เศรษฐกิจจังหวัดเพชรบูรณ์ปี 2542 ปรับตัวดีขึ้น จากภาคเกษตรที่อยู่ในเกณฑ์ดี โดยผลผลิตพืชที่สำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ อ้อย ข้าวนาปี และมันสำปะหลัง จากภาวะอากาศที่เอื้ออำนวยและฝนตกอย่างต่อเนื่อง ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวตามการผลิตของโรงงานน้ำตาล ทางด้าน การใช้จ่ายภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากภาวะ อัตราดอกเบี้ยต่ำ และกำลังการซื้อส่วนใหญ่เป็นของผู้บริโภคระดับบน ส่วนภาคการลงทุน/ก่อสร้าง เริ่มปรับตัว ดีขึ้นโดยการลงทุนภาคเอกชนเริ่มดีขึ้นจากยอดจดทะเบียนโรงงานอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การก่อสร้างดีขึ้น จากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชยกรรม ภาคการเงิน เงินฝากและสินเชื่อลดลง แต่การใช้จ่ายภาครัฐบาล เพิ่มขึ้น
ภาคเกษตร จากภาวะอากาศที่เอื้ออำนวยและปริมาณฝนที่ตกมาเพียงพอต่อการเพาะปลูก ส่งผลให้ผลผลิตพืชสำคัญของจังหวัดเพิ่มขึ้นได้แก่ อ้อย ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีการผลิตก่อนร้อยละ 1.1 ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 และ มันสำปะหลัง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ผลผลิต ใบยาเบอร์เลย์ ในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 24.9 ตามความต้องการของผู้ส่งออกเป็นสำคัญ สำหรับ ข้าวโพด ในปีนี้ผลผลิตลดลงเนื่องจากราคาในช่วงก่อนทำการเพาะปลูกไม่จูงใจทำให้พื้นที่ปลูกลดลง ส่งผลให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 5.6 ทางด้านปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ ในส่วนของจังหวัดไม่ได้รับความเสียหายมากนัก เนื่องจากพืชที่สำคัญทำการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ผลจากราคาพืชผลเกษตรที่ต่ำลงคาดว่ารายได้เกษตรกรในปีนี้จะลดลงประมาณร้อยละ 15.0
นอกภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวตามผลผลิตสำคัญของจังหวัดได้แก่ การผลิตน้ำตาลทราย ของโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56.3 เป็น 101,865 เมตริกตัน ตามปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งปัญหาสภาพคล่องที่โรงงานน้ำตาลเริ่มผ่อนคลายลง จากการที่โรงงานน้ำตาลเข้าสู่กระบวนการประนอมหนี้ ส่วน การใช้จ่ายภาคเอกชน เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ เป็นตัวกระตุ้นให้ประชาชน เริ่มออกมาใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น จากยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 ในขณะที่ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 20.2 แต่ต่ำลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 50.6 ปีก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีการ ถอนเงินฝากมา ใช้จ่าย แม้ว่าธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดการให้สินเชื่อทั้งรายเก่าและรายใหม่ ซึ่ง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 22.8 ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 0.1 เหลือ 103 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.6 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้วกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 22.9 ปีก่อน
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนเริ่มดีขึ้น จากยอดการจดทะเบียนของโรงงาน อุตสาหกรรมเปิดกิจการใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากจำนวน 5 ราย เงินลงทุน 9 ล้านบาทปีก่อน เป็น 27 ราย เงินลงทุน 86 ล้านบาท ส่วนผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีเพียง 1 ราย เงินลงทุน 25 ล้านบาท แต่มีการจ้างงานเพียง 19 คน ทางด้าน การก่อสร้าง เริ่มปรับตัวดี พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 22.8 เป็น 15,695 ตารางเมตร เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 64.6 ปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชยกรรม
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ผ่าน ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (คลังจังหวัดเพชรบูรณ์) ปี 2542 จำนวน 22,247 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 13.1 ตามการลดลงของเงินนำฝากและเบิกถอนที่ลดลงร้อยละ 16.1 และร้อยละ 2.3 ตามลำดับ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 10,940 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.4 เป็นการลดลงในเขตอำเภอรอบนอกลดลงร้อยละ 6.3 ขณะที่ในเขตอำเภอเมืองเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.5 ทางด้านเงินให้ สินเชื่อ ยังลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน เหลือ 9,025 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 6.6 จากการเข้มงวดการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ โดยลดลงมากจากสินเชื่อสถาบันการเงิน สินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง และสินเชื่อเพื่อการบริการ ปริมาณการใช้เช็ค แม้ว่าปริมาณเช็คเรียกเก็บในปีนี้จะเพิ่มมากขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.6 เป็น 145,090 ฉบับ แต่มูลค่ายังคงลดลงร้อยละ 22.5 เหลือ 9,229.9 ล้านบาท ทางด้านเช็คคืนลดลงทั้งปริมาณและมูลค่าร้อยละ 13.7 และร้อยละ 34.2 ตามลำดับ สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บ มีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนไม่มากนักสัดส่วนร้อยละ 1.0
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,478 ราย วงเงิน 1,932.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,450 ราย วงเงิน 1,513.8 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุง โครงสร้างหนี้จำนวน 41 ราย วงเงิน 67.6 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 1,437 ราย เป็นเงิน 1,864.5 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดเพชรบูรณ์ ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 5,750.3 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 5,968.8 ล้านบาทปีก่อน โดยรายจ่ายลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.2 เหลือ 6,240.9 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 8.3 ปีก่อน ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ 9.9 หรือ 490.6 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลง ร้อยละ 5.3 ปีก่อน เมื่อรวมกับเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 5,698.4 ล้านบาท ทำให้เงินสดขาดดุล 51.9 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 1,676.8 ล้านบาทปีก่อน สำหรับเงินในโครงการมิยาซาวาของจังหวัดเพชรบูรณ์วงเงินที่ได้รับ อนุมัติ 499.7 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 368.