สาธารณรัฐโมซัมบิก
สภาวะทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากต้องประสบภาวะสงครามกลางเมืองมานานกว่า 16 ปี โมซัมบิกจึงเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบภาวะความยากจนมากที่สุดของแอฟริกา (รายได้ต่อหัวในปี 2540 เท่ากับ 98 เหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น) รัฐบาลต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างประเทศโดยผ่านองค์กรความช่วยเหลือและการเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา (African Development Bank - ADB) สหภาพยุโรป และประเทศอื่น ๆ เนื่องจากรายรับที่รัฐจัดเก็บได้ไม่สมดุลกับรายจ่ายของประเทศ ซึ่งยังผลให้รัฐบาลต้องนำเอามาตรการทางเศรษฐกิจที่เข้มงวดต่าง ๆ มาใช้ เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของภาคเอกชนและการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ตามข้อแม้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศก่อนที่จะให้ความช่วยเหลือใด ๆ ซึ่งก็ยังผลให้เกิดสภาวะว่างงานตามมา
- หลังจากการเลือกตั้ง สิ่งที่รัฐบาลใหม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาประชาคม คือ การฟื้นฟูบูรณะประเทศ การส่งเสริมการลงทุน การดำเนินนโยบายตลาดเสรีและปรับปรุงสาธารณสุขและการศึกษา ซึ่งจะต้องใช้ความพยายามอย่างมาก โมซัมบิกเป็นประเทศที่ถูกทำลายโดยสงครามกลางเมืองส่งผลให้กลายเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งในบรรดาสิบประเทศที่ยากจนที่สุดของโลก การฝังกับระเบิดจำนวนมากในพื้นที่เพาะปลูกของประเทศ ทำให้ไม่มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างเต็มที่
- โมซัมบิกเป็นประเทศเกษตรกรรม (60% ของแรงงานทั้งหมดอยู่ในภาคเกษตร) แต่กำลังมีการพัฒนาทางด้านการประมงและการท่องเที่ยวตามชายฝั่งทะเล
- เป็นประเทศที่เป็นทางผ่านของสินค้าเข้า-ออกของประเทศที่ไร้ฝั่งทะเล คือ มาลาวี, ซิมบับเว, แซมเบีย และสวาซิแลนด์ สำหรับกรุง Maputo นั้น นอกจากจะเป็นเมืองหลวงแล้วยังเป็นเมืองท่าที่สำคัญบนฝั่งมหาสมุทรอินเดียและเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าสู่ประเทศสวาซีแลนด์ ซิมบับเว กรุง Pretoria และเมือง Johannesburg ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้อีกด้วย เมืองท่าที่สำคัญอื่น ได้แก่ Beira และ Nacala นอกจากนี้ รัฐบาลโมซัมบิกได้ออกกฎหมายจัดตั้ง Maputo Beira และ Nacala เป็นเขตการค้าเสรี
- โมซัมบิกกำลังปฏิรูปเศรษฐกิจเป็นการค้าเสรี รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากเงินช่วยเหลือจากต่างประ-เทศ และจากประเทศที่ดำเนินโครงการต่าง ๆ โดยรัฐบาลใช้วิธีเปิดประมูลแก่บริษัทจากทุกประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายปฏิรูปกิจการของรัฐให้เอกชน โครงการต่าง ๆ โดยรัฐบาลใช้วิธีประมูลแก่บริษัทจากทุกประเทศ เช่น
- สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ ฝ้าย ชา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กุ้ง น้ำตาลทราย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ (ผลิตได้ประมาณ 300 ก.ก./ปี) ถ่านหิน อัญมณี หินอ่อน ดีบุก Asbestos ก๊าซธรรมชาติ ประเทศคู่ค้าการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สเปน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น โปรตุเกส และยุโรปตะวันออก
- สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการอุตสาหกรรม อะไหล่เครื่องยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ อาหาร เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยา ประเทศคู่ค้าการนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ อิตาลี สหรัฐฯ ฝรั่งเศส โปรตุเกส
- รัฐบาลเชิญชวนต่างประเทศไปลงทุนในโมซัมบิก และได้ออกกฎหมายให้ต่างชาติลงทุนได้โดยเสรี ทำให้บริษัทต่างชาติจำนวนมากเข้าไปลงทุน เช่น แอฟริกาใต้ บราซิล อังกฤษ สหรัฐฯ อิตาลี และประเทศในประชาคมยุโรปสภาวะเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน
สภาวะเศรษฐกิจ
