรกิจ ความสะดวกในการนำเข้าสินค้าและระยะทางขนส่งสินค้าที่ใกล้กว่า รวมทั้งความได้เปรียบในด้านรูปแบบสินค้าที่ผลิตเพื่อตอบสนองรสนิยมของผู้บริโภคที่คล้ายคลึงกัน
- อินโดนีเซียมีความได้เปรียบในแง่ราคาสินค้า ระยะทางการขนส่ง ตลอดจนภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและรสนิยมผู้บริโภคที่คล้ายคลึงกัน
- สำหรับประเทศไทยมีความได้เปรียบประเทศคู่แข่งขันเหล่านี้ในแง่คุณภาพของสินค้า เช่น สินค้าข้าว น้ำตาล วัสดุก่อสร้าง เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน อาหาร ผัก ผลไม้ และได้เปรียบในแง่รูปแบบของสินค้าที่ได้รับความนิยมจากตลาดมากกว่า เช่น เครื่องสุขภัณฑ์เซรามิค ผลิตภัณฑ์พลาสติก และได้เปรียบในความเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของบริษัทแม่ในต่างประเทศ เช่น สินค้ารถยนต์บางยี่ห้อ บางรุ่น เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยยังมีความได้เปรียบในด้านทักษะและค่าจ้าง/ค่าบริการของแรงงานไทยในประเทศบรูไน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศบรูไนได้หดตัวลงอย่างมาก
สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดสินค้านำเข้าบรูไน
ได้แก่ ข้าว น้ำตาลทราย ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลไม้สดแช่เย็นและแช่แข็ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว
สินค้าที่บรูไนนำเข้าจากไทยมากแต่ในปัจจุบันกำลังประสบปัญหาที่ทำให้การนำเข้าลดลงแต่มีโอกาสที่จะนำเข้าเพิ่มขึ้นเช่นเดิมหากปัญหาที่เกิดขึ้นคลี่คลาย ได้แก่ ปูนซีเมนต์ เครื่องปรับอากาศ เหล็ก และเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีปัญหาการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในบรูไนหดตัวลงประมาณร้อยละ 70 ตามสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
ในกลุ่มสินค้านำเข้ารายการสำคัญ 10 รายการแรกของบรูไนปรากฎว่าโดยส่วนใหญ่มีการนำเข้าจากไทยเพียงเล็กน้อย ยกเว้นสินค้าบางรายการ ได้แก่รถยนต์ขนาด 1500 - 2000 ซีซี. วัสดุสิ่งทอ และวัสดุโครงสร้างเหล็ก/เหล็กกล้า ที่พอมีศักยภาพในตลาดนำเข้าของบรูไน
สินค้ารายการสำคัญที่นำเข้าจากไทยรายการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น ได้แก่ ยารักษาโรค รถยนต์ขนาด 100 - 1500 ซีซี. อาหารสัตว์ Cement Clinkers ของเล่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก ท่อสแตนเลสสตีล ท่อเหล็กหรือโลหะอื่น ๆ กระเบื้องปูพื้นเซรามิค เฟอร์นิเจอร์เหล็ก เกลือ ชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้บนโต๊ะ อาหาร/เครื่องครัวที่ทำจากพลาสติกข้อกีดกันทางการค้า/ข้อจำกัดทางการค้า
ข้อกีดกันทางการค้า
ไม่มีการกีดกันทางการค้าสำหรับประเทศหนึ่งประเทศใด หรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ
ข้อจำกัดทางการค้า
ข้อจำกัดในทางการค้าที่สำคัญ คือ ข้อบังคับเกี่ยวกับการกำหนดสินค้าอาหารฮาลาล ซึ่งบรูไนค่อนข้างเคร่งครัด โดยเฉพาะเนื้อโค กระบือ แพะ แกะ ไก่ ต้องเป็นสินค้าฮาลาล ซึ่งบรูไนจะต้องไปตรวจโรงงานผลิตกรรมวิธีการผลิต การเก็บรักษา ฯลฯ และเมื่อให้การรับรองแล้วจึงจะส่งสินค้าเข้าบรูไนได้ ถ้ายังไม่รับรองแม้องค์การศาสนา อิสลามในประเทศผู้ส่งออกนั้น ๆ จะให้การรับรองแล้วก็ตามก็ยังไม่อาจส่งเข้าไปจำหน่ายในบรูไนได้ ทั้งนี้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ คือ กระทรวงศาสนาและกรมเกษตร Ministry of Industry and Primary Resources มาตรการทางภาษีและมิใช่ภาษี
มาตรการทางด้านภาษีมีน้อยมาก เท่าที่เคยปรากฏสินค้ารถยนต์เดิมภาษีนำเข้าร้อยละ 20 ของราคา แต่ขณะนี้เก็บตามขนาดเครื่องยนต์ตั้งแต่ร้อยละ 40 สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 100 ซีซี. ถึงร้อยละ 200 สำหรับรถที่เกิน 400 ซีซี.
