ณ โรงแรมดุสิต รีสอร์ท แอนด์ โปโลคลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
จากการสัมมนาระดมความคิดเห็นจากนายธนาคารทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่โรงแรมดุสิต รีสอร์ท แอนด์ โปโลคลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีรายละเอียด ดังนี้
1. ข้อตกลงในการบริหารเอเอ็มซีแห่งชาติ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน จะมีการแยกบัญชีและแยกการบริหารเอ็นพีแอลภาครัฐและเอกชน ขนาดการบริหารเอ็นพีแอลรวม ๑.๒ ล้านล้านบาท แยกเป็นเอ็นพีแอลธนาคารของรัฐ มีอยู่จำนวน ๙ แสนล้านบาท และในส่วนของธนาคารเอกชน มีอยู่จำนวน ๓ แสนล้านบาท
๒. ธนาคารของรัฐไม่มีปัญหาเรื่องเงื่อนไขการโอน เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล
๓. ธนาคารเอกชน จะโอนหนี้เอ็นพีแอล ที่มีเจ้าหนี้ตั้งแต่ ๓ รายขึ้นไปเข้ามาไว้ในเอเอ็มซีแห่งชาติ โดยจะโอนหนี้เอ็นพีแอลในราคามูลค่าตามบัญชีสุทธิ(Net book value) หักด้วยการกันสำรอง(discount) และมีการเจรจาต่อรองส่วนลดอีกครั้ง ธนาคารพาณิชย์ต้องรับภาระส่วนสูญเสียร่วมกัน หรือ loss sharing จากการขาดทุนในการบริหารเอ็นพีแอลในอนาคตด้วย
๔. รายละเอียดเรื่องราคา สัดส่วนการ loss sharing โครงสร้างการบริหารองค์กรใหม่ จะมีรูปแบบอย่างไร จะเอาใครมาบริหาร ให้ตั้งคณะทำงานโดยมีตัวแทนจากกระทรวงการคลัง,ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมกันออกแบบโครงร่างขององค์กร
๕. เงินที่จะนำไปซื้อหนี้เอ็นพีแอล ออกพันธบัตรโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ค้ำประกัน
๖. คณะทำงานมีจำนวน ๑๒ คน มีนายทนง พิทยะ เป็นประธานคณะทำงาน นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธาน มีหน้าที่สรุปรายละเอียดโครงสร้าง และหลักเกณฑ์การดำเนินงานของสำนักงานบริหารสินทรัพย์กลาง ให้เสร็จสิ้นภายใน ๒ สัปดาห์ประชุมนัดแรก ๑ มีนาคม ๒๕๔๔
รายชื่อคณะทำงานเพื่อการจัดตั้งสำนักงานบริหารสินทรัพย์
๑. นายทนง พิทยะ ประธานคณะทำงาน
๒. ปลัดกระทรวงการคลัง รองประธานคณะทำงาน
(นายสมใจนึก เองตระกูล)
๓. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะทำงาน
(นายมนู เลียวไพโรจน์)
๔. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ คณะทำงาน
และสังคมแห่งชาติ
(นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม)
5. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คณะทำงาน
(ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล)
๖. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง คณะทำงาน
(นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์)
๗. ประธานสมาคมธนาคารไทย คณะทำงาน
(นายจุลกร สิงหโกวินท์)
๘. ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล คณะทำงาน
๙. นายศุภวุฒิ สายเชื้อ คณะทำงาน
๑๐. ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย คณะทำงาน
(นายชาติศิริ โสภณพาณิชย์)
๑๑. ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย คณะทำงาน
๑๒. นายจักรทิพย์ นิติพน คณะทำงาน
ผลการประชุมวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๔
๑. รูปแบบจัดตั้งองค์กรจะเป็นบริษัทที่มีสถานะเทียบเท่าสถาบันการเงิน มีการเปลี่ยนแปลงชื่อเป็น Central AMC : CAMC
๑.๑ โครงสร้างของคณะกรรมการในบริษัทจะประกอบด้วยบุคคลจำนวน ๙ คน
๑. ประธาน
๒. ผู้แทนกระทรวงการคลัง
๓. ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย
๔. ผู้แทนจากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๕. ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม
