ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
สินค้า ปริมาณส่งออก (พันตัน) มูลค่าส่งออก (ล้าน US$)
2542 2543 % 2542 2543 %
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 5,315.8 4,676.3 -12.0 609.4 512.9 -15.8
- มันอัดเม็ด (รวมมันเส้น) 4,269.1 3,246.9 -23.9 329.1 195.4 -40.6
- แป้งมันสำปะหลัง 699.4 1,048.3 49.9 127.3 155.6 22.2
ตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว
- ญี่ปุ่น 89.9 96.7 7.5
- อาเซียน 57.4 89.4 55.7
- อินโดนีเซีย 20.4 49.0 145.5
- มาเลเซีย 18.7 19.5 3.9
ตลาดส่งออกสำคัญที่หดตัว
- EU 322.6 193.0 -40.2
- เนเธอร์แลนด์ 261.5 138.7 -47.0
- สเปน 40.9 31.6 -22.7
- ไตัหวัน 53.1 47.7 -10.3
- จีน 40.5 31.1 -23.3
- สหรัฐอเมริกา 14.8 12.6 -14.8
- สิงคโปร์ 12.6 11.4 -9.7
มูลค่าส่งออก (ล้านบาท)
2542 2543 %
22,999.5 20,281.3 -11.8
ภาวะการส่งออก
- ผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปี 2542ร้อยละ19 เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้นนอก
จากนี้ภาครัฐยังส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังโดยรวมของไทยลดลงค่อนข้าง
มากโดยปริมาณส่งออกลดลงถึงร้อยละ 12 จาก 5.3 ล้านตันในปี 2542 เหลือ 4.7 ล้านตันในปี 2543 ขณะที่ราคาส่งออกเฉลี่ยในเทอม US$ ลดลง
ร้อยละ 4.3 โดยเฉพาะการส่งออกมันอัดเม็ด (รวมมันเส้น)ลดลงทั้งปริมาณและราคาที่ส่งออกถึงกว่า ร้อยละ 20
- ความต้องการมันอัดเม็ดลดลงมากในตลาด EU ซึ่งเป็นตลาดส่งออกมันอัดเม็ดสำคัญที่สุดของไทย เนื่องจาก EU มีนโยบายลดราคาประกัน
ธัญพืชลงร้อยละ 7.5 ต่อปี ส่งผลให้ราคาธัญพืชใน EU ลดลงอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ใน EU จึงหันไปใช้ธัญพืชทดแทนมันอัดเม็ดมากขึ้น
นอกจากนี้ ปัญหาโรควัวบ้าที่ระบาดอย่างหนักใน EU ทำให้ปริมาณวัวลดลงความต้องการนำเข้ามันอัดเม็ดเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์
ลดลงตามไปด้วย
- การส่งออกแป้งมันสำปะหลังในปี 2543 เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 30 ปี ถึงเกือบร้อยละ 50 แม้ว่า
ราคาส่งออกเฉลี่ยในเทอม US$ ลดลงประมาณร้อยละ 18 ทั้งนี้ ได้รับผลดีจากอินโดนีเซียซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทย ประสบกับผลผลิตมันสำปะหลังตกต่ำ
เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย
สำหรับสถานการณ์มันสำปะหลัง ปี 2544 คาดว่า
- ผลผลิตมันสำปะหลังมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยจาก 18.75 ล้านตันในปี 2543เป็น 18.28 ล้านตันในปี 2544 ขณะที่คาดว่าราคาหัวมันที่
เกษตรกรได้รับจะอยู่ในระดับต่ำเช่นเดียวกับปี 2543 เนื่องจากผลผลิตมันสำปะหลังมีแนวโน้มมากเกินความต้องการ
- ความต้องการใช้มันสำปะหลังในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งมันอัดเม็ดและมันเส้นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ตามโครงการส่งเสริม
ให้มีการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ ขณะที่ความต้องการใช้แป้งมันสำปะหลังในประเทศก็มีมากขึ้น เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับแป้งชนิดอื่น ๆ
- การส่งออกมันอัดเม็ด คาดว่าจะลดลงต่อเนื่องจากปี 2543 ตามความต้องการที่ลดลงของตลาดหลัก คือ EU ที่มีนโยบายลดราคาประกัน
ธัญพืชลง ประกอบกับผลผลิตธัญพืชเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ใน EU มีปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ประเทศผู้นำเข้าสำคัญ โดยเฉพาะเนเธอร์แลนด์มีมาตรการ
นำเข้าที่เข้มงวดโดยกำหนดให้วัตถุดิบที่ใช้ผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งรวมถึงมันอัดเม็ดต้องผ่านมาตรฐาน HACCP โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544
