ข่าวการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๑๗
วันจันทร์ที่ ๓๐ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
กรมวิชาการเกษตร
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓,๐๗๘,๒๖๖,๖๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑๑๒,๓๘๒,๔๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงานของกรมวิชาการ
เพื่อการพัฒนาทางด้านการเกษตรให้มีคุณภาพและสามารถแก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ เช่น ทุเรียน ข้าว
มังคุด เป็นต้น อีกทั้งให้ความรู้แก่เกษตรกรด้านการขยายพันธุ์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะต้องแก้ไขปรับปรุงโดย
รีบด่วน เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เกษตรกรส่วนใหญ่ทำการเกษตร ฉะนั้นกรมวิชาการเกษตร
ต้องคำนึงถึงและให้ความสำคัญเป็นหลักในการแก้ปัญหา เนื่องจากที่ผ่านมายังมีการดำเนินการที่ไม่ชัดเจน
เท่าที่ควร
๒. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยและทดสอบทางด้านวิชาการ
ต่าง ๆ ซึ่งปี ๒๕๔๕ กรมวิชาการเกษตรไม่ได้มีการตั้งงบประมาณไว้เลย ทั้งที่การวิจัยและทดสอบทางด้าน
วิชาการนั้นมีประโยชน์ในการที่จะพัฒนาและปรับปรุงการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรโดยตรง
และคณะกรรมาธิการได้เสนอแนะให้มีการพิมพ์เอกสารการวิจัยต่าง ๆ เผยแพร่ให้แก่เกษตรกรเพื่อจะ
ได้เพิ่มพูนความรู้และเป็นแนวทางในการพัฒนาเกษตรกรรมต่อไป ซึ่งจะทำให้การศึกษาวิจัยนั้น ๆ ได้ผล
คุ้มค่าตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
๓. คณะกรรมาธิการได้ซักถามปัญหาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในนาข้าว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ
สภาพดินในอนาคต จะทำให้ดินเสื่อมสภาพ เกษตรกรไม่สามารถทำการเพาะปลูกพืชได้อีก และต้องมี
การปรับสภาพพื้นที่บริเวณนั้นเป็นอย่างมาก อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้ชี้แจงว่า การเลี้ยงกุ้งกุลาดำใน
นาข้าวมีโอกาสเป็นไปได้ คือ การเลี้ยงแบบปิดโดยมีมาตรฐานตามแนวทางที่กำหนดไว้หากเกษตรกร
รายใดไม่มีการเพาะเลี้ยงกุ้งที่มีมาตรฐานก็ไม่ได้รับการส่งเสริมให้เลี้ยงกุ้งในนาข้าว ซึ่งในรายละเอียด
ดังกล่าว จะมีการประชุมเพื่อหาข้อยุติอีกครั้ง และคณะกรรมาธิการได้ให้ข้อเสนอแนะว่ากรมวิชาการเกษตร
ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำให้แก่เกษตรกร เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำต้องใช้ต้นทุนสูง
ทำให้เกิดความเสี่ยงในการลงทุน ซึ่งอาจได้ผลไม่คุ้มค่าหากไม่มีความรู้อย่างแท้จริง
กรมส่งเสริมการเกษตร
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕,๔๖๖,๓๔๓,๓๐๐ บาท
รายการปรับลด ๑๑๗,๙๕๑,๖๐๐ บาท
คงเหลือ ๕,๓๔๘,๓๙๑,๗๐๐ บาท
ก. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิต ๕,๑๕๒,๔๑๕,๕๐๐ บาท
ด้านการเกษตร
ข. แผนงานส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจการเกษตร ๒๔๔,๐๔๙,๘๐๐ บาท
ค. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ๖๙,๘๗๘,๐๐๐ บาท
การปรับลดสืบเนื่องจากการดำเนินงานก่อสร้างล่าช้า และคาดว่าเบิกจ่ายเงินงวดไม่ทัน
ปีงบประมาณ ซึ่งคณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่า งบประมาณที่ถูกปรับลดในส่วนของที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
เป็นงานที่มีความจำเป็นและต้องดำเนินโครงการต่อไป หากมีการลดงบประมาณดังกล่าวลง ทำให้งานที่
ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเกิดการชะลอตัว คณะกรรมาธิการจึงเสนอให้กรมส่งเสริมการเกษตรประสานงาน
กับสำนักงบประมาณในการเบิกจ่ายเงินงวดให้ทันปีงบประมาณปี ๒๕๔๔ ว่ากรมฯ ให้คำยืนยันต่อ
คระกรรมาธิการว่าจะพยายามเบิกจ่ายเงินงบฯ ให้ทันตามกำหนดเวลา
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตดังนี้
๑. โครงการฟื้นฟูเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตว่า