ส่วนมาตรการที่มิใช่ภาษี ได้แก่
- การกำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัย (Sanitary and Phytosanitary) บรูไนกำหนดมาตรฐานของสารพิษตกค้างในผักผลไม้ที่นำเข้า ดังนี้.-
Fungicide ไม่เกิน 2 ppm
Insecticide ไม่เกิน 1 ppm
โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูแล คือ กรมเกษตร Ministry of Industry and Primary Resources
- การควบคุมการนำเข้า ซึ่งจะต้องขออนุญาตนำเข้า โดยมีการกำหนดโควต้านำเข้าสำหรับสินค้าบางชนิดเพื่อปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศ และจะต้องนำเข้าไม่เกินโควต้าที่ได้รับ ได้แก่ สินค้าปูนซีเมนต์
- การขอความร่วมมือให้ผู้นำเข้าเลิกนำเข้าและหันมาใช้ของที่ผลิตภายในประเทศเป็นการชั่วคราว โดยมิได้ออกมาตรการห้ามนำเข้าโดยตรง ได้แก่ สินค้าปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ เนื่องจากความต้องการในประเทศหดตัวลงมาก บรูไนจึงขอความร่วมมือผู้นำเข้าซึ่งมีเพียงไม่กี่ราย ในการไม่นำเข้าปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 เป็นต้น แต่ยังคงให้นำเข้า Cement Clinker ได้
- การห้ามนำเข้า
พิธีการศุลกากร
ไม่ค่อยมีปัญหายุ่งยากระเบียบปฏิบัติ ถ้าเป็นสินค้าทั่ว ๆ ไปก็ต้องทำพิธีการโดยกรอกข้อความตามแบบพิมพ์เสียภาษีตามรายการสินค้าที่มีอัตราภาษี ถ้าเป็นสินค้าควบคุมก็ต้องแสดงใบอนุญาตประกอบเอกสารอื่น ๆ เช่น C/O ใบตรวจโรค เอกสารแสดงว่าเป็นสินค้าฮาลาล ฯลฯ ซึ่งขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละชนิดที่มีข้อบังคับแตกต่างออกไปจากสินค้าปกติทั่วไป
ใบอนุญาตนำเข้า
ใบอนุญาตนำเข้าขอได้จากหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเป็นสินค้าชนิดใด เช่น ยา ขออนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข ข้าว น้ำตาล ขออนุญาตจาก Information Technology and State Store Department ไก่และเนื้อสัตว์ ขออนุญาตจาก Customs Department เป็นต้น
สิทธิการนำเข้าชั่วคราว
บรูไนอนุญาตให้มีการนำเข้าชั่วคราวเพื่อ Re-export หรือผลิตเพื่อการส่งออกได้ โดยมีโกดังหรือเขตพักสินค้าที่ท่าเรือ
สินค้าที่ห้ามนำเข้า (Prohibition)
ได้แก่ สินค้าที่ขัดกับข้อกำหนดฮาลาล ได้แก่ เนื้อไก่สด/แช่แข็ง สินค้าที่ขัดกับประเพณีและขนบธรรมเนียมอันดีงาม ได้แก่ ภาพและสิ่งพิมพ์ลามกอนาจาร เป็นต้น สินค้าที่ขัดกับหลักข้อปฏิบัติของศาสนาอิสลาม เช่น เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ และสินค้าที่ขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สินค้าปลอม เป็นต้น รวมทั้งสิ้นค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานด้านสุขอนามัย
การจำกัดปริมาณการนำเข้าสินค้า
