กรุงเทพ--4 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในวันที่ 5 สิงหาคม 2548 เวลา 09.00 — 17.30 น. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา จะจัดการสัมมนาทางธรุกิจไทยและแคนาดา ในหัวข้อ“การขยายความร่วมมือทางธุรกิจไทย — แคนาดา: การค้า
การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษาวิจัย” ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อขยายผลการศึกษาลู่ทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทย— แคนาดา ซึ่งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวาได้จ้างให้มหาวิทยาลัยออตตาวาทำการวิจัย โดยเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา กงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์ ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยในแคนาดา ผู้แทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย-แคนาดา จะเป็นผู้อภิปรายหลักในการสัมมนาครั้งนี้ และในช่วงบ่ายจะมีการแบ่งเป็นการสัมมนากลุ่มย่อย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการท่องเที่ยวระยะยาวในไทย กลุ่มผลิตภัณฑ์จากยางรถยนต์ใช้แล้ว และกลุ่มการเชื่อมโยงความร่วมมือด้านวิจัยกับด้านธุรกิจ นอกจากนี้ เอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา จะเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำนักธุรกิจแคนาดา เพื่อเปิดโอกาสให้นักธุรกิจไทยและแคนาดาได้พบปะและทำความรู้จักกัน โดยหวังว่าจะนำไปสู่การขยายลู่ทางการค้าการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวาได้จ้างให้มหาวิทยาลัยออตตาวาทำการวิจัยเกี่ยวกับสาขาการค้าและอุตสาหกรรมที่ไทยกับแคนาดามีความร่วมมืออยู่และสาขาอื่นๆ ที่สามารถริเริ่มขยายการค้าการลงทุนระหว่างกันได้ โดยมีการศึกษาใน 2 ระดับ กล่าวคือ ระดับเบื้องต้น ซึ่งคณะผู้วิจัยได้สรุปผลว่า จากการศึกษาสาขาความร่วมมือต่างๆ จำนวน 17 สาขา พบว่า มีความร่วมมือ 7 สาขาที่มีศักยภาพสูงที่ไทยและแคนาดาสามารถขยายความร่วมมือต่อไป คือ สาขาพลังงานไร้มลพิษ ชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ อุปกรณ์กีฬา อาหารทะเล ยางบด การท่องเที่ยวระยะยาว และการค้าเพชร
ในช่วงที่สอง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวาได้ขยายการวิจัยออกไปในลักษณะการศึกษารายสาขา ใน 3 สาขา ได้แก่
1) การท่องเที่ยวแบบระยะยาว โดยมุ่งเน้นที่กลุ่มนักท่องเที่ยวสูงอายุระหว่าง 55 — 65 ปี เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่มีปัจจัยเอื้อต่อการท่องเที่ยวระยะยาว โดยเฉพาะการไปท่องเที่ยว 2 — 3 เดือนในช่วงฤดูหนาว และระบบประกันสุขภาพของแคนาดาเอื้ออำนวยกับการท่องเที่ยวในลักษณะนี้
2) ยางบด เป็นสาขาที่มีช่องทางธุรกิจสูงและให้ผลตอบแทนเร็ว โดยไทยมีปริมาณยางรถยนต์ใช้แล้วจำนวนมากเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจนี้ และแคนาดามีเทคโนโลยีผลิตยางป่นจากยางรถยนต์ใช้แล้ว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูง ผลิตภัณฑ์จากยางป่นสามารถนำไปประกอบในการผลิตวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ ยางราดถนน แผ่นยาง ชิ้นส่วนรถยนต์ ได้
3) พลังงานลม สามารถเป็นพลังงานทางเลือกของไทยในอนาคตเพื่อเสริมพลังงานจากก๊าซและน้ำมัน โดยเป็นพลังงานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยแคนาดากำลังพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานลมที่ใช้กระแสลมต่ำ ซึ่งจะสามารถใช้ได้กับทั่วทุกภาคของไทย
ในการสัมมนาครั้งนี้ เอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวาและกงสุญใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์จะถ่ายทอดผลการศึกษาในเชิงลึกในสาขาการท่องเที่ยวระยะยาวและยางบดให้แก่นักธุรกิจไทยทราบ รวมทั้งนำ