- สภาวะเศรษฐกิจในปี 2539 ของโมซัมบิกมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อรัฐบาลสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ประมาณร้อยละ 15 (จากเดิมร้อยละ 50) ตามที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนด อีกทั้งการเก็บเกี่ยวที่ได้ผลดีก็ทำให้ราคาพืชผลต่ำลง รวมทั้งค่าเงิน Rand ของแอฟริกาใต้มีค่าลดลงเมื่อเทียบกับเงิน Metical ของโมซัมบิก จึงทำให้โมซัมบิกนำเข้าสินค้าจากแอฟริกาใต้ได้มากขึ้นอีกด้วย (โมซัมบิกนำเข้าสินค้าจากแอฟริกาใต้ประมาณร้อยละ 60 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด) นอกจากนั้น มาตรการทางการเงินที่เคร่งครัดก็ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยรวมของโมซัมบิกให้กระเตื้องขึ้นอีกด้วย
การลงทุน
- ศูนย์ส่งเสริมการลงทุน (Investment Promotion Centre) ของโมซัมบิกเปิดเผยตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศในโมซัมบิกว่า ในปี 2539 การลงทุนจากต่างประเทศ (Direct Foreign Investment) คิดเป็นมูลค่า 450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2538 ในอัตราร้อยละ 24.7 โดยแยกเป็นการลงทุนด้านการเกษตรในอัตราร้อยละ 50 ของเงินลงทุนทั้งหมด ที่เหลือเป็นการลงทุนด้านการขนส่ง การสื่อสาร น้ำมัน และก๊าซ
- โปรตุเกสและแอฟริกาใต้เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในโมซัมบิก โดยโปรตุเกสลงทุนใน 135 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่แอฟริกาใต้ลงทุนคิดเป็นมูลค่า 74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน 110 โครงการ ผู้ลงทุนรายอื่น ๆ มาจากอังกฤษ (38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ฮ่องกงและเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ได้มีการคาดการณ์ว่าในปี 2540 การลงทุนจากต่างประเทศในโมซัมบิกจะมีมูลค่าประมาณ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของเอกชน
การปฏิรูปทางเศรษฐกิจทำให้รัฐวิสาหกิจที่แปรรูปเป็นของเอกชนมีบทบาทช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น โดยการเร่งผลผลิต การชำระภาษี รวมทั้งรักษาตำแหน่งงานที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างตำแหน่งงานใหม่ ๆ ขึ้นด้วย รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลให้เอกชนเข้ามาลงทุน ได้แก่ ธุรกิจธนาคารและการบริหารงานศุลกากร
โมซัมบิกกับ SADC และ COMESA
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2539 นาย Leonardo SIMAO รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโมซัมบิกได้ประกาศว่า โมซัมบิกจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและตอนใต้ (Common Market for Easern and Southern Africa-COMESA) ซึ่งมีสมาชิกรวม 19 ประเทศ (นอกเหนือจากโมซัมบิก) คือ อังโกลา บุรุนดี คอโมโรส เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา เลโซโธ แซมเบีย และซิมบับเว เนื่องจากความร่วมมือระหว่างโมซัมบิกกับประเทศต่าง ๆ ในองค์การดังกล่าวมีน้อยมาก และในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้ปรากฎชัดว่าโมซัมบิกมีผลประโยชน์เร่งด่วนกับประชาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development Community - SADC) มากกว่ากับ COMESA
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-โมซัมบิก
ด้านการทูต
- มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2532 และฝ่ายไทยได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียเป็นเอกอัครราชทูตประจำโมซัมบิกอีกตำแหน่งหนึ่ง
- ฝ่ายโมซัมบิกได้แจ้งความประสงค์ที่จะเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์โมซัมบิกประจำประเทศไทย และขณะนี้อยู่ระหว่างสรรหาบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งดังกล่าว
ด้านการค้า
- สินค้าที่ไทยส่งไปขายโมซัมบิก ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ข้าว น้ำตาล ผ้าผืน รองเท้าและชิ้นส่วน ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากโมซัมบิก ได้แก่ เสื้อใยใช้ในการทอ สินแร่โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ แร่ดิบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เพชร พลอย อัญมณี
- ในปี 2534 โมซัมบิกนำสินค้าเข้าจากไทยมากที่สุดในแอฟริกาตะวันออกและใต้
- โมซัมบิกเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับการนำเข้าสินค้าไทย เนื่องจากโมซัมบิกต้องนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นจำนวนมาก
ด้านวิชาการ