เป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรมีแนวทางในการให้
ความช่วยเหลือเกษตรกร โดยจัดทำโครงการเพื่อการยังชีพเป็นลักษณะการสนับสนุนปัจจัยการผลิต
เพื่อเพิ่มรายได้และสามารถปลดหนี้ของเกษตรกรได้ กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการโดยจัดให้มี
การรวมกลุ่มเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีตามความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ โดยกรมฯ
จะทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงาน
๒. โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตว่า โครงการนี้
เป็นการนโยบายของรัฐบาลในการที่จะสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น จากการพิจารณาจะพบว่างบค่าใช้จ่าย
ตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีจำนวนเงิน ๑๗๙,๙๗๐,๐๐๐ บาทนั้น กรมฯ จะต้อง
ดำเนินการให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของตลาดเพื่อรองรับ
ผลิตภัณฑ์ที่เกษตรกรผลิตด้วย เพื่อป้องกันปัญหาสินค้าล้นตลาด
กรมส่งเสริมสหกรณ์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒,๓๗๕,๑๔๖,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจการเกษตร ๒,๓๕๖,๘๐๑,๗๐๐ บาท
ข. แผนงานพัฒนานิคมและส่งเสริมอาชีพ ๑๔,๐๑๑,๐๐๐ บาท
ค. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ๔,๓๓๔,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต ดังนี้
๑. โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลนั้น คณะกรรมาธิการ
ได้กล่าวซักถามถึงแนวทางการปฏิบัติของกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่า ได้เข้ามามีบทบาทการปฏิบัติงาน
อย่างไรบ้าง ในประเด็นดังกล่าวนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้กล่าวชี้แจงว่า โครงการหนึ่งตำบลหนึ่ง
ผลิตภัณฑ์นั้น กรมฯ ได้เข้าไปทำหน้าที่เป็นเสมือนแกนหลักของโครงการ โดยใช้งบประมาณในการ
ดำเนินการเป็นจำนวน ๔๑๗ ล้านบาทเศษ ในการจัดการฝึกอบรม การพัฒนาการวิจัย งานการตลาด
การอนุมัติเงินทุนหมุนเวียน การดำเนินงานของกรมเป็นการพยายามส่งเสริมการตลาด โดยใช้งบประมาณ
ในส่วนนี้ ๑๖.๘ ล้านบาท มีการวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และมีบรรจุภัณฑ์ที่
สวยงาม งานด้านการตลาดมีการส่งเสริมให้มีจุดกระจายสินค้าทั่วทุกจังหวัดและพยายามที่จะส่งเสริม
ให้มีการขายตรงด้วย ซึ่งในขณะนี้มีการจัดตั้งคระอนุกรรมการด้านการตลาดเพื่อร่วมพิจารณากับ
ตัวแทนของห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการดำเนินงานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่า
มีการดำเนินงานที่ล่าช้าและผลการดำเนินงานในสหกรณ์บางแห่งก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งอาจ
เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น ปัญหาบุคลากรที่ไม่มีคุณภาพ การทุจริตในหน้าที่ ปัญหาเหล่านี้
ส่งผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของสหกรณ์ กรรมาธิการจึงมีความคิดเห็นว่ากรมฯ ควรจะพัฒนา
และปรับปรุงตัวบุคลากรให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
๒. คณะกรรมาธิการได้ส่งเสริมให้ดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์โรงเรียนทั่วประเทศ
โดยให้กรมส่งเสริมสหกรณ์แปรญัตติของบประมาณเพิ่ม
กระทรวงพาณิชย์มีรายการปรับลดเพิ่ม ดังต่อไป
กรมการค้าต่างประเทศ ๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
กรมส่งเสริมการส่งออก ๔๒,๓๕๗,๔๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๒,๙๐๔,๘๑๑,๙๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๒๐,๐๙๕,๑๘๘,๑๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันอังคารที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๔
(ยอดถึงกรมส่งเสริมสหกรณ์)
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๑๗
