1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องของระบบการเงินในปี 2543 ยังคงมีมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ปรับลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในปี 2543 ยังคงมีมาก อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสแรก สภาพคล่องตึงตัวขึ้นจากปลายปี 2542 จากการที่ภาคเอกชนมีความต้องการถือเงินสดอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการนำเงินฝากบางส่วนไปลงทุนในตราสารที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก นอกจากนี้ สถาบันการเงินมีความต้องการเงินบาท เพื่อส่งมอบให้แก่ธปท.ตามภาระ Swap ที่ครบกำหนด และเพื่อซื้อหลักทรัพย์เพิ่มเติม รวมทั้งต้องเตรียมสภาพคล่อง สำหรับระบบการชำระเงินแบบ Real Time Gross Settlement (RTGS) ส่วนในช่วงปลายไตรมาสแรก ภาคธุรกิจเอกชนญี่ปุ่น นำส่งกำไรให้แก่บริษัทแม่ เนื่องจากเป็นช่วงปิดบัญชีประจำปี
สำหรับในไตรมาสที่ 2 สภาพคล่องปรับเพิ่มขึ้น ตามลำดับ หลังช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่ได้ตึงตัวขึ้นระยะสั้นๆ ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม จากการที่ธุรกิจเอกชนนำส่ง ภาษีรายได้นิติบุคคลให้กับภาครัฐ และช่วงปลายเดือนมิถุนายน เนื่องจากสถาบันการเงินนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
ในไตรมาสที่ 3 และ 4 สภาพคล่องเงินบาทโดยรวมอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างไรก็ดี มีการตึงตัวชั่วคราวในบางช่วง คือ ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายน สภาพคล่องเงินบาท ในตลาดต่างประเทศตึงตัวขึ้นมาก ทำให้สถาบันการเงินในต่างประเทศบางแห่งไม่สามารถหาเงินบาทมาชำระให้กับ สถาบันการเงินในประเทศได้ทัน จึงเกิดปัญหาในระบบการชำระเงินของไทย ทำให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินในประเทศปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ ธปท.ได้ผ่อนคลายกฎเกณฑ์การปล่อยเงินบาทให้กับ Non-resident โดยไม่มีธุรกรรมรองรับเป็นการชั่วคราว ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินปรับลดลงมาสู่ระดับปกติใน ช่วงปลายเดือน นอกจากนี้ ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม สภาพคล่องในระบบการเงินตึงตัวขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินเตรียมสภาพคล่องสำรองไว้สำหรับการเบิกถอนของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ และต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
โดยรวมแล้ว สภาพคล่องของระบบการเงินในปี 2543 ยังคงมีมาก ยกเว้นในบางช่วงที่เงินตึงตัวขึ้นชั่วคราวดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำโดยมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เมื่อสภาพคล่องของระบบตึงตัวขึ้นชั่วคราวดังที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.07 1.98 1.95 และ 1.80 ต่อปี ในช่วงไตรมาสแรก ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.86 1.14 1.23 และ 1.17 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ของตลาด โดยธนาคารพาณิชย์มีฐานะการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 55 พันล้านบาท เมื่อสิ้นปีก่อนเป็น 194 พันล้านบาท เมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน สะท้อนให้เห็นถึงสภาพคล่องส่วนเกินของระบบธนาคารพาณิชย์ในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ลดการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2543 เนื่องจากต้องเตรียมสภาพคล่องสำรองไว้สำหรับเทศกาลปีใหม่ สำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีฐานะการลงทุนสุทธิเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 53 พันล้านบาทในปี 2543 ส่วนฐานะการลงทุนของบริษัทเงินทุนเริ่มมีแนวโน้มลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3 จากที่มีฐานะการลงทุนสุทธิ 46 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 เป็น 14 และ 2 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 และ 4 ตามลำดับ เนื่องจากกลุ่ม 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกปิดดำเนินการลดการ ลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.50 และ 8.125 ต่อปีตามลำดับ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 ต่อมาธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนลงร้อยละ 0.25 ต่อปี ในเดือนกรกฎาคม และได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ลงร้อยละ 0.25 และ 0.25-0.50 ต่อปีตามลำดับ ในเดือนกันยายน ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปี ณ สิ้นเดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยทรงตัวอยู่ในระดับดังกล่าวจนถึง สิ้นปี 2543