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.8 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็น โครงการเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร จากภาวะอากาศที่เอื้ออำนวยและปริมาณฝนที่ตกมาเพียงพอต่อการเพาะปลูก ส่งผลให้ผลผลิตพืชสำคัญของจังหวัดเพิ่มขึ้นได้แก่ อ้อย ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีการผลิตก่อนร้อยละ 1.1 ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 และ มันสำปะหลัง ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ผลผลิต ใบยาเบอร์เลย์ ในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 24.9 ตามความต้องการของผู้ส่งออกเป็นสำคัญ สำหรับ ข้าวโพด ในปีนี้ผลผลิตลดลงเนื่องจากราคาในช่วงก่อนทำการเพาะปลูกไม่จูงใจทำให้พื้นที่ปลูกลดลง ส่งผลให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 5.6 ทางด้านปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ ในส่วนของจังหวัดไม่ได้รับความเสียหายมากนัก เนื่องจากพืชที่สำคัญทำการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ผลจากราคาพืชผลเกษตรที่ต่ำลงคาดว่ารายได้เกษตรกรในปีนี้จะลดลงประมาณร้อยละ 15.0
นอกภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวตามผลผลิตสำคัญของจังหวัดได้แก่ การผลิตน้ำตาลทราย ของโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 56.3 เป็น 101,865 เมตริกตัน ตามปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งปัญหาสภาพคล่องที่โรงงานน้ำตาลเริ่มผ่อนคลายลง จากการที่โรงงานน้ำตาลเข้าสู่กระบวนการประนอมหนี้ ส่วน การใช้จ่ายภาคเอกชน เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ เป็นตัวกระตุ้นให้ประชาชน เริ่มออกมาใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น จากยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 ในขณะที่ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 20.2 แต่ต่ำลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 50.6 ปีก่อน ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีการ ถอนเงินฝากมา ใช้จ่าย แม้ว่าธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดการให้สินเชื่อทั้งรายเก่าและรายใหม่ ซึ่ง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 22.8 ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 0.1 เหลือ 103 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.6 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้วกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 22.9 ปีก่อน
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนเริ่มดีขึ้น จากยอดการจดทะเบียนของโรงงาน อุตสาหกรรมเปิดกิจการใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากจำนวน 5 ราย เงินลงทุน 9 ล้านบาทปีก่อน เป็น 27 ราย เงินลงทุน 86 ล้านบาท ส่วนผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนมีเพียง 1 ราย เงินลงทุน 25 ล้านบาท แต่มีการจ้างงานเพียง 19 คน ทางด้าน การก่อสร้าง เริ่มปรับตัวดี พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 22.8 เป็น 15,695 ตารางเมตร เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 64.6 ปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชยกรรม
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ผ่าน ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (คลังจังหวัดเพชรบูรณ์) ปี 2542 จำนวน 22,247 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 13.1 ตามการลดลงของเงินนำฝากและเบิกถอนที่ลดลงร้อยละ 16.1 และร้อยละ 2.3 ตามลำดับ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 10,940 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.4 เป็นการลดลงในเขตอำเภอรอบนอกลดลงร้อยละ 6.3 ขณะที่ในเขตอำเภอเมืองเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.5 ทางด้านเงินให้ สินเชื่อ ยังลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน เหลือ 9,025 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 6.6 จากการเข้มงวดการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ โดยลดลงมากจากสินเชื่อสถาบันการเงิน สินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง และสินเชื่อเพื่อการบริการ ปริมาณการใช้เช็ค แม้ว่าปริมาณเช็คเรียกเก็บในปีนี้จะเพิ่มมากขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.6 เป็น 145,090 ฉบับ แต่มูลค่ายังคงลดลงร้อยละ 22.5 เหลือ 9,229.9 ล้านบาท ทางด้านเช็คคืนลดลงทั้งปริมาณและมูลค่าร้อยละ 13.7 และร้อยละ 34.2 ตามลำดับ สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บ มีการเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนไม่มากนักสัดส่วนร้อยละ 1.0
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 1,478 ราย วงเงิน 1,932.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,450 ราย วงเงิน 1,513.8 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุง โครงสร้างหนี้จำนวน 41 ราย วงเงิน 67.6 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 1,437 ราย เป็นเงิน 1,864.5 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดเพชรบูรณ์ ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 5,750.3 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 5,968.8 ล้านบาทปีก่อน โดยรายจ่ายลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.2 เหลือ 6,240.9 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ลดลงร้อยละ 8.3 ปีก่อน ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ 9.9 หรือ 490.6 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลง ร้อยละ 5.3 ปีก่อน เมื่อรวมกับเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 5,698.4 ล้านบาท ทำให้เงินสดขาดดุล 51.9 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 1,676.8 ล้านบาทปีก่อน สำหรับเงินในโครงการมิยาซาวาของจังหวัดเพชรบูรณ์วงเงินที่ได้รับ อนุมัติ 499.7 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 368.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.8 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็น โครงการเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-