กรุงเทพฯ--10 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
สถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงโตเกียวเป็นต้นแบบ (prototype) การดำเนินการปฏิรูปการบริหารราชการในต่างประเทศตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2542 ผลงานของทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวในช่วง 2542 ถึงต้นปี 2543 มีดังนี้
Unified Command
จัดการประชุมหัวหน้าสำนักงาน (staff meeting) ทุกสัปดาห์ เพื่อประสานงานและติดตามความคืบหน้าในทุกด้าน และเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับทราบการทำงานของกันและกัน วางแผนการทำงานและแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานร่วมกัน
การปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการของข้าราชการประจำการในต่างประเทศ พ.ศ. 2540 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541 รวมทั้งแนวทางระบบการทำงานที่เป็นเอกภาพ (explanatory rote) ซึ่งเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายเกรงว่าจะมีปัญหา ปรากฎว่าราบรื่น เนื่องจากมีการประชุม staff meeting ทุกสัปดาห์ ซึ่งเป็นโอกาสให้รายงานด้วยวาจา ทำให้ทุกฝ่ายรับทราบพร้อม ๆ กัน มิใช่เพียงระหว่างเอกอัครราชฑูตกับหัวหน้าสำนักงานใดสำนักงานหนึ่ง นอกจากนี้ในบางกรณีหัวหน้าสำนักงานได้ทำสำเนาเรื่องสำคัญให้เอกอัครราชฑูตทราบ/พิจารณา อาทิ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังประจำกรุงโตเกียว ได้สรุปเรื่องเงินกู้ภายใต้โครงการ New Miyazawa Initiative และ รายงานการกู้เงินจากญี่ปุ่นในปี 1999 ให้เอกอัครราชฑูตทราบ
Unified Structure
ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวตกลงในหลักการที่มีสำนักงานภายใต้หลังคาเดียวกันเพื่อการทำงานกันอย่างมีเอกภาพ โดยเห็นควรใช้วิธีขยายพื้นที่ทำการของสถานเอกอัครราชฑูตฯ และกระทรวงการต่างประเทศได้อนุมัติให้สร้างอาคารสำเร็จรูป 3 ชั้น (ตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ดัดแปลง) มูลค่า 23 ล้านเยน (ประมาณ 6.9 ล้านบาท) มีพื้นที่ชั้นละประมาณ 86 ตารางเมตร ภายในอาคารประกอบด้วยอุปกรณ์พื้นฐานต่าง ๆ เช่นระบบไฟฟ้า ระบบประปา ฯลฯ อาคารดังกล่าวผลิตในประเทศไทย แล้วขนส่งไปติดตั้ง ณ กรุงโตเกียว คาดว่าจะสามารถติดตั้งอาคารสำเร็จรูปในบริเวณโรงรถเดิมของสถานเอกอัครราชฑูตฯ เสร็จภายในเดือนมีนาคม 2543 สำหรับหน่วยงานที่มีความประสงค์และพร้อมที่จะย้ายเข้ามารวมในสำนักงานเดียวกับสถานเอกอัครราชฑูตฯ คือ สำนักงานแรงงาน เกษตร เศรษฐกิจการคลัง อุตสาหกรรม ก.พ. และสำนักข่าวกรอง (ตามรูปการณ์นี้ สำนักงานผู้ช่วยฑูตฝ่ายทหาร พาณิชย์ และ BOI ยังแยกสำนักงานอยู่ต่างหาก)
Unified Work Plan
- ทีมไทยแลนด์โตเกียวใช้แผนงานรวมเป็นกรอบการทำงานร่วมกัน
- การประชุม staff meeting ใช้แผนงานรวมเป็นหลักในการหารือเพื่อรับทราบการทำงานตรงเป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน และการติดตามผล
- การดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามแผนงานรวมของทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวในปี 2542 ได้ขจัดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนไปเป็นจำนวนมาก และได้ร่วมกันคิดโครงการที่ร่วมกันตามแนวทางการจัดทำแผนงานรวมสำหรับปี 2543 และ 2544 ด้วย
