มาตรการด้านการเกษตร
- การพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาล ผ่านระบบ ธ.ก.ส. โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. เกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1.1 เป็นเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. หรือสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่เป็นลูกค้าและ ใช้บริการเงินกู้โดยตรงกับ ธ.ก.ส. หรือเป็นเกษตรกรที่รับภาระหนี้สินแทนเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ในฐานะผู้ค้ำประกัน หรือทายาทโดยธรรมก่อนวันที่ 1 เมษายน 2544 โดยเกษตรกรต้องแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2544
1.2 เป็นเกษตรกรที่ไม่เคยถูก ธ.ก.ส. ดำเนินคดีในฐานะผู้กู้มาก่อน
1.3 เป็นเกษตรกรที่มีภาระหนี้เงินกู้กับ ธ.ก.ส. ในวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท(ไม่นับภาระหนี้เงินกู้ตามโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาลและไม่นับรวมดอกเบี้ยเงินกู้)
2. รัฐบาลจะสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยที่พักชำระหนี้ออมเงินตามความสามารถ และฟื้นฟูอาชีพตลอดระยะเวลาที่พักชำระหนี้
3. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้สิทธิประโยชน์ดังนี้
3.1 หลังพักชำระหนี้ในปีที่ 4 เกษตรกรดังกล่าวจะได้รับสิทธิในการชำระดอกเบี้ยตามเกณฑ์ลูกค้าชั้นเดิมก่อนพักชำระหนี้
3.2 เกษตรกรจะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มเติมร้อยละ 1 ต่อปี จากอัตราปกติ เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินฝากไม่เกินรายละ 50,000 บาท
3.3 เกษตรกรที่ชำระหนี้ได้ครบถ้วนก่อนกำหนด 3 ปี จะได้รับเลื่อนชั้นคุณภาพลูกค้าสูงขึ้นตามเกณฑ์ของ ธ.ก.ส.
4. ให้รัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการนี้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในส่วนที่ ธ.ก.ส. ต้องจ่ายเพิ่มจากการดำเนินงานตามปกติ เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกินปีละ 7,700 ล้านบาท
5. ในส่วนของเกษตรกรที่มีวงเงินกู้ 100,000 บาท ซึ่งไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ให้ ธ.ก.ส. เป็นผู้ดูแลช่วยเหลือ โดยการเร่งรัดให้มีการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูเกษตรกรดังกล่าว
มาตรการด้านการอุตสาหกรรม1. การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 รับทราบมติของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ดังนี้
1.1 ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานวันละ 130 บาท เพิ่มขึ้นอีก 3 บาท เป็นอัตราวันละ 133 บาท
1.2 ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัดเพิ่มขึ้นอีกวันละ 3 บาท ดังนี้
1.2.1 ในท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และภูเก็ต ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิมวันละ 162 บาท เพิ่มเป็นวันละ 165 บาท
1.2.2 ในท้องที่จังหวัดชลบุรี สระบุรี พังงา ระนอง เชียงใหม่ และนครราชสีมา ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิมวันละ 140 บาท เพิ่มเป็นวันละ 143 บาท
1.2.3 ในท้องที่ 63 จังหวัดที่เหลือ ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิมวันละ 130 บาท เพิ่มเป็นวันละ 133 บาท
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
2. การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ชาวไร่อ้อย ฤดูการผลิตปี 2544/2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2544 อนุมัติเรื่อง การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ชาวไร่อ้อย ฤดูการผลิตปี 2544/2545 ในวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้มีความเห็นเพิ่มเติมต่อการดำเนินมาตรการดังกล่าวไว้ ดังนี้
2.1 ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้ดำเนินการรับซื้อลดเช็ค เพื่อส่งเสริมการปลูกอ้อย (เช็คเกี๊ยว) ฤดูการผลิตปี 2544/2545 ของโรงงานน้ำตาลทั้ง 46 โรงงาน เพียงสถาบันเดียวต่อไป
2.2 ให้ ธ.ก.ส. คิดอัตรารับซื้อลดเช็คเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MLR) ของ ธ.ก.ส. (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 9 ต่อปี) และในกรณีที่ ธ.ก.ส. ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน ธ.ก.ส. จะต้องลดอัตรารับซื้อลดเช็คลงตามต้นทุนที่ลดลง
2.3 การให้ความช่วยเหลือชาวไร่อ้อย ฤดูการผลิต ปี 2544/2545 ให้ถือปฏิบัติโดยใช้หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับฤดูการผลิตปี 2543/2544
3. การปรับปรุงภาษีสรรพสามิต
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2544 อนุมัติการปรับปรุงภาษีสรรพสามิตสุราและยาสูบ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
3.1 เพิ่มภาษีสุราแช่ชนิดเบียร์ จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 53 เป็นร้อยละ 55
3.2 เพิ่มภาษีสุราแช่ชนิดไวน์องุ่น (Wine) และสปาร์กกลิ้งไวน์ที่ทำจากองุ่น (Sparkling Wine) จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 60
3.3 เพิ่มภาษีสุราประเภทวิสกี้จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 35 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาทแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 45 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 240 บาทแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
