องค์การการค้าโลกมุ่งเน้นให้การค้าสากลเป็นไปอย่างไร้พรหมแดน มีความโปร่งใสและแข่งขันกันอย่างเสรีโดยอยู่บนพื้นฐานความชอบธรรม จึงได้กำหนดความตกลงที่เกี่ยวข้องกับกติกาสากลด้านมาตรฐาน 2 ฉบับ คือ
(1) ความตกลงด้านอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Technical Barriers to Trade-TBT) ซึ่งมีขอบข่ายครอบคลุมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร (ยกเว้นด้านสุขอนามัย)
(2) ความตกลงด้านมาตรการสุขอนามัยคน สัตว์ และพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS) ซึ่งมีขอบข่ายครอบคลุมสุขอนามัยด้านอาหารคน สัตว์ และพืช
ความตกลง 2 ฉบับนี้ ประเทศสมาชิกรวมทั้งประเทศไทย ต้องยึดถือปฏิบัติตามกรอบที่กำหนด
กติกาสากลด้านมาตรฐาน
องค์การการค้าโลกได้กำหนดกติกาด้านมาตรฐานให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติ ดังนี้
(1) ใช้มาตรฐานสากล
(2) มีความโปร่งใส
(3) ปฎิบัติเสมอภาค
(4) ยอมรับผลตรวจสอบรับรองซึ่งกันและกัน
การบังคับมาตรฐานที่ถือว่า "ชอบธรรม" จะต้องกระทำเพื่อ
(1) ความปลอดภัย
(2) สุขอนามัย
(3) การรักษาสิ่งแวดล้อม
(4) การคุ้มครองผู้บริโภค
(5) ความมั่นคงของประเทศ
ดังนั้น การบังคับมาตรฐานของประเทศสมาชิกจะต้องอยู่ในกรอบที่กล่าวมาทุกกรณีจึงจะถือว่าเป็นการบังคับที่ชอบธรรมตามความตกลง TBT และ SPS
ความสัมพันธ์ขององค์การการค้าโลกกับองค์กรมาตรฐานสากล
ตามกรอบความตกลงทั้งสองฉบับกำหนดให้ประเทศสมาชิกใช้มาตรฐานสากล ปัจจุบันมาตรฐานขององค์กรสากลที่มีบทบาทเกี่ยวพันกับความตกลงขององค์การการค้าโลกมี 3 ประเภทได้แก่
1) มาตรฐาน ISO (ISO เป็นชื่อขององค์กร มาจากภาษากรีก แปลว่า "เท่าเทียมกัน") ซึ่งมีขอบข่ายครอบคลุมทุกสาขา ยกเว้นไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร
2) มาตรฐาน IEC (International Electrotechnical Commission) มีขอบข่ายครอบคลุมเฉพาะไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
3) มาตรฐาน Codex (Codex Alimentarius-Food Code) ซึ่งเป็นโครงการร่วมด้านมาตรฐานเฉพาะด้านอาหารของ FAO และ WTO
ประเทศไทย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้เป็นสมาชิกของทั้ง 3 องค์กร และรับมาตรฐานของทั้ง 3 องค์กรมาใช้เป็นมาตรฐานของประเทศเพื่อเป็นแนวทางในการผลิตของภาคเอกชนเพื่อการแข่งขันในเวทีโลก
เงื่อนไขทางการค้า
ทุกประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลกต้องปฏิบัติตามกรอบกติกาของความตกลง TBT และ SPS รวมทั้งประเทศไทย มาตรฐานจึงได้กลายเป็นเงื่อนไขที่สำคัญทางการค้า ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่เกื้อหนุนการรักษาหรือขยายตลาดหรืออาจจะเป็นอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าได้เช่นกัน หากภาคเอกชนไม่เตรียมตัวให้พร้อม
เงื่อนไขทางการค้าด้านมาตรฐานที่เด่นชัด ในปัจจุบันและอนาคตสรุปได้ดังนี้
1) ด้านคุณภาพ ISO 9000 หรือระบบคุณภาพจะเป็นเงื่อนไขหลักในการให้หลักประกันด้านคุณภาพ
2) ด้านสุขอนามัย (Sanitary) ระบบสุขอนามัยหรือ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) จะเป็นเงื่อนไขสำคัญด้านความปลอดภัย (Safety) ของสินค้าอาหาร