- ในการจัดทำแผนงานรวมสำหรับปีงบประมาณ 2544 ทุกหน่วยงานได้ร่วมหารือในเรื่องพันธกิจหลัก (mission) ที่ทีมประเทศไทยจะร่วมกันผลักดันในญี่ปุ่นโดยมอบหมายให้หน่วยงานที่มีความชำนาญในด้านนั้นเป็นหน่วยตั้งงบประมาณ แต่การปฏิบัติจะร่วมกันเป็นทีม
ในปี 2542 ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวให้ความสำคัญแก่การส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหาร และได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น
(1) โครงการส่งเสริมการบริโภคข้าวหอมมะลิของไทย สถานเอกอัครราชฑูตฯ ศูนย์พาณิชยกรรม ณ นครโอซากา สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทการบินไทย และบริษัท Royal Host ของญี่ปุ่น จัดงานเทศกาลอาหารไทยขึ้นที่ร้าน Royal Host ซึ่งมีสาขา 370 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม - 1 กรกฎาคม 2542 เป็นเวลา 44 วัน โดยบริษัทได้นำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยไปประกอบในรายการอาหารไทย เพื่อเป็นการแนะนำให้ชาวญี่ปุ่นรู้จักข้าวหอมมะลิของไทย
ในชั้นนี้อยู่ระหว่างการวัดผลของโครงการ
(2) โครงการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น เอกอัครราชฑูต ณ กรุงโตเกียวนำทีมไทยแลนด์ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพาณิชย์ ส่งเสริมการลงทุน อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และเกษตร ออกไปจัดกิจกรรมแนะนำประเทศไทยในจังหวัดที่สำคัญ โอกายามา เอฮิเมะ และฮิโรชิมา เพื่อให้ทราบนโยบายของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ตลอดจนชักจูงและดึงดูดให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นขยายการติดต่อกับฝ่ายไทยให้มากยิ่งขึ้น
(3) การผลักดันให้เปิดตลาดมังคุดสดในญี่ปุ่น ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชฑูตฯ สำนักงานพาณิชย์ และสำนักงานเกษตร ร่วมกันบุกเบิกตลาดมังคุดสด โดยดำเนินการเพื่อให้มังคุดสดจากไทยผ่านการตรวจสอบมาตรฐานของญี่ปุ่น
ในปี 2543 ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวมีโครงการที่จะดำเนินการร่วมกัน 3 โครงการ
(1) โครงการทีมไทยแลนด์เยือนจังหวัดในเกาะกิวชู และโอกินาวา
(2) โครงการส่งเสริมอาหารไทยในกรุงโตเกียว
(3) โครงการจัดทำเอกสารคู่มือสำหรับคนไทยในญี่ปุ่น
ในปี 2544 ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวได้เสนอโครงการที่จะดำเนินการร่วมกัน 5 โครงการ โดยได้ระบุหน่วยงานที่ตั้งงบประมาณไว้ด้วย
(1) การจัดงาน Thailand Fair ที่กรุงโตเกียวและโอซากา ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ตั้งงบประมาณโดยใช้ร่างโครงการฯ ที่ศูนย์พาณิชยกรรม ณ โอซากาเป็นผู้จัดทำ
(2) การเดินทางเยือนจังหวัดนาโกย่า โอซาก้า ฮิโรชิมา ฟูโอกะ มิยากิ (เมืองเซนได) ฮอกไกโด กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ตั้งงบประมาณ
(3) การจัดงาน Thai Food Fair กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ขอตั้งงบประมาณ
(4) การจัดเทศบาลป้องไพร่วมกับเมืองโยชิดะ จังหวัดไซตามะ การท่องเที่ยวเป็นผู้ตั้งงบประมาณ
(5) การจัดสัมมนาและเลี้ยงรับรองกลุ่ม Friends of Thailand ซึ่ง BOI เป็นผู้ตั้งงบประมาณ
ผลสำเร็จของการทำงานเป็นทีม