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ช่วงต้นปี 2543 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อ และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกันยายน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.70 และ 5.45 ต่อปีตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริงเริ่มปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม จากการที่อัตราเงินเฟ้อปรับลดลง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.70 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.45 ต่อปี ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Interest Differential) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย เมื่อคำนวณจากรายได้ ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อและรายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทย รวมทั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์(AMC) ที่อยู่ในเครือ (ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อที่แท้จริง - อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง, อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อที่แท้จริง = ดอกเบี้ยรับจากเงินให้สินเชื่อ / เงินให้สินเชื่อเฉลี่ย, อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง = ดอกเบี้ยจ่ายเงินฝาก / เงินฝากเฉลี่ย ทั้งนี้ รายการดังกล่าวข้างต้นจะไม่รวมรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน) พบว่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2543 จากร้อยละ 0.37 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 เป็นร้อยละ 1.02 1.23 1.57 และ 2.03 ต่อปี ในไตรมาสที่ 1 2 3 และ 4 ตามลำดับ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ไทยมีต้นทุนเงินฝากลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้อัตราส่วนดอกเบี้ยจ่ายต่อเงินฝากเฉลี่ยลดลง ประกอบกับมีผลประกอบการดีขึ้น และมีการตัดหนี้สูญรวมทั้งการโอนสินเชื่อด้อยคุณภาพไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ ส่งผลให้อัตราส่วนดอกเบี้ยรับต่อสินเชื่อเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Interest Differential) ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อยู่ในระดับร้อยละ 4.10 4.08 4.30 และ 4.32 ต่อปีในไตรมาสที่ 1 2 3และ 4 ตามลำดับ โดยอัตราส่วนดอกเบี้ยรับต่อสินเชื่อเฉลี่ยค่อนข้างทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกันตลอดปี 2543 ขณะที่อัตราส่วนดอกเบี้ยจ่ายต่อเงินฝากเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงในไตรมาสที่ 3 และ 4
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ พบว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยมีต้นทุนในการระดมเงินฝากสูงกว่าสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่รับจริงจากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ในระดับต่ำกว่า เนื่องจากปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทั้งสองปัจจัยได้ส่งผลให้สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีความสามารถในการทำกำไรสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ไทย
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นมากในปี 2543 สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ลดลง จากการตัดหนี้สูญและการโอนสินเชื่อไปบริษัทบริหารสินทรัพย์
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในปี 2543 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากช่วงสิ้นปี 2542 โดยในช่วงไตรมาสแรกและ ไตรมาสที่ 2 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น จากการที่เงินสดที่ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนเบิกถอนไว้ในช่วง Y2K ได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบ แม้ว่าจะมีการเบิกถอนเงินฝาก เพื่อนำไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการออกจำหน่ายเป็นจำนวนมากในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งผู้ออกตราสารหนี้ได้นำเงินไปชำระคืนเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ ส่วนใน ไตรมาสที่ 3 และ 4 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจาก ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินและบัตรเงินฝากในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่มีตั๋วเงินครบกำหนด นำเงินที่ได้รับส่วนหนึ่งมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มการระดมทุนระยะยาวมากขึ้น โดยเสนออัตราผลตอบแทนที่จูงใจ นอกจากนี้ ในปี 2543 ภาคธุรกิจเอกชนชะลอการชำระคืนหนี้ต่างประเทศลงเมื่อเทียบกับปี 2542 ส่งผลให้เงินฝากธนาคารพาณิชย์โน้มสูงขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 241.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มีแนวโน้มลดลง ส่วนหนึ่งเนื่องจาก ภาคเอกชนระดมทุนโดยการออกตราสารหนี้ และนำเงินมาชำระคืนเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์บางส่วน และภาคธุรกิจเอกชนชำระคืนสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อใหม่ และที่สำคัญคือ ธนาคารพาณิชย์มีการตัดหนี้สูญจำนวนประมาณ 272 พันล้านบาท และโอนสินเชื่อไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์จำนวนประมาณ 550 พันล้านบาท โดยมีการให้สินเชื่อแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ สุทธิจำนวนประมาณ 314 พันล้านบาทในช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์(คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มียอดคงค้าง 4567.4 พันล้านบาท ลดลง 528.7 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 หรือ คิดเป็นการลดลงร้อยละ 10.4 ต่อปี โดยสินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจมียอดคงค้าง 4337.2 พันล้านบาท ลดลง 424.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นการลดลงร้อยละ 8.9 ต่อปี และ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจมียอดคงค้าง 230.4 พันล้านบาท ลดลง 104.5 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 31.2 ต่อปี
