ข่าวในประเทศ
1. ธปท.เปิดเผยยอดการเบิกจ่ายธนบัตรในเดือน ส.ค.-ต.ค.43 ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชน ในฐานะรองโฆษก ธปท.เปิดเผยการเบิกจ่ายธนบัตรจ่ายใช้แลกชนิดต่างๆ จาก ธปท.ในเดือน ส.ค.- ต.ค. 43 ว่ามีจำนวน 88,650 87,223 และ 87,049 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.1 5.8 และ 4.3 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจับจ่ายใช้สอยของประชนสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว สำหรับธนบัตรหมุนเวียนในตลาด ณ สิ้นเดือน ต.ค.มีมูลค่าทั้งสิ้น 413,719 ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 จากระยะเดียวกันปี 42 ทั้งนี้ ไม่รวมธนบัตรชนิดราคา 500,000 บาท 60 บาท และ 1 บาท (วัฏจักร,กรุงเทพธุรกิจ 10)
2. ผลการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรในเดือน ต.ค.43 อธิบดีกรมสรรพากรเปิดเผยผลว่า กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษีทุกประเภทในเดือน ต.ค.43 ได้ทั้งสิ้น 32,769.361 ล.บาท จากประมาณการที่กำหนดไว้ 31,631.477 ล.บาท ซึ่งสูงกว่าเป็นจำนวน 1,137.884 ล.บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.60 และสูงกว่าการจัดเก็บในช่วงเดียวกันปี 42 ที่จัดเก็บได้ 29,222.196 ล.บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.14 โดยภาษีที่เก็บได้เกินเป้าหมายคือ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้มีความมั่นใจว่าในปีงบประมาณ 44 กรมสรรพากรจะสามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย (กรุงเทพธุรกิจ,วัฏจักร 10)
3. อัตราดอกเบี้ยในประเทศจะยังไม่เคลื่อนไหวในช่วงนี้ ผู้บริหารระดับสูงของ ธพ.กล่าวว่า ภาวะดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากจะยังไม่เคลื่อนไหวในช่วงนี้ เนื่องจากต้องรอดูนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ให้ชัดเจน สำหรับค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวผันผวนในทิศทางที่อ่อนค่าลงนั้น ถือว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค ซึ่ง ทางการยังคงต้องดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัดระวัง ในกรณีที่เงินบาทอ่อนค่าลงมากจนผิดปกติ เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมยังฟื้นตัวไม่เด่นชัด ทำให้เงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูง จนส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ และในภาวะเช่นนี้ทางการคงจำเป็นต้องตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นให้อยู่ในระดับสูง เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินตรา อนึ่ง คาดว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเอ็มแอลอาร์และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของ ธพ.ขนาดใหญ่จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.5-8.0 และร้อยละ 2.5-3.0 จนถึงไตรมาสแรกของปี 44 (กรุงเทพธุรกิจ 10)
4. ศูนย์ตราสารหนี้ร่วมกับ ธปท.เปิดเว็บไซต์รายงานอัตราผลตอบแทนพันธบัตร รายงานข่าวจากศูนย์ตราสารหนี้เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาตลาดการค้าตราสารหนี้ให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ธปท.ร่วมกับศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ และสถาบันการเงินที่เป็นผู้ค้าตราสารหนี้หลักกับ ธปท. (Primary Dealers) ภายใต้คณะทำงานกลุ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรในประเทศของ ก.คลัง ดำเนินการเผยแพร่ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มี ก.คลังค้ำประกันและอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Spread over Govenment Bond) เพื่อใช้เป็นราคาอ้างอิงรองรับการทำธุรกรรมซื้อคืนของ ธปท. กับ Primary Dealers ซึ่งเป็นการส่งเสริมธุรกรรมซื้อคืนของภาคเอกชน ข้อมูลดังกล่าวได้เริ่มเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ทุกสิ้นวันอังคาร เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย. 43 เป็นต้นไป ที่เว็บไซต์ www.thaibdc.or.th (กรุงเทพธุรกิจ 10)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลง ในเดือน ต.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ต.ค. 43 ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)โดยรวม ที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน ก.ย. 43 ซึ่งได้รับแรงกดดันส่วนใหญ่จากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมราคาพลังงานและอาหารที่ผันผวน ดัชนีราคาผู้ผลิตที่เป็นแกน (Core PPI) ในเดือน ต.ค. 43 ลดลงร้อยละ 0.1 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ก.ย. 43 ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ เคยคาดไว้ว่า เดือน ต.ค. 43 ทั้ง PPI โดยรวม และ Core PPI จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เช่นเดียวกัน รายงานครั้งนี้ น่าจะส่งผลให้ ธ. กลาง สรอ. คลายความกังวลลงได้บ้าง หลังจากที่ได้พยายามลดแรงกดดันด้านราคาสินค้าออกจากระบบเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างร้อนแรง โดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 6 ครั้งในช่วงระหว่างเดือน มิ.ย. 42 -เดือน พ.ค. 43 ทั้งนี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินไม่ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 3 ครั้งที่ผ่านมา และคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกเช่นกันในการประชุมครั้งหน้า (รอยเตอร์ 9)