- รัฐบาลไทยได้เสนอให้ความร่วมมือทางวิชาการกับสาธารณรัฐโมซัมบิก และได้มีการแจ้งเวียนทุนฝึกอบรม/ดูงานหลักสูตรต่าง ๆ (Group Training Course) ให้สาธารณรัฐโมซัมบิกทราบเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2536, 2537 โมซัมบิกได้พิจารณาจัดส่งเจ้าหน้าที่มาเข้ารับการฝึกอบรม/ดูงานในหลักสูตรดังกล่าว
ปัญหาการค้าการลงทุน
- รัฐบาลไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่จะให้ในรูปของสัมปทานที่มีอายุ 50 ปี
- มีปัญหาเรื่องของความโปร่งใสในขบวนการดำเนินงานของรัฐบาล
- ระบบตุลาการในโมซัมบิกหย่อนประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการค้า
โอกาส
- รัฐบาลโมซัมบิกปฏิบัติต่อนักลงทุนชาวต่างชาติเท่าเทียมกับนักลงทุนชาวโมซัมบิก
- กฎหมายให้การรับประกันความปลอดภัยในเรื่องของสิทธิในทรัพย์สิน
- นักลงทุนต่างชาติสามารถส่งผลกำไรจากการประกอบการกลับประเทศได้
- การเมืองมีเสถียรภาพอยู่ในขั้นดี และไม่มีเหตุการณ์รุนแรงภายในประเทศสืบเนื่องมาจากความวุ่นวายทางการเมือง
(ที่มา : กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ)
สาธารณรัฐมาดากัสการ์
มาดากัสการ์ปรากฎหลักฐานว่ามีคนอาศัยมาเป็นเวลา 200 ปีแล้ว และต่อมามีคนเชื้อสายแอฟริกาและอินโดนีเซียมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนี้ในศตวรรษที่ 16 ภายใต้การนำของ Diego Diaz นักบุกเบิกชาวโปรตุเกส ดินแดนในเกาะมาดากัสการ์รวมตัวกันภายใต้ระบอบกษัตริย์ในช่วงปี 2340 - 2404 (1797 - 1861) แต่ฝรั่งเศสได้เข้าอ้างสิทธิ์ในการปกครองในปี 2438 (1895) และต่อมาในปี 2439 (1896) ระบอบกษัตริย์ได้ถูกทำลาย ซึ่งยังผลให้มาดากัสการ์ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2439 (1896) และต่อมาในปี 2501 มีการลงประชามติประกาศให้สาธารณรัฐมาลากาซีมีอำนาจปกครองตนเองในประชาคมฝรั่งเศส และได้รับเอกราชอย่างแท้จริง เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2503 (1960)
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2518 (1975) พันเอก Richard Ratsimandrava ซึ่งเป็นประมุขของประเทศถูกลอบสังหาร จึงได้มีการจัดตั้งกองบัญชาการทหารแห่งชาติ และได้โอนอำนาจให้แก่สภาปฏิวัติสูงสุด ภายใต้การนำของนาย Didicr Ratsiraka ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2518 ที่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ตั้งแต่ปี 2523 (1980) เป็นต้นมา มาดากัสการ์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง ซึ่งก่อให้เกิดการขาดเสถียรภาพทางการเมือง การขาดแคลนอาหารทำให้มีการก่อความไม่สงบขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ในขณะที่ชาวนาที่เดือดร้อนก็พากันละทิ้งไร่นาของตน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 (1990) มีการยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับการมีพรรคการเมืองหลายพรรคในระบอบการเมือง แต่ฝ่ายต่อต้านต้องการรัฐธรรมนูญใหม่ และหลังจากมีการนัดหยุดงานและประท้วงเป็นเวลา 6 เดือน ประธานาธิบดี Ratsiraka ก็ได้มอบอำนาจหลายส่วนให้แก่รัฐบาลชุดใหม่ ภายใต้การนำของนาย Albert Zafy ในเดือนพฤศจิกายน 2534 (1991) และในการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2536 นาย Zafy ได้รับเลือกโดยเสียงส่วนใหญ่ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในปี 2539 แต่ต่อมาถูกรัฐสภามาดากัสการ์ลงมติไม่ไว้วางใจอันเป็นผลมาจากค่าครองชีพสูงขึ้นบวกกับการฉ้อราษฏร์บังหลวงในวงราชการ จนเป็นเหตุให้ประธานาธิบดี Zafy ต้องลาออกไป และในการเลือกตั้งปลายปี 2539 นาย Didier Ratsiraka ได้รับเลือกตั้งให้กลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งหนึ่งความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
มาดากัสการ์ดำเนินนโยบายแบบเป็นกลางและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในทางปฏิบัติมีความใกล้ชิดและรับความช่วยเหลือจากรัสเซียและยุโรปตะวันออกมากกว่าฝ่ายตะวันตก
แต่เดิมนั้นรัฐบาลมาดากัสการ์ต่อต้านระบบแบ่งแยกผิวและสนับสนุนให้นามิเบียเป็นเอกราช แต่ตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา ได้ปรับเปลี่ยนท่าทีอย่างรวดเร็ว โดยยอมรับพัฒนาการทางการเมืองในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ อนุญาตให้สายการบินแอฟริกาใต้บินผ่าน และยกเลิกการคว่ำบาตรทางการค้าอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ ประธานาธิบดี De Klerk แห่งแอฟริกาใต้เดินทางมาเยือนมาดากัสการ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2533 ด้วย การดำเนินการดังกล่าวบ่งชี้ถึงความปรารถนาของรัฐบาลมาดากัสการ์ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือกับสถาบันการเงินตะวันตก ภายหลังจากที่ประสบการณ์ตามระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่ยึดถือปฏิบัติมากว่า 10 ปี ประสบความล้มเหลว
