นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้จัดทำข้อเสนอแนะระเบียบเกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences : GSP) ลดภาษีขาเข้าสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนาภายใต้ระเบียบดังกล่าว ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 — 31 ธันวาคม 2547 นั้น สหภาพยุโรปได้แบ่งสินค้าที่จะให้การลดภาษีออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสินค้าไม่อ่อนไหว (Non-sensitive) และกลุ่มสินค้าอ่อนไหว(sensitive) โดยกลุ่มหลังนี้จะลดภาษีลงเป็นอัตราเดียวเท่ากันหมด คือ ลดลง 3.5% หน่วย (3.5 percentage points) จากอัตราภาษีปกติที่เรียกเก็บตามราคา (ad valorem rate) ตัวอย่าง ถ้าภาษีปกติร้อยละ 8 (8%) เมื่อลดลง 3.5% หน่วย จะได้ภาษี GSP=8%-3.5%=4.5% (ร้อยละ4.5) หรือ ถ้าเป็นภาษีที่เรียกเก็บตามสภาพ (specific rate) จะลดภาษีลงร้อยละ 30 ของภาษีปกติ ตัวอย่าง ถ้าภาษีปกติ = 74 Euro ต่อตัน เมื่อได้รับลดร้อยละ 30 จะได้ภาษี GSP = 51.8 Euro ต่อตัน
การลดภาษีดังกล่าว จะทำให้สินค้าไทยที่ได้รับสิทธิ GSP บางรายการ ได้รับประโยชน์มากกว่าเดิม เนื่องจากเสียภาษี GSP ในอัตราที่ ต่ำลง เช่น ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิคบางรายการ ผ้าทอ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากต้องเสียภาษี GSP ในอัตราที่ สูงขึ้น เช่น ใบยาสูบชนิดไม่มีก้าน รถแวนและรถปิกอัพน้ำหนักไม่เกิน 5 ตัน เครื่องรับโทรทัศน์สี เครื่องบันทึกวีดีโอ เครื่องรับวิทยุ เครื่องครัวทำด้วยโลหะสามัญ เลนซ์สำหรับกล้องถ่ายภาพ เป็นต้น
สำหรับสินค้าไทยที่ถูกตัดสิทธิ GSP นั้น การลดภาษีแบบใหม่ มีผลช่วยลดส่วนต่างระหว่างภาษีปกติที่สินค้าไทยต้องรับภาระ กับ ภาษี GSP ที่ประเทศคู่แข่งได้รับ เช่น ปลาปรุงแต่งของไทย เสียภาษีปกติร้อยละ 14 แต่ปลาปรุงแต่งจากประเทศคู่แข่งที่ได้รับสิทธิ GSP เสียภาษีร้อยละ 4.9 เมื่อได้รับลดภาษีลง 3.5% หน่วย สินค้าจากประเทศคู่แข่งจะเสียภาษี 10.5 (ร้อยละ 10.5)
นายการุณ กล่าวเพิ่มเติมว่า สหภาพยุโรปยังได้กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการให้สิทธิ GSP ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดโดยการดำเนินการภายใต้แผน Everything But Arms : EBA ซึ่งเป็นการยกเว้นภาษีนำเข้าและยกเลิกโควตานำเข้าสินค้าทุกชนิด(นอกจากอาวุธและกระสุน) ที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุด 48 ประเทศ โดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด และไม่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของมาตรการตัดสิทธิ GSP แต่การให้สิทธิ GSP แก่ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยมีกำหนดเวลาว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด และต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขมาตรการตัดสิทธิ GSP ซึ่งใช้เกณฑ์การพิจารณาจากระดับการพัฒนาประเทศและระดับความสามารถในการแข่งขันในระยะ 3 ปีติดต่อกัน หากเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดก็จะตัดสิทธิ GSP แต่ก็ให้โอกาสประเทศที่ถูกตัดสิทธิ GSP มีเวลาเตรียมตัว 1 ปี