3) ด้านสิ่งแวดล้อม เงื่อนไขด้านนี้จะมี 3 ส่วน คือ
- ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System) ในโรงงานหรือ ISO 14000
- ฉลากสิ่งแวดล้อม (Eco-label) เพื่อแสดงว่าสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเทศไทยมี "ฉลากเขียว"
- การรับรองการจัดการป่า (Sustainable Forestry Management System) เพื่อแสดงว่าวัตถุดิบมาจากป่าที่มีการปลูกป่าทดแทน เช่น เครื่องเรือน ผลิตภัณฑ์กระดาษ สำหรับประเทศไทยได้เตรียมการโดยเร่งกำหนดมาตรฐาน มอก. 14061 เพื่อให้ภาคเอกชนได้เตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ
4) ด้านแรงงาน ส่วนที่จะเกี่ยวข้องกับมาตรฐานคือ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของคนงาน (Occupational Health and Safety-OHS) ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศมาตรฐาน มอก. 18001 เพื่อการเตรียมตัวของภาคอุตสาหกรรมเช่นกัน
5) ด้านการทดสอบ การได้รับการรับรองของห้องทดสอบภาคเอกชนตามมาตรฐาน ISO/IEC Guide 25 เป็นหลักประกันให้ประเทศคู่ค้ายอมรับผลการทดสอบ
การนำระบบมาตรฐานสากลมาใช้ นอกจากจะช่วยให้ผู้ส่งออกมีระบบการจัดการที่ดี ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนแล้วยังเป็นการสร้างให้บุคลากรมีระเบียบวินัย ทำงานอย่างเป็นระบบมีคุณภาพและประสิทธิภาพรวมทั้งก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีม และมีการประสานงานที่ดีอีกด้วย
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 6 ฉบับ 2 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2543--
(1) ความตกลงด้านอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Technical Barriers to Trade-TBT) ซึ่งมีขอบข่ายครอบคลุมทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร (ยกเว้นด้านสุขอนามัย)
(2) ความตกลงด้านมาตรการสุขอนามัยคน สัตว์ และพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures-SPS) ซึ่งมีขอบข่ายครอบคลุมสุขอนามัยด้านอาหารคน สัตว์ และพืช
ความตกลง 2 ฉบับนี้ ประเทศสมาชิกรวมทั้งประเทศไทย ต้องยึดถือปฏิบัติตามกรอบที่กำหนด
กติกาสากลด้านมาตรฐาน
องค์การการค้าโลกได้กำหนดกติกาด้านมาตรฐานให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติ ดังนี้
(1) ใช้มาตรฐานสากล
(2) มีความโปร่งใส
(3) ปฎิบัติเสมอภาค
(4) ยอมรับผลตรวจสอบรับรองซึ่งกันและกัน
การบังคับมาตรฐานที่ถือว่า "ชอบธรรม" จะต้องกระทำเพื่อ
(1) ความปลอดภัย
(2) สุขอนามัย
(3) การรักษาสิ่งแวดล้อม
(4) การคุ้มครองผู้บริโภค
(5) ความมั่นคงของประเทศ
ดังนั้น การบังคับมาตรฐานของประเทศสมาชิกจะต้องอยู่ในกรอบที่กล่าวมาทุกกรณีจึงจะถือว่าเป็นการบังคับที่ชอบธรรมตามความตกลง TBT และ SPS
ความสัมพันธ์ขององค์การการค้าโลกกับองค์กรมาตรฐานสากล
ตามกรอบความตกลงทั้งสองฉบับกำหนดให้ประเทศสมาชิกใช้มาตรฐานสากล ปัจจุบันมาตรฐานขององค์กรสากลที่มีบทบาทเกี่ยวพันกับความตกลงขององค์การการค้าโลกมี 3 ประเภทได้แก่