3.4 เพิ่มภาษีสุราประเภทบรั่นดีจากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 25 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาทแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 30 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 190 บาทแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
3.5 เพิ่มภาษีสุราพิเศษประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากวิสกี้และบรั่นดีจากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 35 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาท แห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 45 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 240 บาทแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
3.6 เพิ่มภาษีสุราผสมและสุราปรุงพิเศษจากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 35 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาทแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 45 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 240 บาทแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
3.7 ปรับค่าแสตมป์ยาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตจากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 71.5 เป็นร้อยละ 75
ทั้งนี้ การปรับปรุงอัตราภาษีสรรพสามิตดังกล่าว คาดว่าจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกปีละประมาณ 7,479 ล้านบาท รวมทั้งช่วยลดการขาดดุลการค้าของประเทศ
มาตรการอสังหาริมทรัพย์
1. ร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2544 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบผลการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดยเห็นว่าในขณะนี้ไม่มีความจำเป็นต้องมีร่างพระราชบัญญัติสำหรับการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาเป็นการเฉพาะ และมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุง แก้ไข พระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นการทดแทนต่อไป
อนึ่ง ร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในระยะยาว และสร้างความมั่นใจในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ โดยการสร้างระบบการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ซึ่งมีผู้จัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในการดูแลให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติ ตามสัญญา ทั้งนี้ จะช่วยป้องกันและลดนักเก็งกำไรออกจากระบบ และช่วยลดข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญา
2. ขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของกิจการวิเทศธนกิจ
เพื่อเป็นการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินและเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ให้สำนักงานวิเทศธนกิจถือปฏิบัติเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ ตามหนังสือ-เวียนที่ ธปท.สนส.(12)ว.4411/2542 เรื่อง การขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2542 โดยให้กิจการวิเทศธนกิจถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้เกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับโอนมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 และต้องขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายใน 10 ปีนับจากวันที่รับโอน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
- การพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาล ผ่านระบบ ธ.ก.ส. โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. เกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1.1 เป็นเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. หรือสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่เป็นลูกค้าและ ใช้บริการเงินกู้โดยตรงกับ ธ.ก.ส. หรือเป็นเกษตรกรที่รับภาระหนี้สินแทนเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ในฐานะผู้ค้ำประกัน หรือทายาทโดยธรรมก่อนวันที่ 1 เมษายน 2544 โดยเกษตรกรต้องแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2544
1.2 เป็นเกษตรกรที่ไม่เคยถูก ธ.ก.ส. ดำเนินคดีในฐานะผู้กู้มาก่อน
1.3 เป็นเกษตรกรที่มีภาระหนี้เงินกู้กับ ธ.ก.ส. ในวงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท(ไม่นับภาระหนี้เงินกู้ตามโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาลและไม่นับรวมดอกเบี้ยเงินกู้)
2. รัฐบาลจะสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยที่พักชำระหนี้ออมเงินตามความสามารถ และฟื้นฟูอาชีพตลอดระยะเวลาที่พักชำระหนี้
3. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้สิทธิประโยชน์ดังนี้
3.1 หลังพักชำระหนี้ในปีที่ 4 เกษตรกรดังกล่าวจะได้รับสิทธิในการชำระดอกเบี้ยตามเกณฑ์ลูกค้าชั้นเดิมก่อนพักชำระหนี้
3.2 เกษตรกรจะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มเติมร้อยละ 1 ต่อปี จากอัตราปกติ เป็นเวลา 3 ปี ในวงเงินฝากไม่เกินรายละ 50,000 บาท
3.3 เกษตรกรที่ชำระหนี้ได้ครบถ้วนก่อนกำหนด 3 ปี จะได้รับเลื่อนชั้นคุณภาพลูกค้าสูงขึ้นตามเกณฑ์ของ ธ.ก.ส.