วันจันทร์ที่ ๓๐ เดือนกรกฎาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
กรมวิชาการเกษตร
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓,๐๗๘,๒๖๖,๖๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑๑๒,๓๘๒,๔๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงานของกรมวิชาการ
เพื่อการพัฒนาทางด้านการเกษตรให้มีคุณภาพและสามารถแก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ เช่น ทุเรียน ข้าว
มังคุด เป็นต้น อีกทั้งให้ความรู้แก่เกษตรกรด้านการขยายพันธุ์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะต้องแก้ไขปรับปรุงโดย
รีบด่วน เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เกษตรกรส่วนใหญ่ทำการเกษตร ฉะนั้นกรมวิชาการเกษตร
ต้องคำนึงถึงและให้ความสำคัญเป็นหลักในการแก้ปัญหา เนื่องจากที่ผ่านมายังมีการดำเนินการที่ไม่ชัดเจน
เท่าที่ควร
๒. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยและทดสอบทางด้านวิชาการ
ต่าง ๆ ซึ่งปี ๒๕๔๕ กรมวิชาการเกษตรไม่ได้มีการตั้งงบประมาณไว้เลย ทั้งที่การวิจัยและทดสอบทางด้าน
วิชาการนั้นมีประโยชน์ในการที่จะพัฒนาและปรับปรุงการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรโดยตรง
และคณะกรรมาธิการได้เสนอแนะให้มีการพิมพ์เอกสารการวิจัยต่าง ๆ เผยแพร่ให้แก่เกษตรกรเพื่อจะ
ได้เพิ่มพูนความรู้และเป็นแนวทางในการพัฒนาเกษตรกรรมต่อไป ซึ่งจะทำให้การศึกษาวิจัยนั้น ๆ ได้ผล
คุ้มค่าตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
๓. คณะกรรมาธิการได้ซักถามปัญหาการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในนาข้าว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ
สภาพดินในอนาคต จะทำให้ดินเสื่อมสภาพ เกษตรกรไม่สามารถทำการเพาะปลูกพืชได้อีก และต้องมี
การปรับสภาพพื้นที่บริเวณนั้นเป็นอย่างมาก อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้ชี้แจงว่า การเลี้ยงกุ้งกุลาดำใน
นาข้าวมีโอกาสเป็นไปได้ คือ การเลี้ยงแบบปิดโดยมีมาตรฐานตามแนวทางที่กำหนดไว้หากเกษตรกร
รายใดไม่มีการเพาะเลี้ยงกุ้งที่มีมาตรฐานก็ไม่ได้รับการส่งเสริมให้เลี้ยงกุ้งในนาข้าว ซึ่งในรายละเอียด
ดังกล่าว จะมีการประชุมเพื่อหาข้อยุติอีกครั้ง และคณะกรรมาธิการได้ให้ข้อเสนอแนะว่ากรมวิชาการเกษตร
ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำให้แก่เกษตรกร เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งกุลาดำต้องใช้ต้นทุนสูง
ทำให้เกิดความเสี่ยงในการลงทุน ซึ่งอาจได้ผลไม่คุ้มค่าหากไม่มีความรู้อย่างแท้จริง
กรมส่งเสริมการเกษตร
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๕,๔๖๖,๓๔๓,๓๐๐ บาท
รายการปรับลด ๑๑๗,๙๕๑,๖๐๐ บาท
คงเหลือ ๕,๓๔๘,๓๙๑,๗๐๐ บาท
ก. แผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิต ๕,๑๕๒,๔๑๕,๕๐๐ บาท
ด้านการเกษตร
ข. แผนงานส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจการเกษตร ๒๔๔,๐๔๙,๘๐๐ บาท
ค. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ๖๙,๘๗๘,๐๐๐ บาท
การปรับลดสืบเนื่องจากการดำเนินงานก่อสร้างล่าช้า และคาดว่าเบิกจ่ายเงินงวดไม่ทัน
ปีงบประมาณ ซึ่งคณะกรรมาธิการตั้งข้อสังเกตว่า งบประมาณที่ถูกปรับลดในส่วนของที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
เป็นงานที่มีความจำเป็นและต้องดำเนินโครงการต่อไป หากมีการลดงบประมาณดังกล่าวลง ทำให้งานที่
ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเกิดการชะลอตัว คณะกรรมาธิการจึงเสนอให้กรมส่งเสริมการเกษตรประสานงาน
กับสำนักงบประมาณในการเบิกจ่ายเงินงวดให้ทันปีงบประมาณปี ๒๕๔๔ ว่ากรมฯ ให้คำยืนยันต่อ
คระกรรมาธิการว่าจะพยายามเบิกจ่ายเงินงบฯ ให้ทันตามกำหนดเวลา
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตดังนี้
๑. โครงการฟื้นฟูเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตว่า
