โปแลนด์ได้ปรับเศรษฐกิจมาเป็นระบบการตลาดใหม่ ๆ ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ดังนั้น สินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศทุกชนิดจะเป็นที่ต้องการของตลาด เนื่องจากโปแลนด์ขาดแคลนสินค้ามาเป็นเวลานาน ดังนั้น การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของโปแลนด์จึงไม่สนใจคุณภาพมากนัก เช่น ปัจจุบันผู้ซื้อของโปแลนด์ได้ให้ความสำคัญต่อปัจจัยทางด้านคุณภาพมากขึ้น แต่การแต่งตัวตามแฟชั่นก็ยังมีน้อย ราคาเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการตัดสินใจซื้อของโปแลนด์ ส่วนระดับตลาดบนราคาไม่ใช่ปัจจัยหลัก ผู้ซื้อตลาดบนมองหาสินค้าแบรนด์เนมจากยุโรปตะวันตกและสหรัฐฯเท่านั้น แม้ว่าจะมีราคาสูงก็ตาม
มาตรฐานและคุณภาพสินค้า
โปแลนด์ไม่ได้กำหนดมาตรฐานบังคับสินค้าสำหรับสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า แต่มีการขอรับหนังสือรับรองคุณภาพโดยสมัครใจ เพื่อเป็นใบเบิกทางในการส่งออก ได้แก่ การรับรองความสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ โดยองค์การระหว่างประเทศ การรับรองความสอดคล้องกับมาตราฐานโปแลนด์ ซึ่งจะได้รับเครื่องหมาย PN (Polska Norma) และการรับรองด้านสิ่งแวดล้อม (eco-label) โดย Polish Center of Testing and Certifkication (PTBC)
กฏระเบียบด้านบรรจุภัณฑ์ ขนาดและตราสินค้า
โปแลนด์ไม่มีกฏระเบียบบังคับสำหรับสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า เสื้อผ้าที่วางขายในท้องตลาดจำนวนมากไม่มีตราสินค้า ชื่อผู้ผลิต ชื่อผู้กระจายสินค้า หรือชื่อผู้นำเข้าแต่อย่างใด การปกป้องเครื่องหมายการค้ายังไม่ค่อยมีประสิทธภาพ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้เวลานานถึง 2 ปี เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่จำกัด แต่เมื่อได้รับการจดทะเบียนแล้วก็มีผลปกป้องตั้งแต่วันที่รับคำขอจดทะเบียน และมีผลคุ้มครองเป็นเวลา 1 ปี โดยต่ออายุได้ แต่สูญสิทธิหากไม่มีสินค้าในตลาดเป็นเวลา 2 ปี ทั้งนี้ การจดทะเบียนต้องผ่านบริษัททนายตัวแทน
มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
โปแลนด์ไม่มีมาตรฐานบังคับด้านสิ่งแวดล้อม มีเพียงมาตรฐานโดยสมัครใจ ซึ่งออกหนังสือรับรองโดย Polish Center of Testing and Certification (PTBC)
ภาษีนำเข้า/โควต้า
การนำเข้า
โปแลนด์ไม่มีโควต้านำเข้าสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป แต่มีความตกลงลดอากรขาเข้าให้แก่สินค้าจากสหภาพยุโรป ตามนโยบายการเข้ารวมกับสหภาพยุโรป และยังมีความตกลงลดอากรขาเข้ากับประเทศในกลุ่ม EFTA (นอร์เวย์, ไอช์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์ และลิคเตนสไตน์) และกลุ่ม CEFTA (โปแลนด์, ฮังการี, เชกสโลวะเกีย และสโลวาเนีย) รวมทั้งความตกลงทวิภาคีเพื่อลดอากรขาเข้ากับโรมาเนีย, ลิธัวเนีย, เอสโตเนีย และอิสราแอล อากรขาเข้าในอัตราศูนย์ หรืออัตราพิเศษที่ต่ำกว่าไทย
