ในช่วงครึ่งแรกปีนี้เศรษฐกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเริ่มกระเตื้องขึ้น แม้ว่าผลผลิตยางพาราและปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดไม่มากนัก แต่การท่องเที่ยว การลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐบาลขยายตัวดีขึ้น ประกอบกับราคากุ้งกุลาดำสูงขึ้นส่งผลให้ภาวะการค้าดีขึ้น ทำให้มีปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมาก
ภาคการเกษตร
ยางพารา ผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก เนื่องจากเป็นช่วงยางผลัดใบและมีฝนตกติดต่อกันในช่วงไตรมาส 2 ทำให้เกษตรกรมีวันกรีดยางน้อยลง ขณะที่ตลาดมีความต้องการซื้อมากขึ้น ส่งผลให้ราคารับซื้อยางแผ่นดิบในช่วงครึ่งแรกปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.63 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.5
กาแฟ การผลิตกาแฟประจำฤดูการผลิตปี 2542/43 คาดว่าจะได้รับผลผลิตประมาณ 14.9 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากฤดูการผลิตปีก่อนร้อยละ 17.7 เนื่องจากสภาพอากาศที่ฝนตกนาน ส่งผลดีต่อการเพาะปลูก ทำให้ผลผลิตกาแฟสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามคุณภาพของเมล็ดกาแฟในปีนี้มีความชื้นสูง เมล็ดดำ เมล็ดแตกปะปนอยู่มาก เนื่องจากในช่วงออกดอกมีฝนตกต่อเนื่อง จึงไม่สามารถเข้าร่วมโครงการรับจำนำกับทางภาคใต้ ทำให้ผลผลิตเหลืออยู่ในมือเกษตรกรมาก ราคารับซื้อเมล็ดกาแฟในช่วงนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.48 บาท ลดลงจาากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.4
ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ขณะเดียวกันโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบได้ชะลอการ รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร เนื่องจากสต็อกน้ำมันปาล์มดิบมีมาก และความต้องการใช้น้อยลง ส่งผลให้ราคาผลปาล์มที่เกษตรกรขายได้ลดต่ำลง โดยราคาผลปาล์มสดเมล็ดร่วงในช่วงครึ่งแรกปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.07 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 49.4
ประมง การทำประมงในช่วงไตรมาสแรกอยู่ในภาวะที่ชะลอตัวลง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูปลาวางไข่ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 15 พฤษภาคม ทำให้ปริมาณ สัตว์น้ำนำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของ องค์การสะพานปลาลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 50 แต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 การประมงอยู่ใน ภาวะที่ดีขึ้น ปริมาณ สัตว์น้ำ นำขึ้นท่าเทียบเรือเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.0 อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีปัญหาภาระต้นทุนดำเนินการที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำผลผลิตไม่มากนัก เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการเลี้ยงกุ้ง ประกอบกับมีปัญหาโรคตัวแดงดวงขาวระบาด ทำให้มีการ จับกุ้งออกตลาดก่อนกำหนด ส่งผลให้กุ้งที่ออกสู่ตลาดมีขนาดเล็ก ขณะที่โรงงานมีความต้องการมาก จึงรับซื้อในราคาที่ค่อนข้างสูง โดยกุ้งกุลาดำขนาด 30 — 35 ตัว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 395 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0
นอกภาคการเกษตร
สาขาเหมืองแร่ การผลิตแร่ยิปซัมขยายตัวขึ้น ผลผลิตจากเหมืองแร่ต่าง ๆ ภายในจังหวัดในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 1,509,710 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจาก ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.4
สาขาอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งแรกนี้อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบการผลิตชะลอตัวลงตามความต้องการของตลาด ประกอบกับมีสต็อคอยู่เป็นจำนวนมาก จึงชะลอการรับซื้อวัตถุดิบ จะเห็นได้จากปริมาณผลปาล์มสดที่ป้อนเข้าโรงงานมีจำนวนทั้งสิ้น 427,594.2 เมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.3 ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตได้มีจำนวน 74,233.5 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 22.7 ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำการผลิตไม่คล่องตัว เพราะประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญ คือ กุ้งกุลาดำ ทำให้มีการแข่งขันกันซื้อวัตถุดิบ ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพาราขยายตัวสูงขึ้นตามความต้องการ ตลาดที่เพิ่มขึ้น
สาขาการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวในช่วงครึ่งแรกนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวที่อำเภอเกาะสมุยและเกาะพงัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ประมาณร้อยละ 15 ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวยุโรป อิตาลี เยอรมัน และอังกฤษ เนื่องจากโรงแรมต่าง ๆ ได้มีการประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ต ทำให้นัก ท่องเที่ยวรับรู้ข่าวสารและสำรองห้องพักได้โดยตรง