- ทิศทางตลาดมันอัดเม็ดของไทยในระยะต่อไปจะเน้นตลาดภายในประเทศมากขึ้น ขณะเดียวกันการส่งออกไปตลาด EU มีแนวโน้มลดลง
อย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องหันไปส่งออกยังตลาดนอก EU มากขึ้น โดยเฉพาะเกาหลีใต้ซึ่งขณะนี้ไทยครองส่วนแบ่งตลาดมันอัดเม็ดกว่าร้อยละ 90 ขณะเดียว
กันเกาหลีใต้ได้ปรับลดภาษีนำเข้ามันอัดเม็ดลงเป็นลำดับ นอกจากนี้ จีนซึ่งกำลังจะเข้าเป็นสมาชิก WTO ได้ทำการเปิดตลาดและปรับลดภาษีลงอย่างต่อเนื่อง
คาดว่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกมันอัดเม็ดของไทย
การส่งออกแป้งมันสำปะหลังของไทยในปี 2544 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2543 เนื่องจาก
- ประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ประสบปัญหาการผลิต ทำให้มีผลผลิตไม่เพียงพอที่จะส่งออกและอาจต้องนำเข้า
แป้งมันสำปะหลังจากไทยเพิ่มขึ้น
- ผลผลิตธัญพืช เช่น ข้าวโพด และข้าวสาลีในประเทศจีนได้รับความเสียหายจากสภาพอากาศแห้งแล้ง ส่งผลให้ปริมาณแป้งข้าวโพด
และแป้งสาลีเพื่อการส่งออกของจีนลดลง และเป็นผลดีต่อการส่งออกแป้งมันสำปะหลังของไทย
- ความต้องการแป้งมันของอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมากทั้งอุตสาหกรรมอาหารยาและเครื่องสำอางโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร
มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้แป้งมันเป็นวัตถุดิบอย่างหลากหลาย
- กระแสต่อต้านการบริโภคอาหารที่มีการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) ส่งผลดีต่อการส่งออกแป้งมันสำปะหลัง เนื่องจากเป็นพืชที่ปลอด
จาก GMOs จึงมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้นเพื่อใช้ทดแทนแป้งที่ผลิตจากพืชชนิดอื่นที่สงสัยว่าจะเป็นพืช GMOs
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
สินค้า ปริมาณส่งออก (พันตัน) มูลค่าส่งออก (ล้าน US$)
2542 2543 % 2542 2543 %
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง 5,315.8 4,676.3 -12.0 609.4 512.9 -15.8
- มันอัดเม็ด (รวมมันเส้น) 4,269.1 3,246.9 -23.9 329.1 195.4 -40.6
- แป้งมันสำปะหลัง 699.4 1,048.3 49.9 127.3 155.6 22.2
ตลาดส่งออกสำคัญที่ขยายตัว
- ญี่ปุ่น 89.9 96.7 7.5
- อาเซียน 57.4 89.4 55.7
- อินโดนีเซีย 20.4 49.0 145.5
- มาเลเซีย 18.7 19.5 3.9
ตลาดส่งออกสำคัญที่หดตัว
- EU 322.6 193.0 -40.2
- เนเธอร์แลนด์ 261.5 138.7 -47.0
- สเปน 40.9 31.6 -22.7
- ไตัหวัน 53.1 47.7 -10.3
- จีน 40.5 31.1 -23.3
- สหรัฐอเมริกา 14.8 12.6 -14.8
- สิงคโปร์ 12.6 11.4 -9.7
มูลค่าส่งออก (ล้านบาท)
2542 2543 %
22,999.5 20,281.3 -11.8
ภาวะการส่งออก
- ผลผลิตมันสำปะหลังในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปี 2542ร้อยละ19 เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้นนอก
จากนี้ภาครัฐยังส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังโดยรวมของไทยลดลงค่อนข้าง
มากโดยปริมาณส่งออกลดลงถึงร้อยละ 12 จาก 5.3 ล้านตันในปี 2542 เหลือ 4.7 ล้านตันในปี 2543 ขณะที่ราคาส่งออกเฉลี่ยในเทอม US$ ลดลง
ร้อยละ 4.3 โดยเฉพาะการส่งออกมันอัดเม็ด (รวมมันเส้น)ลดลงทั้งปริมาณและราคาที่ส่งออกถึงกว่า ร้อยละ 20
- ความต้องการมันอัดเม็ดลดลงมากในตลาด EU ซึ่งเป็นตลาดส่งออกมันอัดเม็ดสำคัญที่สุดของไทย เนื่องจาก EU มีนโยบายลดราคาประกัน
ธัญพืชลงร้อยละ 7.5 ต่อปี ส่งผลให้ราคาธัญพืชใน EU ลดลงอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ใน EU จึงหันไปใช้ธัญพืชทดแทนมันอัดเม็ดมากขึ้น
นอกจากนี้ ปัญหาโรควัวบ้าที่ระบาดอย่างหนักใน EU ทำให้ปริมาณวัวลดลงความต้องการนำเข้ามันอัดเม็ดเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์