ไทยจัดเป็นประเทศกำลังพัฒนาซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ลดอากรขาเข้าเล็กน้อยในสินค้าทั่วไป แต่สินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าส่วนใหญ่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว จึงเสียอากรขาเข้าในอัตราสำหรับสมาชิก WTO สินค้าไทยมีปัญหาการแข่งขันกับประเทศที่มีความตกลงการค้าเสรีกับโปแลนด์
สินค้าสิ่งทอและผลิตภัณฑ์หลักที่ไทยส่งเข้าโปรแลนด์ คือเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งในขณะที่สินค้าไทยเสียอากรขาเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปร้อยละ 21.4 สินค้าสหภาพยุโรปไม่ต้องเสียอากรขาเข้า และสินค้าจากลิทัวเนียเสียอากรขาเข้าร้อยละ 8.6
ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มเสียร้อยละ 22 สำหรับเสื้อผ้าผู้ใหญ่และร้อยละ 7 สำหรับเสื้อผ้าเด็ก
การส่งออก
โปแลนด์มีโควต้าส่งออกสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า ซึ่งมีลักษณะเป็นการจำกัดการส่งออกโดยสมัครใจ (Voluntary export restraints: VERs) ภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก เดิมมีกับสหภาพยุโรป ตุรกี นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา แต่ได้ยกเลิกโควต้าส่งออกไปกับสหภาพยุโรป ตุรกี และนอร์เวย์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 จึงยังคงเหลือเฉพาะโควต้าส่งออกไป สหรัฐอเมริกา และแคนาดาเท่านั้น โดยในปี 2542 โควต้าส่งออกไปสหรัฐอเมริกาครอบคลุม 9 ประเภท และส่งออกไปแคนาดาครอบคลุม 11 ประเภท ซึ่งโควต้าจะคงอยู่จนถึงปี 2548
โควต้าไม่ค่อยมีผลกระทบต่อการส่งออกของโปแลนด์มากนัก ปริมาณการใช้โควต้าค่อนข้างต่ำ ตามสถิติปี 2541 การส่งออกไปสหรัฐฯ มีการใช้โควต้ามากในประเภทเสื้อโอเวอร์โค้ทขนสัตว์ของผู้หญิง (59.5%), เสื้อโค้ทของผู้ชาย (57%) และชุดสูทของผู้ชาย (86.4%)
ส่วนการส่งออกไปแคนาดา มีการใช้โควต้ามากในประเภทผ้าขนสัตว์ (73.9%) ประเภทอื่นๆ มีการใช้โควต้าน้อยมาก
ธรรมเนียมปฎิบัติของผู้นำเข้า
โปแลนด์เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจเป็นแบบการตลาดในปี 2532 สินค้าทุกชนิดเป็นที่ต้องการของตลาดที่ขาดแคลนมานาน สินค้าไทยสามารถรุกตลาดโปแลนด์ได้ก่อนคู่แข่งชาวโปแลนด์เดินทางเข้ามาจ่ายเงินสดซื้อเสื้อผ้าที่โบ้เบ๊ และหอบหิ้วขึ้นเครื่องบินกลับไปขายโปแลนด์ จากนั้นก็พัฒนาเป็นการส่งตู้คอนเทนเนอร์ เสื้อผ้าทุกชนิดเป็นที่ต้องการของตลาด ขายหมดอย่างรวดเร็ว ไทยครองตลาดนำเข้าเสื้อผ้าจาผ้าผืนในปี 2535 กางเกงยีนส์ไทยเป็นที่รู้จักของตลาด แต่หลังจากนั้นจีนก็รุกเข้าครองตลาดแทน
