กรุงเทพฯ--19 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ข้อมติว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และข้อมติประกาศทศวรรษแห่งความร่วมมือในด้านการพัฒนาประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเสนอโดยประเทศไทยได้รับการรับรองโดยที่ประชุมเอสแคป
วันนี้ (16 มิถุนายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเซียและแปซิฟิกหรือเอสแคป (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - ESCAP) สมัยที่ 56 ประจำปี 2543 ระหว่างวันที่ 1-7 มิถุนายน 2543 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ที่ประชุมได้รับรองข้อมติ จำนวน 2 ฉบับที่เสนอโดยประเทศไทย ได้แก่ ข้อมติ Advancing human resources development in Asia and the Pacific และข้อมติ Decade of Greater Marketing Subregion Development cooperation, 2000-2009 ซึ่งจะเป็นอาณัติให้สำนักเลขาธิการเอสแคปจัดสรรงบประมาณปกติ (regular budget) และระดมงบประมาณพิเศษ (extrabudgetary resources) มาใช้ในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคและการพัฒนาประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion) ต่อไป
ข้อมติ Advancing human resources development in Asia and Pacific ซึ่งเป็นข้อมติที่เกี่ยวข้องกัลการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก มีสาระสำคัญที่เรียกร้องให้สมาชิกและสมาชิกสมทบของเอสแคปเสริมสร้างนโยบายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับชาติ โดยเน้นการลงทุนในสาขาต่าง ๆ รวมทั้งการศึกษาและฝึกอบรม สุขอนามัยและโภชนาการ และการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อำนวยต่อการพึ่งพาตนเอง และเรียกร้องให้ประเทศผู้บริจาค สถาบันการเงินระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ องค์กรของสหประชาชาติและทบวงการชำนาญพิเศษ องค์กรที่มิใช่รัฐบาลและภาคเอกชนให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่กำลังพัฒนาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเสริมสร้างสมรรถนะแห่งชาติ ข้อมติดังกล่าวยังได้ร้องขอให้เลขาธิการบริหารเอสแคปให้ความสนับสนุนแก่สมาชิกและสมาชิกสมทบในการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการจาการ์ตาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคเอสแคป โดยให้ความสำคัญกับอนุภูมิภาคที่มีความต้องการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากที่สุด ทั้งนี้ กัมพูชา จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย เวียดนาม ปากีสถาน ศรีลังกาและอินเดีย ได้ร่วมอุปถัมภ์ข้อมตินี้ด้วย
ข้อมติ Decade of Greater Mekong Subregion Development Cooperation, 2000-2009 มีสาระสำคัญในการประกาศให้ช่วงปี ค.ศ. 2000-2009 เป็นทศวรรษแห่งความร่วมมือในการพัฒนาประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ความสนใจและให้การสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เรียกร้องให้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมและสมัชชาสหประชาชาติให้การรับรองข้อมติดังกล่าว เพื่อให้มีการสนับสนุนการดำเนินการตามข้อมติดังกล่าวในระดับโลก พร้อมกับร้องข้อให้เลขาธิการบริหารเอสแคปช่วยระดมทรัพยากรที่จำเป็นในการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่สำคัญ ๆ เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การค้าและการลงทุน การขนส่งและคมนาคม การบรรเทาความยากจนและการพัฒนาสังคม ตลอดจนติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการและกิจกรรมภายใต้กรอบงานความร่วมมือต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งนี้ ญี่ปุ่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว จีน อินเดียและอินโดนีเซีย ได้ร่วมอุปถัมภ์ข้อมตินี้ด้วย--จบ--
-อน-
ข้อมติว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และข้อมติประกาศทศวรรษแห่งความร่วมมือในด้านการพัฒนาประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเสนอโดยประเทศไทยได้รับการรับรองโดยที่ประชุมเอสแคป
วันนี้ (16 มิถุนายน 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเซียและแปซิฟิกหรือเอสแคป (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - ESCAP) สมัยที่ 56 ประจำปี 2543 ระหว่างวันที่ 1-7 มิถุนายน 2543 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ที่ประชุมได้รับรองข้อมติ จำนวน 2 ฉบับที่เสนอโดยประเทศไทย ได้แก่ ข้อมติ Advancing human resources development in Asia and the Pacific และข้อมติ Decade of Greater Marketing Subregion Development cooperation, 2000-2009 ซึ่งจะเป็นอาณัติให้สำนักเลขาธิการเอสแคปจัดสรรงบประมาณปกติ (regular budget) และระดมงบประมาณพิเศษ (extrabudgetary resources) มาใช้ในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคและการพัฒนาประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion) ต่อไป
ข้อมติ Advancing human resources development in Asia and Pacific ซึ่งเป็นข้อมติที่เกี่ยวข้องกัลการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก มีสาระสำคัญที่เรียกร้องให้สมาชิกและสมาชิกสมทบของเอสแคปเสริมสร้างนโยบายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับชาติ โดยเน้นการลงทุนในสาขาต่าง ๆ รวมทั้งการศึกษาและฝึกอบรม สุขอนามัยและโภชนาการ และการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อำนวยต่อการพึ่งพาตนเอง และเรียกร้องให้ประเทศผู้บริจาค สถาบันการเงินระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ องค์กรของสหประชาชาติและทบวงการชำนาญพิเศษ องค์กรที่มิใช่รัฐบาลและภาคเอกชนให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่กำลังพัฒนาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเสริมสร้างสมรรถนะแห่งชาติ ข้อมติดังกล่าวยังได้ร้องขอให้เลขาธิการบริหารเอสแคปให้ความสนับสนุนแก่สมาชิกและสมาชิกสมทบในการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการจาการ์ตาว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคเอสแคป โดยให้ความสำคัญกับอนุภูมิภาคที่มีความต้องการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากที่สุด ทั้งนี้ กัมพูชา จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย เวียดนาม ปากีสถาน ศรีลังกาและอินเดีย ได้ร่วมอุปถัมภ์ข้อมตินี้ด้วย
ข้อมติ Decade of Greater Mekong Subregion Development Cooperation, 2000-2009 มีสาระสำคัญในการประกาศให้ช่วงปี ค.ศ. 2000-2009 เป็นทศวรรษแห่งความร่วมมือในการพัฒนาประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ความสนใจและให้การสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เรียกร้องให้คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมและสมัชชาสหประชาชาติให้การรับรองข้อมติดังกล่าว เพื่อให้มีการสนับสนุนการดำเนินการตามข้อมติดังกล่าวในระดับโลก พร้อมกับร้องข้อให้เลขาธิการบริหารเอสแคปช่วยระดมทรัพยากรที่จำเป็นในการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่สำคัญ ๆ เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การค้าและการลงทุน การขนส่งและคมนาคม การบรรเทาความยากจนและการพัฒนาสังคม ตลอดจนติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการและกิจกรรมภายใต้กรอบงานความร่วมมือต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งนี้ ญี่ปุ่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว จีน อินเดียและอินโดนีเซีย ได้ร่วมอุปถัมภ์ข้อมตินี้ด้วย--จบ--
-อน-