บทสรุปสำหรับนักลงทุน
อุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยสแตนเลสของไทยเริ่มจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และมีการพัฒนาจนสามารถผลิตสินค้าได้คุณภาพดีและสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศด้านการส่งออกได้มากกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
มูลค่าโดยรวมของอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยสแตนเลสขยายตัวขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 25 ต่อปี ในช่วงปี 2538-2541 และเริ่มปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 7-10 คิดเป็นประมาณ 6,400 ล้านบาท ในปี 2542 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาลง ทั้งนี้พบว่าเป็นการปรับตัวลดลงของความต้องการภายในประเทศ (การจำหน่ายในประเทศรวมนำเข้า) แต่การส่งออกยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น สำหรับในปี 2543 คาดว่ามูลค่าตลาดโดยรวมจะขยายตัวขึ้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณร้อยละ 2-3 คิดเป็นประมาณ 6,500 ล้านบาท ตามการกระเตื้องขึ้นของภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน
ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยสแตนเลสมีประมาณ 20-30 ราย มีทั้งผู้ผลิตซึ่งทำการผลิตในลักษณะการผลิตจำนวนมาก (Mass Product) ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เครื่องจักรในการผลิต ตลาดจะมีการแข่งขันค่อนข้างสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนอีกประเภทคือ แบบ Hand Made ที่เน้นรูปแบบเฉพาะในแต่ละชิ้นงาน ส่วนใหญ่จะเน้นการส่งออกและผลิตตามคำสั่งของลูกค้า
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตได้แก่แผ่นเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมซึ่งเป็นยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าทั้งหมด ส่วนวัตุดิบอื่น เช่น ลูกปอ วัสดุสำหรับขัดผิว สามารถหาซื้อได้ภายในประเทศ เครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตทั้งเครื่องตัดเหล็ก เครื่องปั๊ม เครื่องขัด ส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเนื่องจากมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่สูงกว่า แรงงานส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมจะเป็นแรงงานทั่วไป ยกเว้นการผลิตในลักษณะ Hand Made ต้องใช้แรงงานฝีมือ
ขนาดการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิต โดยเงินลงทุนเริ่มต้นส่วนใหญ่จะใช้เป็นเงินลงทุนในเครื่องจักร เงินทุนหมุนเวียนสำหรับใช้ซื้อวัตถุดิบและค่าแรงงาน ส่วนค่าโสหุ้ยในการผลิตมีสัดส่วนไม่มากนัก นอกนั้นยังมีค่าเสื่อมเครื่องจักร และดอกเบี้ยจ่ายในกรณีที่มีการกู้ยืมเพื่อใช้ในการดำเนินงาน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
อุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยสแตนเลสของไทยเริ่มจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และมีการพัฒนาจนสามารถผลิตสินค้าได้คุณภาพดีและสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศด้านการส่งออกได้มากกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา
มูลค่าโดยรวมของอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยสแตนเลสขยายตัวขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 25 ต่อปี ในช่วงปี 2538-2541 และเริ่มปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 7-10 คิดเป็นประมาณ 6,400 ล้านบาท ในปี 2542 ตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาลง ทั้งนี้พบว่าเป็นการปรับตัวลดลงของความต้องการภายในประเทศ (การจำหน่ายในประเทศรวมนำเข้า) แต่การส่งออกยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น สำหรับในปี 2543 คาดว่ามูลค่าตลาดโดยรวมจะขยายตัวขึ้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณร้อยละ 2-3 คิดเป็นประมาณ 6,500 ล้านบาท ตามการกระเตื้องขึ้นของภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน
ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยสแตนเลสมีประมาณ 20-30 ราย มีทั้งผู้ผลิตซึ่งทำการผลิตในลักษณะการผลิตจำนวนมาก (Mass Product) ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เครื่องจักรในการผลิต ตลาดจะมีการแข่งขันค่อนข้างสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนอีกประเภทคือ แบบ Hand Made ที่เน้นรูปแบบเฉพาะในแต่ละชิ้นงาน ส่วนใหญ่จะเน้นการส่งออกและผลิตตามคำสั่งของลูกค้า
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตได้แก่แผ่นเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมซึ่งเป็นยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าทั้งหมด ส่วนวัตุดิบอื่น เช่น ลูกปอ วัสดุสำหรับขัดผิว สามารถหาซื้อได้ภายในประเทศ เครื่องจักรหลักที่ใช้ในการผลิตทั้งเครื่องตัดเหล็ก เครื่องปั๊ม เครื่องขัด ส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเนื่องจากมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่สูงกว่า แรงงานส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมจะเป็นแรงงานทั่วไป ยกเว้นการผลิตในลักษณะ Hand Made ต้องใช้แรงงานฝีมือ
ขนาดการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิต โดยเงินลงทุนเริ่มต้นส่วนใหญ่จะใช้เป็นเงินลงทุนในเครื่องจักร เงินทุนหมุนเวียนสำหรับใช้ซื้อวัตถุดิบและค่าแรงงาน ส่วนค่าโสหุ้ยในการผลิตมีสัดส่วนไม่มากนัก นอกนั้นยังมีค่าเสื่อมเครื่องจักร และดอกเบี้ยจ่ายในกรณีที่มีการกู้ยืมเพื่อใช้ในการดำเนินงาน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--