กรุงเทพฯ--29 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. การประชุมเอกอัครราชทูต และกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลกครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรก ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีโอกาสเข้าร่วม โดยเล็งเห็นความสำคัญว่าเอกอัครราชทูต และรัฐบาลจะต้องมีวิธีคิดและวิธีการทำงานในแนวทางเดียวกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเชิญเอกอัคร- ราชทูตและกงสุลใหญ่ ให้มาพบปะพูดคุยและซักซ้อมความเข้าใจในนโยบาย ปรัชญา ความคิดของรัฐบาล ในการที่จะแก้ไขปัญหาของชาติ รวมทั้งเพื่อปรับบทบาทของเอกอัครราชทูตฯ อันได้แก่ บทบาททางเศรษฐกิจและบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศ โดยเน้นความสมดุลของบทบาททั้งสอง น้ำหนักของเศรษฐกิจและการเมืองอาจไม่เท่ากันในแต่ละประเทศหรือแต่ละเหตุการณ์ ตนเชื่อว่าเมื่อเอกอัครราชทูตฯ ได้รับฟังนโยบายอย่างชัดเจนแล้ว ก็จะสามารถปรับบทบาทของตนให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ รัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ในการบริหารราชการในต่างประเทศ ซึ่งมีหน่วยงานและข้าราชการจากกระทรวงต่างๆ ประจำการอยู่ในต่างประเทศ จำนวนมากบ้างน้อยบ้าง นายกรัฐมนตรีประสงค์จะเห็นบทบาทของ เอกอัครราชทูตฯ ในการเป็นผู้นำ และประสานเป็นทีมกับข้าราชการจากกระทรวงอื่นๆ และการที่ไทยมี ยุทธศาสตร์ในการดำเนินความสัมพันธ์กับแต่ละประเทศแตกต่างกันไป จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องทบทวน ถึงขนาดที่เหมาะสมของ Team Thailand ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานร่วมกันมีประสิทธิภาพ ประหยัด และได้ ผลในเชิงยุทธศาสตร์ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับ รัฐมนตรีกระทรวงอื่นๆ ที่มีตัวแทนอยู่ในต่างประเทศ พิจารณาในเรื่องดังกล่าวต่อไป
3. นายกรัฐมนตรี ได้ขอให้เอกอัครราชทูตฯ ทุกคนคิดในเชิงยุทธศาสตร์เป็นตัวแทน ในเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่เอกอัครราชทูตฯ ประจำอยู่ เพื่อที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์ด้านต่างๆ เช่น การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน
4. นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่า ในปัจจุบันนโยบายหลักของรัฐบาลอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) นโยบายเพื่อการแก้ปัญหาภายในประเทศ คือการแก้ไขปัญหาปากท้อง และปัญหาสังคมต่างๆ และ (2) นโยบายการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็ได้ยืนยันว่า ไทยยังใช้ระบบเศรษฐกิจเปิดเหมือนเดิม อย่างไรก็ดี รัฐบาลมิได้ละเลยเพื่อนร่วมชาติที่ยังลำบาก กล่าวอีกนัยหนึ่ง รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบายทั้ง 2 ส่วนไปพร้อมๆ กัน ไม่ใช่บุกหน้าแล้วลืมหลัง หรือกลับไปหลังแล้วไม่เดินหน้า
ในโอกาสดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน ดังนี้
1. การประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่
นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่า การประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก เป็นเวทีที่รัฐบาลมอบหมายนโยบาย และชี้แจงแนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยพยายามที่จะ ชี้แจงให้เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่เห็นว่า นโยบายของรัฐบาลที่แบ่งออกทั้งสองส่วนคือการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในระดับบน และการแก้ไขปัญหาในระดับล่างจำเป็นต้องกระทำพร้อมกัน ซึ่งเมื่อ เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ได้รับฟังแล้ว จะสามารถนำไปอธิบายให้กับผู้นำทางการเมืองและเศรษฐกิจของต่างประเทศให้เข้าใจความจริงเกี่ยวกับประเทศไทย ส่วนเรื่องการออกไปทำ Road Show ในต่างประเทศคงจะต้องรอเวลาที่เหมาะสมอีกระยะหนึ่ง
2. ความสัมพันธ์ไทย-พม่า
นายกรัฐมนตรี แจ้งว่า ตนจะเดินทางไปเยือนพม่า เมื่อมีความพร้อมและเหมาะสมทางด้านพิธีการทูต และแสดงความเชื่อมั่นว่า เมื่อผู้นำของทั้งสองประเทศได้มีโอกาสหารือร่วมกันทุกอย่างคงจะคลี่คลายไปในทางที่ดี ปัญหาทุกอย่างระหว่างไทยและพม่าเกิดมาจากความไม่เข้าใจกันแนวทาง การแก้ไขปัญหาคงจะต้องใช้ความหนักแน่นในการแก้ไขปัญหา และป้องกันการแทรกแซงจากมือที่สาม
