กรุงเทพฯ--12 ธ.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
การประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN-Republic of Korea Summit) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ร่วมกับผู้นำอาเซียนหารือกับประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเกาหลี (H.E. Mr. Kim Dae Jung)
ผลการหารือในการกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี มีสาระสำคัญดังนี้
สาธารณรัฐเกาหลี อาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลีมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้ามากว่า 10 ปี การค้าระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลีในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจมีมูลค่าลดลง แต่ปี 2542 การค้าระหว่างกันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และสาธารณรัฐเกาหลีเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 4 ของอาเซียน ต้องการเห็นการค้าระหว่างกันในลักษณะสมดุลขึ้น และหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อพัฒนาความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนในอนาคต เช่น
ความร่วมมือด้านการค้า สาธารณรัฐเกาหลีได้ลดภาษีสินค้าเกษตรหลายรายการ ยกเลิกภาษีสินค้ายางพาราและได้ร่นระยะเวลาการกักกันสินค้านำเข้าสาธารณรัฐเกาหลีรวมทั้งจะหาทางให้เอกชนนำเข้าสินค้าจากอาเซียนเพิ่มขึ้น ภูมิภาคเอเซียตะวันออกจะเป็นขั้วสำคัญ นอกจากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ความร่วมมือกับอาเซียนในการตั้งเขตการค้าในเอเซียตะวันออก จะต้องร่วมมือกันทั้งด้านการผลิต และด้าน IT
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณรัฐเกาหลีให้เงินทุนจำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐ เข้ากองทุนความร่วมมืออาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ในปี 2544 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และส่งเสริมด้านวัฒธรรม เช่น การฝึกอบรมวิชาชีพแก่คนตกงาน จัดหางานที่มีรายได้สูงมากขึ้น ฝึกอบรมด้าน IT ส่งผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำด้านการพัฒนามาตรฐานอาเซียนเข้าสู่ระบบสากล เป็นต้น
เสนอแผนป้องกันมิให้เกิดวิกฤตการณ์การเงินซ้ำอีก
การพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การพยายามช่วยเหลือโครงการต่างๆ ของอาเซียน โดยวางแผนการดำเนินงานให้ชัดเจน
แผนปฏิบัติการสนับสนุนความร่วมมือในเอเซียตะวันออก เสนอให้ตั้งคณะทำงาน (East Asia Study Group) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการตามข้อเสนอของกลุ่มวิสัยทัศน์ในเอเซียตะวันออก และรายงานผลต่อที่ประชุม
อาเซียน กล่าวยินดีต่อข้อเสนอของสาธารณรัฐเกาหลี และขอบคุณสาธารณรัฐเกาหลีที่ให้ความสนใจต่ออาเซียน แนวทางที่จะทำให้อาเซียน จะได้รับประโยชน์จากความร่วมมือกับสาธารณรัฐเกาหลี จะต้องมีการปฏิบัติจริง เช่น
- ขอให้สาธารณรัฐเกาหลีลดภาษีสินค้าที่ยังสูงอยู่ และเปิดตลาดสินค้าเกษตรแก่อาเซียนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการขาดดุลการค้าของอาเซียนในระดับหนึ่ง
- ความช่วยเหลือด้านฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นกลุ่มเยาวชน จะเป็นการสร้างพื้นฐานในการกระชับความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนร่วมกันต่อไป
- สนับสนุนแผนป้องกันมิให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจอีก โดยเห็นควรตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อศึกษาต้นเหตุของปัญหาวิกฤตการณ์การเงิน และมาตรการป้องกันมิให้เกิดวิกฤติซ้ำอีก
- อาเซียนจะเสนอแผนงานจัดลำดับความสำคัญของโครงการภายใต้ลุ่มน้ำโขง เพื่อเสนอให้สาธารณรัฐเกาหลีให้การสนับสนุนต่อไป
ที่ประชุมตกลงให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลีครั้งต่อไป ในเดือนพฤศจิกายน 2544 ณ ประเทศบรูไน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
การประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำสาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN-Republic of Korea Summit) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ร่วมกับผู้นำอาเซียนหารือกับประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเกาหลี (H.E. Mr. Kim Dae Jung)
ผลการหารือในการกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี มีสาระสำคัญดังนี้
สาธารณรัฐเกาหลี อาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลีมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้ามากว่า 10 ปี การค้าระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลีในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจมีมูลค่าลดลง แต่ปี 2542 การค้าระหว่างกันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และสาธารณรัฐเกาหลีเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 4 ของอาเซียน ต้องการเห็นการค้าระหว่างกันในลักษณะสมดุลขึ้น และหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อพัฒนาความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนในอนาคต เช่น
ความร่วมมือด้านการค้า สาธารณรัฐเกาหลีได้ลดภาษีสินค้าเกษตรหลายรายการ ยกเลิกภาษีสินค้ายางพาราและได้ร่นระยะเวลาการกักกันสินค้านำเข้าสาธารณรัฐเกาหลีรวมทั้งจะหาทางให้เอกชนนำเข้าสินค้าจากอาเซียนเพิ่มขึ้น ภูมิภาคเอเซียตะวันออกจะเป็นขั้วสำคัญ นอกจากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ความร่วมมือกับอาเซียนในการตั้งเขตการค้าในเอเซียตะวันออก จะต้องร่วมมือกันทั้งด้านการผลิต และด้าน IT
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณรัฐเกาหลีให้เงินทุนจำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐ เข้ากองทุนความร่วมมืออาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ในปี 2544 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และส่งเสริมด้านวัฒธรรม เช่น การฝึกอบรมวิชาชีพแก่คนตกงาน จัดหางานที่มีรายได้สูงมากขึ้น ฝึกอบรมด้าน IT ส่งผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำด้านการพัฒนามาตรฐานอาเซียนเข้าสู่ระบบสากล เป็นต้น
เสนอแผนป้องกันมิให้เกิดวิกฤตการณ์การเงินซ้ำอีก
การพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง การพยายามช่วยเหลือโครงการต่างๆ ของอาเซียน โดยวางแผนการดำเนินงานให้ชัดเจน
แผนปฏิบัติการสนับสนุนความร่วมมือในเอเซียตะวันออก เสนอให้ตั้งคณะทำงาน (East Asia Study Group) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการตามข้อเสนอของกลุ่มวิสัยทัศน์ในเอเซียตะวันออก และรายงานผลต่อที่ประชุม
อาเซียน กล่าวยินดีต่อข้อเสนอของสาธารณรัฐเกาหลี และขอบคุณสาธารณรัฐเกาหลีที่ให้ความสนใจต่ออาเซียน แนวทางที่จะทำให้อาเซียน จะได้รับประโยชน์จากความร่วมมือกับสาธารณรัฐเกาหลี จะต้องมีการปฏิบัติจริง เช่น
- ขอให้สาธารณรัฐเกาหลีลดภาษีสินค้าที่ยังสูงอยู่ และเปิดตลาดสินค้าเกษตรแก่อาเซียนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการขาดดุลการค้าของอาเซียนในระดับหนึ่ง
- ความช่วยเหลือด้านฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นกลุ่มเยาวชน จะเป็นการสร้างพื้นฐานในการกระชับความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนร่วมกันต่อไป
- สนับสนุนแผนป้องกันมิให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจอีก โดยเห็นควรตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญเพื่อศึกษาต้นเหตุของปัญหาวิกฤตการณ์การเงิน และมาตรการป้องกันมิให้เกิดวิกฤติซ้ำอีก
- อาเซียนจะเสนอแผนงานจัดลำดับความสำคัญของโครงการภายใต้ลุ่มน้ำโขง เพื่อเสนอให้สาธารณรัฐเกาหลีให้การสนับสนุนต่อไป
ที่ประชุมตกลงให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลีครั้งต่อไป ในเดือนพฤศจิกายน 2544 ณ ประเทศบรูไน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-