มีการกำหนดโควต้า เช่น ปูนซิเมนต์ หรือสินค้าอื่น ๆ ที่ทางการกำหนดขึ้นเป็นราย ๆ หรือครั้งคราวตามภาวะเศรษฐกิจข้อกำหนดพิเศษทางการนำเข้า มีตามชนิดสินค้า เช่น การนำเข้าต้นไม้ ห้ามนำดินติดเข้าไปด้วย เป็นต้น เนื่องจากต้องการควบคุมทางด้านโรคพืช
กรมควบคุมการจัดซื้อของหน่วยงานรัฐ
จัดซื้อโดยการประมูลราคา ผู้ปฏิบัติ คือ หน่วยงานระดับกรม ผู้อนุมัติเป็นระดับกระทรวงการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นไปอย่างเสรี (Free Remittance) สามารถแลกเปลี่ยนเงินได้ที่ธนาคารพาณิชย์และร้านแลกเปลี่ยนเงินตรา ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วเงิน Bruneian Dollar มีค่าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันกับค่าของเงิน Singapore Dollar
มาตรฐานสินค้า
ไม่มี มีเพียงข้อกำหนดบางรายการเกี่ยวกับคุณสมบัติสินค้าบางชนิด
ข้อกำหนดในการปิดฉลากและเครื่องหมายทางการค้า
ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องมีข้อความใดบ้าง
การเดินทางเข้าประเทศ
โดยทั่วไปต้องทำวีซ่าก่อนเดินทาง แต่สำหรับประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่จุดตรวจคนเข้าเมืองในประเทศบรูไนได้ สิทธิตามข้อตกลงของกลุ่มอาเซียนมีระยะเวลาอยู่ในบรูไนได้ 2 สัปดาห์ แต่ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่บรูไนบางคนจะถือหลักพิจารณาดังนี้
- ให้อยู่เพียงวันที่ระบุวันกลับในตั๋วเครื่องบิน
- ต้องแสดงเงินสด (เหรียญบรูไนหรือสิงคโปร์) โดยจะให้วีซ่า 1 วันต่อเงิน 100 เหรียญ
กรณีดังกล่าวจึงสร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศบรูไนอยู่บ้างหากพบกับเจ้าหน้าที่ประเภทดังกล่าวรสนิยมความต้องการสินค้า พฤติกรรมผู้บริโภคทั่วไป
รสนิยมมีทั้งที่เป็นรสนิยมเฉพาะประเพณีท้องถิ่น ไม่ว่าอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ เป็นรสนิยมแบบมาเลย์ (Malay Style) ส่วนรสนิยมที่เป็นสากลมีรูปแบบเป็นเหมือนกับประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย
ความต้องการสินค้า ต้องการสินค้าเร็วให้ทันตามต้องการกระแสนิยมของตลาดหรือเวลากำหนดส่งมอบของให้ทางราชการ (กรณีประมูล) ดังนั้น การขนส่งทางเรือที่ไม่มีเรือเดินตรงระหว่างประเทศไทย-บรูไน จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์และมาเลเซีย ส่วนปริมาณสินค้าที่ต้องการนั้น ในช่วงเทศกาล เช่น ปีใหม่ เดือนถือศีลอด และช่วงตรุษจีน จะมีความต้องการสูง
พฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วไป ประเภทอาหารต้องเป็นอาหารฮาลาลสำหรับคนบรูไนเชื้อสายมาเลย์ประเภทเครื่องใช้จะต้องมีตรายี่ห้อที่มีชื่อเสียง แม้เป็นตราปลอมหรือเลียนแบบก็นิยมกันมากกว่าชนิดของแท้ที่มีตรายี่ห้อธรรมดา การบริโภคสิ้นเปลืองง่ายรวดเร็ว การระวังรักษาซ่อมแซมจะมีค่อนข้างน้อย เพราะค่าบริการซ่อมสูงมากเมื่อเทียบกับราคาสินค้าที่ซ่อม เว้นแต่สินค้าใหญ่ ๆ เช่น รถยนต์ เครื่องจักร ฯลฯ เมื่อหมดความต้องการหรือเสียแล้วมักจะทิ้งไปเลย
