หัวเทียน (Sparking Plug) เป็นชิ้นส่วนสำคัญชนิดหนึ่งของระบบเครื่องยนต์ในรถยนต์ ทำหน้าที่ในการจุดระเบิดเครื่องยนต์เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงาน การผลิตหัวเทียนในประเทศไทยส่วนใหญ่ผลิตเพื่อสนองความต้องการใช้ในตลาดทดแทน (Replacement Equipment Market-REM) เป็นหลักคิดเป็นร้อยละ 90 ของความต้องการทั้งหมด ในปี 2543 ความต้องการหัวเทียนในประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มขยายตัวสูงในตลาดทดแทน รวมทั้งตลาดที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ใหม่ด้วย คาดว่าปริมาณการจำหน่ายหัวเทียนในประเทศจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 14.0 ต่อปี เป็น 14.8 ล้านหัว ตามภาวะการผลิต การขนส่ง และการบริการที่ฟื้นตัว โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกปี 2543 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 47 เป็น 154,368 คัน คาดว่าการผลิตทั้งปีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 41 เป็น 450,000 คัน ส่วนปริมาณการนำเข้าหัวเทียนในไตรมาสแรกปี 2543 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39.52 เป็น 1.68 ล้านหัว คาดว่าการนำเข้าทั้งปี 2543 จะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 25.49 เป็น 9.55 ล้านหัว สำหรับด้านการส่งออกมีสัดส่วนการส่งออกเพียงร้อยละ 10 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ทำให้ปริมาณการส่งออกหัวเทียนจึงมีปริมาณต่ำ การส่งออกไตรมาสแรกปี 2543 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.24 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนเป็น 0.27 ล้านหัว คาดว่าการส่งออกหัวเทียนทั้งปี 2543 จะเพิ่มร้อยละ 21.43 เป็น 0.85 ล้านหัว จากภาวะเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนที่ปรับตัวดีขึ้น
ปัจจุบันมีผู้ผลิตและเป็นตัวแทนนำเข้า-ส่งออกหัวเทียนทั้งสิ้น 3 ราย โดยเป็นบริษัทผลิตหัวเทียนโดยตรง 1 ราย และบริษัทที่ผลิตหัวเทียนและผลิตชิ้นส่วนประกอบอื่นๆ ของรถยนต์ด้วย 1 ราย และเป็นตัวแทนนำเข้า-ส่งออก 1 ราย บริษัททั้งสามเป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนกับต่างชาติ แหล่งที่ตั้งโรงงานอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ สมุทรปราการ และชลบุรี มีเงินลงทุนรวม 247.5 ล้านบาท มีจำนวนแรงงานทั้งสิ้น 1,199 คน ช่องทางการจำหน่ายในประเทศมีทั้งจำหน่ายเอง และจำหน่ายให้กับผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และผลิตให้กับผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศ หรือตลาด Original Equipment market -OEM วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ ตัวฉนวน (Insulator) ทำจากเซรามิกอลูมิน่าคุณสมบัติสูง นอกนั้นจะเป็นส่วนประกอบที่ทำจากเหล็กในลักษณะต่างๆ มาประกอบกัน เช่น ขั้ว (Termina) และ ปะเก็นกันรั่ว เป็นต้น ต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบ รองลงมาเป็นค่าแรงงาน และค่าโสหุ้ยการผลิต กรรมวิธีการผลิตใช้ ตัวฉนวน (Insulator) ประกอบกับเหล็กแล้วตอกและทดสอบการรั่วซึม หลังจากนั้นงอเหล็กขั้วไฟฟ้า (Electrodes) และใส่วงแหวนเพื่ออัดข้อต่อให้แน่น
กรณีการลงทุนผลิตหัวเทียนขนาด 10 ล้านหัวต่อปี โดยทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน เงินทุนเริ่มต้นประมาณ 150 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ใช้ในการลงทุนค่าเครื่องจักร รองลงมาได้แก่ ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน สำหรับวัตถุดิบ รองลงมาเป็นค่าแรงและค่าโสหุ้ยการผลิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าไฟฟ้า
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
ปัจจุบันมีผู้ผลิตและเป็นตัวแทนนำเข้า-ส่งออกหัวเทียนทั้งสิ้น 3 ราย โดยเป็นบริษัทผลิตหัวเทียนโดยตรง 1 ราย และบริษัทที่ผลิตหัวเทียนและผลิตชิ้นส่วนประกอบอื่นๆ ของรถยนต์ด้วย 1 ราย และเป็นตัวแทนนำเข้า-ส่งออก 1 ราย บริษัททั้งสามเป็นบริษัทที่ร่วมลงทุนกับต่างชาติ แหล่งที่ตั้งโรงงานอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯ สมุทรปราการ และชลบุรี มีเงินลงทุนรวม 247.5 ล้านบาท มีจำนวนแรงงานทั้งสิ้น 1,199 คน ช่องทางการจำหน่ายในประเทศมีทั้งจำหน่ายเอง และจำหน่ายให้กับผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก และผลิตให้กับผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศ หรือตลาด Original Equipment market -OEM วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ ตัวฉนวน (Insulator) ทำจากเซรามิกอลูมิน่าคุณสมบัติสูง นอกนั้นจะเป็นส่วนประกอบที่ทำจากเหล็กในลักษณะต่างๆ มาประกอบกัน เช่น ขั้ว (Termina) และ ปะเก็นกันรั่ว เป็นต้น ต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบ รองลงมาเป็นค่าแรงงาน และค่าโสหุ้ยการผลิต กรรมวิธีการผลิตใช้ ตัวฉนวน (Insulator) ประกอบกับเหล็กแล้วตอกและทดสอบการรั่วซึม หลังจากนั้นงอเหล็กขั้วไฟฟ้า (Electrodes) และใส่วงแหวนเพื่ออัดข้อต่อให้แน่น
กรณีการลงทุนผลิตหัวเทียนขนาด 10 ล้านหัวต่อปี โดยทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน เงินทุนเริ่มต้นประมาณ 150 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ใช้ในการลงทุนค่าเครื่องจักร รองลงมาได้แก่ ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ส่วนที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน สำหรับวัตถุดิบ รองลงมาเป็นค่าแรงและค่าโสหุ้ยการผลิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าไฟฟ้า
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--