ปัจจุบันสินค้าจีนครองตลาดระดับล่าง สินค้ายุโรปตะวันตกและสหรัฐฯ ครองตลาดระดับบน สินค้าจีนได้เปรียบในด้านราคาต่ำ และสินค้าจากยุโรปตะวันตกและสหรัฐฯ ได้เปรียบทางด้านชื่อเสียง ผู้นำเข้ากางเกงยีนส์ไทยหันไปนำเข้าจากจีน ผู้ที่ยังนำเข้าจากไทยเปลี่ยนมานำเข้าเสื้อผ้าเด็ก ซึ่งมีความยุ่งยากในวิธีการนำเข้ามากกว่า เนื่องจากสินค้ามีความหลากหลายมากกว่า
เสื้อผ้าจากไทยที่ใช้ชื่อการค้าของตะวันตก โดยเฉพาะอดิดาส ยังคงขายได้ดีในตลาดแต่ในการนำเข้าแม้ว่าตัวแทนในโปแลนด์มีอำนาจเลือกประเภทสินค้าที่ต้องการนำเข้า แค่การสั่งซื้อยังต้องผ่านทางบริษัทแม่ในเยอรมนี ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาแหล่งนำเข้า
ส่วนผู้ค้าทั่วไปจะทำการค้าโดยวิธีโอนเงิน มีการเปิด L/C น้อย ผู้นำเข้ามีความรู้จักสนิทสนมกับผู้ส่งออกไทย มีความไว้วางใจกันสูง อีกทั้งมีการซื้อนำเข้า Stock lot กันมาก ซึ่งการชำระเงินนำเข้า ผู้นำเข้าเดินทางไปเสาะหาสินค้าและชำระเงินล่วงหน้า
ข้อตกลงทางการค้ากับประเทศผู้ส่งออก
โปแลนด์มีความตกลงลดอากรขาเข้าให้แก่สินค้าจากสหภาพยุโรป ตามนโยบายการเข้ารวมกับสหภาพยุโรป และยังมีความตกลงลดอากรขาเข้ากับประเทศในกลุ่ม EFTA (นอร์เวย์, ไอซ์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์ และลิคเตนสไตน์) และกลุ่ม CEFTA (โปแลนด์ ฮังการี เชก สโลวะเกีย) รวมทั้งความตกลงทวิภาคีเพื่อลดอากรขาเข้ากับโรมาเนีย ลิธัวเนีย แลตเวีย เอสโตเนีย และอิสราเอล ซึ่งทำให้อากรขาเข้าที่เรียกเก็บจากสินค้าของประเทศที่มีความตกลงดังกล่าวต่ำกว่าที่เรียกเก็บจากสินค้าไทย
ล่าสุดในปี 2542 นี้ แม้ว่าจะมีการประท้วงอย่างมากจากผู้ผลิตสิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอในประเทศ โปแลนด์ได้ลงนามเปิดการค้าเสรีกับตุรกี ซึ่งจะนำไปสู่การลดอากรขาเข้าระหว่างกันต่อไป ตุรกีเป็นผู้ส่งสินค้าสิ่งทอสำคัญเข้าโปแลนด์ จะมีผลกระทบต่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม วงการค้าเชื่อกันว่าสินค้าจากตุรกีส่วนใหญ่นำเข้าโปแลนด์โดยการหลบเลี่ยงภาษีอยู่แล้ว
นอกจากนี้ รัสเซียและจีนมีควมตกลงใการปฎิบัติเยี่ยงชาติกับโปแลนด์ชำระอากรขาเข้าอัตราเดียวกับที่เรียกเก็บจากสมาชิก WTO
การร่วมลงทุนกับประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้า
โปแลนด์เปิดรับต่างชาติเข้าร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าในโปแลนด์มากกว่าที่โปแลนด์ออกไปลงทุนในต่างประเทศ จากการสอบถามข้อมูลได้รับทราบว่า VIPOL ผู้นำเข้ากางเกงยีนส์จากไทยรายใหญ่เมื่อ 5-6 ปีก่อน ได้ร่วมลงทุนในจีน และลดการนำเข้าจากไทยจนแทบจะไม่มีเลยในปัจจุบัน นอกจากนี้ มีรายงานว่าโรงงานในโปแลนด์ไปจ้างผลิตในประเทศทางชายแดนด้านตะวันออกด้วย แต่ไม่มีข้อมูลชัดเจน บ้างก็ว่าเป็นสินค้าจากแหล่งอื่นไม่ใช่แหล่งกำเนิด เพื่อใช้ประโยชน์จาการเสียอากรขาเข้าต่ำลง ดังนั้น การที่สินค้าไทยจะเข้าไปตลาดในโปแลนด์อีกครั้งดังเช่นในอดีตคงจะมีโอกาสเป็นไปได้ ถ้านักลงทุนไทยให้ความสนใจในลงทุนในโปแลนด์ แต่ทั้งนี้นักลงทุนจะต้องพยายามหาวิธีที่จะเข้าไปแข่งขันกับประเทศที่กำลังได้เปรียบไทยอยู่ในขณะนี้ เช่น จีน เป็นต้น