สำหรับ สินเชื่อรวม (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ปรับตัวดีขึ้นในปี 2543 เมื่อเทียบกับปี 2542 อย่างไรก็ตาม สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลัง ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 สินเชื่อรวมที่บวกกลับหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อปี
3. แหล่งเงินทุนของภาคธุรกิจเอกชนที่ได้รับจากตลาดการเงิน
ภาคธุรกิจเอกชนมีแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่จากการออกตราสารหนี้และตราสารทุน ขณะที่สินเชื่อจากสถาบันการเงินปรับตัวดีขึ้น
ในปี 2543 สินเชื่อสถาบันการเงินปรับตัวดีขึ้นมากจากปีก่อนที่ลดลงถึง 156.6 พันล้านบาท กลับมาเพิ่มขึ้น 13.4 พันล้านบาทในปี 2543 ขณะที่การออกตราสารทุนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และการออกตราสารหนี้ลดลง โดยรวมแล้วสินเชื่อสถาบันการเงินที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นสาเหตุให้แหล่งเงินทุนจากตลาดการเงินที่ให้แก่ภาคเอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงินปรับตัวดีขึ้น จากที่เพิ่มขึ้นเพียง 15.4 พันล้านบาทในปี 2542 มาเป็นเพิ่มขึ้น 170.2 พันล้านบาทในปี 2543
4. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินในปี 2543 มียอดคงค้างเฉลี่ย 483 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 463 พันล้านบาทในปีก่อนหน้า เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 ปริมาณเงิน M2A และ M3 ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2543
ฐานเงิน หลังจากที่ฐานเงินเพิ่มสูงขึ้นถึง 622 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2542 ในช่วง Y2K ต่อมาฐานเงินได้ โน้มลดลงมาอยู่ที่ระดับ 450 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 เนื่องจากความต้องการเงินสดของประชาชนลดลง จึงนำกลับมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์ โดยปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินลดลงในช่วงครึ่งปีแรก คือ 1) สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิ ลดลง โดยธปท.ทยอยส่งมอบเงินตราต่างประเทศตามสัญญา Swap ที่ครบกำหนด ซึ่งธปท.ได้ใช้ธุรกรรม Swap เป็นช่องทางในการเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงินในช่วง Y2K 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ ลดลง ตามปริมาณพันธบัตรภาครัฐที่ครบกำหนดไถ่ถอน และตามปริมาณเงินฝากรัฐบาลที่ธปท. ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม และจากการที่รัฐบาลได้รับเงินจากการประมูลขายพันธบัตรและตั๋วเงินคลัง 3) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน ลดลง จากการที่ธปท.ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร หลังจากที่ได้ปล่อยสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมากในช่วง Y2K
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 ฐานเงินโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ 2 ไตรมาสแรก ตามปัจจัยฤดูกาล โดยยอดคงค้างของฐานเงิน ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 และ ไตรมาสที่ 4 เท่ากับ 479 และ 527 พันล้านบาทตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยด้านอุปทานที่สำคัญที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของฐานเงิน ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จ่ายคืนเงินฝากให้กับผู้ฝากเงินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดดำเนินการตามโครงการแลกเปลี่ยนตั๋ว และกองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูฯ มีการจ่ายเงินตามภาระอาวัลที่มีกับสถาบันการเงินบางแห่ง นอกจากนี้ ธปท.เพิ่มการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงินในบางช่วงเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม 2543
ปริมาณเงิน M2A เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 มีแนวโน้มลดลงในช่วง 7 เดือนแรก โดยเงินสดในมือประชาชนโน้มลงภายหลังช่วง Y2K และเงินฝากสถาบันการเงินในรูปตั๋วสัญญาใช้เงินลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในช่วงเดือนสิงหาคม | ธันวาคม 2543 ปริมาณเงิน M2A ปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5296.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 114.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน
สำหรับ ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้างลดลงในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2542 แต่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต่อมา ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้าง 5972.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 253.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สภาพคล่องของระบบการเงินในปี 2543 ยังคงมีมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ปรับลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในปี 2543 ยังคงมีมาก อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสแรก สภาพคล่องตึงตัวขึ้นจากปลายปี 2542 จากการที่ภาคเอกชนมีความต้องการถือเงินสดอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการนำเงินฝากบางส่วนไปลงทุนในตราสารที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก นอกจากนี้ สถาบันการเงินมีความต้องการเงินบาท เพื่อส่งมอบให้แก่ธปท.ตามภาระ Swap ที่ครบกำหนด และเพื่อซื้อหลักทรัพย์เพิ่มเติม รวมทั้งต้องเตรียมสภาพคล่อง สำหรับระบบการชำระเงินแบบ Real Time Gross Settlement (RTGS) ส่วนในช่วงปลายไตรมาสแรก ภาคธุรกิจเอกชนญี่ปุ่น นำส่งกำไรให้แก่บริษัทแม่ เนื่องจากเป็นช่วงปิดบัญชีประจำปี
สำหรับในไตรมาสที่ 2 สภาพคล่องปรับเพิ่มขึ้น ตามลำดับ หลังช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่ได้ตึงตัวขึ้นระยะสั้นๆ ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม จากการที่ธุรกิจเอกชนนำส่ง ภาษีรายได้นิติบุคคลให้กับภาครัฐ และช่วงปลายเดือนมิถุนายน เนื่องจากสถาบันการเงินนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
ในไตรมาสที่ 3 และ 4 สภาพคล่องเงินบาทโดยรวมอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างไรก็ดี มีการตึงตัวชั่วคราวในบางช่วง คือ ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายน สภาพคล่องเงินบาท ในตลาดต่างประเทศตึงตัวขึ้นมาก ทำให้สถาบันการเงินในต่างประเทศบางแห่งไม่สามารถหาเงินบาทมาชำระให้กับ สถาบันการเงินในประเทศได้ทัน จึงเกิดปัญหาในระบบการชำระเงินของไทย ทำให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินในประเทศปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ ธปท.ได้ผ่อนคลายกฎเกณฑ์การปล่อยเงินบาทให้กับ Non-resident โดยไม่มีธุรกรรมรองรับเป็นการชั่วคราว ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินปรับลดลงมาสู่ระดับปกติใน ช่วงปลายเดือน นอกจากนี้ ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม สภาพคล่องในระบบการเงินตึงตัวขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินเตรียมสภาพคล่องสำรองไว้สำหรับการเบิกถอนของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ และต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
โดยรวมแล้ว สภาพคล่องของระบบการเงินในปี 2543 ยังคงมีมาก ยกเว้นในบางช่วงที่เงินตึงตัวขึ้นชั่วคราวดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำโดยมีการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เมื่อสภาพคล่องของระบบตึงตัวขึ้นชั่วคราวดังที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.07 1.98 1.95 และ 1.80 ต่อปี ในช่วงไตรมาสแรก ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4 ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.86 1.14 1.23 และ 1.17 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ของตลาด โดยธนาคารพาณิชย์มีฐานะการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 55 พันล้านบาท เมื่อสิ้นปีก่อนเป็น 194 พันล้านบาท เมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน สะท้อนให้เห็นถึงสภาพคล่องส่วนเกินของระบบธนาคารพาณิชย์ในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ลดการลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรในช่วงสิ้นเดือนธันวาคม 2543 เนื่องจากต้องเตรียมสภาพคล่องสำรองไว้สำหรับเทศกาลปีใหม่ สำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีฐานะการลงทุนสุทธิเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 53 พันล้านบาทในปี 2543 ส่วนฐานะการลงทุนของบริษัทเงินทุนเริ่มมีแนวโน้มลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3 จากที่มีฐานะการลงทุนสุทธิ 46 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 เป็น 14 และ 2 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 และ 4 ตามลำดับ เนื่องจากกลุ่ม 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกปิดดำเนินการลดการ ลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.50 และ 8.125 ต่อปีตามลำดับ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2543 ต่อมาธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนลงร้อยละ 0.25 ต่อปี ในเดือนกรกฎาคม และได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ลงร้อยละ 0.25 และ 0.25-0.50 ต่อปีตามลำดับ ในเดือนกันยายน ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปี ณ สิ้นเดือนกันยายน อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยทรงตัวอยู่ในระดับดังกล่าวจนถึง สิ้นปี 2543