3. การแต่งตั้ง TTR (Thailand Trade Representative)
นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ขอบเขตการทำงานและความรับผิดชอบของ TTR จะไม่ ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีอยู่ เช่น กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศ โดย TTR จะทำงาน ในระดับจุลภาค ในขณะที่กระทรวงหลักจะดูแลงานด้านมหภาค โดย TTR ทั้ง 3 คน จะรับผิดชอบงานเป็นรายภูมิภาค ซึ่งได้แก่
- นายประจวบ ไชยสาสน์ รับผิดชอบอาเซียนและแอฟริกา
- นายทนง พิทยะ รับผิดชอบญี่ปุ่น
- นายกันตธีร์ ศุภมงคล รับผิดชอบสหรัฐอเมริกาและยุโรป
ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการวางยุทธศาสตร์ และแผนเจรจาในรายละเอียด
4. การเผชิญกับกระแสโลกาภิวัฒน์
นายกรัฐมนตรี แสดงความเชื่อมั่นว่า ไทยยังมีความแข็งแกร่งอยู่ในด้าน การท่องเที่ยว มรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญา อย่างไรก็ดี ไทยยังต้องพัฒนาในด้านเทคโนโลยี สมัยใหม่ และรู้จักผสมผสานวิทยาการสมัยใหม่กับความรู้ความสามารถที่เรามีอยู่ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาในช่วง 3-4 ปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการศึกษาซึ่งจะต้อง ให้ทัดเทียมและทันกับกระแสโลก
- นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไทยมีความต้องการที่จะมีความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในประชาคมโลก โดยยืนอยู่บนพื้นฐานของการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการไม่แทรกแซงการบริหาร ภายในประเทศของกันและกัน อย่างไรก็ดี หากการเข้าไปรับความช่วยเหลือจะทำให้มีผลผูกพัน จนก่อให้เกิดความไม่เป็นอิสระในการแก้ไขปัญหาของชาติ ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า ไทยจำเป็นต้องมีอิสระในการกำหนดนโยบายและต้องสามารถยืนอยู่ด้วยตนเอง - ไทยมีเหตุผลของตนเองและแนวทางปฏิบัติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ อย่างไรก็ตาม ไทยจะต้องรักษาพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาชาติ โดยอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติเป็นที่สำคัญ จึงมิใช่การปิดตัวเองแต่ประการใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
1. การประชุมเอกอัครราชทูต และกงสุลใหญ่ไทยทั่วโลกครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรก ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีโอกาสเข้าร่วม โดยเล็งเห็นความสำคัญว่าเอกอัครราชทูต และรัฐบาลจะต้องมีวิธีคิดและวิธีการทำงานในแนวทางเดียวกัน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเชิญเอกอัคร- ราชทูตและกงสุลใหญ่ ให้มาพบปะพูดคุยและซักซ้อมความเข้าใจในนโยบาย ปรัชญา ความคิดของรัฐบาล ในการที่จะแก้ไขปัญหาของชาติ รวมทั้งเพื่อปรับบทบาทของเอกอัครราชทูตฯ อันได้แก่ บทบาททางเศรษฐกิจและบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศ โดยเน้นความสมดุลของบทบาททั้งสอง น้ำหนักของเศรษฐกิจและการเมืองอาจไม่เท่ากันในแต่ละประเทศหรือแต่ละเหตุการณ์ ตนเชื่อว่าเมื่อเอกอัครราชทูตฯ ได้รับฟังนโยบายอย่างชัดเจนแล้ว ก็จะสามารถปรับบทบาทของตนให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ รัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ในการบริหารราชการในต่างประเทศ ซึ่งมีหน่วยงานและข้าราชการจากกระทรวงต่างๆ ประจำการอยู่ในต่างประเทศ จำนวนมากบ้างน้อยบ้าง นายกรัฐมนตรีประสงค์จะเห็นบทบาทของ เอกอัครราชทูตฯ ในการเป็นผู้นำ และประสานเป็นทีมกับข้าราชการจากกระทรวงอื่นๆ และการที่ไทยมี ยุทธศาสตร์ในการดำเนินความสัมพันธ์กับแต่ละประเทศแตกต่างกันไป จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องทบทวน ถึงขนาดที่เหมาะสมของ Team Thailand ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานร่วมกันมีประสิทธิภาพ ประหยัด และได้ ผลในเชิงยุทธศาสตร์ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับ รัฐมนตรีกระทรวงอื่นๆ ที่มีตัวแทนอยู่ในต่างประเทศ พิจารณาในเรื่องดังกล่าวต่อไป
3. นายกรัฐมนตรี ได้ขอให้เอกอัครราชทูตฯ ทุกคนคิดในเชิงยุทธศาสตร์เป็นตัวแทน ในเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่เอกอัครราชทูตฯ ประจำอยู่ เพื่อที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์ด้านต่างๆ เช่น การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน
4. นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่า ในปัจจุบันนโยบายหลักของรัฐบาลอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ (1) นโยบายเพื่อการแก้ปัญหาภายในประเทศ คือการแก้ไขปัญหาปากท้อง และปัญหาสังคมต่างๆ และ (2) นโยบายการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็ได้ยืนยันว่า ไทยยังใช้ระบบเศรษฐกิจเปิดเหมือนเดิม อย่างไรก็ดี รัฐบาลมิได้ละเลยเพื่อนร่วมชาติที่ยังลำบาก กล่าวอีกนัยหนึ่ง รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบายทั้ง 2 ส่วนไปพร้อมๆ กัน ไม่ใช่บุกหน้าแล้วลืมหลัง หรือกลับไปหลังแล้วไม่เดินหน้า
ในโอกาสดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน ดังนี้
1. การประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่
นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่า การประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก เป็นเวทีที่รัฐบาลมอบหมายนโยบาย และชี้แจงแนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยพยายามที่จะ ชี้แจงให้เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่เห็นว่า นโยบายของรัฐบาลที่แบ่งออกทั้งสองส่วนคือการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในระดับบน และการแก้ไขปัญหาในระดับล่างจำเป็นต้องกระทำพร้อมกัน ซึ่งเมื่อ เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ได้รับฟังแล้ว จะสามารถนำไปอธิบายให้กับผู้นำทางการเมืองและเศรษฐกิจของต่างประเทศให้เข้าใจความจริงเกี่ยวกับประเทศไทย ส่วนเรื่องการออกไปทำ Road Show ในต่างประเทศคงจะต้องรอเวลาที่เหมาะสมอีกระยะหนึ่ง
2. ความสัมพันธ์ไทย-พม่า
นายกรัฐมนตรี แจ้งว่า ตนจะเดินทางไปเยือนพม่า เมื่อมีความพร้อมและเหมาะสมทางด้านพิธีการทูต และแสดงความเชื่อมั่นว่า เมื่อผู้นำของทั้งสองประเทศได้มีโอกาสหารือร่วมกันทุกอย่างคงจะคลี่คลายไปในทางที่ดี ปัญหาทุกอย่างระหว่างไทยและพม่าเกิดมาจากความไม่เข้าใจกันแนวทาง การแก้ไขปัญหาคงจะต้องใช้ความหนักแน่นในการแก้ไขปัญหา และป้องกันการแทรกแซงจากมือที่สาม
3. การแต่งตั้ง TTR (Thailand Trade Representative)
นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ขอบเขตการทำงานและความรับผิดชอบของ TTR จะไม่ ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นๆ ที่มีอยู่ เช่น กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศ โดย TTR จะทำงาน ในระดับจุลภาค ในขณะที่กระทรวงหลักจะดูแลงานด้านมหภาค โดย TTR ทั้ง 3 คน จะรับผิดชอบงานเป็นรายภูมิภาค ซึ่งได้แก่
- นายประจวบ ไชยสาสน์ รับผิดชอบอาเซียนและแอฟริกา
- นายทนง พิทยะ รับผิดชอบญี่ปุ่น
- นายกันตธีร์ ศุภมงคล รับผิดชอบสหรัฐอเมริกาและยุโรป
ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการวางยุทธศาสตร์ และแผนเจรจาในรายละเอียด
4. การเผชิญกับกระแสโลกาภิวัฒน์
นายกรัฐมนตรี แสดงความเชื่อมั่นว่า ไทยยังมีความแข็งแกร่งอยู่ในด้าน การท่องเที่ยว มรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญา อย่างไรก็ดี ไทยยังต้องพัฒนาในด้านเทคโนโลยี สมัยใหม่ และรู้จักผสมผสานวิทยาการสมัยใหม่กับความรู้ความสามารถที่เรามีอยู่ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาในช่วง 3-4 ปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการศึกษาซึ่งจะต้อง ให้ทัดเทียมและทันกับกระแสโลก
- นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไทยมีความต้องการที่จะมีความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในประชาคมโลก โดยยืนอยู่บนพื้นฐานของการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการไม่แทรกแซงการบริหาร ภายในประเทศของกันและกัน อย่างไรก็ดี หากการเข้าไปรับความช่วยเหลือจะทำให้มีผลผูกพัน จนก่อให้เกิดความไม่เป็นอิสระในการแก้ไขปัญหาของชาติ ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า ไทยจำเป็นต้องมีอิสระในการกำหนดนโยบายและต้องสามารถยืนอยู่ด้วยตนเอง - ไทยมีเหตุผลของตนเองและแนวทางปฏิบัติในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ อย่างไรก็ตาม ไทยจะต้องรักษาพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาชาติ โดยอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติเป็นที่สำคัญ จึงมิใช่การปิดตัวเองแต่ประการใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-