แท็ก
ทวีปแอฟริกา
แม่น้ำไนล์ (The Nile River) เป็นแม่น้ำระหว่างประเทศสายที่ยาวที่สุดในโลก มีความยาวประมาณ 6,700 กิโลเมตร แม่น้ำไนล์มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของหลายประเทศในทวีปแอฟริกา เนื่องจากลุ่มแม่น้ำไนล์มีอาณา-บริเวณกว้างขวาง ครอบคลุมพื้นที่ถึง 3 ล้านตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 1 ใน 10 ของทวีปแอฟริกา นอกจากนี้ ยังมีความอุดมสมบูรณ์สูง และมีปริมาณน้ำมาก ทำให้มีการนำน้ำจากแม่น้ำไนล์ไปใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ทั้งการชลประทาน เพื่อการเพาะปลูก และเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม การที่หลายประเทศในทวีปแอฟริกาเร่งพัฒนาประเทศ และต่างก็ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์ ทำให้เริ่มมีข้อถกเถียงกันถึงการแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำ-ไนล์ ซึ่งเป็นที่วิตกกังวลกันว่า อาจกลายเป็นชนวนของความขัดแย้งระหว่างประเทศ ในทวีปแอฟริกาที่แม่น้ำไนล์ไหลผ่าน
แม่น้ำไนล์มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำบลูไนล์ (The Blue Nile) กับแม่น้ำไวท์ไนล์ (The White Nile) โดย 85% ของปริมาณน้ำในแม่น้ำไนล์มาจากแม่น้ำบลูไนล์ ซึ่งไหลจากประเทศเอธิโอเปีย ผ่านประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เคนยา แทนซาเนีย รวันดา และบุรุนดี ก่อนที่จะมารวมกับแม่น้ำไวท์ไนล์ ซึ่งไหลมาจากประเทศยูกันดา ที่ประเทศซูดาน และไหลผ่านอียิปต์เป็นประเทศสุดท้ายก่อนไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
อียิปต์เป็นประเทศที่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์มากที่สุด พื้นที่เพาะปลูกถึงประมาณ 19 ล้านไร่ในอียิปต์ได้รับประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของตะกอนแร่ธาตุบริเวณปากแม่น้ำไนล์ นอกจากนี้ อียิปต์ได้สร้างเขื่อนอัสวัน (The Aswan High Dam) กั้นแม่น้ำไนล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ และยังวางแผนที่จะสูบน้ำประมาณ 5 พันล้านลูกบาศก์ฟุตจากแม่น้ำไนล์ไปยังเขตทะเลทรายทางภาคตะวันตก เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 5 แสนไร่ โดยจะอพยพพลเมืองกว่า 7 ล้านคนในพื้นที่แออัดบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ไปยังพื้นที่ที่จะพัฒนาใหม่
นอกจากอียิปต์แล้ว ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกา เริ่มวางแผนนำน้ำจากแม่น้ำไนล์มาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจมากขึ้น อาทิ ประเทศเอธิโอเปียมีแผนสร้างเขื่อนขนาดเล็กกว่า 200 เขื่อน ขณะที่ประเทศซูดานก็วางแผนสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำจากแม่น้ำไนล์ไว้ใช้ ส่วนประเทศอื่น ๆ ในทวีปแอฟริกา ที่ปัจจุบันยังใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์น้อย เช่น เคนยา ยูกันดา แทนซาเนีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และรวันดา ก็คาดว่าจะมีความต้องการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์เพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากมีจำนวนประชากรรวมกันมากกว่า 140 ล้านคน
แม้ว่าความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์ของบรรดาประเทศที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำไนล์จะยังไม่ปรากฏชัดเจนนักในปัจจุบัน แต่ตัวแทนของประเทศต่าง ๆ ได้จัดประชุมเพื่อทบทวนข้อตกลงการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์ เมื่อเดือนมีนาคม 1997 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์ในอนาคต ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติ ได้เข้ามาจัดทำอนุสัญญาเพื่อเป็นแนวทางความร่วมมือในการแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้การใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์เป็นไปอย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์กับทุกประเทศอย่างเท่าเทียมกัน
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร โทร. 271-3700, 278-0047, 617-2111 ต่อ 1142-1145
--ที่มา ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร--
-อน-
แม่น้ำไนล์มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำบลูไนล์ (The Blue Nile) กับแม่น้ำไวท์ไนล์ (The White Nile) โดย 85% ของปริมาณน้ำในแม่น้ำไนล์มาจากแม่น้ำบลูไนล์ ซึ่งไหลจากประเทศเอธิโอเปีย ผ่านประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เคนยา แทนซาเนีย รวันดา และบุรุนดี ก่อนที่จะมารวมกับแม่น้ำไวท์ไนล์ ซึ่งไหลมาจากประเทศยูกันดา ที่ประเทศซูดาน และไหลผ่านอียิปต์เป็นประเทศสุดท้ายก่อนไหลลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
อียิปต์เป็นประเทศที่ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์มากที่สุด พื้นที่เพาะปลูกถึงประมาณ 19 ล้านไร่ในอียิปต์ได้รับประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของตะกอนแร่ธาตุบริเวณปากแม่น้ำไนล์ นอกจากนี้ อียิปต์ได้สร้างเขื่อนอัสวัน (The Aswan High Dam) กั้นแม่น้ำไนล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ และยังวางแผนที่จะสูบน้ำประมาณ 5 พันล้านลูกบาศก์ฟุตจากแม่น้ำไนล์ไปยังเขตทะเลทรายทางภาคตะวันตก เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 5 แสนไร่ โดยจะอพยพพลเมืองกว่า 7 ล้านคนในพื้นที่แออัดบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ไปยังพื้นที่ที่จะพัฒนาใหม่
นอกจากอียิปต์แล้ว ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกา เริ่มวางแผนนำน้ำจากแม่น้ำไนล์มาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจมากขึ้น อาทิ ประเทศเอธิโอเปียมีแผนสร้างเขื่อนขนาดเล็กกว่า 200 เขื่อน ขณะที่ประเทศซูดานก็วางแผนสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำจากแม่น้ำไนล์ไว้ใช้ ส่วนประเทศอื่น ๆ ในทวีปแอฟริกา ที่ปัจจุบันยังใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์น้อย เช่น เคนยา ยูกันดา แทนซาเนีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และรวันดา ก็คาดว่าจะมีความต้องการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์เพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากมีจำนวนประชากรรวมกันมากกว่า 140 ล้านคน
แม้ว่าความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์ของบรรดาประเทศที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำไนล์จะยังไม่ปรากฏชัดเจนนักในปัจจุบัน แต่ตัวแทนของประเทศต่าง ๆ ได้จัดประชุมเพื่อทบทวนข้อตกลงการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์ เมื่อเดือนมีนาคม 1997 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์ในอนาคต ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติ ได้เข้ามาจัดทำอนุสัญญาเพื่อเป็นแนวทางความร่วมมือในการแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้การใช้ประโยชน์จากแม่น้ำไนล์เป็นไปอย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์กับทุกประเทศอย่างเท่าเทียมกัน
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร โทร. 271-3700, 278-0047, 617-2111 ต่อ 1142-1145
--ที่มา ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร--
-อน-