มาดากัสการ์เป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญต่าง ๆ เช่น
- ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา (ADB)
- ประเทศสมาชิกสมทบประชาคมยุโรป (Lome Convention)
- คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจเพื่อแอฟริกา
- GATT, WTO
- องค์การสหประชาชาติ
- องค์การเอกภาพแอฟริกา (OAU)ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-มาดากัสการณ์
- ปริมาณการค้าและดุลการค้าในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2538 - 2542) การค้าระหว่างไทยมาดากัสการ์มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 7.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนการค้าประมาณร้อยละ 0.002 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ขึ้นอยู่กับปริมาณการค้าในแต่ละปีที่มีความผันผวนสูง และนับตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมาไทยกลับเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับมาดากัสการ์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ามาโดยตลอด เนื่องจากไทยมีการชะลอการนำเข้า สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 2.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 0.003 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 29.8 และไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 0.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- การส่งออก ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2538-2542) การส่งออกไปมาดากัสการ์มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 3.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากในแต่ละปี สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 การส่งออกมีมูลค่า 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 56.8 ทั้งนี้สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป หมวกและส่วนประกอบ เป็นต้น
- การนำเข้า ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2538-2542) การนำเข้าจากมาดากัสการ์มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 3.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีความไม่แน่นอนของปริมาณการค้าในแต่ละปี สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 การนำเข้ามีมูลค่า 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 49.3 ทั้งนี้สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ปลาทูน่าสด แช่เย็น-แช่แข็ง เครื่องเพชรพลอยอัญมณี เงินแท่งและทองคำ เมล็ดน้ำมันพืช เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น
ปัญหาการค้าทวิภาคี
- ขาดข้อมูลข่าวสารการค้าและความคุ้นเคยระหว่างภาคเอกชนทั้งสองประเทศ
- มีข้อจำกัดในด้านภาษา เนื่องจากมาดากัสการ์ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ ขณะที่ไทยนิยมใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อ ส่งผลให้เกิดอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
- มาดากัสการ์ยังขาดแคลนระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่าง ๆ อีกมาก ทั้งในด้านเส้นทางคมนาคม การบินการเดินเรือ ระบบธนาคารและโทรศัพท์ เป็นต้น ก่อให้เกิดความยากลำบากในการติดต่อข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
มาดากัสการ์เป็นประเทศเกาะตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างทวีปเอเชียและแอฟริกาที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง อีกทั้งยังมีทรัพยากรธรรมชาติมากมายที่เป็นที่สนใจของไทย จึงน่าจะมีการศึกษา สนับสนุนให้ภาคเอกชนสองฝ่ายได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเพื่อจะเกิดการขยายความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันต่อไป--จบ--
(ที่มา : กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 5/2544 วันที่ 15 มีนาคม 2544--