ที่มา: สำนักส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงวอร์ซอ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4/29 กุมภาพันธ์ 2543--
มาตรฐานและคุณภาพสินค้า
โปแลนด์ไม่ได้กำหนดมาตรฐานบังคับสินค้าสำหรับสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า แต่มีการขอรับหนังสือรับรองคุณภาพโดยสมัครใจ เพื่อเป็นใบเบิกทางในการส่งออก ได้แก่ การรับรองความสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ โดยองค์การระหว่างประเทศ การรับรองความสอดคล้องกับมาตราฐานโปแลนด์ ซึ่งจะได้รับเครื่องหมาย PN (Polska Norma) และการรับรองด้านสิ่งแวดล้อม (eco-label) โดย Polish Center of Testing and Certifkication (PTBC)
กฏระเบียบด้านบรรจุภัณฑ์ ขนาดและตราสินค้า
โปแลนด์ไม่มีกฏระเบียบบังคับสำหรับสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า เสื้อผ้าที่วางขายในท้องตลาดจำนวนมากไม่มีตราสินค้า ชื่อผู้ผลิต ชื่อผู้กระจายสินค้า หรือชื่อผู้นำเข้าแต่อย่างใด การปกป้องเครื่องหมายการค้ายังไม่ค่อยมีประสิทธภาพ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้เวลานานถึง 2 ปี เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่จำกัด แต่เมื่อได้รับการจดทะเบียนแล้วก็มีผลปกป้องตั้งแต่วันที่รับคำขอจดทะเบียน และมีผลคุ้มครองเป็นเวลา 1 ปี โดยต่ออายุได้ แต่สูญสิทธิหากไม่มีสินค้าในตลาดเป็นเวลา 2 ปี ทั้งนี้ การจดทะเบียนต้องผ่านบริษัททนายตัวแทน
มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
โปแลนด์ไม่มีมาตรฐานบังคับด้านสิ่งแวดล้อม มีเพียงมาตรฐานโดยสมัครใจ ซึ่งออกหนังสือรับรองโดย Polish Center of Testing and Certification (PTBC)
ภาษีนำเข้า/โควต้า
การนำเข้า
โปแลนด์ไม่มีโควต้านำเข้าสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป แต่มีความตกลงลดอากรขาเข้าให้แก่สินค้าจากสหภาพยุโรป ตามนโยบายการเข้ารวมกับสหภาพยุโรป และยังมีความตกลงลดอากรขาเข้ากับประเทศในกลุ่ม EFTA (นอร์เวย์, ไอช์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์ และลิคเตนสไตน์) และกลุ่ม CEFTA (โปแลนด์, ฮังการี, เชกสโลวะเกีย และสโลวาเนีย) รวมทั้งความตกลงทวิภาคีเพื่อลดอากรขาเข้ากับโรมาเนีย, ลิธัวเนีย, เอสโตเนีย และอิสราแอล อากรขาเข้าในอัตราศูนย์ หรืออัตราพิเศษที่ต่ำกว่าไทย
ไทยจัดเป็นประเทศกำลังพัฒนาซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ลดอากรขาเข้าเล็กน้อยในสินค้าทั่วไป แต่สินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าส่วนใหญ่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว จึงเสียอากรขาเข้าในอัตราสำหรับสมาชิก WTO สินค้าไทยมีปัญหาการแข่งขันกับประเทศที่มีความตกลงการค้าเสรีกับโปแลนด์
