ข่าวในประเทศ
1. สศช.และทีดีอาร์ไอปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สศช.อาจปรับลดประมาณการทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่ประเมินไว้ที่ระดับร้อยละ 4.5-5.0 เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น สำหรับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ประเมินว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยในระยะ 20 ปี (2544-2564) จะไม่ถึงระดับร้อยละ 6 โดยช่วงปี 2544-2549 เศรษฐกิจจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.6 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.7 มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าในรูปดอลลาร์ขยายตัวร้อยละ 8 และ 8.7 ในช่วง 2549-2554 เศรษฐกิจจะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.7 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.6 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 การนำเข้าลดลงเหลือร้อยละ 8.2 ในช่วงปี 2554-2559 เศรษฐกิจจะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 5.3 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.5 การส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.5 เท่ากับมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 เช่นกัน และในช่วงปี 2559-2564 เศรษฐกิจจะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 5.2 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.5 การส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นร้อยละ 8.7 ส่วนการนำเข้าลดลงเหลือร้อยละ 8.4 (กรุงเทพธุรกิจ 13)
2. กองทุนฟื้นฟูแต่งตั้งบริษัทเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สันเป็นที่ปรึกษา ผู้อำนวยการบริษัทเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ให้เป็นที่ปรึกษาในการพิจารณาและกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ค้างชำระหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธนาคารที่กองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปถือหุ้นเป็นระยะเวลา 5 เดือน โดยใช้แนวทางการตรวจสอบและการวิเคราะห์ที่เหมาะสมทุกรูปแบบในการแก้ไข เพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มสินเชื่อของกองทุนฟื้นฟูฯ จะปลอดจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังสามารถให้ผลตอบแทนได้จริงและตรงตามที่คาดไว้ ทั้งนี้ ธนาคารที่กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ประกอบด้วย ธ.กรุงไทย, ไทยธนาคาร, ศรีนคร และ ธ.นครหลวงไทย (กรุงเทพธุรกิจ 13)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นของไทยยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ส.ค.43 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 70.7 มาอยู่ที่ 68.9, ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจปัจจุบันลดลงจาก 53.2 มาอยู่ที่ 50.8, ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในอนาคตลดลงจาก 88.3 เหลือ 86.9, ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำลดลงจาก 61.7 เหลือ 59.6 ส่วนความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 97.4 ใกล้เคียงกับระดับ 96.3 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค คือ ปัญหาราคาน้ำมันแพง, ค่าเงินบาทตกต่ำ, ความไม่แน่นอนทางการเมือง, ความล่าช้าในการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดราย และราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ (แนวหน้า 13)
4. ครม.ให้ความเห็นชอบการขยายขอบเขตการใช้เงินกู้ ECP Program รมว.คลังเปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ ก.คลังขยายขอบเขตการใช้เงินกู้ภายใต้โครงการออกตราสารการค้าสกุลยูโร (ECP Program) จาก 500 ล.ดอลลาร์ เป็น 1,000 ล.ดอลลาร์ เพื่อรองรับแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศของภาครัฐบาลและลงทุนในโครงการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ (วัฏจักร 13)
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงร้อยละ 17.6 เทียบต่อปี ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ วันที่ 13 ก.ย. 43 ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ยังไม่ปรับตัวเลข ลดลงร้อยละ 17.6 อยู่ที่มูลค่า 1.082 ล้านล้านเยน จากระยะเดียวกันของปี 42 ที่เกินดุลฯ มูลค่า1.313 ล้านล้านเยน และลดลงจากที่เกินดุลฯ มูลค่า 1.306 ล้านล้านเยน ในเดือน มิ.ย. 43 ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.ค. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลง ร้อยละ 15.5 อยู่ที่มูลค่า 1.163 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยการนำเข้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่มูลค่า 2.985 ล้านล้านเยน จากมูลค่า 2.968 ล้านล้านเยน ในเดือน มิ.ย.43 ขณะเดียวกัน การส่งออกอยู่ที่มูลค่า 4.148 ล้านล้านเยน ลดลงจากมูลค่า 4.311 ล้านล้านเยน ในเดือนมิ.ย. 43 นาย Yoshito Sakakibara นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสแห่ง Merrill Lynch กล่าวว่า การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ลดลงครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพราะการเกินดุลการค้าที่ลดลง (รอยเตอร์ 13)