-อน-
สภาวะทางเศรษฐกิจ
เนื่องจากต้องประสบภาวะสงครามกลางเมืองมานานกว่า 16 ปี โมซัมบิกจึงเป็นประเทศหนึ่งที่ประสบภาวะความยากจนมากที่สุดของแอฟริกา (รายได้ต่อหัวในปี 2540 เท่ากับ 98 เหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น) รัฐบาลต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างประเทศโดยผ่านองค์กรความช่วยเหลือและการเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา (African Development Bank - ADB) สหภาพยุโรป และประเทศอื่น ๆ เนื่องจากรายรับที่รัฐจัดเก็บได้ไม่สมดุลกับรายจ่ายของประเทศ ซึ่งยังผลให้รัฐบาลต้องนำเอามาตรการทางเศรษฐกิจที่เข้มงวดต่าง ๆ มาใช้ เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของภาคเอกชนและการควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ตามข้อแม้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศก่อนที่จะให้ความช่วยเหลือใด ๆ ซึ่งก็ยังผลให้เกิดสภาวะว่างงานตามมา
- หลังจากการเลือกตั้ง สิ่งที่รัฐบาลใหม่ต้องปฏิบัติตามสัญญาประชาคม คือ การฟื้นฟูบูรณะประเทศ การส่งเสริมการลงทุน การดำเนินนโยบายตลาดเสรีและปรับปรุงสาธารณสุขและการศึกษา ซึ่งจะต้องใช้ความพยายามอย่างมาก โมซัมบิกเป็นประเทศที่ถูกทำลายโดยสงครามกลางเมืองส่งผลให้กลายเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งในบรรดาสิบประเทศที่ยากจนที่สุดของโลก การฝังกับระเบิดจำนวนมากในพื้นที่เพาะปลูกของประเทศ ทำให้ไม่มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้อย่างเต็มที่
- โมซัมบิกเป็นประเทศเกษตรกรรม (60% ของแรงงานทั้งหมดอยู่ในภาคเกษตร) แต่กำลังมีการพัฒนาทางด้านการประมงและการท่องเที่ยวตามชายฝั่งทะเล
- เป็นประเทศที่เป็นทางผ่านของสินค้าเข้า-ออกของประเทศที่ไร้ฝั่งทะเล คือ มาลาวี, ซิมบับเว, แซมเบีย และสวาซิแลนด์ สำหรับกรุง Maputo นั้น นอกจากจะเป็นเมืองหลวงแล้วยังเป็นเมืองท่าที่สำคัญบนฝั่งมหาสมุทรอินเดียและเป็นศูนย์กลางการขนถ่ายสินค้าสู่ประเทศสวาซีแลนด์ ซิมบับเว กรุง Pretoria และเมือง Johannesburg ของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้อีกด้วย เมืองท่าที่สำคัญอื่น ได้แก่ Beira และ Nacala นอกจากนี้ รัฐบาลโมซัมบิกได้ออกกฎหมายจัดตั้ง Maputo Beira และ Nacala เป็นเขตการค้าเสรี
- โมซัมบิกกำลังปฏิรูปเศรษฐกิจเป็นการค้าเสรี รายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากเงินช่วยเหลือจากต่างประ-เทศ และจากประเทศที่ดำเนินโครงการต่าง ๆ โดยรัฐบาลใช้วิธีเปิดประมูลแก่บริษัทจากทุกประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายปฏิรูปกิจการของรัฐให้เอกชน โครงการต่าง ๆ โดยรัฐบาลใช้วิธีประมูลแก่บริษัทจากทุกประเทศ เช่น
- สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ ฝ้าย ชา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ กุ้ง น้ำตาลทราย ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ (ผลิตได้ประมาณ 300 ก.ก./ปี) ถ่านหิน อัญมณี หินอ่อน ดีบุก Asbestos ก๊าซธรรมชาติ ประเทศคู่ค้าการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สเปน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น โปรตุเกส และยุโรปตะวันออก
- สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักร เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการอุตสาหกรรม อะไหล่เครื่องยนต์ สินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ อาหาร เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยา ประเทศคู่ค้าการนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ อิตาลี สหรัฐฯ ฝรั่งเศส โปรตุเกส
- รัฐบาลเชิญชวนต่างประเทศไปลงทุนในโมซัมบิก และได้ออกกฎหมายให้ต่างชาติลงทุนได้โดยเสรี ทำให้บริษัทต่างชาติจำนวนมากเข้าไปลงทุน เช่น แอฟริกาใต้ บราซิล อังกฤษ สหรัฐฯ อิตาลี และประเทศในประชาคมยุโรปสภาวะเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน
สภาวะเศรษฐกิจ
