ข่าวในประเทศ
1. ก.พาณิชย์เปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้องในเดือน ต.ค.43 อธิบดีกรมการค้าภายใน ก.พาณิชย์เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.42 แต่ลดลงร้อยละ 0.5 จากเดือน ก.ย.43 หากเทียบเฉลี่ยเดือน ม.ค.-ต.ค. กับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.5 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ไม่รวมหมวดอาหารและพลังงานในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.42 และร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.43 ส่วนในช่วง 10 เดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 การที่ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเนื่องจากสินค้าในหมวดอาหารลดลงร้อยละ 1.2 ส่วนดัชนีที่มิใช่อาหารไม่เปลี่ยนแปลง โดยสินค้าอาหารผัก ผลไม้ สัตว์น้ำ กระแสไฟฟ้า ราคาเฉลี่ยของน้ำมันเบนซินลดลง จากการวิเคราะห์หลังจากได้ข้อมูลเงินเฟ้อเฉลี่ย 10 เดือนในอัตราร้อยละ 1.5 ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปีจะไม่เกินร้อยละ 2 โดยมีปัจจัยสำคัญคือ ราคาสินค้าเกษตรช่วงปลายปีมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดมาก ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคยังคงมีสต็อกไปถึงสิ้นปี ซึ่งเงินเฟ้อในระดับดังกล่าวนั้นเหมาะสมกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด (กรุงเทพธุรกิจ 2)
2. ธปท.เปิดเผยปริมาณธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชน ในฐานะรองโฆษก ธปท.เปิดเผยว่า ปริมาณการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ในเดือน ต.ค.43 มียอดเฉลี่ยสูงถึง 4 หมื่น ล.บาทต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นธุรกรรมประเภทระยะ 1-14 วัน โดยเฉพาะประเภท 1 วัน มีความต้องการซื้อขายสูงมากในช่วงครึ่งหลังของเดือน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเคลื่อนไหวขึ้นลงเร็วกว่าประเภทอื่นๆ ส่วนอัตราดอกเบี้ยในตลาดอาร์พีประเภท 14 วัน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่คณะกรรมการนโยบายการเงินใช้ส่งสัญญาณในการดูแลอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นยังคงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 จากการทำธุรกรรมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า สถาบันการเงินทั้งไทยและต่างประเทศยังมีสภาพคล่องในระบบสูง (เดลินิวส์ 2)
3. มูลค่าการส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 43 ก.คลังรายงานว่า การนำเข้าในเดือน ก.ย.43 ตามพิธีศุลกากรมีมูลค่า 5,384 ล.ดอลลาร์ สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อน 983 ล.ดอลลาร์ หรือร้อยละ 22.3 ส่วนการนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่ารวม 45,289 ล.ดอลลาร์ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 9,454 ล.ดอลลาร์ คิดเป็นร้อยละ 26.4 ด้านการส่งออกในเดือน ก.ย.มีมูลค่ารวม 6,098 ล.ดอลลาร์ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 937 ล.ดอลลาร์ คิดเป็นร้อยละ 18.2 และในช่วง 9 เดือนแรกมียอดรวม 51,381 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 9,060 ล.ดอลลาร์เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 21.4 หรือเฉลี่ยเดือนละ 5,709 ล.ดอลลาร์ (วัฏจักร 2)
4. ความเห็นเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท แหล่งข่าวจากวงการ ธพ.กล่าวว่า ขณะนี้เงินบาทในตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์) มีปริมาณมาก และมากกว่าเงินรูเปียและเปโซ ทำให้นักลงทุนหันมาเก็งกำไรค่าเงินบาทกันมาก เพราะเห็นว่าสามารถหาเงินบาทได้ง่าย ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง แม้ ธปท.จะดำเนินมาตรการแก้ไขด้วยการขึ้นอัตราดอกเบื้ยเงินบาทในตลาดออฟชอร์ให้สูงขึ้น แต่ก็เป็นการดูดซับได้เพียงชั่วคราว เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินบาทในประเทศต่ำ ยิ่งทำให้มีการนำเงินบาทออกไปในตลาดออฟชอร์มากขึ้น เพื่อหาส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ย (มติชน 2)
ข่าวต่างประเทศ
1. ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ในเดือน ต.ค. 43 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 43 National Association of Purchasing Management (NAPM) เปิดเผยว่า เดือน ต.ค. 43 ดัชนี PMI ( Purchasing Manager's Index) ซึ่งใช้วัดภาวะอุตสาหกรรมการผลิต อยู่ที่ระดับ 48.3 นับเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 หลังจากอยู่ที่ระดับ 49.9 และ 49.5 ในเดือน ก.ย. 43 และ ส.ค. 43 ตามลำดับ และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่า จะอยู่ที่ระดับ 49.8 ทั้งนี้ ดัชนีฯที่ต่ำกว่าระดับ 50 ชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่กำลังหดตัว ซึ่งจากรายงานครั้งนี้สนับสนุนสัญญาณอย่างเด่นชัดว่าเศรษฐกิจ สรอ.กำลังชะลอตัวลง ขณะเดียวกัน ในเดือน ต.ค. 43 ดัชนีราคา ( Price Paid) ซึ่งใช้วัดเงินเฟ้อในระดับการผลิต ก็ลดลงอยู่ที่ระดับ 56.5 จากระดับ 58.1 ในเดือน ก.ย. 43 (รอยเตอร์ 1)
2. ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในเดือน ส.ค. 43 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 43 Conference Board เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ(Leading Index) ของญี่ปุ่น ซึ่งใช้ชี้แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในช่วงเดือนต่อไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.2 และ 0.6 ในเดือน ก.ค.และ มิ.ย. 43 ตามลำดับ นับเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ขณะเดียวกัน ในเดือน ส.ค. 43 ดัชนีอ้างอิงภาวะเศรษฐกิจ (Coincident Index) ที่ใช้วัดภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบมากกว่า 3 ปี แต่ยังต่ำกว่าระดับที่เคยเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี 40 (รอยเตอร์ 1)
3. การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้าง ที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.4 อยู่ที่มูลค่า 819.3 พัน ล. ดอลลาร์ต่อปี หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 อยู่ที่มูลค่า 800.3 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน ส.ค. 43 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ในเดือน พ.ย. 42 และสูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ การใช้จ่ายฯที่เพิ่มขึ้นในเดือน ก.ย. 43 เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างของผู้ที่ไม่มีถิ่นฐานใน สรอ. เพิ่มขึ้นอย่างมาก (รอยเตอร์1)
4. ประมาณการว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศของมาเลเซียจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ในปี 43 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 43 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจของมาเลเซีย (MIER) ประมาณการว่า ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) จะขยายตัวร้อยละ 8.4 และจะเติบโตชะลอลงเหลือร้อยละ 6.3 ในปี 44 ซึ่งสูงกว่าประมาณการของ ก. คลัง ที่รายงานก่อนหน้านี้ว่า GDP จะเติบโตร้อยละ 7.5 และ 5.8 ในปี 43และ 44 ตามลำดับ สำหรับในช่วงครึ่งหลังปี 43 คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.5 เทียบกับครึ่งแรกปี 43 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.3 (รอยเตอร์ 1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 1 พ.ย. 43 43.708 (43.792)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 1 พ.ย. 43ซื้อ 43.5439 (43.7953) ขาย 43.8528 (44.1090)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,450) ขาย 5,550 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.35 (29.16)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ก.พาณิชย์เปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้องในเดือน ต.ค.43 อธิบดีกรมการค้าภายใน ก.พาณิชย์เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.42 แต่ลดลงร้อยละ 0.5 จากเดือน ก.ย.43 หากเทียบเฉลี่ยเดือน ม.ค.-ต.ค. กับช่วงเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.5 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ไม่รวมหมวดอาหารและพลังงานในเดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค.42 และร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.43 ส่วนในช่วง 10 เดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 การที่ดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเนื่องจากสินค้าในหมวดอาหารลดลงร้อยละ 1.2 ส่วนดัชนีที่มิใช่อาหารไม่เปลี่ยนแปลง โดยสินค้าอาหารผัก ผลไม้ สัตว์น้ำ กระแสไฟฟ้า ราคาเฉลี่ยของน้ำมันเบนซินลดลง จากการวิเคราะห์หลังจากได้ข้อมูลเงินเฟ้อเฉลี่ย 10 เดือนในอัตราร้อยละ 1.5 ทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่าอัตราเงินเฟ้อทั้งปีจะไม่เกินร้อยละ 2 โดยมีปัจจัยสำคัญคือ ราคาสินค้าเกษตรช่วงปลายปีมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดมาก ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคยังคงมีสต็อกไปถึงสิ้นปี ซึ่งเงินเฟ้อในระดับดังกล่าวนั้นเหมาะสมกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด (กรุงเทพธุรกิจ 2)
2. ธปท.เปิดเผยปริมาณธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารมวลชน ในฐานะรองโฆษก ธปท.เปิดเผยว่า ปริมาณการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ในเดือน ต.ค.43 มียอดเฉลี่ยสูงถึง 4 หมื่น ล.บาทต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นธุรกรรมประเภทระยะ 1-14 วัน โดยเฉพาะประเภท 1 วัน มีความต้องการซื้อขายสูงมากในช่วงครึ่งหลังของเดือน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเคลื่อนไหวขึ้นลงเร็วกว่าประเภทอื่นๆ ส่วนอัตราดอกเบี้ยในตลาดอาร์พีประเภท 14 วัน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่คณะกรรมการนโยบายการเงินใช้ส่งสัญญาณในการดูแลอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นยังคงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 จากการทำธุรกรรมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า สถาบันการเงินทั้งไทยและต่างประเทศยังมีสภาพคล่องในระบบสูง (เดลินิวส์ 2)