2. เยอรมนีเกินดุลการค้าลดลงเหลือ 10.9 พัน ล.มาร์ก และขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 5.4 พัน ล.มาร์ก ในเดือน ก.ค.43 รายงานจาก Wiesbaden เมื่อวันที่ 12 ก.ย.43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี รายงานว่า เดือน ก.ค.43 เยอรมนีเกินดุลการค้าลดลงมาอยู่ที่มูลค่า 10.9 พัน ล.มาร์ก เทียบกับที่มีมูลค่า 11.8 และ 14.4 พัน ล.มาร์ก ในเดือน มิ.ย.43 และ ก.ค.42 ตามลำดับ เป็นการลดลงต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่า จะเกินดุลฯโดยเฉลี่ย มูลค่า 12.8 พัน ล.มาร์ก ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลมูลค่า 5.4 พัน ล.มาร์ก เทียบกับที่เกินดุลฯ 0.4 พัน ล.มาร์กในเดือน มิ.ย. 43 และขาดดุลฯ 3.5 พัน ล.มาร์ก ในเดือน ก.ค.42 โดยในเดือน ก.ค.นี้ การส่งออกมีมูลค่า 97.8 พัน ล.มาร์ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จากระยะเดียวกันของปี 42 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 87.0 พัน ล.มาร์ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 จากระยะเดียวกันของปี 42 ในช่วง 7 เดือนแรกปี 43 เยอรมนีเกินดุลการค้าสะสมคิดเป็นมูลค่า 68.4 พัน ล.มาร์ก เทียบกับที่มีมูลค่า 74.9 พัน ล.มาร์กในระยะเดียวกันของปี 42 และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสะสม 21.0 พัน ล.มาร์ก เทียบกับที่ขาดดุลฯ 11.8 พัน ล.มาร์ก ในระยะเดียวกันปี 42 (รอยเตอร์ 12)
3. จีนเกินดุลการค้ามูลค่า 16.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในระยะ 8 เดือนแรกปี 43 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 12 ก.ย.43 ก.การค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศของจีน รายงานว่า ในระยะ 8 เดือนแรกของปี 43 จีนเกินดุลการค้ามูลค่า 16.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 42 ที่เกินดุลฯ 16 พัน ล.ดอลลาร์ โดยในระยะ 8 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 อยู่ที่มูลค่า 159.3 พัน ล.ดอลลาร์ จากระยะเดียวกันของปี 42 ขณะที่การนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 อยู่ที่มูลค่า 142.4 พัน ล.ดอลลาร์ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่า แม้การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกจะเพิ่มขึ้นมาก แต่การค้ากับต่างประเทศได้เริ่มชะลอตัวลงแล้ว ทางด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลงร้อยละ 7.91 อยู่ที่มูลค่า 22.79 พัน ล.ดอลลาร์ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 42 (รอยเตอร์ 12)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 12ก.ย. 43 41.441 (41.461)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 12 ก.ย.43
ซื้อ 41.2917 (41.2751) ขาย 41.5899 (41.5746)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,300) ขาย 5,400 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.37 (31.34)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. สศช.และทีดีอาร์ไอปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สศช.อาจปรับลดประมาณการทางเศรษฐกิจ จากเดิมที่ประเมินไว้ที่ระดับร้อยละ 4.5-5.0 เนื่องจากราคาน้ำมันสูงขึ้น สำหรับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ประเมินว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยในระยะ 20 ปี (2544-2564) จะไม่ถึงระดับร้อยละ 6 โดยช่วงปี 2544-2549 เศรษฐกิจจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.6 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.7 มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าในรูปดอลลาร์ขยายตัวร้อยละ 8 และ 8.7 ในช่วง 2549-2554 เศรษฐกิจจะเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.7 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.6 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 การนำเข้าลดลงเหลือร้อยละ 8.2 ในช่วงปี 2554-2559 เศรษฐกิจจะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 5.3 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.5 การส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 8.5 เท่ากับมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 เช่นกัน และในช่วงปี 2559-2564 เศรษฐกิจจะขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 5.2 อัตราเงินเฟ้อร้อยละ 2.5 การส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นร้อยละ 8.7 ส่วนการนำเข้าลดลงเหลือร้อยละ 8.4 (กรุงเทพธุรกิจ 13)
2. กองทุนฟื้นฟูแต่งตั้งบริษัทเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สันเป็นที่ปรึกษา ผู้อำนวยการบริษัทเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ให้เป็นที่ปรึกษาในการพิจารณาและกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ค้างชำระหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธนาคารที่กองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปถือหุ้นเป็นระยะเวลา 5 เดือน โดยใช้แนวทางการตรวจสอบและการวิเคราะห์ที่เหมาะสมทุกรูปแบบในการแก้ไข เพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มสินเชื่อของกองทุนฟื้นฟูฯ จะปลอดจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังสามารถให้ผลตอบแทนได้จริงและตรงตามที่คาดไว้ ทั้งนี้ ธนาคารที่กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ประกอบด้วย ธ.กรุงไทย, ไทยธนาคาร, ศรีนคร และ ธ.นครหลวงไทย (กรุงเทพธุรกิจ 13)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นของไทยยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ส.ค.43 ลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 70.7 มาอยู่ที่ 68.9, ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจปัจจุบันลดลงจาก 53.2 มาอยู่ที่ 50.8, ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในอนาคตลดลงจาก 88.3 เหลือ 86.9, ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำลดลงจาก 61.7 เหลือ 59.6 ส่วนความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 97.4 ใกล้เคียงกับระดับ 96.3 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค คือ ปัญหาราคาน้ำมันแพง, ค่าเงินบาทตกต่ำ, ความไม่แน่นอนทางการเมือง, ความล่าช้าในการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดราย และราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ (แนวหน้า 13)