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ช่วงต้นปี 2543 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อ และการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกันยายน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.70 และ 5.45 ต่อปีตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริงเริ่มปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคม จากการที่อัตราเงินเฟ้อปรับลดลง โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.70 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.45 ต่อปี ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Interest Differential) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย เมื่อคำนวณจากรายได้ ดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อและรายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทย รวมทั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์(AMC) ที่อยู่ในเครือ (ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อที่แท้จริง - อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง, อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อที่แท้จริง = ดอกเบี้ยรับจากเงินให้สินเชื่อ / เงินให้สินเชื่อเฉลี่ย, อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริง = ดอกเบี้ยจ่ายเงินฝาก / เงินฝากเฉลี่ย ทั้งนี้ รายการดังกล่าวข้างต้นจะไม่รวมรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน) พบว่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2543 จากร้อยละ 0.37 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 เป็นร้อยละ 1.02 1.23 1.57 และ 2.03 ต่อปี ในไตรมาสที่ 1 2 3 และ 4 ตามลำดับ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ไทยมีต้นทุนเงินฝากลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้อัตราส่วนดอกเบี้ยจ่ายต่อเงินฝากเฉลี่ยลดลง ประกอบกับมีผลประกอบการดีขึ้น และมีการตัดหนี้สูญรวมทั้งการโอนสินเชื่อด้อยคุณภาพไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ ส่งผลให้อัตราส่วนดอกเบี้ยรับต่อสินเชื่อเฉลี่ยเพิ่มขึ้น
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย (Interest Differential) ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ อยู่ในระดับร้อยละ 4.10 4.08 4.30 และ 4.32 ต่อปีในไตรมาสที่ 1 2 3และ 4 ตามลำดับ โดยอัตราส่วนดอกเบี้ยรับต่อสินเชื่อเฉลี่ยค่อนข้างทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกันตลอดปี 2543 ขณะที่อัตราส่วนดอกเบี้ยจ่ายต่อเงินฝากเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงในไตรมาสที่ 3 และ 4
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ พบว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยมีต้นทุนในการระดมเงินฝากสูงกว่าสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่รับจริงจากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ในระดับต่ำกว่า เนื่องจากปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทั้งสองปัจจัยได้ส่งผลให้สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีความสามารถในการทำกำไรสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ไทย
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นมากในปี 2543 สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ลดลง จากการตัดหนี้สูญและการโอนสินเชื่อไปบริษัทบริหารสินทรัพย์
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในปี 2543 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากช่วงสิ้นปี 2542 โดยในช่วงไตรมาสแรกและ ไตรมาสที่ 2 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น จากการที่เงินสดที่ภาคธุรกิจเอกชนและประชาชนเบิกถอนไว้ในช่วง Y2K ได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบ แม้ว่าจะมีการเบิกถอนเงินฝาก เพื่อนำไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีการออกจำหน่ายเป็นจำนวนมากในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่งผู้ออกตราสารหนี้ได้นำเงินไปชำระคืนเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ ส่วนใน ไตรมาสที่ 3 และ 4 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจาก ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินและบัตรเงินฝากในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่มีตั๋วเงินครบกำหนด นำเงินที่ได้รับส่วนหนึ่งมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มการระดมทุนระยะยาวมากขึ้น โดยเสนออัตราผลตอบแทนที่จูงใจ นอกจากนี้ ในปี 2543 ภาคธุรกิจเอกชนชะลอการชำระคืนหนี้ต่างประเทศลงเมื่อเทียบกับปี 2542 ส่งผลให้เงินฝากธนาคารพาณิชย์โน้มสูงขึ้น โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น 241.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มีแนวโน้มลดลง ส่วนหนึ่งเนื่องจาก ภาคเอกชนระดมทุนโดยการออกตราสารหนี้ และนำเงินมาชำระคืนเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์บางส่วน และภาคธุรกิจเอกชนชำระคืนสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อใหม่ และที่สำคัญคือ ธนาคารพาณิชย์มีการตัดหนี้สูญจำนวนประมาณ 272 พันล้านบาท และโอนสินเชื่อไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์จำนวนประมาณ 550 พันล้านบาท โดยมีการให้สินเชื่อแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ สุทธิจำนวนประมาณ 314 พันล้านบาทในช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์(คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มียอดคงค้าง 4567.4 พันล้านบาท ลดลง 528.7 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 หรือ คิดเป็นการลดลงร้อยละ 10.4 ต่อปี โดยสินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจมียอดคงค้าง 4337.2 พันล้านบาท ลดลง 424.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นการลดลงร้อยละ 8.9 ต่อปี และ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจมียอดคงค้าง 230.4 พันล้านบาท ลดลง 104.5 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 31.2 ต่อปี
