การส่งออกหดตัวลง และการนำเข้าชะลอตัวลง
การเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดชะลอตัวลง
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิขาดดุลต่อเนื่อง เนื่องจากมีการเพิ่มสินทรัพย์ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าการชำระหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนจะชะลอตัวลง
ดุลการชำระเงินเกินดุลเพียงเล็กน้อย ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขาดดุลมาก
การส่งออก ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 มูลค่าการส่งออกลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 3.5 ในขณะที่ราคา เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 สินค้าที่มูลค่าการส่งออกลดลงมากเป็นสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าว และ มันสำปะหลัง เนื่องจากราคาส่งออกลดลงมากเพราะภาวะการผลิตของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งที่อยู่ในเกณฑ์ดี และความต้องการใช้อาหารสัตว์ในยุโรปที่ลดลงเนื่องจากการลดจำนวนสัตว์เลี้ยงเพื่อแก้ไขปัญหาโรคปากและเท้าเปื่อย อย่างไรก็ตามการ ส่งออกเป็ดไก่แช่แข็งขยายตัวดี เนื่องจากสหภาพ ยุโรปที่ประสบปัญหาโรควัวบ้าหันมาบริโภคเป็ดไก่มากขึ้น ส่วนปลาสดแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งสด แช่แข็งปริมาณการส่งออกขยายตัวสูง แต่ราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ด้านการส่งออกสินค้า อุตสาหกรรมที่มีสัดส่วน และอัตราการขยายตัวสูงกลับลดลงเล็กน้อย (1) สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.0 ในปีก่อน แทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลย เนื่องจากความต้องการสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกลดลง โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน แต่สินค้าสำคัญอื่นๆ ที่ยังเพิ่มขึ้นบ้างหรือมีแนวโน้มที่ดีขึ้นได้แก่ แผงวงจรรวม อุปกรณ์สื่อสาร ยานยนต์และชิ้นส่วน และเครื่องใช้ไฟฟ้า (2) สินค้าที่ใช้แรงงานสูงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ ส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนเนื่องจากไทยสูญเสียตลาดเสื้อผ้าคุณภาพต่ำแก่คู่แข่งที่ต้นทุนต่ำกว่า เช่น จีน อินโดนีเซีย เม็กซิโก และประเทศแถบละตินอเมริกา รวมทั้งอุปสรรคจากสหภาพยุโรปซึ่งมีการกีดกัน สินค้าจากนอกกลุ่ม และ (3) สินค้าที่ใช้วัตถุดิบ ในประเทศส่วนใหญ่ลดลง ที่สำคัญได้แก่ สับปะรดกระป๋องเนื่องจากมีอุปทานส่วนเกินจึงมีการแข่งขันด้านราคาค่อนข้างมาก
การนำเข้า การนำเข้าชะลอตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เป็นการชะลอตัวทุกหมวดสินค้าตามภาวะการส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศ โดยปริมาณลดลงร้อยละ 5.9 ขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6
สินค้าที่มูลค่านำเข้าชะลอตัวลงมากได้แก่สินค้าทุนเพราะในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 มีการ นำเข้าเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 ลำ มูลค่าประมาณ 791 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้การนำเข้าสินค้าทุนใน ไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.2 อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมเครื่องบินและเรือ สินค้าทุนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 โดยเครื่องจักรกลเพื่อการอุตสาหกรรมเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบยังขยายตัวดี สำหรับการนำเข้าวัตถุดิบ และกึ่งวัตถุดิบที่นำมาผลิตสินค้าเพื่อการบริโภค และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และแผงวงจรรวมและ ชิ้นส่วน ซึ่งนำมาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ชะลอลงอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่เคยขยายตัวสูงเกินร้อยละ 20 ในปี 2543 ก็ชะลอลงเช่นกัน โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้านำเข้าลดลงถึงร้อยละ 10.6 สำหรับปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมากในเดือนสุดท้ายของ ไตรมาสนี้
ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด การส่งออกที่หดตัวลง แต่การนำเข้ายังคงขยายตัวต่อเนื่องแม้ว่าจะเป็นอัตราที่ชะลอตัวลงก็ตาม ทำให้ในไตรมาสนี้เกินดุลการค้าเพียง 65 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ เกินดุล 1.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ดุลบริการและบริจาคเกินดุลใกล้เคียงกับปีก่อน เพราะรายจ่ายด้านดอกเบี้ยของภาคเอกชนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ทำให้บัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 3.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ จากข้อมูล เบื้องต้นขาดดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดดุล 3.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการขาดดุลของภาคเอกชนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะภาคธนาคาร
เงินทุนภาคเอกชน ขาดดุลลดลงตามการเพิ่มสินทรัพย์ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ที่ลดลง โดยเฉพาะเงินฝากในต่างประเทศลดลงเหลือประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อน 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) การชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศชะลอตัวลงเป็น 1.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อนชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ 2.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) เนื่องจากยอดชำระหนี้ของกิจการวิเทศธนกิจลดลงมากเหลือเพียง 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อนชำระหนี้ถึง 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ในจำนวนหนี้ที่ชำระนี้เป็นการชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนด 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อน 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
เงินทุนภาคทางการ (รวมธปท.) ขาดดุลเพียงเล็กน้อย เนื่องจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ชำระล่วงหน้าค่าเครื่องบิน 2 ลำ จำนวน 128 ล้านดอลลาร์ สรอ. กองทุนบำเหน็จบำบาญ ข้าราชการ (กบข.) ซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลไทยจำนวน 29 ล้านดอลลาร์ สรอ. และมีการนำเข้า เงินกู้จาก Japan Bank for International Corperation (JBIC) ตามโครงการเพื่อปรับ โครงสร้างทางการเกษตรจำนวน 69 ล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ธปท.ซื้อเงินตราต่างประเทศ เพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF package) จำนวน 590 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ดุลการชำระเงิน เปลี่ยนจากขาดดุล 1.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันปีก่อนเป็นเกินดุล 250 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 อยู่ที่ระดับ 32.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่ากับการนำเข้า 6.1 เดือน โดยมียอดคงค้างการขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ตารางดุลการชำระเงิน
(หน่วย : ล้านดอลลาร์ สรอ.) 2543 ม.ค.-มี.ค.1/
2543 2544
สินค้าออก เอฟ.โอ.บี. 67,942 16,223 16,019
% การเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 19.6 27.8 -1.3
สินค้าเข้า ซี.ไอ.เอฟ. 62,423 14,299 15,954
% การเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 31.3 42.7 11.6
ดุลการค้า 5,519 1,924 65
ดุลบริการบริจาค 3,689 1,323 1,356
ดุลบัญชีเดินสะพัด 9,208 3,247 1,421
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ -9,811 -3,842
เอกชน -9,401 -3,997
- ธนาคาร -6,611 -2,495
ธนาคารพาณิชย์ -2,601 -1,448
กิจการวิเทศธนกิจ -4,010 -1,047
- ธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร -2,790 -1,502
ทางการ -260 144
ธปท. -150 11
คลาดเคลื่อนสุทธิ -1,014 -1,221
ดุลการชำระเงินรวม 2/ -1,617 -1,816 250
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น
2/ ข้อมูลจริง
ที่มา: 1. กรมศุลกากร
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดชะลอตัวลง
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิขาดดุลต่อเนื่อง เนื่องจากมีการเพิ่มสินทรัพย์ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ แม้ว่าการชำระหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนจะชะลอตัวลง
ดุลการชำระเงินเกินดุลเพียงเล็กน้อย ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขาดดุลมาก
การส่งออก ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 มูลค่าการส่งออกลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.3 ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 3.5 ในขณะที่ราคา เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 สินค้าที่มูลค่าการส่งออกลดลงมากเป็นสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าว และ มันสำปะหลัง เนื่องจากราคาส่งออกลดลงมากเพราะภาวะการผลิตของประเทศคู่ค้าและคู่แข่งที่อยู่ในเกณฑ์ดี และความต้องการใช้อาหารสัตว์ในยุโรปที่ลดลงเนื่องจากการลดจำนวนสัตว์เลี้ยงเพื่อแก้ไขปัญหาโรคปากและเท้าเปื่อย อย่างไรก็ตามการ ส่งออกเป็ดไก่แช่แข็งขยายตัวดี เนื่องจากสหภาพ ยุโรปที่ประสบปัญหาโรควัวบ้าหันมาบริโภคเป็ดไก่มากขึ้น ส่วนปลาสดแช่เย็นแช่แข็งและกุ้งสด แช่แข็งปริมาณการส่งออกขยายตัวสูง แต่ราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ด้านการส่งออกสินค้า อุตสาหกรรมที่มีสัดส่วน และอัตราการขยายตัวสูงกลับลดลงเล็กน้อย (1) สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.0 ในปีก่อน แทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลย เนื่องจากความต้องการสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกลดลง โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน แต่สินค้าสำคัญอื่นๆ ที่ยังเพิ่มขึ้นบ้างหรือมีแนวโน้มที่ดีขึ้นได้แก่ แผงวงจรรวม อุปกรณ์สื่อสาร ยานยนต์และชิ้นส่วน และเครื่องใช้ไฟฟ้า (2) สินค้าที่ใช้แรงงานสูงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ ส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูปยังลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนเนื่องจากไทยสูญเสียตลาดเสื้อผ้าคุณภาพต่ำแก่คู่แข่งที่ต้นทุนต่ำกว่า เช่น จีน อินโดนีเซีย เม็กซิโก และประเทศแถบละตินอเมริกา รวมทั้งอุปสรรคจากสหภาพยุโรปซึ่งมีการกีดกัน สินค้าจากนอกกลุ่ม และ (3) สินค้าที่ใช้วัตถุดิบ ในประเทศส่วนใหญ่ลดลง ที่สำคัญได้แก่ สับปะรดกระป๋องเนื่องจากมีอุปทานส่วนเกินจึงมีการแข่งขันด้านราคาค่อนข้างมาก
การนำเข้า การนำเข้าชะลอตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 เป็นการชะลอตัวทุกหมวดสินค้าตามภาวะการส่งออกและอุปสงค์ภายในประเทศ โดยปริมาณลดลงร้อยละ 5.9 ขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6