4. ครม.ให้ความเห็นชอบการขยายขอบเขตการใช้เงินกู้ ECP Program รมว.คลังเปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ ก.คลังขยายขอบเขตการใช้เงินกู้ภายใต้โครงการออกตราสารการค้าสกุลยูโร (ECP Program) จาก 500 ล.ดอลลาร์ เป็น 1,000 ล.ดอลลาร์ เพื่อรองรับแผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เงินกู้ต่างประเทศของภาครัฐบาลและลงทุนในโครงการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ (วัฏจักร 13)
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดลดลงร้อยละ 17.6 เทียบต่อปี ในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ วันที่ 13 ก.ย. 43 ก.คลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ที่ยังไม่ปรับตัวเลข ลดลงร้อยละ 17.6 อยู่ที่มูลค่า 1.082 ล้านล้านเยน จากระยะเดียวกันของปี 42 ที่เกินดุลฯ มูลค่า1.313 ล้านล้านเยน และลดลงจากที่เกินดุลฯ มูลค่า 1.306 ล้านล้านเยน ในเดือน มิ.ย. 43 ขณะเดียวกัน ในเดือน ก.ค. 43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลง ร้อยละ 15.5 อยู่ที่มูลค่า 1.163 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยการนำเข้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่มูลค่า 2.985 ล้านล้านเยน จากมูลค่า 2.968 ล้านล้านเยน ในเดือน มิ.ย.43 ขณะเดียวกัน การส่งออกอยู่ที่มูลค่า 4.148 ล้านล้านเยน ลดลงจากมูลค่า 4.311 ล้านล้านเยน ในเดือนมิ.ย. 43 นาย Yoshito Sakakibara นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสแห่ง Merrill Lynch กล่าวว่า การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่ลดลงครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพราะการเกินดุลการค้าที่ลดลง (รอยเตอร์ 13)
2. เยอรมนีเกินดุลการค้าลดลงเหลือ 10.9 พัน ล.มาร์ก และขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 5.4 พัน ล.มาร์ก ในเดือน ก.ค.43 รายงานจาก Wiesbaden เมื่อวันที่ 12 ก.ย.43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี รายงานว่า เดือน ก.ค.43 เยอรมนีเกินดุลการค้าลดลงมาอยู่ที่มูลค่า 10.9 พัน ล.มาร์ก เทียบกับที่มีมูลค่า 11.8 และ 14.4 พัน ล.มาร์ก ในเดือน มิ.ย.43 และ ก.ค.42 ตามลำดับ เป็นการลดลงต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่า จะเกินดุลฯโดยเฉลี่ย มูลค่า 12.8 พัน ล.มาร์ก ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัด ขาดดุลมูลค่า 5.4 พัน ล.มาร์ก เทียบกับที่เกินดุลฯ 0.4 พัน ล.มาร์กในเดือน มิ.ย. 43 และขาดดุลฯ 3.5 พัน ล.มาร์ก ในเดือน ก.ค.42 โดยในเดือน ก.ค.นี้ การส่งออกมีมูลค่า 97.8 พัน ล.มาร์ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 จากระยะเดียวกันของปี 42 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 87.0 พัน ล.มาร์ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 จากระยะเดียวกันของปี 42 ในช่วง 7 เดือนแรกปี 43 เยอรมนีเกินดุลการค้าสะสมคิดเป็นมูลค่า 68.4 พัน ล.มาร์ก เทียบกับที่มีมูลค่า 74.9 พัน ล.มาร์กในระยะเดียวกันของปี 42 และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสะสม 21.0 พัน ล.มาร์ก เทียบกับที่ขาดดุลฯ 11.8 พัน ล.มาร์ก ในระยะเดียวกันปี 42 (รอยเตอร์ 12)
3. จีนเกินดุลการค้ามูลค่า 16.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในระยะ 8 เดือนแรกปี 43 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 12 ก.ย.43 ก.การค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศของจีน รายงานว่า ในระยะ 8 เดือนแรกของปี 43 จีนเกินดุลการค้ามูลค่า 16.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 42 ที่เกินดุลฯ 16 พัน ล.ดอลลาร์ โดยในระยะ 8 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 อยู่ที่มูลค่า 159.3 พัน ล.ดอลลาร์ จากระยะเดียวกันของปี 42 ขณะที่การนำเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 อยู่ที่มูลค่า 142.4 พัน ล.ดอลลาร์ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่า แม้การส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกจะเพิ่มขึ้นมาก แต่การค้ากับต่างประเทศได้เริ่มชะลอตัวลงแล้ว ทางด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลงร้อยละ 7.91 อยู่ที่มูลค่า 22.79 พัน ล.ดอลลาร์ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 42 (รอยเตอร์ 12)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 12ก.ย. 43 41.441 (41.461)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 12 ก.ย.43
ซื้อ 41.2917 (41.2751) ขาย 41.5899 (41.5746)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,300) ขาย 5,400 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.37 (31.34)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-