- สภาวะเศรษฐกิจในปี 2539 ของโมซัมบิกมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อรัฐบาลสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ประมาณร้อยละ 15 (จากเดิมร้อยละ 50) ตามที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนด อีกทั้งการเก็บเกี่ยวที่ได้ผลดีก็ทำให้ราคาพืชผลต่ำลง รวมทั้งค่าเงิน Rand ของแอฟริกาใต้มีค่าลดลงเมื่อเทียบกับเงิน Metical ของโมซัมบิก จึงทำให้โมซัมบิกนำเข้าสินค้าจากแอฟริกาใต้ได้มากขึ้นอีกด้วย (โมซัมบิกนำเข้าสินค้าจากแอฟริกาใต้ประมาณร้อยละ 60 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด) นอกจากนั้น มาตรการทางการเงินที่เคร่งครัดก็ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยรวมของโมซัมบิกให้กระเตื้องขึ้นอีกด้วย
การลงทุน
- ศูนย์ส่งเสริมการลงทุน (Investment Promotion Centre) ของโมซัมบิกเปิดเผยตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศในโมซัมบิกว่า ในปี 2539 การลงทุนจากต่างประเทศ (Direct Foreign Investment) คิดเป็นมูลค่า 450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2538 ในอัตราร้อยละ 24.7 โดยแยกเป็นการลงทุนด้านการเกษตรในอัตราร้อยละ 50 ของเงินลงทุนทั้งหมด ที่เหลือเป็นการลงทุนด้านการขนส่ง การสื่อสาร น้ำมัน และก๊าซ
- โปรตุเกสและแอฟริกาใต้เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในโมซัมบิก โดยโปรตุเกสลงทุนใน 135 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่แอฟริกาใต้ลงทุนคิดเป็นมูลค่า 74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน 110 โครงการ ผู้ลงทุนรายอื่น ๆ มาจากอังกฤษ (38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ฮ่องกงและเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ได้มีการคาดการณ์ว่าในปี 2540 การลงทุนจากต่างประเทศในโมซัมบิกจะมีมูลค่าประมาณ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของเอกชน
การปฏิรูปทางเศรษฐกิจทำให้รัฐวิสาหกิจที่แปรรูปเป็นของเอกชนมีบทบาทช่วยเหลือเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น โดยการเร่งผลผลิต การชำระภาษี รวมทั้งรักษาตำแหน่งงานที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างตำแหน่งงานใหม่ ๆ ขึ้นด้วย รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลให้เอกชนเข้ามาลงทุน ได้แก่ ธุรกิจธนาคารและการบริหารงานศุลกากร
โมซัมบิกกับ SADC และ COMESA
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2539 นาย Leonardo SIMAO รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโมซัมบิกได้ประกาศว่า โมซัมบิกจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและตอนใต้ (Common Market for Easern and Southern Africa-COMESA) ซึ่งมีสมาชิกรวม 19 ประเทศ (นอกเหนือจากโมซัมบิก) คือ อังโกลา บุรุนดี คอโมโรส เอริเทรีย เอธิโอเปีย เคนยา เลโซโธ แซมเบีย และซิมบับเว เนื่องจากความร่วมมือระหว่างโมซัมบิกกับประเทศต่าง ๆ ในองค์การดังกล่าวมีน้อยมาก และในช่วงปลายปีที่ผ่านมาได้ปรากฎชัดว่าโมซัมบิกมีผลประโยชน์เร่งด่วนกับประชาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาตอนใต้ (Southern African Development Community - SADC) มากกว่ากับ COMESA
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-โมซัมบิก
ด้านการทูต
- มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2532 และฝ่ายไทยได้แต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงพริทอเรียเป็นเอกอัครราชทูตประจำโมซัมบิกอีกตำแหน่งหนึ่ง
- ฝ่ายโมซัมบิกได้แจ้งความประสงค์ที่จะเปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์โมซัมบิกประจำประเทศไทย และขณะนี้อยู่ระหว่างสรรหาบุคคลที่เหมาะสมในการดำรงตำแหน่งดังกล่าว
ด้านการค้า
- สินค้าที่ไทยส่งไปขายโมซัมบิก ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ข้าว น้ำตาล ผ้าผืน รองเท้าและชิ้นส่วน ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากโมซัมบิก ได้แก่ เสื้อใยใช้ในการทอ สินแร่โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ แร่ดิบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เพชร พลอย อัญมณี
- ในปี 2534 โมซัมบิกนำสินค้าเข้าจากไทยมากที่สุดในแอฟริกาตะวันออกและใต้
- โมซัมบิกเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับการนำเข้าสินค้าไทย เนื่องจากโมซัมบิกต้องนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นจำนวนมาก
ด้านวิชาการ
- รัฐบาลไทยได้เสนอให้ความร่วมมือทางวิชาการกับสาธารณรัฐโมซัมบิก และได้มีการแจ้งเวียนทุนฝึกอบรม/ดูงานหลักสูตรต่าง ๆ (Group Training Course) ให้สาธารณรัฐโมซัมบิกทราบเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2536, 2537 โมซัมบิกได้พิจารณาจัดส่งเจ้าหน้าที่มาเข้ารับการฝึกอบรม/ดูงานในหลักสูตรดังกล่าว