4. ให้รัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการนี้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในส่วนที่ ธ.ก.ส. ต้องจ่ายเพิ่มจากการดำเนินงานตามปกติ เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกินปีละ 7,700 ล้านบาท
5. ในส่วนของเกษตรกรที่มีวงเงินกู้ 100,000 บาท ซึ่งไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ให้ ธ.ก.ส. เป็นผู้ดูแลช่วยเหลือ โดยการเร่งรัดให้มีการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูเกษตรกรดังกล่าว
มาตรการด้านการอุตสาหกรรม1. การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 รับทราบมติของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ดังนี้
1.1 ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐานวันละ 130 บาท เพิ่มขึ้นอีก 3 บาท เป็นอัตราวันละ 133 บาท
1.2 ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทุกจังหวัดเพิ่มขึ้นอีกวันละ 3 บาท ดังนี้
1.2.1 ในท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และภูเก็ต ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิมวันละ 162 บาท เพิ่มเป็นวันละ 165 บาท
1.2.2 ในท้องที่จังหวัดชลบุรี สระบุรี พังงา ระนอง เชียงใหม่ และนครราชสีมา ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิมวันละ 140 บาท เพิ่มเป็นวันละ 143 บาท
1.2.3 ในท้องที่ 63 จังหวัดที่เหลือ ให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิมวันละ 130 บาท เพิ่มเป็นวันละ 133 บาท
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
2. การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ชาวไร่อ้อย ฤดูการผลิตปี 2544/2545
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2544 อนุมัติเรื่อง การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ชาวไร่อ้อย ฤดูการผลิตปี 2544/2545 ในวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้มีความเห็นเพิ่มเติมต่อการดำเนินมาตรการดังกล่าวไว้ ดังนี้
2.1 ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้ดำเนินการรับซื้อลดเช็ค เพื่อส่งเสริมการปลูกอ้อย (เช็คเกี๊ยว) ฤดูการผลิตปี 2544/2545 ของโรงงานน้ำตาลทั้ง 46 โรงงาน เพียงสถาบันเดียวต่อไป
2.2 ให้ ธ.ก.ส. คิดอัตรารับซื้อลดเช็คเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MLR) ของ ธ.ก.ส. (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 9 ต่อปี) และในกรณีที่ ธ.ก.ส. ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน ธ.ก.ส. จะต้องลดอัตรารับซื้อลดเช็คลงตามต้นทุนที่ลดลง
2.3 การให้ความช่วยเหลือชาวไร่อ้อย ฤดูการผลิต ปี 2544/2545 ให้ถือปฏิบัติโดยใช้หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับฤดูการผลิตปี 2543/2544
3. การปรับปรุงภาษีสรรพสามิต
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2544 อนุมัติการปรับปรุงภาษีสรรพสามิตสุราและยาสูบ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
3.1 เพิ่มภาษีสุราแช่ชนิดเบียร์ จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 53 เป็นร้อยละ 55
3.2 เพิ่มภาษีสุราแช่ชนิดไวน์องุ่น (Wine) และสปาร์กกลิ้งไวน์ที่ทำจากองุ่น (Sparkling Wine) จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 60
3.3 เพิ่มภาษีสุราประเภทวิสกี้จากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 35 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาทแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 45 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 240 บาทแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
3.4 เพิ่มภาษีสุราประเภทบรั่นดีจากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 25 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาทแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 30 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 190 บาทแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
3.5 เพิ่มภาษีสุราพิเศษประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากวิสกี้และบรั่นดีจากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 35 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาท แห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 45 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 240 บาทแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
3.6 เพิ่มภาษีสุราผสมและสุราปรุงพิเศษจากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 35 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 150 บาทแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ เป็นอัตราตามมูลค่าร้อยละ 45 หรืออัตราตามปริมาณลิตรละ 240 บาทแห่งแอลกอฮอล์บริสุทธิ์
3.7 ปรับค่าแสตมป์ยาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรตจากอัตราตามมูลค่าร้อยละ 71.5 เป็นร้อยละ 75
ทั้งนี้ การปรับปรุงอัตราภาษีสรรพสามิตดังกล่าว คาดว่าจะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกปีละประมาณ 7,479 ล้านบาท รวมทั้งช่วยลดการขาดดุลการค้าของประเทศ
มาตรการอสังหาริมทรัพย์
1. ร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2544 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบผลการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดยเห็นว่าในขณะนี้ไม่มีความจำเป็นต้องมีร่างพระราชบัญญัติสำหรับการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาเป็นการเฉพาะ และมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุง แก้ไข พระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นการทดแทนต่อไป
อนึ่ง ร่างพระราชบัญญัติการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในระยะยาว และสร้างความมั่นใจในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ โดยการสร้างระบบการจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ซึ่งมีผู้จัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในการดูแลให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติ ตามสัญญา ทั้งนี้ จะช่วยป้องกันและลดนักเก็งกำไรออกจากระบบ และช่วยลดข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญา
2. ขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของกิจการวิเทศธนกิจ
เพื่อเป็นการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินและเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ให้สำนักงานวิเทศธนกิจถือปฏิบัติเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ ตามหนังสือ-เวียนที่ ธปท.สนส.(12)ว.4411/2542 เรื่อง การขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2542 โดยให้กิจการวิเทศธนกิจถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้เกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับโอนมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 และต้องขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายใน 10 ปีนับจากวันที่รับโอน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-