นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2543 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ประกาศเพิกถอนประเทศเบลารุส หมู่เกาะเฟรนช์โพลีนีเซีย มอลต้า สโลวีเนีย และนิวคาลิโดเนีย ออกจากบัญชีประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP โดยให้เหตุผลว่า ประเทศเบลารุสไม่สามารถดำเนินการให้ความคุ้มครองสิทธิแรงงานของตนให้เป็นไปตามมาตรฐานแรงงานของสากล โดยจะมีผลบังคับใช้ 60 วันหลังวันประกาศเพิกถอนสิทธิ
สำหรับหมู่เกาะเฟรนช์โพลีนีเซีย มอลต้า สโลวีเนีย และนิวคาลิโดเนีย ถูกเพิกถอนออกจากบัญชีประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP เนื่องจากรายได้ประชาชาติต่อหัว (Per Capita National Product) อยู่ในระดับ (High Income Country) ตามที่ธนาคารโลกกำหนดไว้ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามระบบ GSP สหรัฐฯ นับตั้งแต่โครงการที่ 2 เป็นต้นมา ได้กำหนดเงื่อนไขในการพิจารณาให้สิทธิ GSP กับ ประเทศผู้รับสิทธิ โดยประเทศผู้รับสิทธิจะต้องให้ความคุ้มครองแรงงานของตนในระดับที่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการเปิดตลาดให้กับสินค้าและบริการของสหรัฐฯ รวมถึงการพิจารณาระดับรายได้ประชาชาติต่อหัวของประเทศที่ได้รับสิทธิ หากประเทศใดสูงเกินระดับที่กำหนดไว้ก็จะถูกเพิกถอนสิทธิ GSP
ในกรณีของประเทศไทย การจะถูกตัดสิทธิ GSP อาจเนื่องมาจากกรณีการใช้สิทธิ GSP สูงเป็นอันดับสอง รองจากประเทศแองโกลา หรือการไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ ส่วนกรณีการไม่ให้ความคุ้มครองสิทธิแรงงานที่ประเทศไทยเคยถูกสมาพันธ์แรงงานและสภาองค์กรอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ (AFL-CIO) ฟ้องร้องให้เพิกถอนสิทธิ GSP ประเทศไทย เนื่องจากกล่าวหาว่าไทยได้มีการละเมิดสิทธิแรงงานมาตั้งแต่ปี 2534 แต่สหรัฐฯ ได้เลื่อนการพิจารณามาตลอดเพื่อรอการผ่านร่าง พรบ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ของไทยนั้น เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2543 ไทยได้ประกาศใช้ พรบ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นที่พอใจของสหรัฐฯ ส่งผลให้สหรัฐฯ ประกาศยุติการสอบสวนไทยในเรื่องนี้
--กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2543--
-อน-
สำหรับหมู่เกาะเฟรนช์โพลีนีเซีย มอลต้า สโลวีเนีย และนิวคาลิโดเนีย ถูกเพิกถอนออกจากบัญชีประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP เนื่องจากรายได้ประชาชาติต่อหัว (Per Capita National Product) อยู่ในระดับ (High Income Country) ตามที่ธนาคารโลกกำหนดไว้ โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามระบบ GSP สหรัฐฯ นับตั้งแต่โครงการที่ 2 เป็นต้นมา ได้กำหนดเงื่อนไขในการพิจารณาให้สิทธิ GSP กับ ประเทศผู้รับสิทธิ โดยประเทศผู้รับสิทธิจะต้องให้ความคุ้มครองแรงงานของตนในระดับที่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา และการเปิดตลาดให้กับสินค้าและบริการของสหรัฐฯ รวมถึงการพิจารณาระดับรายได้ประชาชาติต่อหัวของประเทศที่ได้รับสิทธิ หากประเทศใดสูงเกินระดับที่กำหนดไว้ก็จะถูกเพิกถอนสิทธิ GSP
ในกรณีของประเทศไทย การจะถูกตัดสิทธิ GSP อาจเนื่องมาจากกรณีการใช้สิทธิ GSP สูงเป็นอันดับสอง รองจากประเทศแองโกลา หรือการไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ ส่วนกรณีการไม่ให้ความคุ้มครองสิทธิแรงงานที่ประเทศไทยเคยถูกสมาพันธ์แรงงานและสภาองค์กรอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ (AFL-CIO) ฟ้องร้องให้เพิกถอนสิทธิ GSP ประเทศไทย เนื่องจากกล่าวหาว่าไทยได้มีการละเมิดสิทธิแรงงานมาตั้งแต่ปี 2534 แต่สหรัฐฯ ได้เลื่อนการพิจารณามาตลอดเพื่อรอการผ่านร่าง พรบ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ของไทยนั้น เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2543 ไทยได้ประกาศใช้ พรบ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นที่พอใจของสหรัฐฯ ส่งผลให้สหรัฐฯ ประกาศยุติการสอบสวนไทยในเรื่องนี้
--กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2543--
-อน-