๖. ผู้แทนจากสถาบันการเงิน ๒ คน
๗. ผู้แทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
๘. ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
๑.๒ หน้าที่จัดหาพันธมิตรร่วมทุนสำหรับการปรับปรุงกิจการให้แก่ลูกหนี้และการ ดูแลไม่ให้เกิดปัญหาลูกหนี้จงใจเบี้ยวหนี้
๒. การจัดตั้งรัฐบาลจะออกพระราชบัญญัติ เพื่อจัดตั้ง CAMC
๒.๑ การโอนสินทรัพย์จะดำเนินการในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๕ ล้านบาทต่อราย ลูกหนี้ของธนาคารรัฐและธนาคารเอกชน
๒.๒ ธนาคารเอกชน คงเงื่อนไขลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้ ๓ รายไว้
๒.๓ ราคารับซื้อ ที่ประชุมมีมติในประเด็นหลักได้ แต่การจะรับซื้อในสัดส่วนใด ธนาคารพาณิชย์ขอนำกลับไปพิจารณาและจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะทำงาน ในวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๔
๓. หลักการใหญ่ ๆ ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกัน รูปแบบเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมเห็นว่า ธนาคารพาณิชย์ควรจะมีการชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด (re cost) ณ วันที่ CAMC ได้บรรลุการเจรจาแก้ไขปัญหาหนี้แล้ว จะต้องหารูปแบบการชดเชยกันต่อไป ว่าธนาคารพาณิชย์จะชดเชยเป็นเงินสดหรือชดเชยเป็นหุ้นให้แก่ CAMC
๔. กฎหมาย จะให้อำนาจ CAMC ในหลายด้าน ภายใต้วัตถุประสงค์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งในส่วนที่ธนาคารเอกชนที่มีลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้ ๓ ราย กำลังประสบปัญหาเจรจาประนอมหนี้ ซึ่งยากกว่าการมีเจ้าหนี้รายเดียว และให้เป็นไปตามปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นรายอุตสาหกรรม โดยให้นำลูกหนี้มารวมไว้ใน AMC
๔.๑ อำนาจในการโอนหนี้ โดยไม่ต้องมีมติจากผู้ถือหุ้นจากธนาคารพาณิชย์
๔.๒ ไม่ต้องมีการบอกลูกหนี้ในการโอนหนี้
๔.๓ อำนาจในการแปลงหนี้เป็นทุนปรับเปลี่ยนผู้บริหารในธุรกิจเดิม สั่งเพิ่มทุน ลดทุนได้
๔.๔ ให้ควบรวมกิจการ
๔.๕ แต่งตั้งผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ
๔.๖ การดำเนินการได้ถึงการรับรู้บัญชีเงินสดของลูกหนี้ เพื่อป้องกันปัญหาการ ยักย้ายถ่ายเทสินทรัพย์จากผู้บริหารเดิมของกิจการ ในขณะที่ CAMC กำลังดำเนินขบวนการแก้ไขปัญหาให้แก่ธุรกิจ
๔.๗ การออกประกาศการโอนสินทรัพย์ โดยไม่ต้องดำเนินการผ่านสำนักงานทะเบียน ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมที่ดิน ซึ่งประเด็นนี้จะต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง
๔.๘ อำนาจในการบังคับคดี ซึ่งจะเกี่ยวกับกรมบังคับคดีต้องหารือร่วมกันอีกครั้ง
๔.๙ การให้อำนาจการคุ้มครองการทำงานตามกฏหมายของผู้บริหาร CAMC และเจ้าหน้าที่ที่ทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยสุจริต
๕. เปิดดำเนินการ มิถุนายน ๒๕๔๔ นี้
๕.๑ เริ่มจากธนาคารพาณิชย์รัฐก่อน เนื่องจากไม่ต้องมีการแก้ไขกฎหมายใด และเป็นอำนาจที่รัฐบาลสามารถดำเนินการได้
๕.๒ รูปแบบการบริหารยังคงเป็นการแยก ๒ บัญชี แต่อาจแยกเป็นการภายใน กรณีแบงก์รัฐและเอกชน
๕.๓ การดำเนินการในครั้งนี้ เน้นเฉพาะธนาคารไทยเท่านั้น
๕.๔ ผ่อนปรนสำหรับกรณีเจ้าหนี้ต่างชาติเป็นผู้ปล่อยกู้ร่วม แต่มีปัญหาในการปรับโครงสร้างหนี้
๕.๕ การดำเนินการครั้งนี้ เน้นความสมัครใจธนาคารเจ้าหนี้เป็นหลัก ในขณะที่ ลูกหนี้ไม่สามารถปฏิเสธการเข้าร่วมโครงการได้ จึงเป็นสาเหตุให้มีกฎหมายขึ้นมา
กองนโยบายการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 273-9020 ต่อ 3204,3218 โทรสาร. 618-3367