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทย อาจได้ประโยชน์จากแผน EBA นี้ได้ ในกรณีที่ประเทศพัฒนาน้อยใช้วิธี นำเข้าสินค้าจากไทยเพื่อบริโภค แล้วส่งสินค้าของตนไปสหภาพยุโรป หรือนำเข้าสินค้าจากไทยไปแปรรูปและส่งออกไปสหภาพยุโรป หรือที่เรียกว่าวิธี import/export swap นอกจากนี้ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยสามารถใช้ประโยชน์จากสิทธิ GSP ร่วมกับประเทศอื่นที่ยังคงได้รับสิทธิ โดยการลงทุนหรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศนั้น โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นประเทศพัฒนาน้อย เช่น ลาว พม่า บังคลาเทศ กัมพูชา เป็นต้น
--กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2544--
-อน-
การลดภาษีดังกล่าว จะทำให้สินค้าไทยที่ได้รับสิทธิ GSP บางรายการ ได้รับประโยชน์มากกว่าเดิม เนื่องจากเสียภาษี GSP ในอัตราที่ ต่ำลง เช่น ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิคบางรายการ ผ้าทอ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากต้องเสียภาษี GSP ในอัตราที่ สูงขึ้น เช่น ใบยาสูบชนิดไม่มีก้าน รถแวนและรถปิกอัพน้ำหนักไม่เกิน 5 ตัน เครื่องรับโทรทัศน์สี เครื่องบันทึกวีดีโอ เครื่องรับวิทยุ เครื่องครัวทำด้วยโลหะสามัญ เลนซ์สำหรับกล้องถ่ายภาพ เป็นต้น
สำหรับสินค้าไทยที่ถูกตัดสิทธิ GSP นั้น การลดภาษีแบบใหม่ มีผลช่วยลดส่วนต่างระหว่างภาษีปกติที่สินค้าไทยต้องรับภาระ กับ ภาษี GSP ที่ประเทศคู่แข่งได้รับ เช่น ปลาปรุงแต่งของไทย เสียภาษีปกติร้อยละ 14 แต่ปลาปรุงแต่งจากประเทศคู่แข่งที่ได้รับสิทธิ GSP เสียภาษีร้อยละ 4.9 เมื่อได้รับลดภาษีลง 3.5% หน่วย สินค้าจากประเทศคู่แข่งจะเสียภาษี 10.5 (ร้อยละ 10.5)
นายการุณ กล่าวเพิ่มเติมว่า สหภาพยุโรปยังได้กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการให้สิทธิ GSP ประเทศพัฒนาน้อยที่สุดโดยการดำเนินการภายใต้แผน Everything But Arms : EBA ซึ่งเป็นการยกเว้นภาษีนำเข้าและยกเลิกโควตานำเข้าสินค้าทุกชนิด(นอกจากอาวุธและกระสุน) ที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศพัฒนาน้อยที่สุด 48 ประเทศ โดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด และไม่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของมาตรการตัดสิทธิ GSP แต่การให้สิทธิ GSP แก่ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยมีกำหนดเวลาว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด และต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขมาตรการตัดสิทธิ GSP ซึ่งใช้เกณฑ์การพิจารณาจากระดับการพัฒนาประเทศและระดับความสามารถในการแข่งขันในระยะ 3 ปีติดต่อกัน หากเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดก็จะตัดสิทธิ GSP แต่ก็ให้โอกาสประเทศที่ถูกตัดสิทธิ GSP มีเวลาเตรียมตัว 1 ปี
อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทย อาจได้ประโยชน์จากแผน EBA นี้ได้ ในกรณีที่ประเทศพัฒนาน้อยใช้วิธี นำเข้าสินค้าจากไทยเพื่อบริโภค แล้วส่งสินค้าของตนไปสหภาพยุโรป หรือนำเข้าสินค้าจากไทยไปแปรรูปและส่งออกไปสหภาพยุโรป หรือที่เรียกว่าวิธี import/export swap นอกจากนี้ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยสามารถใช้ประโยชน์จากสิทธิ GSP ร่วมกับประเทศอื่นที่ยังคงได้รับสิทธิ โดยการลงทุนหรือย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศนั้น โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นประเทศพัฒนาน้อย เช่น ลาว พม่า บังคลาเทศ กัมพูชา เป็นต้น
--กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2544--
-อน-