สาขาการค้า ภาวะโดยทั่วไปเริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งมียอดขายเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มลูกค้าจะทำการซื้อด้วยเงินสด หรือผ่อนชำระในระยะสั้น 2 — 3 เดือน ขณะเดียวกันยอดการจำหน่ายรถก็สูงขึ้น จะเห็นได้จากการจดทะเบียนรถใหม่ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดในช่วงครึ่งแรกปีนี้รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 300 คัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.9 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 1,224 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 และรถจักรยานยนต์ 7,226 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.8
ส่วนการค้าระหว่างประเทศผ่านด่านศุลกากรจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีมูลค่าส่งออก 3,304.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 82.2 เนื่องจากมีการ ส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ จาก 281.6 ล้านบาทในระยะเดียวกันปีก่อน เป็น 1,220.9 ล้านบาทในครึ่งแรกปีนี้ ขณะเดียวกันมีมูลค่านำเข้า 95.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เป็นผลจากการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและแอมโมเนียมากขึ้น เป็นสำคัญ
สาขาการลงทุน ในช่วงครึ่งแรกนี้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวขึ้นมาก มีการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล 215 ราย ทุนจดทะเบียน 678.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.2 และ 65.2 ตามลำดับ ในจำนวนนี้เป็นกิจการที่มีเงินทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป 18 ราย ได้แก่ ร้านอาหาร และภัตตาคาร 4 ราย ทุนจดทะเบียน 52.0 ล้านบาท กิจการอสังหาริมทรัพย์ 4 ราย ทุนจดทะเบียน 70.4 ล้านบาท กิจการน้ำแข็ง 3 ราย ทุนจดทะเบียน 32.0 ล้านบาท กิจการศึกษาและอบรม 2 ราย ทุนจดทะเบียน 61.6 ล้านบาท กิจการโรงแรม 2 ราย ทุนจดทะเบียน 20.0 ล้านบาท และกิจการอื่น ๆ 3 ราย ทุนจดทะเบียน 110.0 ล้านบาท
ส่วนกิจการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมีทั้งสิ้น 11 ราย เงินลงทุน 1,536.7 ล้านบาท และว่าจ้างคนงานไทย 2,483 คน เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมยางพารา น้ำมันปาล์ม ไม้ยางแปรรูป และขนส่ง
สำหรับการก่อสร้างขยายตัวสูงมากกว่าเท่าตัว โดยมีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้าง 62,242 ตารางเมตร เทียบกับ 29,454 ตารางเมตร ในระยะเดียวกันปีก่อน ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย 45,262 ตารางเมตร การพาณิชย์ 4,448 ตารางเมตร บริการ 6,236 ตารางเมตร และวัตถุประสงค์อื่น 6,296 ตารางเมตร
สาขาการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ผ่านสำนักงานคลังจังหวัด สุราษฎร์ธานีในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีจำนวน 4,631.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรมีจำนวนทั้งสิ้น 701.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 49.8 ตามการลดลงของภาษี สรรพากรและภาษีสรรพสามิต
สาขาการเงินการธนาคาร ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ปริมาณเงินหมุนเวียนในจังหวัดเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการลงทุนและการท่องเที่ยวขยายตัวสูงขึ้น จะเห็นได้จากเงินสดที่สถาบันการเงินต่าง ๆ เบิกจ่ายจากผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมีจำนวน 7,625.6 ล้านบาท และเงินฝากกับผู้แทนฯ 8,091.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 และ 23.7 ตามลำดับ
การระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ขยายตัวไม่มาก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และธนาคารพาณิชย์ยังไปมุ่งระดมเงินฝาก ส่งผลให้ยอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายนนี้มีจำนวน 26,703.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 ส่วนใหญ่เป็นการ เพิ่มขึ้นของเงินฝากออมทรัพย์ ส่วนเงินให้สินเชื่อยังคงลดลง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังในการให้ สินเชื่อมากขึ้น โดยมียอดคงค้าง 25,166.7 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9
ณ สิ้นเดือนมิถุนายนนี้ สถาบันการเงินในจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 3,481 ราย จำนวนเงิน 8,976 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 889 ราย จำนวนเงิน 3,714 ล้านบาท
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในช่วงครึ่งหลัง ปี 2543
เศรษฐกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานีในช่วงครึ่งหลังยังคงมีทิศทางที่ดีขึ้นจากการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้มีการลงทุนและการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคสูงขึ้น และเอื้ออำนวยให้สถาบันการเงินปรับโครงสร้างหนี้ได้ ขณะเดียวกันผลผลิตกุ้งกุลาดำจะออกสู่ตลาดมากขึ้น และการท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตามการที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขยับตัวสูงขึ้นและผลผลิตไม้ผลที่อาจลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะฝนตกชุก จะมีผลกระทบต่ออำนาจซื้อของเกษตรกร