E-Mail : [email protected] จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
จากการสัมมนาระดมความคิดเห็นจากนายธนาคารทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่โรงแรมดุสิต รีสอร์ท แอนด์ โปโลคลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีรายละเอียด ดังนี้
1. ข้อตกลงในการบริหารเอเอ็มซีแห่งชาติ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน จะมีการแยกบัญชีและแยกการบริหารเอ็นพีแอลภาครัฐและเอกชน ขนาดการบริหารเอ็นพีแอลรวม ๑.๒ ล้านล้านบาท แยกเป็นเอ็นพีแอลธนาคารของรัฐ มีอยู่จำนวน ๙ แสนล้านบาท และในส่วนของธนาคารเอกชน มีอยู่จำนวน ๓ แสนล้านบาท
๒. ธนาคารของรัฐไม่มีปัญหาเรื่องเงื่อนไขการโอน เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล
๓. ธนาคารเอกชน จะโอนหนี้เอ็นพีแอล ที่มีเจ้าหนี้ตั้งแต่ ๓ รายขึ้นไปเข้ามาไว้ในเอเอ็มซีแห่งชาติ โดยจะโอนหนี้เอ็นพีแอลในราคามูลค่าตามบัญชีสุทธิ(Net book value) หักด้วยการกันสำรอง(discount) และมีการเจรจาต่อรองส่วนลดอีกครั้ง ธนาคารพาณิชย์ต้องรับภาระส่วนสูญเสียร่วมกัน หรือ loss sharing จากการขาดทุนในการบริหารเอ็นพีแอลในอนาคตด้วย
๔. รายละเอียดเรื่องราคา สัดส่วนการ loss sharing โครงสร้างการบริหารองค์กรใหม่ จะมีรูปแบบอย่างไร จะเอาใครมาบริหาร ให้ตั้งคณะทำงานโดยมีตัวแทนจากกระทรวงการคลัง,ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย และผู้ทรงคุณวุฒิ มาร่วมกันออกแบบโครงร่างขององค์กร
๕. เงินที่จะนำไปซื้อหนี้เอ็นพีแอล ออกพันธบัตรโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ค้ำประกัน
๖. คณะทำงานมีจำนวน ๑๒ คน มีนายทนง พิทยะ เป็นประธานคณะทำงาน นายสมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นรองประธาน มีหน้าที่สรุปรายละเอียดโครงสร้าง และหลักเกณฑ์การดำเนินงานของสำนักงานบริหารสินทรัพย์กลาง ให้เสร็จสิ้นภายใน ๒ สัปดาห์ประชุมนัดแรก ๑ มีนาคม ๒๕๔๔
รายชื่อคณะทำงานเพื่อการจัดตั้งสำนักงานบริหารสินทรัพย์
๑. นายทนง พิทยะ ประธานคณะทำงาน
๒. ปลัดกระทรวงการคลัง รองประธานคณะทำงาน
(นายสมใจนึก เองตระกูล)
๓. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะทำงาน
(นายมนู เลียวไพโรจน์)
๔. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ คณะทำงาน
และสังคมแห่งชาติ
(นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม)
5. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คณะทำงาน
(ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล)
๖. ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง คณะทำงาน
(นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์)
๗. ประธานสมาคมธนาคารไทย คณะทำงาน
(นายจุลกร สิงหโกวินท์)
๘. ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล คณะทำงาน
๙. นายศุภวุฒิ สายเชื้อ คณะทำงาน
๑๐. ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย คณะทำงาน
(นายชาติศิริ โสภณพาณิชย์)
๑๑. ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย คณะทำงาน
๑๒. นายจักรทิพย์ นิติพน คณะทำงาน
ผลการประชุมวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๔
๑. รูปแบบจัดตั้งองค์กรจะเป็นบริษัทที่มีสถานะเทียบเท่าสถาบันการเงิน มีการเปลี่ยนแปลงชื่อเป็น Central AMC : CAMC
๑.๑ โครงสร้างของคณะกรรมการในบริษัทจะประกอบด้วยบุคคลจำนวน ๙ คน
๑. ประธาน
๒. ผู้แทนกระทรวงการคลัง
๓. ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย
๔. ผู้แทนจากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๕. ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม
