ข่าวในประเทศ
1. ก.คลังได้ข้อสรุปการแก้ปัญหา ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทย ปลัด ก.คลังเปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินว่า คณะกรรมการฯ เห็นชอบแนวทางให้แยกหนี้ดีและหนี้เสียของ ธ.ศรีนคร และ ธ.นครหลวงไทย โดยให้แต่ละธนาคารบริหารในส่วนของหนี้ดีอย่างเป็นอิสระ พร้อมกันนั้นจะให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เข้ามาถือหุ้นของแต่ละธนาคารในสัดส่วนร้อยละ 51 ก.คลังจะรับประกันความเสี่ยงและรายได้ให้ กบข. โดยนำพันธบัตรรัฐบาลที่ธนาคารทั้ง 2 แห่งถืออยู่มาค้ำประกันเท่ากับที่ กบข.ลงทุนประมาณ 1 หมื่น ล.บาท และจะชดเชยรายได้ให้เท่ากับรายได้ปกติที่ กบข.ได้รับ ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 4-5 ถ้าการดำเนินงานไม่มีกำไร ทั้งนี้ ในเบื้องต้นจะให้ กบข.เข้ามาลงทุนเป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นหาก กบข.สนใจลงทุนต่อก็สามารถต่อสัญญาได้อีกครั้งละ 1 ปี รวม 2 ครั้งเท่านั้น ถ้าเลยระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เข้าเงื่อนไขการรับการประกันความเสี่ยงและรายได้ (แนวหน้า 2)
2. ก.พาณิชย์เปิดเผยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค.44 อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือน ม.ค.44 เท่ากับ 131 เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.43 ร้อยละ 0.2 เป็นผลจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.7 สำหรับหมวดสินค้าอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.1 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากเดือน ม.ค.43 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากรายได้ของประชาชนไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากนัก และสอดคล้องกับการคาดการณ์ผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี)ของ ธปท. ที่ระดับร้อยละ 3-4.5 ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั้งปี คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ซึ่งต้องพิจารณาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญคือ นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ ปัจจัยภายนอกประเทศได้แก่ ราคาน้ำมันโลกและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ สรอ. สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เดือน ม.ค.44 เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.43 ร้อยละ 0.2 และเพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค.43 ร้อยละ 0.9 ส่วนดัชนีราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างเดือน ม.ค.44 เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.43 ร้อยละ 0.5 และเพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค.43 ร้อยละ 3.3 (วัฏจักร,เดลินิวส์ 2)
3. การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ.เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทย แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ สรอ.ลงร้อยละ 0.5 เมื่อวันที่ 31 ม.ค. นั้น เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยมีเหตุผลสนับสนุน คือ (1) การปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นการตอบสนองที่รวดเร็วและทันกาลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. ที่เริ่มชัดเจนขึ้น พร้อมๆ กับแนวนโยบายการคลังของประธานาธิบดีคนใหม่ที่เสนอให้มีการลดภาษี นโยบายการเงินและการคลังของ สรอ.ที่สอดประสานกันเช่นนี้ จะช่วยให้เศรษฐกิจ สรอ.ฟื้นตัวในระยะต่อไป ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกของไทยและในภูมิภาค (2) ทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนจาก สรอ.ไปยังประเทศอื่นๆ รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของภูมิภาคโดยตรง ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ สรอ. จะเป็นปัจจัยสำคัญที่คณะกรรมการนโยบายการเงินนำไปประกอบการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป รวมทั้งมีการติดตามปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของ สรอ. และของประเทศอื่นๆ อย่างใกล้ชิด (กรุงเทพธุรกิจ 2)
ข่าวต่างประเทศ
1. เดือน ธ.ค. 4 ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 44 National Association of Purchasing Management (NAPM) รายงานว่า เดือน ธ.ค. 43 ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ลดลงอยู่ที่ระดับ 41.2 จากระดับ 44.3 ในเดือน พ.ย. 43 ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 และเป็นระดับต่ำที่สุดนับแต่เดือน มี.ค. 34 นอกจากนั้นยังลดลงต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะอยู่ที่ระดับ43.6 นับเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของระบบเศรษฐกิจโดยรวมของ สรอ. อยู่ในภาวะที่ซบเซา (รอยเตอร์ 1)
2. การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6ในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 43 การใช้จ่ายเพื่อโครงการก่อสร้าง ที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 อยู่ที่มูลค่า 811.5 พัน ล. ดอลลาร์ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน พ.ย. 43 ซึ่งตรงข้ามกันมากกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ การใช้จ่ายฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจในเดือนดังกล่าว เป็นผลจากการสร้างบ้านครอบครัวเดี่ยวและการสร้างสำนักงานเพิ่มขึ้น โดยยอดการสร้างบ้านครอบครัวเดี่ยว ในเดือน ธ.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 อยู่ที่มูลค่า 229.7 พัน ล. ดอลลาร์ ขณะเดียวกัน การสร้างสำนักงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 อยู่ที่มูลค่า 58.3 พัน ล. ดอลลาร์ สำหรับตลอดปี 43 การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 อยู่ที่มูลค่า 807.8 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 764.2 พัน ล. ดอลลาร์ ในปี 42 (รอยเตอร์ 1)
3. ดัชนี PMI ของเยอรมนีลดลงอยู่ที่ระดับ 53.7 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 1 ก.พ.44 บริษัทวิจัย NTC รายงานผลการสำรวจ BME/Reuters Purchasing Managers' Index ว่า เดือน ม.ค.44 ดัชนี PMI ของเยอรมนีซึ่งใช้วัดภาวะอุตสาหกรรมการผลิต ที่ปรับฤดูกาล อยู่ที่ระดับ 53.7 ชะลอตัวจากที่ระดับ 54.0 ในเดือน ธ.ค.43 นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน อย่างไรก็ตาม การที่ดัชนีฯ อยู่เหนือระดับ 50 ชี้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตของเยอรมนีอยู่ในภาวะขยายตัว ซึ่งในเดือน ม.ค.44 อุตสาหกรรมฯ ของเยอรมนีขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 20 แต่เป็นการขยายตัวในอัตราชะลอลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 โดยส่วนประกอบของดัชนีฯ ที่สำคัญในเดือนดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 56.1 จากระดับ 55.9 ในเดือน ธ.ค.43 คำสั่งซื้อเพื่อการส่งออก อ่อนตัวลงอยู่ที่ระดับ 52.2 จากระดับ 54.0 ในเดือน ธ.ค.43 อ่อนตัวลงมากที่สุดนับแต่ที่เริ่มมีการขยายตัวในเดือน ก.ค.42 แต่คำสั่งซื้อใหม่ยังคงอยู่ที่ระดับ 54.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน เนื่องจากความต้องการภายในประเทศยังขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ส่วนดัชนีราคาวัตถุดิบลดลงอยู่ที่ระดับ 58.1 จากระดับ 60.8 ในเดือน ธ.ค.43 อันเป็นผลจากการอ่อนตัวของราคาน้ำมันและการแข็งค่าของเงินยูโร (รอยเตอร์ 1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 1 ก.พ. 44 42.432 (42.568)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 1 ก.พ. 44
ซื้อ 42.2993 (42.3908) ขาย 42.6050 (42.7070)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,350) ขาย 5,450 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.50 (23.31)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 13.14 (13.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.คลังได้ข้อสรุปการแก้ปัญหา ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทย ปลัด ก.คลังเปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินว่า คณะกรรมการฯ เห็นชอบแนวทางให้แยกหนี้ดีและหนี้เสียของ ธ.ศรีนคร และ ธ.นครหลวงไทย โดยให้แต่ละธนาคารบริหารในส่วนของหนี้ดีอย่างเป็นอิสระ พร้อมกันนั้นจะให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เข้ามาถือหุ้นของแต่ละธนาคารในสัดส่วนร้อยละ 51 ก.คลังจะรับประกันความเสี่ยงและรายได้ให้ กบข. โดยนำพันธบัตรรัฐบาลที่ธนาคารทั้ง 2 แห่งถืออยู่มาค้ำประกันเท่ากับที่ กบข.ลงทุนประมาณ 1 หมื่น ล.บาท และจะชดเชยรายได้ให้เท่ากับรายได้ปกติที่ กบข.ได้รับ ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 4-5 ถ้าการดำเนินงานไม่มีกำไร ทั้งนี้ ในเบื้องต้นจะให้ กบข.เข้ามาลงทุนเป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นหาก กบข.สนใจลงทุนต่อก็สามารถต่อสัญญาได้อีกครั้งละ 1 ปี รวม 2 ครั้งเท่านั้น ถ้าเลยระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เข้าเงื่อนไขการรับการประกันความเสี่ยงและรายได้ (แนวหน้า 2)
2. ก.พาณิชย์เปิดเผยตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค.44 อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือน ม.ค.44 เท่ากับ 131 เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.43 ร้อยละ 0.2 เป็นผลจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.7 สำหรับหมวดสินค้าอื่นที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.1 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 จากเดือน ม.ค.43 ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากรายได้ของประชาชนไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากนัก และสอดคล้องกับการคาดการณ์ผลิตภัณฑ์ในประเทศ(จีดีพี)ของ ธปท. ที่ระดับร้อยละ 3-4.5 ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั้งปี คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.5 ซึ่งต้องพิจารณาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยปัจจัยภายในประเทศที่สำคัญคือ นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ ปัจจัยภายนอกประเทศได้แก่ ราคาน้ำมันโลกและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ สรอ. สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เดือน ม.ค.44 เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.43 ร้อยละ 0.2 และเพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค.43 ร้อยละ 0.9 ส่วนดัชนีราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างเดือน ม.ค.44 เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.43 ร้อยละ 0.5 และเพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค.43 ร้อยละ 3.3 (วัฏจักร,เดลินิวส์ 2)
3. การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ.เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทย แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ สรอ.ลงร้อยละ 0.5 เมื่อวันที่ 31 ม.ค. นั้น เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยมีเหตุผลสนับสนุน คือ (1) การปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นการตอบสนองที่รวดเร็วและทันกาลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. ที่เริ่มชัดเจนขึ้น พร้อมๆ กับแนวนโยบายการคลังของประธานาธิบดีคนใหม่ที่เสนอให้มีการลดภาษี นโยบายการเงินและการคลังของ สรอ.ที่สอดประสานกันเช่นนี้ จะช่วยให้เศรษฐกิจ สรอ.ฟื้นตัวในระยะต่อไป ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการส่งออกของไทยและในภูมิภาค (2) ทำให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนจาก สรอ.ไปยังประเทศอื่นๆ รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของภูมิภาคโดยตรง ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ สรอ. จะเป็นปัจจัยสำคัญที่คณะกรรมการนโยบายการเงินนำไปประกอบการพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป รวมทั้งมีการติดตามปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของ สรอ. และของประเทศอื่นๆ อย่างใกล้ชิด (กรุงเทพธุรกิจ 2)
ข่าวต่างประเทศ
1. เดือน ธ.ค. 4 ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 44 National Association of Purchasing Management (NAPM) รายงานว่า เดือน ธ.ค. 43 ดัชนีภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ลดลงอยู่ที่ระดับ 41.2 จากระดับ 44.3 ในเดือน พ.ย. 43 ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 และเป็นระดับต่ำที่สุดนับแต่เดือน มี.ค. 34 นอกจากนั้นยังลดลงต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะอยู่ที่ระดับ43.6 นับเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 20 ของระบบเศรษฐกิจโดยรวมของ สรอ. อยู่ในภาวะที่ซบเซา (รอยเตอร์ 1)
2. การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6ในเดือน ธ.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ธ.ค. 43 การใช้จ่ายเพื่อโครงการก่อสร้าง ที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 อยู่ที่มูลค่า 811.5 พัน ล. ดอลลาร์ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน พ.ย. 43 ซึ่งตรงข้ามกันมากกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลงร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ การใช้จ่ายฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าประหลาดใจในเดือนดังกล่าว เป็นผลจากการสร้างบ้านครอบครัวเดี่ยวและการสร้างสำนักงานเพิ่มขึ้น โดยยอดการสร้างบ้านครอบครัวเดี่ยว ในเดือน ธ.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 อยู่ที่มูลค่า 229.7 พัน ล. ดอลลาร์ ขณะเดียวกัน การสร้างสำนักงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 อยู่ที่มูลค่า 58.3 พัน ล. ดอลลาร์ สำหรับตลอดปี 43 การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 อยู่ที่มูลค่า 807.8 พัน ล. ดอลลาร์ จากมูลค่า 764.2 พัน ล. ดอลลาร์ ในปี 42 (รอยเตอร์ 1)
3. ดัชนี PMI ของเยอรมนีลดลงอยู่ที่ระดับ 53.7 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ต เมื่อวันที่ 1 ก.พ.44 บริษัทวิจัย NTC รายงานผลการสำรวจ BME/Reuters Purchasing Managers' Index ว่า เดือน ม.ค.44 ดัชนี PMI ของเยอรมนีซึ่งใช้วัดภาวะอุตสาหกรรมการผลิต ที่ปรับฤดูกาล อยู่ที่ระดับ 53.7 ชะลอตัวจากที่ระดับ 54.0 ในเดือน ธ.ค.43 นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน อย่างไรก็ตาม การที่ดัชนีฯ อยู่เหนือระดับ 50 ชี้ว่าอุตสาหกรรมการผลิตของเยอรมนีอยู่ในภาวะขยายตัว ซึ่งในเดือน ม.ค.44 อุตสาหกรรมฯ ของเยอรมนีขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 20 แต่เป็นการขยายตัวในอัตราชะลอลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 โดยส่วนประกอบของดัชนีฯ ที่สำคัญในเดือนดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 56.1 จากระดับ 55.9 ในเดือน ธ.ค.43 คำสั่งซื้อเพื่อการส่งออก อ่อนตัวลงอยู่ที่ระดับ 52.2 จากระดับ 54.0 ในเดือน ธ.ค.43 อ่อนตัวลงมากที่สุดนับแต่ที่เริ่มมีการขยายตัวในเดือน ก.ค.42 แต่คำสั่งซื้อใหม่ยังคงอยู่ที่ระดับ 54.5 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน เนื่องจากความต้องการภายในประเทศยังขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ส่วนดัชนีราคาวัตถุดิบลดลงอยู่ที่ระดับ 58.1 จากระดับ 60.8 ในเดือน ธ.ค.43 อันเป็นผลจากการอ่อนตัวของราคาน้ำมันและการแข็งค่าของเงินยูโร (รอยเตอร์ 1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 1 ก.พ. 44 42.432 (42.568)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 1 ก.พ. 44
ซื้อ 42.2993 (42.3908) ขาย 42.6050 (42.7070)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,350) ขาย 5,450 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.50 (23.31)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 13.14 (13.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-