ปัญหาการค้าการลงทุน
- รัฐบาลไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่จะให้ในรูปของสัมปทานที่มีอายุ 50 ปี
- มีปัญหาเรื่องของความโปร่งใสในขบวนการดำเนินงานของรัฐบาล
- ระบบตุลาการในโมซัมบิกหย่อนประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการค้า
โอกาส
- รัฐบาลโมซัมบิกปฏิบัติต่อนักลงทุนชาวต่างชาติเท่าเทียมกับนักลงทุนชาวโมซัมบิก
- กฎหมายให้การรับประกันความปลอดภัยในเรื่องของสิทธิในทรัพย์สิน
- นักลงทุนต่างชาติสามารถส่งผลกำไรจากการประกอบการกลับประเทศได้
- การเมืองมีเสถียรภาพอยู่ในขั้นดี และไม่มีเหตุการณ์รุนแรงภายในประเทศสืบเนื่องมาจากความวุ่นวายทางการเมือง
(ที่มา : กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ)
สาธารณรัฐมาดากัสการ์
มาดากัสการ์ปรากฎหลักฐานว่ามีคนอาศัยมาเป็นเวลา 200 ปีแล้ว และต่อมามีคนเชื้อสายแอฟริกาและอินโดนีเซียมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนี้ในศตวรรษที่ 16 ภายใต้การนำของ Diego Diaz นักบุกเบิกชาวโปรตุเกส ดินแดนในเกาะมาดากัสการ์รวมตัวกันภายใต้ระบอบกษัตริย์ในช่วงปี 2340 - 2404 (1797 - 1861) แต่ฝรั่งเศสได้เข้าอ้างสิทธิ์ในการปกครองในปี 2438 (1895) และต่อมาในปี 2439 (1896) ระบอบกษัตริย์ได้ถูกทำลาย ซึ่งยังผลให้มาดากัสการ์ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2439 (1896) และต่อมาในปี 2501 มีการลงประชามติประกาศให้สาธารณรัฐมาลากาซีมีอำนาจปกครองตนเองในประชาคมฝรั่งเศส และได้รับเอกราชอย่างแท้จริง เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2503 (1960)
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2518 (1975) พันเอก Richard Ratsimandrava ซึ่งเป็นประมุขของประเทศถูกลอบสังหาร จึงได้มีการจัดตั้งกองบัญชาการทหารแห่งชาติ และได้โอนอำนาจให้แก่สภาปฏิวัติสูงสุด ภายใต้การนำของนาย Didicr Ratsiraka ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2518 ที่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ตั้งแต่ปี 2523 (1980) เป็นต้นมา มาดากัสการ์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวง ซึ่งก่อให้เกิดการขาดเสถียรภาพทางการเมือง การขาดแคลนอาหารทำให้มีการก่อความไม่สงบขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ในขณะที่ชาวนาที่เดือดร้อนก็พากันละทิ้งไร่นาของตน
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2533 (1990) มีการยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับการมีพรรคการเมืองหลายพรรคในระบอบการเมือง แต่ฝ่ายต่อต้านต้องการรัฐธรรมนูญใหม่ และหลังจากมีการนัดหยุดงานและประท้วงเป็นเวลา 6 เดือน ประธานาธิบดี Ratsiraka ก็ได้มอบอำนาจหลายส่วนให้แก่รัฐบาลชุดใหม่ ภายใต้การนำของนาย Albert Zafy ในเดือนพฤศจิกายน 2534 (1991) และในการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2536 นาย Zafy ได้รับเลือกโดยเสียงส่วนใหญ่ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ในปี 2539 แต่ต่อมาถูกรัฐสภามาดากัสการ์ลงมติไม่ไว้วางใจอันเป็นผลมาจากค่าครองชีพสูงขึ้นบวกกับการฉ้อราษฏร์บังหลวงในวงราชการ จนเป็นเหตุให้ประธานาธิบดี Zafy ต้องลาออกไป และในการเลือกตั้งปลายปี 2539 นาย Didier Ratsiraka ได้รับเลือกตั้งให้กลับเข้ามาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งหนึ่งความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
มาดากัสการ์ดำเนินนโยบายแบบเป็นกลางและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในทางปฏิบัติมีความใกล้ชิดและรับความช่วยเหลือจากรัสเซียและยุโรปตะวันออกมากกว่าฝ่ายตะวันตก
แต่เดิมนั้นรัฐบาลมาดากัสการ์ต่อต้านระบบแบ่งแยกผิวและสนับสนุนให้นามิเบียเป็นเอกราช แต่ตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมา ได้ปรับเปลี่ยนท่าทีอย่างรวดเร็ว โดยยอมรับพัฒนาการทางการเมืองในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ อนุญาตให้สายการบินแอฟริกาใต้บินผ่าน และยกเลิกการคว่ำบาตรทางการค้าอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ ประธานาธิบดี De Klerk แห่งแอฟริกาใต้เดินทางมาเยือนมาดากัสการ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2533 ด้วย การดำเนินการดังกล่าวบ่งชี้ถึงความปรารถนาของรัฐบาลมาดากัสการ์ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือกับสถาบันการเงินตะวันตก ภายหลังจากที่ประสบการณ์ตามระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่ยึดถือปฏิบัติมากว่า 10 ปี ประสบความล้มเหลว