ในโอกาสที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเยือนญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 24-27 ต.ค. 2542 และในโอกาสที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นมาเยือนไทย ระหว่างวันที่ 13-15 ม.ค. 2543 ฝ่ายไทยได้ย้ำให้ญี่ปุ่นเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินความสัมพันธ์กับไทยในระยะยาว ในลักษณะหุ้นส่วนระหว่างไทยกับญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยด้วย ความร่วมมือด้านหนึ่งที่ฝ่ายไทยต้องการจากญี่ปุ่นก็คือขอให้ญี่ปุ่นส่งเสริมให้สินค้าเกษตรของไทยสามารถเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นได้มากขึ้น โดยการส่งผู้เชี่ยวชาญไปช่วยเหลือในการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรไทยใด้มาตราฐานญี่ปุ่น ซึ่งเรื่องนี้ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวได้ถือเป็นเป้าหมายที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุผล โดยได้เริ่มดำเนินการบุกเบิกตลาดมังคุดสดในญี่ปุ่นแล้ว
กรณีการบุกเบิกตลาดมังคุดสดของไทยในญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า การดำเนินงานเป็นทีมทำให้สามารถผลักดันเรื่องได้อย่างเป็นเอกภาพ ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวโดยความร่วมมือร่วมใจของสถานเอกอัครราชฑูตฯ สำนักงานพาณิชย์ และสำนักงานเกษตร ได้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนในการสร้างเครือข่ายของชาวญี่ปุ่นผู้สนับสนุนการนำเข้ามังคุดสด ตลอดจนชักชวนให้ร่วมมือกับนักวิชาการไทยในการเขียนรายงานการทดลองกำลังกำจัดแมลงวันในผลมังคุด เพื่อให้มังคุดสดจากไทยสามารถผ่านการตรวจสอบมาตรฐานของกระทรวงเกษตรญี่ปุ่น การดำเนินการเรื่องนี้คืบหน้าไปมากดังนี้
1. ทีมไทยแลนด์ได้ชักจูงบริษัท Jusco ผู้นำเข้าผลไม้รายใหญ่จากทั่วโลก และบริษัท Mitsubishi ซึ่งมีเทคโนโลยีการเกษตร การกำจัดศัตรูพืช และความคล่องตัวในการเดินเรื่องกับทางการญี่ปุ่น เข้าร่วมทำวิจัยและร่วมลงทุนทำสวนมังคุดที่ได้มาตรฐาน เพื่อส่งไปตลาดญี่ปุ่นเป็นการเฉพาะจะเป็นการลงทุนร่วมกับไทยแบบครบวงจร โดยฝ่ายไทยเป็นผู้จัดทำสวน และแรงงาน ฝ่ายญี่ปุ่นดูแลเรื่องเทคโนโลยีการผลิต การเก็บ คัดเลือก การบรรจุ และการตลาดในญี่ปุ่น
2. บริษัท Jusco บริษัท Mitsubishi ได้ส่งผู้แทนมาเยี่ยมชมสวนมังคุด และหารือด้านธุรกิจกับฝ่ายไทยในการลงทุนปลูก และจัดส่งมังคุดสดไปจำหน่ายในตลาดญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นเห็นว่า โอกาสการทำตลาดมังคุดสดในญี่ปุ่นมีความเป็นไปได้สูง แต่ทั้งนี้ต้องรอผลการพิจารณาของทางการญี่ปุ่นเกี่ยวกับผลการวิจัยของฝ่ายไทยเรื่องการกำจัดแมลงวันผลไม้ในมังคุด
3. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ฝ่ายไทยได้นำหนังสือของอธิบดีกรมวิชาการเกษตรที่ขอให้ญี่ปุ่นยกเลิกการห้ามนำเข้ามังคุดสดรวมทั้งผลการวิจัยการกำจัดแมลงวันผลไม้ในมังคุดสดทั้งภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นมอบให้แก่กองกักกันพืช กระทรวงเกษตรญี่ปุ่นพิจารณาแล้ว พร้อมกันนี้ กระทรวงเกษตรของไทยได้ส่งหนังสือและผลการวิจัยฯให้สถานเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นในประเทศไทยด้วยอีกทางหนึ่ง
4. บริษัท Jusco และบริษัท Mitsubishi รับจะช่วยดำเนินการล็อบบี้เพื่อให้มีการเร่งพิจารณาผลการวิจัยของฝ่ายไทยโดยคาดว่า ภายในต้นปี 2544 กระทรวงเกษตรญี่ปุ่นน่าจะพิจารณาผลการวิจัยของฝ่ายไทยเสร็จ และประกาศยกเลิกกฎระเบียบห้ามนำเข้ามังคุดสดจากไทย ซึ่งทีมไทยแลนด์ที่ญี่ปุ่นกำลังติดตามผลการพิจารณาของฝ่ายญี่ปุ่นในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป
นอกจาการบุกเบิกตลาดมังคุดสดแล้ว ขณะนี้ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวได้ใช้แนวทางการทำงานร่วมกันเป็นทีมในการพยายามที่จะขยายตลาดข้าวหอมมะลิโดยเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2542 ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวประกอบด้วยอัครราชฑูตชองสถานเอกอัครราชฑูตฯ อัครราชฑูตจาสำนักงานพาณิชย์ และอัครราชฑูตที่ปรึกษาจากสำนักงานเกษตร ได้เข้าพบปะหารือกับเจ้าหน้าที่ Food Agency และกระทรวงเกษตรญี่ปุ่น เพื่อขอความร่วมมือในการส่งเสริมข้าวไทยในตลาดญี่ปุ่น เพราะเป็นข้าวเมล็ดยาวย่อมไม่ถูกหลักและรสชาดในการประกอบอาหารญี่ปุ่น การนำเข้าจึงไม่ส่งผลกระทบต่อชาวนา หรือนักการเมืองญี่ปุ่นแต่อย่างไร เพราะจุดประสงค์สำคัญของการส่งออกข้าวไทยไปยังญี่ปุ่น ก็เพื่อตอสนองอุปสงค์จากร้านอาหารไทย รวมทั้งแก่ชาวเอเชียที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นกว่า 1 ล้านคน ซึ่ง Food Agency ได้แจ้งว่ายินดีจะให้ความร่วมมือกับฝ่ายไทยในการส่งเสริมข้าวไทยในตลาดญี่ปุ่นโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ
สรุป แนวทางการปฏิรูปการบริหารราชการในต่างประเทศทั้งด้าน Unified Command, Unified Structure และ Unified Workpaln ซึ่งสถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงโตเกียวนำไปปฏิบัติในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้การทำงานของทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวเป็นไปอย่างมีเอกภาพ ลดความซ้ำซ้อน มีความร่วมมือและประสานงานกันมากขึ้น มีการใช้แผนงานรวมเป็นหลักในการทำงาน ทำให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า นโยบายทีมไทยแลนด์เป็นสิ่งที่เป็นไปได้หากนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังจะช่วยหใการบริหารราชการในต่างประเทศของไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ--จบ--
สถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงโตเกียวเป็นต้นแบบ (prototype) การดำเนินการปฏิรูปการบริหารราชการในต่างประเทศตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2542 ผลงานของทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวในช่วง 2542 ถึงต้นปี 2543 มีดังนี้
Unified Command
จัดการประชุมหัวหน้าสำนักงาน (staff meeting) ทุกสัปดาห์ เพื่อประสานงานและติดตามความคืบหน้าในทุกด้าน และเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับทราบการทำงานของกันและกัน วางแผนการทำงานและแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานร่วมกัน
การปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการของข้าราชการประจำการในต่างประเทศ พ.ศ. 2540 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541 รวมทั้งแนวทางระบบการทำงานที่เป็นเอกภาพ (explanatory rote) ซึ่งเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายเกรงว่าจะมีปัญหา ปรากฎว่าราบรื่น เนื่องจากมีการประชุม staff meeting ทุกสัปดาห์ ซึ่งเป็นโอกาสให้รายงานด้วยวาจา ทำให้ทุกฝ่ายรับทราบพร้อม ๆ กัน มิใช่เพียงระหว่างเอกอัครราชฑูตกับหัวหน้าสำนักงานใดสำนักงานหนึ่ง นอกจากนี้ในบางกรณีหัวหน้าสำนักงานได้ทำสำเนาเรื่องสำคัญให้เอกอัครราชฑูตทราบ/พิจารณา อาทิ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังประจำกรุงโตเกียว ได้สรุปเรื่องเงินกู้ภายใต้โครงการ New Miyazawa Initiative และ รายงานการกู้เงินจากญี่ปุ่นในปี 1999 ให้เอกอัครราชฑูตทราบ
Unified Structure
ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวตกลงในหลักการที่มีสำนักงานภายใต้หลังคาเดียวกันเพื่อการทำงานกันอย่างมีเอกภาพ โดยเห็นควรใช้วิธีขยายพื้นที่ทำการของสถานเอกอัครราชฑูตฯ และกระทรวงการต่างประเทศได้อนุมัติให้สร้างอาคารสำเร็จรูป 3 ชั้น (ตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ดัดแปลง) มูลค่า 23 ล้านเยน (ประมาณ 6.9 ล้านบาท) มีพื้นที่ชั้นละประมาณ 86 ตารางเมตร ภายในอาคารประกอบด้วยอุปกรณ์พื้นฐานต่าง ๆ เช่นระบบไฟฟ้า ระบบประปา ฯลฯ อาคารดังกล่าวผลิตในประเทศไทย แล้วขนส่งไปติดตั้ง ณ กรุงโตเกียว คาดว่าจะสามารถติดตั้งอาคารสำเร็จรูปในบริเวณโรงรถเดิมของสถานเอกอัครราชฑูตฯ เสร็จภายในเดือนมีนาคม 2543 สำหรับหน่วยงานที่มีความประสงค์และพร้อมที่จะย้ายเข้ามารวมในสำนักงานเดียวกับสถานเอกอัครราชฑูตฯ คือ สำนักงานแรงงาน เกษตร เศรษฐกิจการคลัง อุตสาหกรรม ก.พ. และสำนักข่าวกรอง (ตามรูปการณ์นี้ สำนักงานผู้ช่วยฑูตฝ่ายทหาร พาณิชย์ และ BOI ยังแยกสำนักงานอยู่ต่างหาก)
Unified Work Plan
- ทีมไทยแลนด์โตเกียวใช้แผนงานรวมเป็นกรอบการทำงานร่วมกัน
- การประชุม staff meeting ใช้แผนงานรวมเป็นหลักในการหารือเพื่อรับทราบการทำงานตรงเป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน และการติดตามผล
- การดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามแผนงานรวมของทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวในปี 2542 ได้ขจัดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนไปเป็นจำนวนมาก และได้ร่วมกันคิดโครงการที่ร่วมกันตามแนวทางการจัดทำแผนงานรวมสำหรับปี 2543 และ 2544 ด้วย
- ในการจัดทำแผนงานรวมสำหรับปีงบประมาณ 2544 ทุกหน่วยงานได้ร่วมหารือในเรื่องพันธกิจหลัก (mission) ที่ทีมประเทศไทยจะร่วมกันผลักดันในญี่ปุ่นโดยมอบหมายให้หน่วยงานที่มีความชำนาญในด้านนั้นเป็นหน่วยตั้งงบประมาณ แต่การปฏิบัติจะร่วมกันเป็นทีม
ในปี 2542 ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวให้ความสำคัญแก่การส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหาร และได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น
(1) โครงการส่งเสริมการบริโภคข้าวหอมมะลิของไทย สถานเอกอัครราชฑูตฯ ศูนย์พาณิชยกรรม ณ นครโอซากา สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทการบินไทย และบริษัท Royal Host ของญี่ปุ่น จัดงานเทศกาลอาหารไทยขึ้นที่ร้าน Royal Host ซึ่งมีสาขา 370 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม - 1 กรกฎาคม 2542 เป็นเวลา 44 วัน โดยบริษัทได้นำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทยไปประกอบในรายการอาหารไทย เพื่อเป็นการแนะนำให้ชาวญี่ปุ่นรู้จักข้าวหอมมะลิของไทย
ในชั้นนี้อยู่ระหว่างการวัดผลของโครงการ
(2) โครงการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น เอกอัครราชฑูต ณ กรุงโตเกียวนำทีมไทยแลนด์ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพาณิชย์ ส่งเสริมการลงทุน อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และเกษตร ออกไปจัดกิจกรรมแนะนำประเทศไทยในจังหวัดที่สำคัญ โอกายามา เอฮิเมะ และฮิโรชิมา เพื่อให้ทราบนโยบายของรัฐบาลไทยในการส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ตลอดจนชักจูงและดึงดูดให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นขยายการติดต่อกับฝ่ายไทยให้มากยิ่งขึ้น