๖. ผู้แทนจากสถาบันการเงิน ๒ คน
๗. ผู้แทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
๘. ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
๑.๒ หน้าที่จัดหาพันธมิตรร่วมทุนสำหรับการปรับปรุงกิจการให้แก่ลูกหนี้และการ ดูแลไม่ให้เกิดปัญหาลูกหนี้จงใจเบี้ยวหนี้
๒. การจัดตั้งรัฐบาลจะออกพระราชบัญญัติ เพื่อจัดตั้ง CAMC
๒.๑ การโอนสินทรัพย์จะดำเนินการในวงเงินไม่ต่ำกว่า ๕ ล้านบาทต่อราย ลูกหนี้ของธนาคารรัฐและธนาคารเอกชน
๒.๒ ธนาคารเอกชน คงเงื่อนไขลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้ ๓ รายไว้
๒.๓ ราคารับซื้อ ที่ประชุมมีมติในประเด็นหลักได้ แต่การจะรับซื้อในสัดส่วนใด ธนาคารพาณิชย์ขอนำกลับไปพิจารณาและจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะทำงาน ในวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๔
๓. หลักการใหญ่ ๆ ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกัน รูปแบบเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมเห็นว่า ธนาคารพาณิชย์ควรจะมีการชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด (re cost) ณ วันที่ CAMC ได้บรรลุการเจรจาแก้ไขปัญหาหนี้แล้ว จะต้องหารูปแบบการชดเชยกันต่อไป ว่าธนาคารพาณิชย์จะชดเชยเป็นเงินสดหรือชดเชยเป็นหุ้นให้แก่ CAMC
๔. กฎหมาย จะให้อำนาจ CAMC ในหลายด้าน ภายใต้วัตถุประสงค์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งในส่วนที่ธนาคารเอกชนที่มีลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้ ๓ ราย กำลังประสบปัญหาเจรจาประนอมหนี้ ซึ่งยากกว่าการมีเจ้าหนี้รายเดียว และให้เป็นไปตามปรับโครงสร้างธุรกิจเป็นรายอุตสาหกรรม โดยให้นำลูกหนี้มารวมไว้ใน AMC
๔.๑ อำนาจในการโอนหนี้ โดยไม่ต้องมีมติจากผู้ถือหุ้นจากธนาคารพาณิชย์
๔.๒ ไม่ต้องมีการบอกลูกหนี้ในการโอนหนี้
๔.๓ อำนาจในการแปลงหนี้เป็นทุนปรับเปลี่ยนผู้บริหารในธุรกิจเดิม สั่งเพิ่มทุน ลดทุนได้
๔.๔ ให้ควบรวมกิจการ
๔.๕ แต่งตั้งผู้จัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ
๔.๖ การดำเนินการได้ถึงการรับรู้บัญชีเงินสดของลูกหนี้ เพื่อป้องกันปัญหาการ ยักย้ายถ่ายเทสินทรัพย์จากผู้บริหารเดิมของกิจการ ในขณะที่ CAMC กำลังดำเนินขบวนการแก้ไขปัญหาให้แก่ธุรกิจ
๔.๗ การออกประกาศการโอนสินทรัพย์ โดยไม่ต้องดำเนินการผ่านสำนักงานทะเบียน ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมที่ดิน ซึ่งประเด็นนี้จะต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง
๔.๘ อำนาจในการบังคับคดี ซึ่งจะเกี่ยวกับกรมบังคับคดีต้องหารือร่วมกันอีกครั้ง
๔.๙ การให้อำนาจการคุ้มครองการทำงานตามกฏหมายของผู้บริหาร CAMC และเจ้าหน้าที่ที่ทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยสุจริต
๕. เปิดดำเนินการ มิถุนายน ๒๕๔๔ นี้
๕.๑ เริ่มจากธนาคารพาณิชย์รัฐก่อน เนื่องจากไม่ต้องมีการแก้ไขกฎหมายใด และเป็นอำนาจที่รัฐบาลสามารถดำเนินการได้
๕.๒ รูปแบบการบริหารยังคงเป็นการแยก ๒ บัญชี แต่อาจแยกเป็นการภายใน กรณีแบงก์รัฐและเอกชน
๕.๓ การดำเนินการในครั้งนี้ เน้นเฉพาะธนาคารไทยเท่านั้น
๕.๔ ผ่อนปรนสำหรับกรณีเจ้าหนี้ต่างชาติเป็นผู้ปล่อยกู้ร่วม แต่มีปัญหาในการปรับโครงสร้างหนี้
๕.๕ การดำเนินการครั้งนี้ เน้นความสมัครใจธนาคารเจ้าหนี้เป็นหลัก ในขณะที่ ลูกหนี้ไม่สามารถปฏิเสธการเข้าร่วมโครงการได้ จึงเป็นสาเหตุให้มีกฎหมายขึ้นมา
กองนโยบายการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 273-9020 ต่อ 3204,3218 โทรสาร. 618-3367
E-Mail : [email protected] จบ--
-อน-