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ภาคการเกษตร
ยางพารา ผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก เนื่องจากเป็นช่วงยางผลัดใบและมีฝนตกติดต่อกันในช่วงไตรมาส 2 ทำให้เกษตรกรมีวันกรีดยางน้อยลง ขณะที่ตลาดมีความต้องการซื้อมากขึ้น ส่งผลให้ราคารับซื้อยางแผ่นดิบในช่วงครึ่งแรกปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.63 บาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.5
กาแฟ การผลิตกาแฟประจำฤดูการผลิตปี 2542/43 คาดว่าจะได้รับผลผลิตประมาณ 14.9 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากฤดูการผลิตปีก่อนร้อยละ 17.7 เนื่องจากสภาพอากาศที่ฝนตกนาน ส่งผลดีต่อการเพาะปลูก ทำให้ผลผลิตกาแฟสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามคุณภาพของเมล็ดกาแฟในปีนี้มีความชื้นสูง เมล็ดดำ เมล็ดแตกปะปนอยู่มาก เนื่องจากในช่วงออกดอกมีฝนตกต่อเนื่อง จึงไม่สามารถเข้าร่วมโครงการรับจำนำกับทางภาคใต้ ทำให้ผลผลิตเหลืออยู่ในมือเกษตรกรมาก ราคารับซื้อเมล็ดกาแฟในช่วงนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.48 บาท ลดลงจาากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.4
ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ขณะเดียวกันโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบได้ชะลอการ รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร เนื่องจากสต็อกน้ำมันปาล์มดิบมีมาก และความต้องการใช้น้อยลง ส่งผลให้ราคาผลปาล์มที่เกษตรกรขายได้ลดต่ำลง โดยราคาผลปาล์มสดเมล็ดร่วงในช่วงครึ่งแรกปีนี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.07 บาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 49.4
ประมง การทำประมงในช่วงไตรมาสแรกอยู่ในภาวะที่ชะลอตัวลง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูปลาวางไข่ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 15 พฤษภาคม ทำให้ปริมาณ สัตว์น้ำนำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของ องค์การสะพานปลาลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 50 แต่ในช่วงไตรมาสที่ 2 การประมงอยู่ใน ภาวะที่ดีขึ้น ปริมาณ สัตว์น้ำ นำขึ้นท่าเทียบเรือเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.0 อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีปัญหาภาระต้นทุนดำเนินการที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำผลผลิตไม่มากนัก เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการเลี้ยงกุ้ง ประกอบกับมีปัญหาโรคตัวแดงดวงขาวระบาด ทำให้มีการ จับกุ้งออกตลาดก่อนกำหนด ส่งผลให้กุ้งที่ออกสู่ตลาดมีขนาดเล็ก ขณะที่โรงงานมีความต้องการมาก จึงรับซื้อในราคาที่ค่อนข้างสูง โดยกุ้งกุลาดำขนาด 30 — 35 ตัว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 395 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0
นอกภาคการเกษตร
สาขาเหมืองแร่ การผลิตแร่ยิปซัมขยายตัวขึ้น ผลผลิตจากเหมืองแร่ต่าง ๆ ภายในจังหวัดในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีจำนวน 1,509,710 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจาก ระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 44.4
สาขาอุตสาหกรรม ในช่วงครึ่งแรกนี้อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบการผลิตชะลอตัวลงตามความต้องการของตลาด ประกอบกับมีสต็อคอยู่เป็นจำนวนมาก จึงชะลอการรับซื้อวัตถุดิบ จะเห็นได้จากปริมาณผลปาล์มสดที่ป้อนเข้าโรงงานมีจำนวนทั้งสิ้น 427,594.2 เมตริกตัน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.3 ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตได้มีจำนวน 74,233.5 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 22.7 ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำการผลิตไม่คล่องตัว เพราะประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญ คือ กุ้งกุลาดำ ทำให้มีการแข่งขันกันซื้อวัตถุดิบ ส่วนอุตสาหกรรมแปรรูปไม้ยางพาราขยายตัวสูงขึ้นตามความต้องการ ตลาดที่เพิ่มขึ้น
สาขาการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวในช่วงครึ่งแรกนี้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวที่อำเภอเกาะสมุยและเกาะพงัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ประมาณร้อยละ 15 ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวยุโรป อิตาลี เยอรมัน และอังกฤษ เนื่องจากโรงแรมต่าง ๆ ได้มีการประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ต ทำให้นัก ท่องเที่ยวรับรู้ข่าวสารและสำรองห้องพักได้โดยตรง
