รองนายกรัฐมนตรีศุภชัยชี้ระบบการค้าพหุภาคี ต้องเดินหน้าผลักดันเศรษฐกิจโลก -------------------------------------------------------------------------------- รองนายกรัฐมนตรีศุภชัย พานิชภักดิ์ ร่วมเวทีนักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกชี้อนาคตระบบการค้าพหุภาคีต้องเผชิญ ความท้าทายอีกมากมายที่รออยู่เบื้องหน้าแม้ว่าช่วงเวลา 50 ปี ที่ผ่านมาระบบการค้าพหุภาคีจะสร้างความสำเร็จมากมายแต่ปัญหา ก็ยังคงมีอยู่ทั้งปัญหาพื้นฐานเช่นความยากจนและข้อจำกัด ของประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดจากวิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจและเปรียบระบบการค้าพหุภาคีเป็นแรง ผลักดันสำคัญที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลก เจริญเติบโตก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพเหมือนรถ ยี่ห้อดีที่มีน้ำมันเต็มถัง เมื่อวันที่ 29 เมษายน ศกนี้ รองนายกรัฐมนตรี (ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์) ได้เข้าร่วมการสัมมนาในหัวข้อเรื่อง ความท้าทายของระบบการค้าพหุภาคี ซึ่งจัดโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่ง เอเชียร่วมกับองค์การการค้าโลกเนื่องในโอกาสการประชุม ประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนา แห่งเอเชียซึ่งปีนี้ได้จัดขึ้นที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยรวมขุนพลผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐกิจระดับโลก จำนวนมากเข้าร่วม สำหรับหัวข้อที่รองนายกรัฐมนตรีของไทย เข้าร่วมอภิปรายด้วยนั้น นับว่าเป็นรายการพิเศษเพราะ มีนาย Roberto Ruggierro ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การ การค้าโลกทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายเองด้วย รองนายกรัฐมนตรีของไทยกล่าวให้ข้อคิดว่า หากจะเปรียบเทียบความสำคัญของระบบการค้าพหุภาคีของโลก ก็จะเห็นได้จากที่เคยมีผู้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า ระบบเศรษฐกิจของโลกเปรียบเสมือนรถจักรยานที่มีระบบการค้าพหุภาคี เสมือนล้อทั้งสองที่เป็นแรงผลักดันหมุนให้จักรยานเคลื่อนที่ไปข้างหน้า แต่เมื่อใดที่ล้อหยุดหมุนรถจักรยานก็อาจล้มคว่ำลงได้เมื่อนั้น และโดยที่ปีนี้ระบบการค้าพหุภาคีมีอายุครบรอบ 50 ปี รองนายกรัฐมนตรีของไทยจึงเปรียบเทียบให้ใหม่ว่า ระบบการค้าพหุภาคีเป็นเสมือนพลังขับเคลื่อนของรถยี่ห้อดีที่มีน้ำมันเต็มถัง ที่จะช่วยพาให้ระบบเศรษฐกิจของโลกเดินหน้าต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ รองนายกรัฐมนตรีหยิบยกตัวอย่างความสำเร็จที่สำคัญของระบบ การค้าพหุภาคี ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาอาทิเช่น การสร้างระบบ การค้าที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบที่เป็นที่ยอมรับร่วมกัน และมีกลไกยุติข้อพิพาทเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมการปฏิบัติ ตามกฎระเบียบการค้าของโลก และชี้ด้วยว่า การที่มีจำนวน ประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกในระบบการค้าพหุภาคีเพิ่มมากขึ้น และมีปริมาณการค้าของโลกเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถเป็นเครื่องวัดความสำเร็จที่สำคัญของระบบการค้าพหุภาคี โดยจำนวนประเทศสมาชิกเพิ่มจาก 26 ประเทศ เมื่อปี ค.ศ. 1960 เป็นจำนวน 132 ประเทศในปัจจุบัน และยังมีจำนวนผู้สมัคร ขอเข้าเป็นสมาชิกอีกประมาณ 30 ประเทศด้วย ในขณะเดียวกัน ปริมาณการค้าของโลกได้เพิ่มขึ้นถึง 14 เท่าในช่วงเวลา 50 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเพียง 5 เท่าเท่านั้น ทั้งนี้ความสำเร็จของ การเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยที่ผ่านมายังเป็นการยืนยันถึง การยอมรับของประชาคมโลกในความสำคัญของการรวมตัวกันในระบบ เศรษฐกิจโลกด้วย นอกจากนี้ความสำเร็จอีกประการที่สำคัญยิ่ง คือ การที่ประเทศกำลังพัฒนาได้เข้าร่วมและมีบทบาทมากขึ้นในเวที การค้าของโลกอย่างเห็นได้ชัดในการเจรจาที่ผ่านมา รองนายกรัฐมนตรีชี้ให้ผู้ร่วมสัมมนาตระหนักด้วยว่า แม้จะมีความสำเร็จมากมายแต่ยังมีปัญหาที่สำคัญอีกหลายประการ อาทิ ปัญหาความยากจน ปัญหาความวิตกหวาดระแวงที่เกิดจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจใน ปัจจุบันที่ทำให้ประเทศไม่กล้าดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางการค้า เพราะเกรงว่า จะเกิดผลเสียที่ไม่สามารถควบคุมได้ ความเข้าใจ เช่นนี้อาจมีผลกระทบต่อกระบวนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยรวมได้ ปัญหาข้อจำกัดของประเทศกำลังพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ ระบบการผลิตที่ล้าหลังขาดเทคโนโลยี ระบบการศึกษา ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาบุคคลากร การขาดความต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาทางการเมืองและการขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องระบบการค้าพหุภาคี เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถได้รับประโยชน์เท่าท ี่ควรจากการเข้าร่วมในระบบการค้าพหุภาคี ในขณะเดียวกัน ก็เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติตามความตกลงและการเข้าร่วม ในกระบวนการต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีปัญหา ที่สืบเนื่องจากการที่มีการรวมกลุ่มของประเทศต่างๆ มากมาย ซึ่งอาจสร้างความสับสนและซับซ้อนให้เกิดขึ้นอีกด้วย รองนายกรัฐมนตรีชี้ว่าสิ่งสำคัญ ที่องค์การการค้าโลกต้องเพ่งเล็ง ดำเนินการในอนาคตมีทั้งที่เป็นเป้าหมายเฉพาะหน้า เป้าหมายในระยะกลาง และเป้าหมายในระยะยาว สำหรับเรื่อง เฉพาะหน้านั้น องค์การการค้าโลกจะต้องเร่งรัดให้มีการปฏิบัติ ตามข้อผูกพันต่างๆ ให้ครบถ้วนตามที่ได้ตกลงกันไว้ในการเจรจา การค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยซึ่งได้สิ้นสุดลงเมื่อปี 2536 ซึ่งยังม ีประเด็นต่างๆ ที่จะต้องติดตามดำเนินการอีกมากมาย ในขณะเดียวกันต้องเร่งรัดปรับปรุงกระบวนการทบทวนนโยบาย การค้าของประเทศสมาชิกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ องค์การการค้าโลกจะต้องพยายามลดผลกระทบในแง่ลบต่อ ระบบการค้าโลกที่อาจเป็นผลจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ในปัจจุบันและสิ่งสำคัญซึ่งอยู่ในความสนใจประชาคมโลกในปัจจุบัน คือ การรับสมาชิกใหม่ ซึ่งในประเด็นของจีนนั้น รองนายกรัฐมนตรีให้ความเห็นว่า องค์การการค้าโลกควรเปิดรับจีนให้เข้าเป็นสมาชิกโดยเร็วที่สุด โดยให้มีช่วงเวลาปรับตัวแต่ควรมีการตั้งเงื่อนไข เช่น เงื่อนไขในเรื่องความโปร่งใส เป็นต้น สำหรับเป้าหมายระยะกลางนั้นรองนายกรัฐมนตรีกล่าวถึง การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ ซึ่งหากสมาชิกตกลงให้มีการเจรจาดังกล่าวเกิดขึ้นก็ควรพิจารณา นำเอาความตกลงต่างๆที่มีอยู่ในระดับภูมิภาคมารวมไว้ด้วย และนอกจากจะเน้นการเจรจาเพื่อการเปิดตลาดแล้ว จะต้องให้ความสำคัญกับสภาพตลาดที่เอื้ออำนวยต่อการแข่งขันด้วย โดยต้องปรับมาตรฐานสินค้าและระบบกฎเกณฑ์ในเรื่องนี้ให้เป็น มาตรฐานเดียวกันหรืออย่างน้อยให้มีการยอมรับซึ่งกันและกัน ต้องลดอุปสรรคในการลงทุนของต่างชาติ รวมทั้งจะต้องสร้างและบังคับใช้กฎหมายการแข่งขัน ในขณะเดียวกัน รองนายกรัฐมนตรีตั้งข้อสังเกตด้วยว่าการยอมรับเรื่องกฎเกณฑ์การ ใช้มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดอยู่ในกรอบองค์การการค้าโลกด้วยนั้น อาจนับได้ว่าเป็นจุดอ่อนขององค์การการค้าโลก เพราะกลยุทธการค้าในปัจจุบันของบริษัทขนาดใหญ่ทำให้มีการรวม ตัวข้ามชาติและวางกลไกระบบการผลิตและการส่งสินค้าที่มีผลให้ไม่มี ปัญหาสำคัญในเรื่องการทุ่มตลาดอีก ต่อไปแต่การที่องค์การการค้าโลก ยอมรับให้มีการใช้มาตรการนี้กลับกลายเป็นการเปิดช่องให้ประเทศต่างๆ สามารถนำมาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดมาใช้ทั้งที่ไม่มีเหตุผลสมควร ในท้ายที่สุด รองนายกรัฐมนตรีย้ำว่า ในระยะยาวจะต้องพยายาม นำการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจต่างๆ มารวมเป็นหนึ่งเดียวและในขณะเดียวกัน ต้องมีการปรับประสานบทบาทขององค์การระหว่างประเทศที่สำคัญ ทางเศรษฐกิจทั้งสามองค์การ คือ องค์การการค้าโลก ธนาคารโลก และ IMF ให้สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะมิฉะนั้นแล้วการแก้ไขปัญหา ทางเศรษฐกิจในโลกจะไม่สามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนอย่างแท้จริง ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html More Information Contact to The Permanent Mission of Thailand to the World Trade Organization (WTO)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-