สำหรับ สินเชื่อรวม (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ปรับตัวดีขึ้นในปี 2543 เมื่อเทียบกับปี 2542 อย่างไรก็ตาม สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลัง ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 สินเชื่อรวมที่บวกกลับหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อปี
3. แหล่งเงินทุนของภาคธุรกิจเอกชนที่ได้รับจากตลาดการเงิน
ภาคธุรกิจเอกชนมีแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่จากการออกตราสารหนี้และตราสารทุน ขณะที่สินเชื่อจากสถาบันการเงินปรับตัวดีขึ้น
ในปี 2543 สินเชื่อสถาบันการเงินปรับตัวดีขึ้นมากจากปีก่อนที่ลดลงถึง 156.6 พันล้านบาท กลับมาเพิ่มขึ้น 13.4 พันล้านบาทในปี 2543 ขณะที่การออกตราสารทุนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และการออกตราสารหนี้ลดลง โดยรวมแล้วสินเชื่อสถาบันการเงินที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นสาเหตุให้แหล่งเงินทุนจากตลาดการเงินที่ให้แก่ภาคเอกชนที่ไม่ใช่สถาบันการเงินปรับตัวดีขึ้น จากที่เพิ่มขึ้นเพียง 15.4 พันล้านบาทในปี 2542 มาเป็นเพิ่มขึ้น 170.2 พันล้านบาทในปี 2543
4. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินในปี 2543 มียอดคงค้างเฉลี่ย 483 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย 463 พันล้านบาทในปีก่อนหน้า เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 ปริมาณเงิน M2A และ M3 ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2543
ฐานเงิน หลังจากที่ฐานเงินเพิ่มสูงขึ้นถึง 622 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2542 ในช่วง Y2K ต่อมาฐานเงินได้ โน้มลดลงมาอยู่ที่ระดับ 450 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 เนื่องจากความต้องการเงินสดของประชาชนลดลง จึงนำกลับมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์ โดยปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินลดลงในช่วงครึ่งปีแรก คือ 1) สินทรัพย์ต่างประเทศสุทธิ ลดลง โดยธปท.ทยอยส่งมอบเงินตราต่างประเทศตามสัญญา Swap ที่ครบกำหนด ซึ่งธปท.ได้ใช้ธุรกรรม Swap เป็นช่องทางในการเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงินในช่วง Y2K 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ ลดลง ตามปริมาณพันธบัตรภาครัฐที่ครบกำหนดไถ่ถอน และตามปริมาณเงินฝากรัฐบาลที่ธปท. ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม และจากการที่รัฐบาลได้รับเงินจากการประมูลขายพันธบัตรและตั๋วเงินคลัง 3) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน ลดลง จากการที่ธปท.ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร หลังจากที่ได้ปล่อยสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมากในช่วง Y2K
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 ฐานเงินโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ 2 ไตรมาสแรก ตามปัจจัยฤดูกาล โดยยอดคงค้างของฐานเงิน ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 และ ไตรมาสที่ 4 เท่ากับ 479 และ 527 พันล้านบาทตามลำดับ ทั้งนี้ ปัจจัยด้านอุปทานที่สำคัญที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของฐานเงิน ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จ่ายคืนเงินฝากให้กับผู้ฝากเงินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดดำเนินการตามโครงการแลกเปลี่ยนตั๋ว และกองทุนเพื่อการ ฟื้นฟูฯ มีการจ่ายเงินตามภาระอาวัลที่มีกับสถาบันการเงินบางแห่ง นอกจากนี้ ธปท.เพิ่มการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงินในบางช่วงเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม 2543
ปริมาณเงิน M2A เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2542 มีแนวโน้มลดลงในช่วง 7 เดือนแรก โดยเงินสดในมือประชาชนโน้มลงภายหลังช่วง Y2K และเงินฝากสถาบันการเงินในรูปตั๋วสัญญาใช้เงินลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในช่วงเดือนสิงหาคม | ธันวาคม 2543 ปริมาณเงิน M2A ปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5296.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 114.4 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน
สำหรับ ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้างลดลงในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2542 แต่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต่อมา ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2543 ปริมาณเงิน M3 มียอดคงค้าง 5972.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 253.9 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-