สาขาการค้า ภาวะโดยทั่วไปเริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งมียอดขายเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มลูกค้าจะทำการซื้อด้วยเงินสด หรือผ่อนชำระในระยะสั้น 2 — 3 เดือน ขณะเดียวกันยอดการจำหน่ายรถก็สูงขึ้น จะเห็นได้จากการจดทะเบียนรถใหม่ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดในช่วงครึ่งแรกปีนี้รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 300 คัน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 38.9 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 1,224 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.0 และรถจักรยานยนต์ 7,226 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.8
ส่วนการค้าระหว่างประเทศผ่านด่านศุลกากรจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีมูลค่าส่งออก 3,304.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 82.2 เนื่องจากมีการ ส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ จาก 281.6 ล้านบาทในระยะเดียวกันปีก่อน เป็น 1,220.9 ล้านบาทในครึ่งแรกปีนี้ ขณะเดียวกันมีมูลค่านำเข้า 95.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.2 เป็นผลจากการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและแอมโมเนียมากขึ้น เป็นสำคัญ
สาขาการลงทุน ในช่วงครึ่งแรกนี้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวขึ้นมาก มีการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล 215 ราย ทุนจดทะเบียน 678.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.2 และ 65.2 ตามลำดับ ในจำนวนนี้เป็นกิจการที่มีเงินทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป 18 ราย ได้แก่ ร้านอาหาร และภัตตาคาร 4 ราย ทุนจดทะเบียน 52.0 ล้านบาท กิจการอสังหาริมทรัพย์ 4 ราย ทุนจดทะเบียน 70.4 ล้านบาท กิจการน้ำแข็ง 3 ราย ทุนจดทะเบียน 32.0 ล้านบาท กิจการศึกษาและอบรม 2 ราย ทุนจดทะเบียน 61.6 ล้านบาท กิจการโรงแรม 2 ราย ทุนจดทะเบียน 20.0 ล้านบาท และกิจการอื่น ๆ 3 ราย ทุนจดทะเบียน 110.0 ล้านบาท
ส่วนกิจการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมีทั้งสิ้น 11 ราย เงินลงทุน 1,536.7 ล้านบาท และว่าจ้างคนงานไทย 2,483 คน เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมยางพารา น้ำมันปาล์ม ไม้ยางแปรรูป และขนส่ง
สำหรับการก่อสร้างขยายตัวสูงมากกว่าเท่าตัว โดยมีพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการก่อสร้าง 62,242 ตารางเมตร เทียบกับ 29,454 ตารางเมตร ในระยะเดียวกันปีก่อน ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย 45,262 ตารางเมตร การพาณิชย์ 4,448 ตารางเมตร บริการ 6,236 ตารางเมตร และวัตถุประสงค์อื่น 6,296 ตารางเมตร
สาขาการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ผ่านสำนักงานคลังจังหวัด สุราษฎร์ธานีในช่วงครึ่งแรกปีนี้มีจำนวน 4,631.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 ส่วนรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรมีจำนวนทั้งสิ้น 701.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 49.8 ตามการลดลงของภาษี สรรพากรและภาษีสรรพสามิต
สาขาการเงินการธนาคาร ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ปริมาณเงินหมุนเวียนในจังหวัดเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการลงทุนและการท่องเที่ยวขยายตัวสูงขึ้น จะเห็นได้จากเงินสดที่สถาบันการเงินต่าง ๆ เบิกจ่ายจากผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยมีจำนวน 7,625.6 ล้านบาท และเงินฝากกับผู้แทนฯ 8,091.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 และ 23.7 ตามลำดับ
การระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ขยายตัวไม่มาก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และธนาคารพาณิชย์ยังไปมุ่งระดมเงินฝาก ส่งผลให้ยอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายนนี้มีจำนวน 26,703.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 ส่วนใหญ่เป็นการ เพิ่มขึ้นของเงินฝากออมทรัพย์ ส่วนเงินให้สินเชื่อยังคงลดลง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังในการให้ สินเชื่อมากขึ้น โดยมียอดคงค้าง 25,166.7 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.9
ณ สิ้นเดือนมิถุนายนนี้ สถาบันการเงินในจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำเร็จ 3,481 ราย จำนวนเงิน 8,976 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 889 ราย จำนวนเงิน 3,714 ล้านบาท
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในช่วงครึ่งหลัง ปี 2543
เศรษฐกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานีในช่วงครึ่งหลังยังคงมีทิศทางที่ดีขึ้นจากการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้มีการลงทุนและการใช้จ่าย เพื่อการบริโภคสูงขึ้น และเอื้ออำนวยให้สถาบันการเงินปรับโครงสร้างหนี้ได้ ขณะเดียวกันผลผลิตกุ้งกุลาดำจะออกสู่ตลาดมากขึ้น และการท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตามการที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขยับตัวสูงขึ้นและผลผลิตไม้ผลที่อาจลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะฝนตกชุก จะมีผลกระทบต่ออำนาจซื้อของเกษตรกร
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-