ลดลงตามไปด้วย
- การส่งออกแป้งมันสำปะหลังในปี 2543 เพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 30 ปี ถึงเกือบร้อยละ 50 แม้ว่า
ราคาส่งออกเฉลี่ยในเทอม US$ ลดลงประมาณร้อยละ 18 ทั้งนี้ ได้รับผลดีจากอินโดนีเซียซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทย ประสบกับผลผลิตมันสำปะหลังตกต่ำ
เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย
สำหรับสถานการณ์มันสำปะหลัง ปี 2544 คาดว่า
- ผลผลิตมันสำปะหลังมีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยจาก 18.75 ล้านตันในปี 2543เป็น 18.28 ล้านตันในปี 2544 ขณะที่คาดว่าราคาหัวมันที่
เกษตรกรได้รับจะอยู่ในระดับต่ำเช่นเดียวกับปี 2543 เนื่องจากผลผลิตมันสำปะหลังมีแนวโน้มมากเกินความต้องการ
- ความต้องการใช้มันสำปะหลังในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งมันอัดเม็ดและมันเส้นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอาหารสัตว์ตามโครงการส่งเสริม
ให้มีการใช้มันสำปะหลังในอาหารสัตว์ ขณะที่ความต้องการใช้แป้งมันสำปะหลังในประเทศก็มีมากขึ้น เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับแป้งชนิดอื่น ๆ
- การส่งออกมันอัดเม็ด คาดว่าจะลดลงต่อเนื่องจากปี 2543 ตามความต้องการที่ลดลงของตลาดหลัก คือ EU ที่มีนโยบายลดราคาประกัน
ธัญพืชลง ประกอบกับผลผลิตธัญพืชเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ใน EU มีปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ประเทศผู้นำเข้าสำคัญ โดยเฉพาะเนเธอร์แลนด์มีมาตรการ
นำเข้าที่เข้มงวดโดยกำหนดให้วัตถุดิบที่ใช้ผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งรวมถึงมันอัดเม็ดต้องผ่านมาตรฐาน HACCP โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544
- ทิศทางตลาดมันอัดเม็ดของไทยในระยะต่อไปจะเน้นตลาดภายในประเทศมากขึ้น ขณะเดียวกันการส่งออกไปตลาด EU มีแนวโน้มลดลง
อย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องหันไปส่งออกยังตลาดนอก EU มากขึ้น โดยเฉพาะเกาหลีใต้ซึ่งขณะนี้ไทยครองส่วนแบ่งตลาดมันอัดเม็ดกว่าร้อยละ 90 ขณะเดียว
กันเกาหลีใต้ได้ปรับลดภาษีนำเข้ามันอัดเม็ดลงเป็นลำดับ นอกจากนี้ จีนซึ่งกำลังจะเข้าเป็นสมาชิก WTO ได้ทำการเปิดตลาดและปรับลดภาษีลงอย่างต่อเนื่อง
คาดว่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกมันอัดเม็ดของไทย
การส่งออกแป้งมันสำปะหลังของไทยในปี 2544 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2543 เนื่องจาก
- ประเทศคู่แข่งสำคัญ คือ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ประสบปัญหาการผลิต ทำให้มีผลผลิตไม่เพียงพอที่จะส่งออกและอาจต้องนำเข้า
แป้งมันสำปะหลังจากไทยเพิ่มขึ้น
- ผลผลิตธัญพืช เช่น ข้าวโพด และข้าวสาลีในประเทศจีนได้รับความเสียหายจากสภาพอากาศแห้งแล้ง ส่งผลให้ปริมาณแป้งข้าวโพด
และแป้งสาลีเพื่อการส่งออกของจีนลดลง และเป็นผลดีต่อการส่งออกแป้งมันสำปะหลังของไทย
- ความต้องการแป้งมันของอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมากทั้งอุตสาหกรรมอาหารยาและเครื่องสำอางโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร
มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้แป้งมันเป็นวัตถุดิบอย่างหลากหลาย
- กระแสต่อต้านการบริโภคอาหารที่มีการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) ส่งผลดีต่อการส่งออกแป้งมันสำปะหลัง เนื่องจากเป็นพืชที่ปลอด
จาก GMOs จึงมีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้นเพื่อใช้ทดแทนแป้งที่ผลิตจากพืชชนิดอื่นที่สงสัยว่าจะเป็นพืช GMOs
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-