(3) การผลักดันให้เปิดตลาดมังคุดสดในญี่ปุ่น ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชฑูตฯ สำนักงานพาณิชย์ และสำนักงานเกษตร ร่วมกันบุกเบิกตลาดมังคุดสด โดยดำเนินการเพื่อให้มังคุดสดจากไทยผ่านการตรวจสอบมาตรฐานของญี่ปุ่น
ในปี 2543 ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวมีโครงการที่จะดำเนินการร่วมกัน 3 โครงการ
(1) โครงการทีมไทยแลนด์เยือนจังหวัดในเกาะกิวชู และโอกินาวา
(2) โครงการส่งเสริมอาหารไทยในกรุงโตเกียว
(3) โครงการจัดทำเอกสารคู่มือสำหรับคนไทยในญี่ปุ่น
ในปี 2544 ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวได้เสนอโครงการที่จะดำเนินการร่วมกัน 5 โครงการ โดยได้ระบุหน่วยงานที่ตั้งงบประมาณไว้ด้วย
(1) การจัดงาน Thailand Fair ที่กรุงโตเกียวและโอซากา ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ตั้งงบประมาณโดยใช้ร่างโครงการฯ ที่ศูนย์พาณิชยกรรม ณ โอซากาเป็นผู้จัดทำ
(2) การเดินทางเยือนจังหวัดนาโกย่า โอซาก้า ฮิโรชิมา ฟูโอกะ มิยากิ (เมืองเซนได) ฮอกไกโด กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ตั้งงบประมาณ
(3) การจัดงาน Thai Food Fair กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ขอตั้งงบประมาณ
(4) การจัดเทศบาลป้องไพร่วมกับเมืองโยชิดะ จังหวัดไซตามะ การท่องเที่ยวเป็นผู้ตั้งงบประมาณ
(5) การจัดสัมมนาและเลี้ยงรับรองกลุ่ม Friends of Thailand ซึ่ง BOI เป็นผู้ตั้งงบประมาณ
ผลสำเร็จของการทำงานเป็นทีม
ในโอกาสที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเยือนญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 24-27 ต.ค. 2542 และในโอกาสที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นมาเยือนไทย ระหว่างวันที่ 13-15 ม.ค. 2543 ฝ่ายไทยได้ย้ำให้ญี่ปุ่นเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินความสัมพันธ์กับไทยในระยะยาว ในลักษณะหุ้นส่วนระหว่างไทยกับญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยด้วย ความร่วมมือด้านหนึ่งที่ฝ่ายไทยต้องการจากญี่ปุ่นก็คือขอให้ญี่ปุ่นส่งเสริมให้สินค้าเกษตรของไทยสามารถเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นได้มากขึ้น โดยการส่งผู้เชี่ยวชาญไปช่วยเหลือในการพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรไทยใด้มาตราฐานญี่ปุ่น ซึ่งเรื่องนี้ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวได้ถือเป็นเป้าหมายที่จะต้องดำเนินการให้บรรลุผล โดยได้เริ่มดำเนินการบุกเบิกตลาดมังคุดสดในญี่ปุ่นแล้ว
กรณีการบุกเบิกตลาดมังคุดสดของไทยในญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า การดำเนินงานเป็นทีมทำให้สามารถผลักดันเรื่องได้อย่างเป็นเอกภาพ ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวโดยความร่วมมือร่วมใจของสถานเอกอัครราชฑูตฯ สำนักงานพาณิชย์ และสำนักงานเกษตร ได้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนในการสร้างเครือข่ายของชาวญี่ปุ่นผู้สนับสนุนการนำเข้ามังคุดสด ตลอดจนชักชวนให้ร่วมมือกับนักวิชาการไทยในการเขียนรายงานการทดลองกำลังกำจัดแมลงวันในผลมังคุด เพื่อให้มังคุดสดจากไทยสามารถผ่านการตรวจสอบมาตรฐานของกระทรวงเกษตรญี่ปุ่น การดำเนินการเรื่องนี้คืบหน้าไปมากดังนี้
1. ทีมไทยแลนด์ได้ชักจูงบริษัท Jusco ผู้นำเข้าผลไม้รายใหญ่จากทั่วโลก และบริษัท Mitsubishi ซึ่งมีเทคโนโลยีการเกษตร การกำจัดศัตรูพืช และความคล่องตัวในการเดินเรื่องกับทางการญี่ปุ่น เข้าร่วมทำวิจัยและร่วมลงทุนทำสวนมังคุดที่ได้มาตรฐาน เพื่อส่งไปตลาดญี่ปุ่นเป็นการเฉพาะจะเป็นการลงทุนร่วมกับไทยแบบครบวงจร โดยฝ่ายไทยเป็นผู้จัดทำสวน และแรงงาน ฝ่ายญี่ปุ่นดูแลเรื่องเทคโนโลยีการผลิต การเก็บ คัดเลือก การบรรจุ และการตลาดในญี่ปุ่น