3. มูลค่าการส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 43 ก.คลังรายงานว่า การนำเข้าในเดือน ก.ย.43 ตามพิธีศุลกากรมีมูลค่า 5,384 ล.ดอลลาร์ สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อน 983 ล.ดอลลาร์ หรือร้อยละ 22.3 ส่วนการนำเข้าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่ารวม 45,289 ล.ดอลลาร์ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 9,454 ล.ดอลลาร์ คิดเป็นร้อยละ 26.4 ด้านการส่งออกในเดือน ก.ย.มีมูลค่ารวม 6,098 ล.ดอลลาร์ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 937 ล.ดอลลาร์ คิดเป็นร้อยละ 18.2 และในช่วง 9 เดือนแรกมียอดรวม 51,381 ล.ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 9,060 ล.ดอลลาร์เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 21.4 หรือเฉลี่ยเดือนละ 5,709 ล.ดอลลาร์ (วัฏจักร 2)
4. ความเห็นเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวค่าเงินบาท แหล่งข่าวจากวงการ ธพ.กล่าวว่า ขณะนี้เงินบาทในตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดต่างประเทศ (ออฟชอร์) มีปริมาณมาก และมากกว่าเงินรูเปียและเปโซ ทำให้นักลงทุนหันมาเก็งกำไรค่าเงินบาทกันมาก เพราะเห็นว่าสามารถหาเงินบาทได้ง่าย ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง แม้ ธปท.จะดำเนินมาตรการแก้ไขด้วยการขึ้นอัตราดอกเบื้ยเงินบาทในตลาดออฟชอร์ให้สูงขึ้น แต่ก็เป็นการดูดซับได้เพียงชั่วคราว เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินบาทในประเทศต่ำ ยิ่งทำให้มีการนำเงินบาทออกไปในตลาดออฟชอร์มากขึ้น เพื่อหาส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ย (มติชน 2)
ข่าวต่างประเทศ
1. ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ในเดือน ต.ค. 43 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 43 National Association of Purchasing Management (NAPM) เปิดเผยว่า เดือน ต.ค. 43 ดัชนี PMI ( Purchasing Manager's Index) ซึ่งใช้วัดภาวะอุตสาหกรรมการผลิต อยู่ที่ระดับ 48.3 นับเป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 หลังจากอยู่ที่ระดับ 49.9 และ 49.5 ในเดือน ก.ย. 43 และ ส.ค. 43 ตามลำดับ และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ว่า จะอยู่ที่ระดับ 49.8 ทั้งนี้ ดัชนีฯที่ต่ำกว่าระดับ 50 ชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่กำลังหดตัว ซึ่งจากรายงานครั้งนี้สนับสนุนสัญญาณอย่างเด่นชัดว่าเศรษฐกิจ สรอ.กำลังชะลอตัวลง ขณะเดียวกัน ในเดือน ต.ค. 43 ดัชนีราคา ( Price Paid) ซึ่งใช้วัดเงินเฟ้อในระดับการผลิต ก็ลดลงอยู่ที่ระดับ 56.5 จากระดับ 58.1 ในเดือน ก.ย. 43 (รอยเตอร์ 1)
2. ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในเดือน ส.ค. 43 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 43 Conference Board เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ(Leading Index) ของญี่ปุ่น ซึ่งใช้ชี้แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในช่วงเดือนต่อไป เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.2 และ 0.6 ในเดือน ก.ค.และ มิ.ย. 43 ตามลำดับ นับเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ขณะเดียวกัน ในเดือน ส.ค. 43 ดัชนีอ้างอิงภาวะเศรษฐกิจ (Coincident Index) ที่ใช้วัดภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบมากกว่า 3 ปี แต่ยังต่ำกว่าระดับที่เคยเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี 40 (รอยเตอร์ 1)
3. การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้าง ที่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.4 อยู่ที่มูลค่า 819.3 พัน ล. ดอลลาร์ต่อปี หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 อยู่ที่มูลค่า 800.3 พัน ล. ดอลลาร์ ในเดือน ส.ค. 43 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 ในเดือน พ.ย. 42 และสูงกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 ทั้งนี้ การใช้จ่ายฯที่เพิ่มขึ้นในเดือน ก.ย. 43 เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างของผู้ที่ไม่มีถิ่นฐานใน สรอ. เพิ่มขึ้นอย่างมาก (รอยเตอร์1)
4. ประมาณการว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศของมาเลเซียจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ในปี 43 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 43 สถาบันวิจัยเศรษฐกิจของมาเลเซีย (MIER) ประมาณการว่า ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) จะขยายตัวร้อยละ 8.4 และจะเติบโตชะลอลงเหลือร้อยละ 6.3 ในปี 44 ซึ่งสูงกว่าประมาณการของ ก. คลัง ที่รายงานก่อนหน้านี้ว่า GDP จะเติบโตร้อยละ 7.5 และ 5.8 ในปี 43และ 44 ตามลำดับ สำหรับในช่วงครึ่งหลังปี 43 คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.5 เทียบกับครึ่งแรกปี 43 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.3 (รอยเตอร์ 1)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 1 พ.ย. 43 43.708 (43.792)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 1 พ.ย. 43ซื้อ 43.5439 (43.7953) ขาย 43.8528 (44.1090)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,450) ขาย 5,550 (5,550)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.35 (29.16)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-