นักธุรกิจแคนาดาในสาขาธุรกิจดังกล่าว และสาขาอื่นๆ ที่สนใจจะร่วมมือกับไทย จำนวน 14 คน มาพบปะและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับภาครัฐบาลและเอกชนของไทย เพื่อขยายลู่ทางการค้าการลงทุนระหว่างไทย-แคนาดาต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในวันที่ 5 สิงหาคม 2548 เวลา 09.00 — 17.30 น. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา จะจัดการสัมมนาทางธรุกิจไทยและแคนาดา ในหัวข้อ“การขยายความร่วมมือทางธุรกิจไทย — แคนาดา: การค้า
การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษาวิจัย” ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ เพื่อขยายผลการศึกษาลู่ทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทย— แคนาดา ซึ่งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวาได้จ้างให้มหาวิทยาลัยออตตาวาทำการวิจัย โดยเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา กงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์ ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยในแคนาดา ผู้แทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย-แคนาดา จะเป็นผู้อภิปรายหลักในการสัมมนาครั้งนี้ และในช่วงบ่ายจะมีการแบ่งเป็นการสัมมนากลุ่มย่อย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการท่องเที่ยวระยะยาวในไทย กลุ่มผลิตภัณฑ์จากยางรถยนต์ใช้แล้ว และกลุ่มการเชื่อมโยงความร่วมมือด้านวิจัยกับด้านธุรกิจ นอกจากนี้ เอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา จะเป็นเจ้าภาพจัดงานเลี้ยงอาหารค่ำนักธุรกิจแคนาดา เพื่อเปิดโอกาสให้นักธุรกิจไทยและแคนาดาได้พบปะและทำความรู้จักกัน โดยหวังว่าจะนำไปสู่การขยายลู่ทางการค้าการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวาได้จ้างให้มหาวิทยาลัยออตตาวาทำการวิจัยเกี่ยวกับสาขาการค้าและอุตสาหกรรมที่ไทยกับแคนาดามีความร่วมมืออยู่และสาขาอื่นๆ ที่สามารถริเริ่มขยายการค้าการลงทุนระหว่างกันได้ โดยมีการศึกษาใน 2 ระดับ กล่าวคือ ระดับเบื้องต้น ซึ่งคณะผู้วิจัยได้สรุปผลว่า จากการศึกษาสาขาความร่วมมือต่างๆ จำนวน 17 สาขา พบว่า มีความร่วมมือ 7 สาขาที่มีศักยภาพสูงที่ไทยและแคนาดาสามารถขยายความร่วมมือต่อไป คือ สาขาพลังงานไร้มลพิษ ชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ อุปกรณ์กีฬา อาหารทะเล ยางบด การท่องเที่ยวระยะยาว และการค้าเพชร
ในช่วงที่สอง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวาได้ขยายการวิจัยออกไปในลักษณะการศึกษารายสาขา ใน 3 สาขา ได้แก่
1) การท่องเที่ยวแบบระยะยาว โดยมุ่งเน้นที่กลุ่มนักท่องเที่ยวสูงอายุระหว่าง 55 — 65 ปี เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่มีปัจจัยเอื้อต่อการท่องเที่ยวระยะยาว โดยเฉพาะการไปท่องเที่ยว 2 — 3 เดือนในช่วงฤดูหนาว และระบบประกันสุขภาพของแคนาดาเอื้ออำนวยกับการท่องเที่ยวในลักษณะนี้
2) ยางบด เป็นสาขาที่มีช่องทางธุรกิจสูงและให้ผลตอบแทนเร็ว โดยไทยมีปริมาณยางรถยนต์ใช้แล้วจำนวนมากเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจนี้ และแคนาดามีเทคโนโลยีผลิตยางป่นจากยางรถยนต์ใช้แล้ว ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูง ผลิตภัณฑ์จากยางป่นสามารถนำไปประกอบในการผลิตวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ ยางราดถนน แผ่นยาง ชิ้นส่วนรถยนต์ ได้
3) พลังงานลม สามารถเป็นพลังงานทางเลือกของไทยในอนาคตเพื่อเสริมพลังงานจากก๊าซและน้ำมัน โดยเป็นพลังงานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยแคนาดากำลังพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานลมที่ใช้กระแสลมต่ำ ซึ่งจะสามารถใช้ได้กับทั่วทุกภาคของไทย
ในการสัมมนาครั้งนี้ เอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวาและกงสุญใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์จะถ่ายทอดผลการศึกษาในเชิงลึกในสาขาการท่องเที่ยวระยะยาวและยางบดให้แก่นักธุรกิจไทยทราบ รวมทั้งนำ
นักธุรกิจแคนาดาในสาขาธุรกิจดังกล่าว และสาขาอื่นๆ ที่สนใจจะร่วมมือกับไทย จำนวน 14 คน มาพบปะและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับภาครัฐบาลและเอกชนของไทย เพื่อขยายลู่ทางการค้าการลงทุนระหว่างไทย-แคนาดาต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-