มาดากัสการ์เป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญต่าง ๆ เช่น
- ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา (ADB)
- ประเทศสมาชิกสมทบประชาคมยุโรป (Lome Convention)
- คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจเพื่อแอฟริกา
- GATT, WTO
- องค์การสหประชาชาติ
- องค์การเอกภาพแอฟริกา (OAU)ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-มาดากัสการณ์
- ปริมาณการค้าและดุลการค้าในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2538 - 2542) การค้าระหว่างไทยมาดากัสการ์มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 7.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนการค้าประมาณร้อยละ 0.002 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ขึ้นอยู่กับปริมาณการค้าในแต่ละปีที่มีความผันผวนสูง และนับตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมาไทยกลับเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับมาดากัสการ์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ามาโดยตลอด เนื่องจากไทยมีการชะลอการนำเข้า สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 2.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 0.003 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 29.8 และไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 0.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- การส่งออก ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2538-2542) การส่งออกไปมาดากัสการ์มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 3.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากในแต่ละปี สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 การส่งออกมีมูลค่า 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 56.8 ทั้งนี้สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป หมวกและส่วนประกอบ เป็นต้น
- การนำเข้า ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2538-2542) การนำเข้าจากมาดากัสการ์มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 3.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีความไม่แน่นอนของปริมาณการค้าในแต่ละปี สำหรับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 การนำเข้ามีมูลค่า 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 49.3 ทั้งนี้สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ปลาทูน่าสด แช่เย็น-แช่แข็ง เครื่องเพชรพลอยอัญมณี เงินแท่งและทองคำ เมล็ดน้ำมันพืช เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น
ปัญหาการค้าทวิภาคี
- ขาดข้อมูลข่าวสารการค้าและความคุ้นเคยระหว่างภาคเอกชนทั้งสองประเทศ
- มีข้อจำกัดในด้านภาษา เนื่องจากมาดากัสการ์ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ ขณะที่ไทยนิยมใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อ ส่งผลให้เกิดอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
- มาดากัสการ์ยังขาดแคลนระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่าง ๆ อีกมาก ทั้งในด้านเส้นทางคมนาคม การบินการเดินเรือ ระบบธนาคารและโทรศัพท์ เป็นต้น ก่อให้เกิดความยากลำบากในการติดต่อข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ
มาดากัสการ์เป็นประเทศเกาะตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างทวีปเอเชียและแอฟริกาที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง อีกทั้งยังมีทรัพยากรธรรมชาติมากมายที่เป็นที่สนใจของไทย จึงน่าจะมีการศึกษา สนับสนุนให้ภาคเอกชนสองฝ่ายได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเพื่อจะเกิดการขยายความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันต่อไป--จบ--
(ที่มา : กรมเศรษฐกิจ กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 5/2544 วันที่ 15 มีนาคม 2544--
-อน-