เป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรเป็นอย่างมาก ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรมีแนวทางในการให้
ความช่วยเหลือเกษตรกร โดยจัดทำโครงการเพื่อการยังชีพเป็นลักษณะการสนับสนุนปัจจัยการผลิต
เพื่อเพิ่มรายได้และสามารถปลดหนี้ของเกษตรกรได้ กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการโดยจัดให้มี
การรวมกลุ่มเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีตามความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ โดยกรมฯ
จะทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงาน
๒. โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตว่า โครงการนี้
เป็นการนโยบายของรัฐบาลในการที่จะสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น จากการพิจารณาจะพบว่างบค่าใช้จ่าย
ตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีจำนวนเงิน ๑๗๙,๙๗๐,๐๐๐ บาทนั้น กรมฯ จะต้อง
ดำเนินการให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุด โดยเฉพาะจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของตลาดเพื่อรองรับ
ผลิตภัณฑ์ที่เกษตรกรผลิตด้วย เพื่อป้องกันปัญหาสินค้าล้นตลาด
กรมส่งเสริมสหกรณ์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒,๓๗๕,๑๔๖,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจการเกษตร ๒,๓๕๖,๘๐๑,๗๐๐ บาท
ข. แผนงานพัฒนานิคมและส่งเสริมอาชีพ ๑๔,๐๑๑,๐๐๐ บาท
ค. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ๔,๓๓๔,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต ดังนี้
๑. โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลนั้น คณะกรรมาธิการ
ได้กล่าวซักถามถึงแนวทางการปฏิบัติของกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่า ได้เข้ามามีบทบาทการปฏิบัติงาน
อย่างไรบ้าง ในประเด็นดังกล่าวนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้กล่าวชี้แจงว่า โครงการหนึ่งตำบลหนึ่ง
ผลิตภัณฑ์นั้น กรมฯ ได้เข้าไปทำหน้าที่เป็นเสมือนแกนหลักของโครงการ โดยใช้งบประมาณในการ
ดำเนินการเป็นจำนวน ๔๑๗ ล้านบาทเศษ ในการจัดการฝึกอบรม การพัฒนาการวิจัย งานการตลาด
การอนุมัติเงินทุนหมุนเวียน การดำเนินงานของกรมเป็นการพยายามส่งเสริมการตลาด โดยใช้งบประมาณ
ในส่วนนี้ ๑๖.๘ ล้านบาท มีการวางแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และมีบรรจุภัณฑ์ที่
สวยงาม งานด้านการตลาดมีการส่งเสริมให้มีจุดกระจายสินค้าทั่วทุกจังหวัดและพยายามที่จะส่งเสริม
ให้มีการขายตรงด้วย ซึ่งในขณะนี้มีการจัดตั้งคระอนุกรรมการด้านการตลาดเพื่อร่วมพิจารณากับ
ตัวแทนของห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการดำเนินงานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่า
มีการดำเนินงานที่ล่าช้าและผลการดำเนินงานในสหกรณ์บางแห่งก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งอาจ
เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น ปัญหาบุคลากรที่ไม่มีคุณภาพ การทุจริตในหน้าที่ ปัญหาเหล่านี้
ส่งผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของสหกรณ์ กรรมาธิการจึงมีความคิดเห็นว่ากรมฯ ควรจะพัฒนา
และปรับปรุงตัวบุคลากรให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
๒. คณะกรรมาธิการได้ส่งเสริมให้ดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์โรงเรียนทั่วประเทศ
โดยให้กรมส่งเสริมสหกรณ์แปรญัตติของบประมาณเพิ่ม
กระทรวงพาณิชย์มีรายการปรับลดเพิ่ม ดังต่อไป
กรมการค้าต่างประเทศ ๙,๐๐๐,๐๐๐ บาท
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
กรมส่งเสริมการส่งออก ๔๒,๓๕๗,๔๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๒,๙๐๔,๘๑๑,๙๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๒๐,๐๙๕,๑๘๘,๑๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันอังคารที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๔
(ยอดถึงกรมส่งเสริมสหกรณ์)