เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี 2543 ปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 2.2 จากปีก่อน ซึ่งขยายตัวร้อยละ 1.2 เนื่องจากปัจจัยที่สำคัญคือ การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวสูงขึ้น พิจารณาจากเครื่องชี้การอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะยอดจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ยอดจำหน่ายเครื่องดื่ม มูลค่าการซื้อขายที่ดิน ตลอดจนปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคฯ เพิ่มขึ้น (โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้าเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งแสดงว่าผู้ประกอบการเริ่มมีการลงทุนและขยายการผลิตเพิ่มขึ้น) ภาคการก่อสร้างเริ่มขยายตัวจากที่ลดลงมาในช่วงก่อนหน้า โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้น การให้สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ธ.ก.ส. บรรษัทฯ และ บอย.) ขยายตัว ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังอยู่ในระดับที่ต่ำจูงใจให้เกิดการลงทุน นอกจากนี้เงินโอนกลับของแรงงานไทยในต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากปีก่อน
สำหรับปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วงสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของสินค้าต่าง ๆ และทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ราคามันสำปะหลังตกต่ำ สถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจรายใหม่ เนื่องจากปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
การผลิตภาคการเกษตร ผลผลิตโดยรวมของภาคลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.0 เนื่องจากการลดพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังและราคาที่ไม่จูงใจในปีที่ผ่านมา อ้อยประสบปัญหาโรคใบขาว รวมทั้งการทำนาในบางพื้นที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ราคาข้าวหอมมะลิ ข้าวโพดและอ้อยปรับตัวสูงขึ้น ส่วนข้าวคุณภาพต่ำและมันสำปะหลังราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
การผลิตนอกภาคการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.4 เนื่องจากมีการใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40.7 และร้อยละ 29.0 ตามลำดับ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้ไฟฟ้าในธุรกิจและอุตสาหกรรม ชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการเริ่มมีการขยายกำลังการผลิตมากขึ้น
ภาคการก่อสร้างเริ่มกระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้างภาครัฐ ในส่วนของสาธารณูปโภคพื้นฐาน โครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติและอาคารสำนักงาน สำหรับภาคเอกชน ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์ เช่น การก่อสร้างห้างสรรพสินค้าที่จังหวัดนครราชสีมาและอุบลราชธานี เป็นต้น โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 64.7 มูลค่าการซื้อขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 ประกอบกับสถาบันการเงินต่าง ๆ เริ่มให้การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในระดับต่ำ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปปี 2543 ของภาคฯ สูงขึ้นร้อยละ 1.3 จากปีก่อนซึ่งสูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 แม้ว่าดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.7 แต่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นที่มิใช่อาหารสูงขึ้นร้อยละ 2.9
สำหรับดัชนีราคาขายส่งปีนี้สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่ปีก่อนลดลงร้อยละ 8.5 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมถึงร้อยละ 38.2 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ลดลง
ด้านการจ้างงาน ในปีนี้มีความต้องการแรงงาน 63,701 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 จากปีก่อน โดยมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 16,332 คน ลดลงร้อยละ 27.2 สำหรับแรงงานที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศมี 123,307 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 จากปีก่อน โดยเป็นแรงงานจากจังหวัดอุดรธานีมากที่สุด รองลงมาคือ นครราชสีมา และขอนแก่น ตามลำดับ
ภาคการเงิน ณ สิ้นธันวาคม 2543 การปิดสำนักงานสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้จำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์ลดลงจาก 525 สำนักงาน เมื่อปีก่อน เหลือเพียง 507 สำนักงาน เงินฝากคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ส่วนสินเชื่อคงค้างลดลงร้อยละ 11.0 อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากร้อยละ 84.1 ธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อรายใหม่
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.7 ร้อยละ 61.1 และร้อยละ 73.2 ตามลำดับ
ด้านเงินโอนของผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาผ่านธนาคารพาณิชย์ในภาคฯปีนี้มีทั้งสิ้น 30,320.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 จากปีก่อน มีเงินโอน 26,940.1 ล้านบาท เนื่องจากมีแรงงานในภาคฯ เดินทางไปทำงานในต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากการสนับสนุนจากภาครัฐและสถาบันการเงิน ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายต่อหัวในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น
การจัดเก็บภาษีอากร ปีนี้ลดลงร้อยละ 25.9 โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 41.0 เนื่องจากในปีนี้ผู้รับสัมปทานโรงงานสุรายังไม่ดำเนินการผลิต เนื่องจากมีสินค้าค้างสต็อกอยู่จำนวนมาก ทำให้จัดเก็บภาษีสุราลดลงถึงร้อยละ 46.5 ส่วนการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 84.9 จากการขยายกำลังการผลิตของโรงงานไทยน้ำทิพย์ที่จังหวัดนครราชสีมา ส่วนการจัดเก็บภาษีสรรพากรลดลงเกือบทุกหมวดยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีใหม่รวมทั้งผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่มีลดลงอย่างต่อเนื่อง
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาว 17,304.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เป็นการนำเข้า 3,582.5 ล้านบาท (ส่วนใหญ่ยังคงเป็นไม้แปรรูป) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53.4 ส่วนการส่งออกลดลงร้อยละ 4.7 เนื่องจากทางการลาวพยายามเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าที่ลาวผลิตได้เองและสินค้าฟุ่มเฟือย
สำหรับปี 2544 ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าจะยังขยายตัว เนื่องจากยังมีปัจจัยที่สนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ คือ
- ปริมาณผลผลิตภาคการเกษตรจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยในช่วงฤดูการผลิตในปีก่อน- เงินโอนของผู้ไปทำงานต่างประเทศยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากทางการมีนโยบายส่งเสริมการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ และสถาบันการเงินให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อมากขึ้น ประกอบกับในปีก่อนมีผู้เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
- รัฐยังดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ
