สรุปผลการหารือทวิภาคีระหว่าง ดร. อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กับ นาย Kimmo Sasi รัฐมนตรีการค้าต่างประเทศของฟินแลนด์ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2544 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม
ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซม ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2544 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศฟินแลนด์ (Kimmo Sasi) สรุปผลการหารือ ดังนี้
ฟินแลนด์แสดงความสนใจที่จะส่งคณะผู้แทนการค้าเดินทางมาประเทศไทย จึงขอทราบสถานะเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล เพื่อประกอบการพิจารณาจัดส่งคณะผู้แทน โดยฟินแลนด์พิจารณาเห็นว่า ไทยเป็นคู่ค้าสำคัญในอาเซียน และมีศักยภาพในด้านการลงทุนและการท่องเที่ยว
ฝ่ายไทยได้ชี้แจงภาวะเศรษฐกิจว่า ในช่วงปี 2544 มีอัตราการเจริญเติบโตลดลง เนื่องจากผลกระทบจากการปรับตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯและญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดสำคัญ รัฐบาลได้ใช้นโยบายการเงินการคลัง รวมทั้งมาตรการทางสังคม เพื่อเพิ่มการใช้จ่ายและเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาสถาบันการเงินและ NPL เพื่อให้การปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจคล่องตัวขึ้น
ฟินแลนด์ขอทราบท่าทีไทยและอาเซียนต่อการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ ซึ่งไทยได้ชี้แจงว่า ไทยสนับสนุนการเจรจาการค้ารอบใหม่ และให้ความเห็นว่า การที่จะให้การเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่กระทำได้ ยุโรปควรให้ความสำคัญในเรื่องการเปิดเสรีสินค้าเกษตรเพื่อช่วยให้ราคาสินค้าเกษตรในโลกสูงขึ้น และเรื่องการปฏิบัติตามพันธกรณี (implementation) ตามที่ประเทศกำลังพัฒนาเรียกร้อง ฟินแลนด์ให้ความเห็นว่า ถ้าไม่มีการเจรจาการค้ารอบใหม่ จะมีผลทำให้ความเชื่อมั่นในระบบการค้าพหุภาคีลดลง และจะทำให้ประเทศต่างๆหันไปหาทางแก้ไขปัญหาของตนเอง
ในโอกาสนี้ ฝ่ายไทยได้ยื่นบันทึกช่วยจำ (Aide Memoire) เพื่อนำเสนอข้อเสนอเรื่อง Donor Country Content ในโครงการ GSP ใหม่ของ EU โดยขอให้ฟินแลนด์ในฐานะสมาชิก EU สนับสนุนให้สินค้าปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งมีอัตราภาษีสูงได้รับสิทธิ GSP ในอัตรา 0% ในกรณีที่สินค้าปลาทูน่ากระป๋องมีมูลค่าที่เป็นส่วนของ EU เกินกว่าร้อยละ 50
นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังได้ยื่นเอกสารขอรับความช่วยเหลือจาก EU ในการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากร ผู้ประกอบการ โรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับและปฏิบัติการให้สอดคล้องกับนโยบายความปลอดภัยด้านอาหารของ EU ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซม ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2544 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้พบหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศฟินแลนด์ (Kimmo Sasi) สรุปผลการหารือ ดังนี้
ฟินแลนด์แสดงความสนใจที่จะส่งคณะผู้แทนการค้าเดินทางมาประเทศไทย จึงขอทราบสถานะเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล เพื่อประกอบการพิจารณาจัดส่งคณะผู้แทน โดยฟินแลนด์พิจารณาเห็นว่า ไทยเป็นคู่ค้าสำคัญในอาเซียน และมีศักยภาพในด้านการลงทุนและการท่องเที่ยว
ฝ่ายไทยได้ชี้แจงภาวะเศรษฐกิจว่า ในช่วงปี 2544 มีอัตราการเจริญเติบโตลดลง เนื่องจากผลกระทบจากการปรับตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯและญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดสำคัญ รัฐบาลได้ใช้นโยบายการเงินการคลัง รวมทั้งมาตรการทางสังคม เพื่อเพิ่มการใช้จ่ายและเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาสถาบันการเงินและ NPL เพื่อให้การปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจคล่องตัวขึ้น
ฟินแลนด์ขอทราบท่าทีไทยและอาเซียนต่อการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ ซึ่งไทยได้ชี้แจงว่า ไทยสนับสนุนการเจรจาการค้ารอบใหม่ และให้ความเห็นว่า การที่จะให้การเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่กระทำได้ ยุโรปควรให้ความสำคัญในเรื่องการเปิดเสรีสินค้าเกษตรเพื่อช่วยให้ราคาสินค้าเกษตรในโลกสูงขึ้น และเรื่องการปฏิบัติตามพันธกรณี (implementation) ตามที่ประเทศกำลังพัฒนาเรียกร้อง ฟินแลนด์ให้ความเห็นว่า ถ้าไม่มีการเจรจาการค้ารอบใหม่ จะมีผลทำให้ความเชื่อมั่นในระบบการค้าพหุภาคีลดลง และจะทำให้ประเทศต่างๆหันไปหาทางแก้ไขปัญหาของตนเอง
ในโอกาสนี้ ฝ่ายไทยได้ยื่นบันทึกช่วยจำ (Aide Memoire) เพื่อนำเสนอข้อเสนอเรื่อง Donor Country Content ในโครงการ GSP ใหม่ของ EU โดยขอให้ฟินแลนด์ในฐานะสมาชิก EU สนับสนุนให้สินค้าปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งมีอัตราภาษีสูงได้รับสิทธิ GSP ในอัตรา 0% ในกรณีที่สินค้าปลาทูน่ากระป๋องมีมูลค่าที่เป็นส่วนของ EU เกินกว่าร้อยละ 50
นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังได้ยื่นเอกสารขอรับความช่วยเหลือจาก EU ในการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากร ผู้ประกอบการ โรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับและปฏิบัติการให้สอดคล้องกับนโยบายความปลอดภัยด้านอาหารของ EU ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปีหน้า
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-