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่าย นอกจากการจำหน่ายโดยฝ่ายผู้นำเข้าโดยทั่วไปแล้ว การจำหน่ายผ่านเอเย่นต์เป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ตลาดขยายตัวออกไปได้ ทั้งนี้เพราะเอเย่นต์จะเป็นผู้ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ แต่การเลือกเอเย่นต์จะต้องระมัดระวังด้วย
(ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 18/2543 วันที่ 30 กันยายน 2543--
-อน-
คู่แข่งจากอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งมีข้อได้เปรียบไทยดังนี้.-
- สิงคโปร์จะได้เปรียบไทยในด้านความสะดวกรวดเร็วในการนำเข้าสินค้า และสามารถจะเสนอขายสินค้าที่มีหลากหลายรายการกว่าในปริมาณการสั่งซื้อสินค้าแต่ละรายการที่น้อยกว่าและในราคาที่สามารถแข่งขันกับไทยได้ รวมทั้งระยะทางขนส่งสินค้าที่ใกล้กว่า การที่เที่ยวบินและเรือบรรทุกสินค้าติดต่อขนส่งสินค้ากับบรูไนโดยมีระวางบรรทุกสินค้าที่มากและถี่กว่า
- มาเลเซียจะได้เปรียบไทยกรณีสินค้าอาหารในด้านความเชื่อถือสินค้าอาหารฮาลาลที่นำเข้าจากมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิม และการที่บรูไนไปร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารในประเทศมาเลเซียไว้มาก นอกจากนี้ ในกรณีของสินค้าอื่น ๆ โดยทั่วไป การที่บรูไนมีพรมแดนติดกับรัฐซาราวัค และซาบาร์ของมาเลเซีย และมีประชากรที่มีเชื้อสายเดียวกัน ใช้ภาษามาเลย์เหมือนกัน ยังทำให้มาเลเซียมีความได้เปรียบในด้านการค้าชายแดน ความสะดวกในการติดต่อธุรกิจ ความสะดวกในการนำเข้าสินค้าและระยะทางขนส่งสินค้าที่ใกล้กว่า รวมทั้งความได้เปรียบในด้านรูปแบบสินค้าที่ผลิตเพื่อตอบสนองรสนิยมของผู้บริโภคที่คล้ายคลึงกัน
- อินโดนีเซียมีความได้เปรียบในแง่ราคาสินค้า ระยะทางการขนส่ง ตลอดจนภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและรสนิยมผู้บริโภคที่คล้ายคลึงกัน
- สำหรับประเทศไทยมีความได้เปรียบประเทศคู่แข่งขันเหล่านี้ในแง่คุณภาพของสินค้า เช่น สินค้าข้าว น้ำตาล วัสดุก่อสร้าง เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน อาหาร ผัก ผลไม้ และได้เปรียบในแง่รูปแบบของสินค้าที่ได้รับความนิยมจากตลาดมากกว่า เช่น เครื่องสุขภัณฑ์เซรามิค ผลิตภัณฑ์พลาสติก และได้เปรียบในความเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของบริษัทแม่ในต่างประเทศ เช่น สินค้ารถยนต์บางยี่ห้อ บางรุ่น เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยยังมีความได้เปรียบในด้านทักษะและค่าจ้าง/ค่าบริการของแรงงานไทยในประเทศบรูไน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศบรูไนได้หดตัวลงอย่างมาก