ส่วนปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง คือ - ราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนของสินค้าต่าง ๆ
- นโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน
- ทางการลาวมีนโยบายเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าที่ลาวผลิตได้เองและสินค้าฟุ่มเฟือย
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจของภาคฯในปี 2544 ยังขึ้นอยู่กับความชัดเจนในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลชุดใหม่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
สำหรับปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วงสำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของสินค้าต่าง ๆ และทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ราคามันสำปะหลังตกต่ำ สถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจรายใหม่ เนื่องจากปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
การผลิตภาคการเกษตร ผลผลิตโดยรวมของภาคลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.0 เนื่องจากการลดพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังและราคาที่ไม่จูงใจในปีที่ผ่านมา อ้อยประสบปัญหาโรคใบขาว รวมทั้งการทำนาในบางพื้นที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ราคาข้าวหอมมะลิ ข้าวโพดและอ้อยปรับตัวสูงขึ้น ส่วนข้าวคุณภาพต่ำและมันสำปะหลังราคาลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
การผลิตนอกภาคการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.4 เนื่องจากมีการใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40.7 และร้อยละ 29.0 ตามลำดับ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการใช้ไฟฟ้าในธุรกิจและอุตสาหกรรม ชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการเริ่มมีการขยายกำลังการผลิตมากขึ้น
ภาคการก่อสร้างเริ่มกระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะการก่อสร้างภาครัฐ ในส่วนของสาธารณูปโภคพื้นฐาน โครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติและอาคารสำนักงาน สำหรับภาคเอกชน ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์ เช่น การก่อสร้างห้างสรรพสินค้าที่จังหวัดนครราชสีมาและอุบลราชธานี เป็นต้น โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 64.7 มูลค่าการซื้อขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 ประกอบกับสถาบันการเงินต่าง ๆ เริ่มให้การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในระดับต่ำ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปปี 2543 ของภาคฯ สูงขึ้นร้อยละ 1.3 จากปีก่อนซึ่งสูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 แม้ว่าดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.7 แต่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นที่มิใช่อาหารสูงขึ้นร้อยละ 2.9
สำหรับดัชนีราคาขายส่งปีนี้สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ขณะที่ปีก่อนลดลงร้อยละ 8.5 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมถึงร้อยละ 38.2 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ลดลง
ด้านการจ้างงาน ในปีนี้มีความต้องการแรงงาน 63,701 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 จากปีก่อน โดยมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 16,332 คน ลดลงร้อยละ 27.2 สำหรับแรงงานที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศมี 123,307 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 จากปีก่อน โดยเป็นแรงงานจากจังหวัดอุดรธานีมากที่สุด รองลงมาคือ นครราชสีมา และขอนแก่น ตามลำดับ
ภาคการเงิน ณ สิ้นธันวาคม 2543 การปิดสำนักงานสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำให้จำนวนสาขาธนาคารพาณิชย์ลดลงจาก 525 สำนักงาน เมื่อปีก่อน เหลือเพียง 507 สำนักงาน เงินฝากคงค้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ส่วนสินเชื่อคงค้างลดลงร้อยละ 11.0 อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากร้อยละ 84.1 ธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อรายใหม่
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.7 ร้อยละ 61.1 และร้อยละ 73.2 ตามลำดับ
ด้านเงินโอนของผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาผ่านธนาคารพาณิชย์ในภาคฯปีนี้มีทั้งสิ้น 30,320.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 จากปีก่อน มีเงินโอน 26,940.1 ล้านบาท เนื่องจากมีแรงงานในภาคฯ เดินทางไปทำงานในต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากการสนับสนุนจากภาครัฐและสถาบันการเงิน ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายต่อหัวในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น
การจัดเก็บภาษีอากร ปีนี้ลดลงร้อยละ 25.9 โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตลดลงร้อยละ 41.0 เนื่องจากในปีนี้ผู้รับสัมปทานโรงงานสุรายังไม่ดำเนินการผลิต เนื่องจากมีสินค้าค้างสต็อกอยู่จำนวนมาก ทำให้จัดเก็บภาษีสุราลดลงถึงร้อยละ 46.5 ส่วนการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 84.9 จากการขยายกำลังการผลิตของโรงงานไทยน้ำทิพย์ที่จังหวัดนครราชสีมา ส่วนการจัดเก็บภาษีสรรพากรลดลงเกือบทุกหมวดยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีใหม่รวมทั้งผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่มีลดลงอย่างต่อเนื่อง
มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาว 17,304.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เป็นการนำเข้า 3,582.5 ล้านบาท (ส่วนใหญ่ยังคงเป็นไม้แปรรูป) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53.4 ส่วนการส่งออกลดลงร้อยละ 4.7 เนื่องจากทางการลาวพยายามเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าที่ลาวผลิตได้เองและสินค้าฟุ่มเฟือย
สำหรับปี 2544 ภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าจะยังขยายตัว เนื่องจากยังมีปัจจัยที่สนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ คือ
- ปริมาณผลผลิตภาคการเกษตรจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยในช่วงฤดูการผลิตในปีก่อน- เงินโอนของผู้ไปทำงานต่างประเทศยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากทางการมีนโยบายส่งเสริมการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ และสถาบันการเงินให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อมากขึ้น ประกอบกับในปีก่อนมีผู้เดินทางไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
- รัฐยังดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจ
ส่วนปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง คือ - ราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนของสินค้าต่าง ๆ
- นโยบายการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน
- ทางการลาวมีนโยบายเข้มงวดในการนำเข้าสินค้าที่ลาวผลิตได้เองและสินค้าฟุ่มเฟือย
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจของภาคฯในปี 2544 ยังขึ้นอยู่กับความชัดเจนในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลชุดใหม่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-