2. สินเชื่อของ ธพ.ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 4.0 ในเดือน ต.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 9 พ.ย.43 ธ.กลางญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ต.ค.43 สินเชื่อของ ธพ.ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 4.0 เช่นกันในเดือน ก.ย.43 ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 34 โดยในเดือน ต.ค.นี้ ยอดหนี้คงค้างของ ธพ.ญี่ปุ่น 5 ประเภท ได้แก่ City banks Long-term credit banks Trust banks Regional banks และ Second-tier regional banks มีจำนวนเฉลี่ย 458.58 ล้านล้านเยนต่อวัน ขณะที่สินเชื่อของธนาคารต่างประเทศในญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากที่ลดลงร้อยละ 1.6 ในเดือน ก.ย.43 และยอดหนี้คงค้างเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่จำนวนเฉลี่ย 7.41 ล้านล้านเยน ต่อวัน (รอยเตอร์ 9)
3. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอัตราคงที่ระยะ 30 ปี ของ สรอ. ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 8 ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 พ.ย.43 บริษัท Freddie Mac รายงานว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 พ.ย.43 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอัตราคงที่ ระยะ 30 ปี ของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 7.79 จากที่ร้อยละ 7.73 ในสัปดาห์ก่อน แต่ยังอยู่ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 8 ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 13 ส่วนดอกเบี้ยฯ อัตราคงที่ระยะ 15 ปี เพิ่มขึ้นอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.44 จากร้อยละ 7.41 ในสัปดาห์ก่อน และดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ที่ปรับได้ระยะ 1 ปี (One-year adjustable rate mortgages = ARM) เพิ่มขึ้นอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.23 จากร้อยละ 7.12 ในสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ การที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในสัปดาห์นี้ มีสาเหตุมาจากตลาดการเงินมีความกังวลว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น จากรายงานตัวเลขค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าความคาดหมายในสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์ 9)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 9 พ.ย. 43 43.588 (43.709)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 9 พ.ย. 43
ซื้อ 43.4588 (43.5213) ขาย 43.7679 (43.8293)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,400) ขาย 5,550 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.19 (28.86)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 14.14 (14.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.เปิดเผยยอดการเบิกจ่ายธนบัตรในเดือน ส.ค.-ต.ค.43 ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชน ในฐานะรองโฆษก ธปท.เปิดเผยการเบิกจ่ายธนบัตรจ่ายใช้แลกชนิดต่างๆ จาก ธปท.ในเดือน ส.ค.- ต.ค. 43 ว่ามีจำนวน 88,650 87,223 และ 87,049 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.1 5.8 และ 4.3 ตามลำดับ เนื่องจากมีการจับจ่ายใช้สอยของประชนสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว สำหรับธนบัตรหมุนเวียนในตลาด ณ สิ้นเดือน ต.ค.มีมูลค่าทั้งสิ้น 413,719 ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 จากระยะเดียวกันปี 42 ทั้งนี้ ไม่รวมธนบัตรชนิดราคา 500,000 บาท 60 บาท และ 1 บาท (วัฏจักร,กรุงเทพธุรกิจ 10)
2. ผลการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรในเดือน ต.ค.43 อธิบดีกรมสรรพากรเปิดเผยผลว่า กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษีทุกประเภทในเดือน ต.ค.43 ได้ทั้งสิ้น 32,769.361 ล.บาท จากประมาณการที่กำหนดไว้ 31,631.477 ล.บาท ซึ่งสูงกว่าเป็นจำนวน 1,137.884 ล.บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.60 และสูงกว่าการจัดเก็บในช่วงเดียวกันปี 42 ที่จัดเก็บได้ 29,222.196 ล.บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.14 โดยภาษีที่เก็บได้เกินเป้าหมายคือ ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้มีความมั่นใจว่าในปีงบประมาณ 44 กรมสรรพากรจะสามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย (กรุงเทพธุรกิจ,วัฏจักร 10)
3. อัตราดอกเบี้ยในประเทศจะยังไม่เคลื่อนไหวในช่วงนี้ ผู้บริหารระดับสูงของ ธพ.กล่าวว่า ภาวะดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากจะยังไม่เคลื่อนไหวในช่วงนี้ เนื่องจากต้องรอดูนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ให้ชัดเจน สำหรับค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวผันผวนในทิศทางที่อ่อนค่าลงนั้น ถือว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค ซึ่ง ทางการยังคงต้องดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัดระวัง ในกรณีที่เงินบาทอ่อนค่าลงมากจนผิดปกติ เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมยังฟื้นตัวไม่เด่นชัด ทำให้เงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวในระดับสูง จนส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ และในภาวะเช่นนี้ทางการคงจำเป็นต้องตรึงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นให้อยู่ในระดับสูง เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินตรา อนึ่ง คาดว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเอ็มแอลอาร์และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนของ ธพ.ขนาดใหญ่จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.5-8.0 และร้อยละ 2.5-3.0 จนถึงไตรมาสแรกของปี 44 (กรุงเทพธุรกิจ 10)