สินค้าไทยที่มีศักยภาพในตลาดสินค้านำเข้าบรูไน
ได้แก่ ข้าว น้ำตาลทราย ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลไม้สดแช่เย็นและแช่แข็ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว
สินค้าที่บรูไนนำเข้าจากไทยมากแต่ในปัจจุบันกำลังประสบปัญหาที่ทำให้การนำเข้าลดลงแต่มีโอกาสที่จะนำเข้าเพิ่มขึ้นเช่นเดิมหากปัญหาที่เกิดขึ้นคลี่คลาย ได้แก่ ปูนซีเมนต์ เครื่องปรับอากาศ เหล็ก และเหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีปัญหาการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในบรูไนหดตัวลงประมาณร้อยละ 70 ตามสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
ในกลุ่มสินค้านำเข้ารายการสำคัญ 10 รายการแรกของบรูไนปรากฎว่าโดยส่วนใหญ่มีการนำเข้าจากไทยเพียงเล็กน้อย ยกเว้นสินค้าบางรายการ ได้แก่รถยนต์ขนาด 1500 - 2000 ซีซี. วัสดุสิ่งทอ และวัสดุโครงสร้างเหล็ก/เหล็กกล้า ที่พอมีศักยภาพในตลาดนำเข้าของบรูไน
สินค้ารายการสำคัญที่นำเข้าจากไทยรายการอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น ได้แก่ ยารักษาโรค รถยนต์ขนาด 100 - 1500 ซีซี. อาหารสัตว์ Cement Clinkers ของเล่น ผลิตภัณฑ์พลาสติก ท่อสแตนเลสสตีล ท่อเหล็กหรือโลหะอื่น ๆ กระเบื้องปูพื้นเซรามิค เฟอร์นิเจอร์เหล็ก เกลือ ชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้บนโต๊ะ อาหาร/เครื่องครัวที่ทำจากพลาสติกข้อกีดกันทางการค้า/ข้อจำกัดทางการค้า
ข้อกีดกันทางการค้า
ไม่มีการกีดกันทางการค้าสำหรับประเทศหนึ่งประเทศใด หรือกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดโดยเฉพาะ
ข้อจำกัดทางการค้า
ข้อจำกัดในทางการค้าที่สำคัญ คือ ข้อบังคับเกี่ยวกับการกำหนดสินค้าอาหารฮาลาล ซึ่งบรูไนค่อนข้างเคร่งครัด โดยเฉพาะเนื้อโค กระบือ แพะ แกะ ไก่ ต้องเป็นสินค้าฮาลาล ซึ่งบรูไนจะต้องไปตรวจโรงงานผลิตกรรมวิธีการผลิต การเก็บรักษา ฯลฯ และเมื่อให้การรับรองแล้วจึงจะส่งสินค้าเข้าบรูไนได้ ถ้ายังไม่รับรองแม้องค์การศาสนา อิสลามในประเทศผู้ส่งออกนั้น ๆ จะให้การรับรองแล้วก็ตามก็ยังไม่อาจส่งเข้าไปจำหน่ายในบรูไนได้ ทั้งนี้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ คือ กระทรวงศาสนาและกรมเกษตร Ministry of Industry and Primary Resources มาตรการทางภาษีและมิใช่ภาษี
มาตรการทางด้านภาษีมีน้อยมาก เท่าที่เคยปรากฏสินค้ารถยนต์เดิมภาษีนำเข้าร้อยละ 20 ของราคา แต่ขณะนี้เก็บตามขนาดเครื่องยนต์ตั้งแต่ร้อยละ 40 สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 100 ซีซี. ถึงร้อยละ 200 สำหรับรถที่เกิน 400 ซีซี.