1) มาตรฐาน ISO (ISO เป็นชื่อขององค์กร มาจากภาษากรีก แปลว่า "เท่าเทียมกัน") ซึ่งมีขอบข่ายครอบคลุมทุกสาขา ยกเว้นไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร
2) มาตรฐาน IEC (International Electrotechnical Commission) มีขอบข่ายครอบคลุมเฉพาะไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
3) มาตรฐาน Codex (Codex Alimentarius-Food Code) ซึ่งเป็นโครงการร่วมด้านมาตรฐานเฉพาะด้านอาหารของ FAO และ WTO
ประเทศไทย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้เป็นสมาชิกของทั้ง 3 องค์กร และรับมาตรฐานของทั้ง 3 องค์กรมาใช้เป็นมาตรฐานของประเทศเพื่อเป็นแนวทางในการผลิตของภาคเอกชนเพื่อการแข่งขันในเวทีโลก
เงื่อนไขทางการค้า
ทุกประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลกต้องปฏิบัติตามกรอบกติกาของความตกลง TBT และ SPS รวมทั้งประเทศไทย มาตรฐานจึงได้กลายเป็นเงื่อนไขที่สำคัญทางการค้า ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่เกื้อหนุนการรักษาหรือขยายตลาดหรืออาจจะเป็นอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าได้เช่นกัน หากภาคเอกชนไม่เตรียมตัวให้พร้อม
เงื่อนไขทางการค้าด้านมาตรฐานที่เด่นชัด ในปัจจุบันและอนาคตสรุปได้ดังนี้
1) ด้านคุณภาพ ISO 9000 หรือระบบคุณภาพจะเป็นเงื่อนไขหลักในการให้หลักประกันด้านคุณภาพ
2) ด้านสุขอนามัย (Sanitary) ระบบสุขอนามัยหรือ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point) จะเป็นเงื่อนไขสำคัญด้านความปลอดภัย (Safety) ของสินค้าอาหาร
3) ด้านสิ่งแวดล้อม เงื่อนไขด้านนี้จะมี 3 ส่วน คือ
- ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System) ในโรงงานหรือ ISO 14000
- ฉลากสิ่งแวดล้อม (Eco-label) เพื่อแสดงว่าสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเทศไทยมี "ฉลากเขียว"
- การรับรองการจัดการป่า (Sustainable Forestry Management System) เพื่อแสดงว่าวัตถุดิบมาจากป่าที่มีการปลูกป่าทดแทน เช่น เครื่องเรือน ผลิตภัณฑ์กระดาษ สำหรับประเทศไทยได้เตรียมการโดยเร่งกำหนดมาตรฐาน มอก. 14061 เพื่อให้ภาคเอกชนได้เตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ
4) ด้านแรงงาน ส่วนที่จะเกี่ยวข้องกับมาตรฐานคือ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของคนงาน (Occupational Health and Safety-OHS) ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศมาตรฐาน มอก. 18001 เพื่อการเตรียมตัวของภาคอุตสาหกรรมเช่นกัน
5) ด้านการทดสอบ การได้รับการรับรองของห้องทดสอบภาคเอกชนตามมาตรฐาน ISO/IEC Guide 25 เป็นหลักประกันให้ประเทศคู่ค้ายอมรับผลการทดสอบ
การนำระบบมาตรฐานสากลมาใช้ นอกจากจะช่วยให้ผู้ส่งออกมีระบบการจัดการที่ดี ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนแล้วยังเป็นการสร้างให้บุคลากรมีระเบียบวินัย ทำงานอย่างเป็นระบบมีคุณภาพและประสิทธิภาพรวมทั้งก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีม และมีการประสานงานที่ดีอีกด้วย
--Exim News, ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, ปีที่ 6 ฉบับ 2 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2543--