นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้เผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ เดือนมกราคม 2544 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในปัจจุบัน
ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2543 ปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อในไตรมาสก่อนโดยเฉพาะราคาน้ำมัน ได้ผ่อนคลายลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานโดยเฉลี่ยยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ขณะที่แรงผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่มแผ่วลงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543
การคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า คณะกรรมการฯ เห็นว่า
1. ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอลงอย่างชัดเจน จนอาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง แต่การลดอัตราดอกเบี้ยทางการของสหรัฐฯจะช่วยให้การปรับตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ค่อยเป็นค่อยไป
2. การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ซึ่งจะมีผลต่อการส่งออกของไทยโดยตรง เพราะการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯและภูมิภาคคิดเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออกรวม
3. ราคาน้ำมันกลับลดลงและมีเสถียรภาพมากขึ้น แม้กลุ่มโอเปกจะตกลงให้ลดการผลิตลงอีก แต่คาดว่าจะไม่มีผลให้ราคาสูงมากดังเช่นในปี 2543 ดังนั้นจึงปรับข้อสมมติราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่เฉลี่ย 24 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2544/45 (จากเดิมที่เฉลี่ย 26 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล)
4. การที่ธปท.คงอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ช่วยเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่ระบบเศรษฐกิจและการเงินของไทยมีการพัฒนาในเชิงกว้างมากขึ้น ทำให้สามารถต้านทานปัญหาต่างๆ จากภายนอกได้ดีขึ้น
5.คณะกรรมการฯยังไม่ปรับปรุงข้อสมมติด้านการคลังที่จะเปลี่ยนแปลงไปภายหลังการจัดตั้งรัฐบาล โดยจะรอให้มีความชัดเจนก่อน และจะติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
สภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนตัวลงชัดเจนขึ้นนี้ ทำให้การส่งออกชะลอตัวลง ขณะที่อัตราเพิ่มของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเป็นไปอย่างช้าๆ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2543 ซึ่งเดิมคณะกรรมการฯ ประเมินไว้ระหว่างร้อยละ 4.5 — 5 โดยมีความเป็นไปได้ (probability) ร้อยละ 86 นั้น การประเมินในครั้งนี้ปรากฏว่าโอกาสที่อัตราการขยายตัวจะสูงกว่าร้อยละ 4.5 นั้น มีความเป็นไปได้น้อยมากแล้ว อัตราการขยายตัวระหว่างร้อยละ 4 — 4.5 มีความเป็นไปได้สูงกว่า คือร้อยละ 95
สำหรับในปี 2544 ซึ่งเดิมคณะกรรมการฯ ประเมินไว้ระหว่างร้อยละ 4 — 4.5 นั้น ในการประเมินครั้งนี้ก็ปรับลดลงเช่นกัน อยู่ระหว่างร้อยละ 3 —4.5 โดยมีความเป็นไปได้ร้อยละ 57
ส่วนปี 2545 คณะกรรมการฯ คาดว่าแนวโน้มอัตราขยายการลงทุนภาคเอกชนและการอุปโภคบริโภคน่าจะทยอยปรับตัวดีขึ้นเข้าสู่ระดับปกติ จึงประเมินอัตราขยายตัวไว้ระหว่างร้อยละ 4.5 — 6.5 โดยมีความเป็นไปได้ร้อยละ 51
แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
คณะกรรมการฯ เห็นว่าแรงกดดันจากราคาน้ำมันได้ผ่อนคลายลงมาก และการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะออกนอกเป้าร้อยละ 0-3.5 ต่อปี มีน้อย แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มในไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 ก็ตาม และมีแนวโน้มจะต่ำกว่าที่เคยคาดไว้ โดยในปี 2544 โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5-2.5 ต่อปี มีสูงขึ้นเป็นร้อยละ 72 เทียบกับเดิมในเดือนตุลาคมที่มีโอกาสเพียงร้อยละ 50 ส่วนในปี 2545 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 3 ต่อปี โดยมีโอกาสที่จะเป็นไปได้ร้อยละ 60
แนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน
จากการประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อพื้นฐานที่ได้ลดลง และความเสี่ยงต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการฯ จึงได้พิจารณาทางเลือกการปรับลดดอกเบี้ยด้วย แต่เนื่องจากมีผลกระทบต่อผู้ออมเงินในช่วงที่ยังไม่มีมาตรการเพิ่มทางเลือกในการออมให้มากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินจึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ในระดับเดิมคือร้อยละ 1.5 ต่อปี โดยจะติดตามวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเสถียรภาพของระดับราคาและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอ
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับที่ 4 ช่วงปลายเดือนเมษายน 2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/29 มกราคม 2544--
-ยก-
ภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในปัจจุบัน
ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2543 ปัจจัยที่สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อในไตรมาสก่อนโดยเฉพาะราคาน้ำมัน ได้ผ่อนคลายลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานโดยเฉลี่ยยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.8 ต่อปี ขณะที่แรงผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่มแผ่วลงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543
การคาดการณ์แนวโน้มเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เมื่อเทียบกับข้อสมมติประกอบการคาดการณ์เมื่อ 3 เดือนก่อนหน้า คณะกรรมการฯ เห็นว่า
1. ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอลงอย่างชัดเจน จนอาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง แต่การลดอัตราดอกเบี้ยทางการของสหรัฐฯจะช่วยให้การปรับตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ค่อยเป็นค่อยไป
2. การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ซึ่งจะมีผลต่อการส่งออกของไทยโดยตรง เพราะการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯและภูมิภาคคิดเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่าการส่งออกรวม
3. ราคาน้ำมันกลับลดลงและมีเสถียรภาพมากขึ้น แม้กลุ่มโอเปกจะตกลงให้ลดการผลิตลงอีก แต่คาดว่าจะไม่มีผลให้ราคาสูงมากดังเช่นในปี 2543 ดังนั้นจึงปรับข้อสมมติราคาน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่เฉลี่ย 24 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในปี 2544/45 (จากเดิมที่เฉลี่ย 26 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล)
4. การที่ธปท.คงอัตราดอกเบี้ยต่ำอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ช่วยเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ขณะที่ระบบเศรษฐกิจและการเงินของไทยมีการพัฒนาในเชิงกว้างมากขึ้น ทำให้สามารถต้านทานปัญหาต่างๆ จากภายนอกได้ดีขึ้น
5.คณะกรรมการฯยังไม่ปรับปรุงข้อสมมติด้านการคลังที่จะเปลี่ยนแปลงไปภายหลังการจัดตั้งรัฐบาล โดยจะรอให้มีความชัดเจนก่อน และจะติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
สภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนตัวลงชัดเจนขึ้นนี้ ทำให้การส่งออกชะลอตัวลง ขณะที่อัตราเพิ่มของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนเป็นไปอย่างช้าๆ
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2543 ซึ่งเดิมคณะกรรมการฯ ประเมินไว้ระหว่างร้อยละ 4.5 — 5 โดยมีความเป็นไปได้ (probability) ร้อยละ 86 นั้น การประเมินในครั้งนี้ปรากฏว่าโอกาสที่อัตราการขยายตัวจะสูงกว่าร้อยละ 4.5 นั้น มีความเป็นไปได้น้อยมากแล้ว อัตราการขยายตัวระหว่างร้อยละ 4 — 4.5 มีความเป็นไปได้สูงกว่า คือร้อยละ 95
สำหรับในปี 2544 ซึ่งเดิมคณะกรรมการฯ ประเมินไว้ระหว่างร้อยละ 4 — 4.5 นั้น ในการประเมินครั้งนี้ก็ปรับลดลงเช่นกัน อยู่ระหว่างร้อยละ 3 —4.5 โดยมีความเป็นไปได้ร้อยละ 57
ส่วนปี 2545 คณะกรรมการฯ คาดว่าแนวโน้มอัตราขยายการลงทุนภาคเอกชนและการอุปโภคบริโภคน่าจะทยอยปรับตัวดีขึ้นเข้าสู่ระดับปกติ จึงประเมินอัตราขยายตัวไว้ระหว่างร้อยละ 4.5 — 6.5 โดยมีความเป็นไปได้ร้อยละ 51
แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
คณะกรรมการฯ เห็นว่าแรงกดดันจากราคาน้ำมันได้ผ่อนคลายลงมาก และการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะออกนอกเป้าร้อยละ 0-3.5 ต่อปี มีน้อย แม้ว่าจะมีการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มในไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 ก็ตาม และมีแนวโน้มจะต่ำกว่าที่เคยคาดไว้ โดยในปี 2544 โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.5-2.5 ต่อปี มีสูงขึ้นเป็นร้อยละ 72 เทียบกับเดิมในเดือนตุลาคมที่มีโอกาสเพียงร้อยละ 50 ส่วนในปี 2545 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 3 ต่อปี โดยมีโอกาสที่จะเป็นไปได้ร้อยละ 60
แนวทางการดำเนินนโยบายการเงิน
จากการประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อพื้นฐานที่ได้ลดลง และความเสี่ยงต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการฯ จึงได้พิจารณาทางเลือกการปรับลดดอกเบี้ยด้วย แต่เนื่องจากมีผลกระทบต่อผู้ออมเงินในช่วงที่ยังไม่มีมาตรการเพิ่มทางเลือกในการออมให้มากขึ้น
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินจึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ในระดับเดิมคือร้อยละ 1.5 ต่อปี โดยจะติดตามวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเสถียรภาพของระดับราคาและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอ
ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเผยแพร่รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับที่ 4 ช่วงปลายเดือนเมษายน 2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/29 มกราคม 2544--
-ยก-