ส่วนมาตรการที่มิใช่ภาษี ได้แก่
- การกำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัย (Sanitary and Phytosanitary) บรูไนกำหนดมาตรฐานของสารพิษตกค้างในผักผลไม้ที่นำเข้า ดังนี้.-
Fungicide ไม่เกิน 2 ppm
Insecticide ไม่เกิน 1 ppm
โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูแล คือ กรมเกษตร Ministry of Industry and Primary Resources
- การควบคุมการนำเข้า ซึ่งจะต้องขออนุญาตนำเข้า โดยมีการกำหนดโควต้านำเข้าสำหรับสินค้าบางชนิดเพื่อปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศ และจะต้องนำเข้าไม่เกินโควต้าที่ได้รับ ได้แก่ สินค้าปูนซีเมนต์
- การขอความร่วมมือให้ผู้นำเข้าเลิกนำเข้าและหันมาใช้ของที่ผลิตภายในประเทศเป็นการชั่วคราว โดยมิได้ออกมาตรการห้ามนำเข้าโดยตรง ได้แก่ สินค้าปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ เนื่องจากความต้องการในประเทศหดตัวลงมาก บรูไนจึงขอความร่วมมือผู้นำเข้าซึ่งมีเพียงไม่กี่ราย ในการไม่นำเข้าปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่เดือนเมษายน 2542 เป็นต้น แต่ยังคงให้นำเข้า Cement Clinker ได้
- การห้ามนำเข้า
พิธีการศุลกากร
ไม่ค่อยมีปัญหายุ่งยากระเบียบปฏิบัติ ถ้าเป็นสินค้าทั่ว ๆ ไปก็ต้องทำพิธีการโดยกรอกข้อความตามแบบพิมพ์เสียภาษีตามรายการสินค้าที่มีอัตราภาษี ถ้าเป็นสินค้าควบคุมก็ต้องแสดงใบอนุญาตประกอบเอกสารอื่น ๆ เช่น C/O ใบตรวจโรค เอกสารแสดงว่าเป็นสินค้าฮาลาล ฯลฯ ซึ่งขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละชนิดที่มีข้อบังคับแตกต่างออกไปจากสินค้าปกติทั่วไป
ใบอนุญาตนำเข้า
ใบอนุญาตนำเข้าขอได้จากหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเป็นสินค้าชนิดใด เช่น ยา ขออนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข ข้าว น้ำตาล ขออนุญาตจาก Information Technology and State Store Department ไก่และเนื้อสัตว์ ขออนุญาตจาก Customs Department เป็นต้น
สิทธิการนำเข้าชั่วคราว
บรูไนอนุญาตให้มีการนำเข้าชั่วคราวเพื่อ Re-export หรือผลิตเพื่อการส่งออกได้ โดยมีโกดังหรือเขตพักสินค้าที่ท่าเรือ
สินค้าที่ห้ามนำเข้า (Prohibition)
ได้แก่ สินค้าที่ขัดกับข้อกำหนดฮาลาล ได้แก่ เนื้อไก่สด/แช่แข็ง สินค้าที่ขัดกับประเพณีและขนบธรรมเนียมอันดีงาม ได้แก่ ภาพและสิ่งพิมพ์ลามกอนาจาร เป็นต้น สินค้าที่ขัดกับหลักข้อปฏิบัติของศาสนาอิสลาม เช่น เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ และสินค้าที่ขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น กฎหมายที่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สินค้าปลอม เป็นต้น รวมทั้งสิ้นค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานด้านสุขอนามัย
การจำกัดปริมาณการนำเข้าสินค้า
มีการกำหนดโควต้า เช่น ปูนซิเมนต์ หรือสินค้าอื่น ๆ ที่ทางการกำหนดขึ้นเป็นราย ๆ หรือครั้งคราวตามภาวะเศรษฐกิจข้อกำหนดพิเศษทางการนำเข้า มีตามชนิดสินค้า เช่น การนำเข้าต้นไม้ ห้ามนำดินติดเข้าไปด้วย เป็นต้น เนื่องจากต้องการควบคุมทางด้านโรคพืช
กรมควบคุมการจัดซื้อของหน่วยงานรัฐ