สินค้าสิ่งทอและผลิตภัณฑ์หลักที่ไทยส่งเข้าโปรแลนด์ คือเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งในขณะที่สินค้าไทยเสียอากรขาเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปร้อยละ 21.4 สินค้าสหภาพยุโรปไม่ต้องเสียอากรขาเข้า และสินค้าจากลิทัวเนียเสียอากรขาเข้าร้อยละ 8.6
ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มเสียร้อยละ 22 สำหรับเสื้อผ้าผู้ใหญ่และร้อยละ 7 สำหรับเสื้อผ้าเด็ก
การส่งออก
โปแลนด์มีโควต้าส่งออกสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้า ซึ่งมีลักษณะเป็นการจำกัดการส่งออกโดยสมัครใจ (Voluntary export restraints: VERs) ภายใต้กรอบขององค์การการค้าโลก เดิมมีกับสหภาพยุโรป ตุรกี นอร์เวย์ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา แต่ได้ยกเลิกโควต้าส่งออกไปกับสหภาพยุโรป ตุรกี และนอร์เวย์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2541 จึงยังคงเหลือเฉพาะโควต้าส่งออกไป สหรัฐอเมริกา และแคนาดาเท่านั้น โดยในปี 2542 โควต้าส่งออกไปสหรัฐอเมริกาครอบคลุม 9 ประเภท และส่งออกไปแคนาดาครอบคลุม 11 ประเภท ซึ่งโควต้าจะคงอยู่จนถึงปี 2548
โควต้าไม่ค่อยมีผลกระทบต่อการส่งออกของโปแลนด์มากนัก ปริมาณการใช้โควต้าค่อนข้างต่ำ ตามสถิติปี 2541 การส่งออกไปสหรัฐฯ มีการใช้โควต้ามากในประเภทเสื้อโอเวอร์โค้ทขนสัตว์ของผู้หญิง (59.5%), เสื้อโค้ทของผู้ชาย (57%) และชุดสูทของผู้ชาย (86.4%)
ส่วนการส่งออกไปแคนาดา มีการใช้โควต้ามากในประเภทผ้าขนสัตว์ (73.9%) ประเภทอื่นๆ มีการใช้โควต้าน้อยมาก
ธรรมเนียมปฎิบัติของผู้นำเข้า
โปแลนด์เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจเป็นแบบการตลาดในปี 2532 สินค้าทุกชนิดเป็นที่ต้องการของตลาดที่ขาดแคลนมานาน สินค้าไทยสามารถรุกตลาดโปแลนด์ได้ก่อนคู่แข่งชาวโปแลนด์เดินทางเข้ามาจ่ายเงินสดซื้อเสื้อผ้าที่โบ้เบ๊ และหอบหิ้วขึ้นเครื่องบินกลับไปขายโปแลนด์ จากนั้นก็พัฒนาเป็นการส่งตู้คอนเทนเนอร์ เสื้อผ้าทุกชนิดเป็นที่ต้องการของตลาด ขายหมดอย่างรวดเร็ว ไทยครองตลาดนำเข้าเสื้อผ้าจาผ้าผืนในปี 2535 กางเกงยีนส์ไทยเป็นที่รู้จักของตลาด แต่หลังจากนั้นจีนก็รุกเข้าครองตลาดแทน
ปัจจุบันสินค้าจีนครองตลาดระดับล่าง สินค้ายุโรปตะวันตกและสหรัฐฯ ครองตลาดระดับบน สินค้าจีนได้เปรียบในด้านราคาต่ำ และสินค้าจากยุโรปตะวันตกและสหรัฐฯ ได้เปรียบทางด้านชื่อเสียง ผู้นำเข้ากางเกงยีนส์ไทยหันไปนำเข้าจากจีน ผู้ที่ยังนำเข้าจากไทยเปลี่ยนมานำเข้าเสื้อผ้าเด็ก ซึ่งมีความยุ่งยากในวิธีการนำเข้ามากกว่า เนื่องจากสินค้ามีความหลากหลายมากกว่า