2. บริษัท Jusco บริษัท Mitsubishi ได้ส่งผู้แทนมาเยี่ยมชมสวนมังคุด และหารือด้านธุรกิจกับฝ่ายไทยในการลงทุนปลูก และจัดส่งมังคุดสดไปจำหน่ายในตลาดญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นเห็นว่า โอกาสการทำตลาดมังคุดสดในญี่ปุ่นมีความเป็นไปได้สูง แต่ทั้งนี้ต้องรอผลการพิจารณาของทางการญี่ปุ่นเกี่ยวกับผลการวิจัยของฝ่ายไทยเรื่องการกำจัดแมลงวันผลไม้ในมังคุด
3. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ฝ่ายไทยได้นำหนังสือของอธิบดีกรมวิชาการเกษตรที่ขอให้ญี่ปุ่นยกเลิกการห้ามนำเข้ามังคุดสดรวมทั้งผลการวิจัยการกำจัดแมลงวันผลไม้ในมังคุดสดทั้งภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นมอบให้แก่กองกักกันพืช กระทรวงเกษตรญี่ปุ่นพิจารณาแล้ว พร้อมกันนี้ กระทรวงเกษตรของไทยได้ส่งหนังสือและผลการวิจัยฯให้สถานเอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นในประเทศไทยด้วยอีกทางหนึ่ง
4. บริษัท Jusco และบริษัท Mitsubishi รับจะช่วยดำเนินการล็อบบี้เพื่อให้มีการเร่งพิจารณาผลการวิจัยของฝ่ายไทยโดยคาดว่า ภายในต้นปี 2544 กระทรวงเกษตรญี่ปุ่นน่าจะพิจารณาผลการวิจัยของฝ่ายไทยเสร็จ และประกาศยกเลิกกฎระเบียบห้ามนำเข้ามังคุดสดจากไทย ซึ่งทีมไทยแลนด์ที่ญี่ปุ่นกำลังติดตามผลการพิจารณาของฝ่ายญี่ปุ่นในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป
นอกจาการบุกเบิกตลาดมังคุดสดแล้ว ขณะนี้ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวได้ใช้แนวทางการทำงานร่วมกันเป็นทีมในการพยายามที่จะขยายตลาดข้าวหอมมะลิโดยเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2542 ทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวประกอบด้วยอัครราชฑูตชองสถานเอกอัครราชฑูตฯ อัครราชฑูตจาสำนักงานพาณิชย์ และอัครราชฑูตที่ปรึกษาจากสำนักงานเกษตร ได้เข้าพบปะหารือกับเจ้าหน้าที่ Food Agency และกระทรวงเกษตรญี่ปุ่น เพื่อขอความร่วมมือในการส่งเสริมข้าวไทยในตลาดญี่ปุ่น เพราะเป็นข้าวเมล็ดยาวย่อมไม่ถูกหลักและรสชาดในการประกอบอาหารญี่ปุ่น การนำเข้าจึงไม่ส่งผลกระทบต่อชาวนา หรือนักการเมืองญี่ปุ่นแต่อย่างไร เพราะจุดประสงค์สำคัญของการส่งออกข้าวไทยไปยังญี่ปุ่น ก็เพื่อตอสนองอุปสงค์จากร้านอาหารไทย รวมทั้งแก่ชาวเอเชียที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นกว่า 1 ล้านคน ซึ่ง Food Agency ได้แจ้งว่ายินดีจะให้ความร่วมมือกับฝ่ายไทยในการส่งเสริมข้าวไทยในตลาดญี่ปุ่นโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ
สรุป แนวทางการปฏิรูปการบริหารราชการในต่างประเทศทั้งด้าน Unified Command, Unified Structure และ Unified Workpaln ซึ่งสถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงโตเกียวนำไปปฏิบัติในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ได้ทำให้การทำงานของทีมไทยแลนด์ที่โตเกียวเป็นไปอย่างมีเอกภาพ ลดความซ้ำซ้อน มีความร่วมมือและประสานงานกันมากขึ้น มีการใช้แผนงานรวมเป็นหลักในการทำงาน ทำให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า นโยบายทีมไทยแลนด์เป็นสิ่งที่เป็นไปได้หากนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังจะช่วยหใการบริหารราชการในต่างประเทศของไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ--จบ--