จัดซื้อโดยการประมูลราคา ผู้ปฏิบัติ คือ หน่วยงานระดับกรม ผู้อนุมัติเป็นระดับกระทรวงการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นไปอย่างเสรี (Free Remittance) สามารถแลกเปลี่ยนเงินได้ที่ธนาคารพาณิชย์และร้านแลกเปลี่ยนเงินตรา ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วเงิน Bruneian Dollar มีค่าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันกับค่าของเงิน Singapore Dollar
มาตรฐานสินค้า
ไม่มี มีเพียงข้อกำหนดบางรายการเกี่ยวกับคุณสมบัติสินค้าบางชนิด
ข้อกำหนดในการปิดฉลากและเครื่องหมายทางการค้า
ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องมีข้อความใดบ้าง
การเดินทางเข้าประเทศ
โดยทั่วไปต้องทำวีซ่าก่อนเดินทาง แต่สำหรับประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่จุดตรวจคนเข้าเมืองในประเทศบรูไนได้ สิทธิตามข้อตกลงของกลุ่มอาเซียนมีระยะเวลาอยู่ในบรูไนได้ 2 สัปดาห์ แต่ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่บรูไนบางคนจะถือหลักพิจารณาดังนี้
- ให้อยู่เพียงวันที่ระบุวันกลับในตั๋วเครื่องบิน
- ต้องแสดงเงินสด (เหรียญบรูไนหรือสิงคโปร์) โดยจะให้วีซ่า 1 วันต่อเงิน 100 เหรียญ
กรณีดังกล่าวจึงสร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้ที่เดินทางเข้าประเทศบรูไนอยู่บ้างหากพบกับเจ้าหน้าที่ประเภทดังกล่าวรสนิยมความต้องการสินค้า พฤติกรรมผู้บริโภคทั่วไป
รสนิยมมีทั้งที่เป็นรสนิยมเฉพาะประเพณีท้องถิ่น ไม่ว่าอาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ เป็นรสนิยมแบบมาเลย์ (Malay Style) ส่วนรสนิยมที่เป็นสากลมีรูปแบบเป็นเหมือนกับประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย
ความต้องการสินค้า ต้องการสินค้าเร็วให้ทันตามต้องการกระแสนิยมของตลาดหรือเวลากำหนดส่งมอบของให้ทางราชการ (กรณีประมูล) ดังนั้น การขนส่งทางเรือที่ไม่มีเรือเดินตรงระหว่างประเทศไทย-บรูไน จึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับสิงคโปร์และมาเลเซีย ส่วนปริมาณสินค้าที่ต้องการนั้น ในช่วงเทศกาล เช่น ปีใหม่ เดือนถือศีลอด และช่วงตรุษจีน จะมีความต้องการสูง
พฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วไป ประเภทอาหารต้องเป็นอาหารฮาลาลสำหรับคนบรูไนเชื้อสายมาเลย์ประเภทเครื่องใช้จะต้องมีตรายี่ห้อที่มีชื่อเสียง แม้เป็นตราปลอมหรือเลียนแบบก็นิยมกันมากกว่าชนิดของแท้ที่มีตรายี่ห้อธรรมดา การบริโภคสิ้นเปลืองง่ายรวดเร็ว การระวังรักษาซ่อมแซมจะมีค่อนข้างน้อย เพราะค่าบริการซ่อมสูงมากเมื่อเทียบกับราคาสินค้าที่ซ่อม เว้นแต่สินค้าใหญ่ ๆ เช่น รถยนต์ เครื่องจักร ฯลฯ เมื่อหมดความต้องการหรือเสียแล้วมักจะทิ้งไปเลย
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่าย นอกจากการจำหน่ายโดยฝ่ายผู้นำเข้าโดยทั่วไปแล้ว การจำหน่ายผ่านเอเย่นต์เป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ตลาดขยายตัวออกไปได้ ทั้งนี้เพราะเอเย่นต์จะเป็นผู้ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ แต่การเลือกเอเย่นต์จะต้องระมัดระวังด้วย
(ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 18/2543 วันที่ 30 กันยายน 2543--
-อน-