เสื้อผ้าจากไทยที่ใช้ชื่อการค้าของตะวันตก โดยเฉพาะอดิดาส ยังคงขายได้ดีในตลาดแต่ในการนำเข้าแม้ว่าตัวแทนในโปแลนด์มีอำนาจเลือกประเภทสินค้าที่ต้องการนำเข้า แค่การสั่งซื้อยังต้องผ่านทางบริษัทแม่ในเยอรมนี ซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาแหล่งนำเข้า
ส่วนผู้ค้าทั่วไปจะทำการค้าโดยวิธีโอนเงิน มีการเปิด L/C น้อย ผู้นำเข้ามีความรู้จักสนิทสนมกับผู้ส่งออกไทย มีความไว้วางใจกันสูง อีกทั้งมีการซื้อนำเข้า Stock lot กันมาก ซึ่งการชำระเงินนำเข้า ผู้นำเข้าเดินทางไปเสาะหาสินค้าและชำระเงินล่วงหน้า
ข้อตกลงทางการค้ากับประเทศผู้ส่งออก
โปแลนด์มีความตกลงลดอากรขาเข้าให้แก่สินค้าจากสหภาพยุโรป ตามนโยบายการเข้ารวมกับสหภาพยุโรป และยังมีความตกลงลดอากรขาเข้ากับประเทศในกลุ่ม EFTA (นอร์เวย์, ไอซ์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์ และลิคเตนสไตน์) และกลุ่ม CEFTA (โปแลนด์ ฮังการี เชก สโลวะเกีย) รวมทั้งความตกลงทวิภาคีเพื่อลดอากรขาเข้ากับโรมาเนีย ลิธัวเนีย แลตเวีย เอสโตเนีย และอิสราเอล ซึ่งทำให้อากรขาเข้าที่เรียกเก็บจากสินค้าของประเทศที่มีความตกลงดังกล่าวต่ำกว่าที่เรียกเก็บจากสินค้าไทย
ล่าสุดในปี 2542 นี้ แม้ว่าจะมีการประท้วงอย่างมากจากผู้ผลิตสิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอในประเทศ โปแลนด์ได้ลงนามเปิดการค้าเสรีกับตุรกี ซึ่งจะนำไปสู่การลดอากรขาเข้าระหว่างกันต่อไป ตุรกีเป็นผู้ส่งสินค้าสิ่งทอสำคัญเข้าโปแลนด์ จะมีผลกระทบต่อไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม วงการค้าเชื่อกันว่าสินค้าจากตุรกีส่วนใหญ่นำเข้าโปแลนด์โดยการหลบเลี่ยงภาษีอยู่แล้ว
นอกจากนี้ รัสเซียและจีนมีควมตกลงใการปฎิบัติเยี่ยงชาติกับโปแลนด์ชำระอากรขาเข้าอัตราเดียวกับที่เรียกเก็บจากสมาชิก WTO
การร่วมลงทุนกับประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้า
โปแลนด์เปิดรับต่างชาติเข้าร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าในโปแลนด์มากกว่าที่โปแลนด์ออกไปลงทุนในต่างประเทศ จากการสอบถามข้อมูลได้รับทราบว่า VIPOL ผู้นำเข้ากางเกงยีนส์จากไทยรายใหญ่เมื่อ 5-6 ปีก่อน ได้ร่วมลงทุนในจีน และลดการนำเข้าจากไทยจนแทบจะไม่มีเลยในปัจจุบัน นอกจากนี้ มีรายงานว่าโรงงานในโปแลนด์ไปจ้างผลิตในประเทศทางชายแดนด้านตะวันออกด้วย แต่ไม่มีข้อมูลชัดเจน บ้างก็ว่าเป็นสินค้าจากแหล่งอื่นไม่ใช่แหล่งกำเนิด เพื่อใช้ประโยชน์จาการเสียอากรขาเข้าต่ำลง ดังนั้น การที่สินค้าไทยจะเข้าไปตลาดในโปแลนด์อีกครั้งดังเช่นในอดีตคงจะมีโอกาสเป็นไปได้ ถ้านักลงทุนไทยให้ความสนใจในลงทุนในโปแลนด์ แต่ทั้งนี้นักลงทุนจะต้องพยายามหาวิธีที่จะเข้าไปแข่งขันกับประเทศที่กำลังได้เปรียบไทยอยู่ในขณะนี้ เช่น จีน เป็นต้น
ที่มา: สำนักส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงวอร์ซอ
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4/29 กุมภาพันธ์ 2543--