4. ศูนย์ตราสารหนี้ร่วมกับ ธปท.เปิดเว็บไซต์รายงานอัตราผลตอบแทนพันธบัตร รายงานข่าวจากศูนย์ตราสารหนี้เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาตลาดการค้าตราสารหนี้ให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ธปท.ร่วมกับศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ และสถาบันการเงินที่เป็นผู้ค้าตราสารหนี้หลักกับ ธปท. (Primary Dealers) ภายใต้คณะทำงานกลุ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรในประเทศของ ก.คลัง ดำเนินการเผยแพร่ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มี ก.คลังค้ำประกันและอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Spread over Govenment Bond) เพื่อใช้เป็นราคาอ้างอิงรองรับการทำธุรกรรมซื้อคืนของ ธปท. กับ Primary Dealers ซึ่งเป็นการส่งเสริมธุรกรรมซื้อคืนของภาคเอกชน ข้อมูลดังกล่าวได้เริ่มเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ทุกสิ้นวันอังคาร เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย. 43 เป็นต้นไป ที่เว็บไซต์ www.thaibdc.or.th (กรุงเทพธุรกิจ 10)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ. เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลง ในเดือน ต.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 43 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ต.ค. 43 ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)โดยรวม ที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน ก.ย. 43 ซึ่งได้รับแรงกดดันส่วนใหญ่จากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ขณะเดียวกัน เมื่อไม่รวมราคาพลังงานและอาหารที่ผันผวน ดัชนีราคาผู้ผลิตที่เป็นแกน (Core PPI) ในเดือน ต.ค. 43 ลดลงร้อยละ 0.1 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือน ก.ย. 43 ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์จากการสำรวจของรอยเตอร์ เคยคาดไว้ว่า เดือน ต.ค. 43 ทั้ง PPI โดยรวม และ Core PPI จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เช่นเดียวกัน รายงานครั้งนี้ น่าจะส่งผลให้ ธ. กลาง สรอ. คลายความกังวลลงได้บ้าง หลังจากที่ได้พยายามลดแรงกดดันด้านราคาสินค้าออกจากระบบเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างร้อนแรง โดยขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 6 ครั้งในช่วงระหว่างเดือน มิ.ย. 42 -เดือน พ.ค. 43 ทั้งนี้ คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินไม่ได้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 3 ครั้งที่ผ่านมา และคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกเช่นกันในการประชุมครั้งหน้า (รอยเตอร์ 9)
2. สินเชื่อของ ธพ.ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 4.0 ในเดือน ต.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 9 พ.ย.43 ธ.กลางญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ต.ค.43 สินเชื่อของ ธพ.ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 4.0 เช่นกันในเดือน ก.ย.43 ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 34 โดยในเดือน ต.ค.นี้ ยอดหนี้คงค้างของ ธพ.ญี่ปุ่น 5 ประเภท ได้แก่ City banks Long-term credit banks Trust banks Regional banks และ Second-tier regional banks มีจำนวนเฉลี่ย 458.58 ล้านล้านเยนต่อวัน ขณะที่สินเชื่อของธนาคารต่างประเทศในญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากที่ลดลงร้อยละ 1.6 ในเดือน ก.ย.43 และยอดหนี้คงค้างเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่จำนวนเฉลี่ย 7.41 ล้านล้านเยน ต่อวัน (รอยเตอร์ 9)
3. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอัตราคงที่ระยะ 30 ปี ของ สรอ. ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 8 ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 พ.ย.43 บริษัท Freddie Mac รายงานว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 10 พ.ย.43 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองอัตราคงที่ ระยะ 30 ปี ของ สรอ. เพิ่มขึ้นอยู่ที่อัตราเฉลี่ยร้อยละ 7.79 จากที่ร้อยละ 7.73 ในสัปดาห์ก่อน แต่ยังอยู่ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 8 ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 13 ส่วนดอกเบี้ยฯ อัตราคงที่ระยะ 15 ปี เพิ่มขึ้นอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.44 จากร้อยละ 7.41 ในสัปดาห์ก่อน และดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ที่ปรับได้ระยะ 1 ปี (One-year adjustable rate mortgages = ARM) เพิ่มขึ้นอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.23 จากร้อยละ 7.12 ในสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ การที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในสัปดาห์นี้ มีสาเหตุมาจากตลาดการเงินมีความกังวลว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น จากรายงานตัวเลขค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าความคาดหมายในสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์ 9)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 9 พ.ย. 43 43.588 (43.709)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 9 พ.ย. 43
ซื้อ 43.4588 (43.5213) ขาย 43.7679 (43.8293)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,400) ขาย 5,550 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.19 (28.86)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 14.14 (14.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-