สินค้าที่มูลค่านำเข้าชะลอตัวลงมากได้แก่สินค้าทุนเพราะในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 มีการ นำเข้าเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 ลำ มูลค่าประมาณ 791 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้การนำเข้าสินค้าทุนใน ไตรมาสแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.2 อย่างไรก็ตาม หากไม่รวมเครื่องบินและเรือ สินค้าทุนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 โดยเครื่องจักรกลเพื่อการอุตสาหกรรมเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบยังขยายตัวดี สำหรับการนำเข้าวัตถุดิบ และกึ่งวัตถุดิบที่นำมาผลิตสินค้าเพื่อการบริโภค และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และแผงวงจรรวมและ ชิ้นส่วน ซึ่งนำมาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ชะลอลงอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่เคยขยายตัวสูงเกินร้อยละ 20 ในปี 2543 ก็ชะลอลงเช่นกัน โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้านำเข้าลดลงถึงร้อยละ 10.6 สำหรับปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมากในเดือนสุดท้ายของ ไตรมาสนี้
ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด การส่งออกที่หดตัวลง แต่การนำเข้ายังคงขยายตัวต่อเนื่องแม้ว่าจะเป็นอัตราที่ชะลอตัวลงก็ตาม ทำให้ในไตรมาสนี้เกินดุลการค้าเพียง 65 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ เกินดุล 1.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ดุลบริการและบริจาคเกินดุลใกล้เคียงกับปีก่อน เพราะรายจ่ายด้านดอกเบี้ยของภาคเอกชนลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ทำให้บัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 3.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ จากข้อมูล เบื้องต้นขาดดุล 2.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดดุล 3.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการขาดดุลของภาคเอกชนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะภาคธนาคาร
เงินทุนภาคเอกชน ขาดดุลลดลงตามการเพิ่มสินทรัพย์ต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ที่ลดลง โดยเฉพาะเงินฝากในต่างประเทศลดลงเหลือประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อน 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) การชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศชะลอตัวลงเป็น 1.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อนชำระหนี้เงินกู้ต่างประเทศ 2.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) เนื่องจากยอดชำระหนี้ของกิจการวิเทศธนกิจลดลงมากเหลือเพียง 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อนชำระหนี้ถึง 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ในจำนวนหนี้ที่ชำระนี้เป็นการชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนด 0.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ช่วงเดียวกันปีก่อน 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
เงินทุนภาคทางการ (รวมธปท.) ขาดดุลเพียงเล็กน้อย เนื่องจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ชำระล่วงหน้าค่าเครื่องบิน 2 ลำ จำนวน 128 ล้านดอลลาร์ สรอ. กองทุนบำเหน็จบำบาญ ข้าราชการ (กบข.) ซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลไทยจำนวน 29 ล้านดอลลาร์ สรอ. และมีการนำเข้า เงินกู้จาก Japan Bank for International Corperation (JBIC) ตามโครงการเพื่อปรับ โครงสร้างทางการเกษตรจำนวน 69 ล้านดอลลาร์ สรอ. นอกจากนี้ธปท.ซื้อเงินตราต่างประเทศ เพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF package) จำนวน 590 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ดุลการชำระเงิน เปลี่ยนจากขาดดุล 1.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันปีก่อนเป็นเกินดุล 250 ล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2544 อยู่ที่ระดับ 32.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่ากับการนำเข้า 6.1 เดือน โดยมียอดคงค้างการขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ตารางดุลการชำระเงิน
(หน่วย : ล้านดอลลาร์ สรอ.) 2543 ม.ค.-มี.ค.1/
2543 2544
สินค้าออก เอฟ.โอ.บี. 67,942 16,223 16,019
% การเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 19.6 27.8 -1.3
สินค้าเข้า ซี.ไอ.เอฟ. 62,423 14,299 15,954
% การเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 31.3 42.7 11.6
ดุลการค้า 5,519 1,924 65
ดุลบริการบริจาค 3,689 1,323 1,356
ดุลบัญชีเดินสะพัด 9,208 3,247 1,421
เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ -9,811 -3,842
เอกชน -9,401 -3,997
- ธนาคาร -6,611 -2,495
ธนาคารพาณิชย์ -2,601 -1,448
กิจการวิเทศธนกิจ -4,010 -1,047
- ธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร -2,790 -1,502
ทางการ -260 144
ธปท. -150 11
คลาดเคลื่อนสุทธิ -1,014 -1,221
ดุลการชำระเงินรวม 2/ -1,617 -1,816 250
หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลเบื้องต้น
2/ ข้อมูลจริง
ที่มา: 1. กรมศุลกากร
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-